พระเจ้าอนันตยศ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครเขลางค์หรือจังหวัดลำปางในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสองพระราชโอรสฝาแฝดของพระนางจามเทวี (องค์พี่มีพระนามว่า พระเจ้ามหันตยศ)[1] พระเจ้าอนันตยศทรงสร้างนครลำปางและขึ้นครองเมืองเมื่อ พ.ศ. 1231[2]

พระประวัติ แก้

จาก ตำนานมูลศาสนา และ ชินกาลมาลีปกรณ์ ระบุว่าพระนางจามเทวีกระทําพิธีบรมราชาภิเษก (นั่งเมือง) เมื่อ พ.ศ. 1205 และเมื่อเสด็จมาได้เพียง 7 วัน พระครรภ์ได้ครบ 10 เดือน พระนางจามเทวีทรงมีประสูติกาลพระโอรส 2 พระองค์ ในวันเพ็ญเดือน 3 เหนือ ซึ่งคำนวณแล้วตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 1205 พระโอรสองค์พี่ปรากฏหลักฐานเพียงชื่อเดียวคือ "เจ้ามหันตยศ" ส่วนพระโอรสองค์น้องพบหลายชื่อ โดยมีชื่ออื่นอย่าง "เจ้าอินทวร" และ "เจ้าอินทเกิงกร"

มีวีรกรรมของสองพระโอรสคือ การสกัดการรุกรานของขุนหลวงวิลังคะที่มาโจมตีหริภุญไชยนคร ด้วยอำนาจและฤทธานุภาพของพญาคชสารนามว่า "ปู้ก่ำงาเขียว" เมื่อขุนหลวงวิลังคะเสียชีวิต ณ ดอยคว่ำหล้อง พระนางจามเทวีได้สู่ขอธิดาทั้งสองของขุนหลวงวิลังคะมาเป็นชายาให้กับโอรสแฝดทั้งสองเพื่อระงับรอยบาดหมางระหว่างชาวลัวะและเม็ง (มอญ) ต่อมาพระนางจามเทวีได้สละบัลลังก์ให้แก่เจ้ามหันตยศ และส่งเจ้าอนันตยศไปยังทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำวังเพื่อสร้างเมืองเขลางค์นคร[3] ตามที่เจ้าอนันตยศขอ ใน จามเทวีวงศ์ ระบุว่ามีฤาษีสุพรหรมและพรานเขลางค์ช่วยกันสร้างเมืองเขลางค์นคร[4]

ไม่นานจากนั้น เจ้าอนันตยศทรงระลึกถึงพระมารดา จึงให้อำมาตย์ไปทูลเชิญพระนางจามเทวีเสด็จมาประทับเขลางค์นคร สุพรหมฤๅษีจึงเนรมิตเมืองอีกเมืองหนึ่งบนเนินอันย้อยมาตามแนวเขลางค์นคร มีปราสาทราชมณเฑียรและบ้านเรือนพร้อมสรรพ เรียกว่า อาลัมพางค์นคร ภายหลังเจ้าอนันตยศเสด็จมาประทับที่อาลัมพางค์นคร ให้พระนางจามเทวีปกครองเมืองเขลางค์นครแทน หลังจากนั้น 3 ปี พระนางจามเทวีงมีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับหริภุญไชย เจ้าอนันตยศก็กราบทูลอ้อนวอนให้พระนางจามเทวีอยูต่อ พระนางจามเทวีพระทัยอ่อน จากนั้น 3 ปี ต่อมา เจ้าอนันตยศก็กราบทูลอ้อนวอนให้พระนางจามเทวีอยู่ต่อไปอีก แต่ครั้งนี้พระนางไม่ตามพระทัยโอรส ประจวบกับพระนางประชวร ต้องการเสด็จกลับหริภุญไชย พระโอรสจึงต้องจำยอม[5]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. "โบราณสถานกู่ช้าง กู่ม้า". สำนักงานเทศบาลเมืองลำพูน.
  2. "นครลำปาง ในจินตนาการ". ลานนาโพสต์.
  3. เพ็ญสุภา สุขคตะ. "การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระญาอนันตยศ ปฐมกษัตริย์แห่งนครเขลางค์ / ปริศนาโบราณคดี". มติชนสุดสัปดาห์.
  4. "อนุสรณ์การพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 113.
  5. "ประวัติพระนางจามเทวี (โดยสังเขป)" (PDF).