เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง)

รองหัวหมื่น เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปาง[1] จนถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2468 ซึ่งหลังจากยุคสมัยเจ้าราชบุตรแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าทางรัฐบาลสยามได้แต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ใหม่แต่อย่างใด

เจ้าราชบุตร
เจ้าแก้วเมืองพวน ณ ลำปาง
ผู้รั้งเจ้าผู้ครองนครลำปาง
ดำรงพระยศ5 ตุลาคม พ.ศ. 2465 — 1 มีนาคม พ.ศ. 2468
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
ถัดไปสยามยกเลิกประเพณีตั้งเจ้าผู้ครองประเทศราช
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง
ระยะเวลา5 ตุลาคม พ.ศ. 2465 — 1 มีนาคม พ.ศ. 2468
ก่อนหน้าเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
ถัดไปเจ้าราชวงศ์
ประสูติ15/16 มิถุนายน พ.ศ. 2418
พิราลัย1 มีนาคม พ.ศ. 2468 (50 ปี)
ชายาเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง
พระบุตร
  • เจ้าหญิงสร้อยแก้ว ณ ลำปาง
  • เจ้าวงเกษม ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงฟองสมุท ณ ลำปาง
  • เจ้ามงคล ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงบุญศรี ณ ลำปาง
  • เจ้าหญิงศรีโสม ณ ลำปาง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ ลำปาง
เจ้าบิดาเจ้าราชบุตร (รองคำ ณ ลำปาง)
ศาสนาเถรวาท

พระประวัติ

แก้

เจ้าแก้วเมืองพวน เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7[2] (ตรงกับวันที่ 15/16 มิถุนายน พ.ศ. 2418) เป็นโอรสของเจ้าราชบุตร (รองคำ ณ ลำปาง) ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าอูบแก้วและเจ้าราชบุตร (มหาเทพ ณ ลำปาง) เจ้าอูบแก้วเป็นพระธิดาของพระยาชมภู (เจ้าน้อยจิตวงศ์) พระยาชมภูเป็นโอรสของพระยาเพชรเม็ง (เจ้าน้อยจิตตะ) เจ้าฟ้าเชียงราย กับเจ้านางสมนา[3]

วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2463 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าราชบุตร จังหวัดลำปาง[4]

เจ้าแก้วเมืองพวนอภิเษกกับเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ราชธิดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต มีโอรส-ธิดา 6 คน ได้แก่

  1. เจ้าหญิงสร้อยแก้ว ณ ลำปาง
  2. เจ้าวงเกษม ณ ลำปาง
  3. เจ้าหญิงฟองสมุท ณ ลำปาง
  4. เจ้ามงคล ณ ลำปาง
  5. เจ้าหญิงบุญศรี ณ ลำปาง (1 มิถุนายน 2458 - 5 เมษายน 2553)
  6. เจ้าหญิงศรีโสม ณ ลำปาง

เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) ป่วยเป็นวัณโรคภายใน ถึงแก่กรรมวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2468[2]

การรั้งนครลำปาง

แก้

เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) ได้รับแต่งตั้งให้รั้งนครลำปาง (หมายถึงการรักษาการในตำแหน่งเจ้าหลวง) โดยการสนับสนุนของเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ราชธิดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต กับราชเทวี เนื่องจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตไม่มีราชโอรสกับราชเทวี มีเพียงโอรสกับเทวีองค์อื่น ๆ ซึ่งโดยหลักการแล้วการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนคร สมควรจะแต่งตั้งจากเจ้าขันห้าใบ ที่ดำรงฐานันดรชั้นสูงกว่า กล่าวคือ สมควรจะแต่งตั้งเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ซึ่งดำรงฐานันดรเป็น "เจ้าราชวงศ์"

หากข้าเจ้าถือกำเนิดมาเป๋นจาย ศักดิ์และสิทธิ์ทุกอย่างจะตกเป็นของข้าเจ้าโดยชอบธรรมและข้าเจ้าขอใช้สิทธิ์การเป็นบุตรีเพียงคนเดียวในป้อเจ้าบุญวาทย์ฯ หื้อเจ้าราชบุตรแก้วเมืองพรวนผู้เป็นสามี เป็นผู้สืบทอดอำนาจจากป้อเจ้าแทน

— เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง

ซึ่งแปลได้ดังนี้ "หากข้าพเจ้า (ข้าเจ้า) ถือกำเนิดมาเป็นชาย ศักดิ์และสิทธิ์ทุกอย่างจะตกเป็นของข้าพเจ้าโดยชอบธรรมและข้าพเจ้าขอใช้สิทธิ์การเป็นบุตรี (บุตรีแปลว่า เพศหญิง,ลูกเพศหญิง) เพียงคนเดียวในพ่อเจ้าบุญวาทย์ฯ ให้เจ้าราชบุตรแก้วเมืองพรวนผู้เป็นสามี เป็นผู้สืบทอดอำนาจจากพ่อข้าพเจ้าแทน"

เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพรวน ณ ลำปาง) แม้จะได้รับแต่งตั้งให้รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นผู้รับผิดชอบมรดกของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต แต่ไม่สามารถจัดการเรื่องหนี้สินได้ เจ้าราชบุตรได้พยายามขอยืมเงินรัฐบาลไปประมูลซื้อคุ้มหลวงคืน และยังร้องขอให้รัฐบาลสยามรับซื้อคุ้มหลวงเอง[5] แต่ในความตอนหนึ่งที่พระศรสุรราช (เปลื้อง ศาสตระรุจิ) กราบทูลอภิรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2468 ว่าเจ้าราชบุตร ในฐานผู้จัดการมรดกจำนวนประมาณ 11 แสนบาทเศษ ได้ใช้สอยหมดเปลืองไปในทางสุรุ่ยสุร่าย คงเหลือไม่เกินกว่าร้อยละ 30[6] และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กล่าวถึงเจ้าราชบุตร และเจ้าศรีนวล ว่าถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว มีแต่หนี้สินรุงรัง เป็นอันสิ้นหวังที่จะใช้เงินมรดกปลงศพเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตได้[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40: 82. 8 เมษายน 2466. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42: 2747. 14 มีนาคม 2468. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ภูเดช แสนสา. "เจ้าเชื้อเชียงราย" ในเมืองนครลำปาง
  4. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37: 3268. 2 มกราคม 2463. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. วิบากกรรมการเงินเจ้าลำปาง เจ้าหนี้ถึงกับยึดเครื่องประดับพระยศงานศพเจ้าหลวงไปขัดดอก!วารสารประวัติศาสตร์ วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2565
  6. วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค. 2556. หน้า 372
  7. วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค. 2556. หน้า 371
  8. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) ถัดไป
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต   เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2465-2468)
  สยามยกเลิกประเพณี
เจ้านายครองเมืองเหนือ