ราชวงศ์แสนซ้าย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ราชวงศ์แสนซ้าย หรือ ราชวงศ์แพร่ เป็นราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาแสนซ้าย เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ที่ปกครองนครแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2330 มาจนถึง พ.ศ. 2445 ต่อมาได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยราชวงศ์ต่อมาได้ช่วยเพื่อเเก้ปัญหาเป็นกลางโดยธรรม ให้พวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่อพยพเข้ามาอาศัยทำการก่อจลาจลทะเลาะกันเองเพื่อให้เกิดความสงบและให้มีความสามัคคีในเมืองนครแพร่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ ถูกเข้าใจผิดกล่าวหาว่าสมคบกับพวกเงี้ยว ท่านจึงไปเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัย ใน พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นทางราชสำนักสยาม ก็มิได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่อีก จึงถือเป็นการสิ้นสุดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา
พระราชอิสริยยศ | เจ้าประเทศราช |
---|---|
ปกครอง | นครแพร่ |
สาขา | 31 ราชสกุล |
จำนวนพระมหากษัตริย์ | 5 พระองค์ |
ประมุขพระองค์แรก | พระยาแสนซ้าย |
ประมุขพระองค์สุดท้าย | เจ้าพิริยเทพวงษ์ |
สถาปนา | พ.ศ. 2330 |
ล่มสลาย | พ.ศ. 2445 |
ราชวงศ์ก่อนหน้า | ราชวงศ์เมืองไชย |
การสถาปนา
แก้ราชวงศ์แสนซ้าย หรือ ราชวงศ์แพร่ ได้สถาปนาขึ้นโดยพระยาแสนซ้าย ปฐมราชวงศ์แห่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ เชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร 5 พระองค์สุดท้าย จนถึงรัชสมัยของ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองนครแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลิน ที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองนครแพร่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้ว ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพิโรธต่อการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไร พระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส [ต้องการอ้างอิง] พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุข ด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้
ราชสกุลผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล ถึงไม่มีราชสกุล ณ แพร่ แต่รวมกันเรียกว่า วงศ์วรญาติ เทียบเท่าราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
เจ้าผู้ครองนครแพร่ (2330-2445)
แก้รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่ ยุคราชวงศ์เทพวงศ์
ลำดับ | พระนาม | ปีที่ครองราชย์ | |
---|---|---|---|
1 | พระยาแสนซ้าย | พ.ศ. 2330-ก่อน พ.ศ. 2348 | |
2 | พระยาเทพวงศ์ | ก่อน พ.ศ. 2348-พ.ศ. 2359 | |
3 | พระยาอินทวิไชย | พ.ศ. 2359-พ.ศ. 2390 | |
4 | พระยาพิมพิสารราชา | พ.ศ. 2390-พ.ศ. 2429 | |
5 | เจ้าพิริยเทพวงษ์ | พ.ศ. 2433-พ.ศ. 2445 |
ราชสกุลเจ้าผู้ครองนครแพร่
แก้ราชสกุลสายเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีทั้งหมด 31 ราชสกุล รวมกันเรียกว่าวงศ์วรญาติ คือ
- เทพวงศ์ ต้นสกุล คือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 4
- มหายศปัญญา เป็นนามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4,775 ต้นสกุล คือ เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าหนานมหายศ) พระยาบุรีรัตน์นครแพร่ ผู้ได้รับพระราชนามสกุลคือ อำมาตย์ตรี เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) นัดดา โอรสในเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าหนานปัญญา)
- แพร่พันธุ์ เป็นนามสกุลประทานจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต้นสกุล คือ เจ้าอินทรเดช เทพวงศ์ หรือ โชติ แพร่พันธุ์ ราชนัดดาในเจ้าพิริยเทพวงษ์
- วงศ์บุรี ต้นสกุล คือ แม่เจ้าบัวถามหาเทวี พระชายาองค์แรกในเจ้าพิริยเทพวงษ์
- แก่นหอม ต้นสกุล คือ เจ้าหนานตั๋น ราชโอรสในเจ้าพิริยเทพวงษ์ กับหม่อมไม่ทราบนาม
- แก่นจันทร์หอม ต้นสกุล คือ เจ้าหนานสม ราชโอรสในเจ้าพิริยเทพวงษ์ กับหม่อมบัวคำ
- สารศิริวงศ์ ต้นสกุล คือ เจ้าพระสุริยะจางวาง (เจ้าน้อยมหาอินทร์ ) ราชโอรสพระยาพิมพิสารราชา เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 3กับแม่เจ้าคำใย้
- บุตรรัตน์ ต้นสกุลคือ เจ้าราชบุตร (เจ้าหนานขัติยะ) เจ้าราชบุตรนครแพร่
- วังซ้าย ต้นสกุล คือ เจ้าพระวังซ้าย (เจ้าหนานมหาจักร) พระวังซ้ายนครแพร่ และน้องชายคือ เจ้ามหาชัย และเจ้ามหาพรหม
- วงศ์พระถาง ต้นสกุล คือ เจ้าพระถาง (เฒ่า) พระถางนครแพร่
- รสเข้ม ต้นสกุล คือ เจ้าเทพรส โอรสเจ้าไชยสงคราม (สืบเชื้อสายเจ้าเจ็ดตนทางพะเยา) กับเจ้านางอิ่น เจ้าเชษฐาในแม่เจ้าบัวไหลราชเทวี
- ผาทอง ต้นสกุล คือ เจ้าเทพวงศ์ บุตรเจ้าแสนเสมอใจสืบเชื้อสายมาจากพระยาเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 1
- แสนศิริพันธุ์ ต้นสกุล คือ เจ้าพระวิไชยราชา (หนานขัติ) พระวิไชยราชานครแพร่ บุตรเจ้าแสนเสมอใจสืบเชื้อสายมาจากพระยาเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 1
- วงศ์เมืองแก่น ต้นสกุล คือ เจ้าพระเมืองแก่น (เจ้าหนานขัติ) พระเมืองแก่นนครแพร่ กับเจ้าปิมปา สายเจ้าหนานเขียว เจ้าน้อยสิงห์ และเจ้าน้อยปั๋น
- ทุ่งมีผล ต้นสกุลคือ เจ้าพระเมืองแก่น (เจ้าหนานขัติ) พระเมืองแก่นนครแพร่ กับเจ้าปิมปา สายเจ้าน้อยธาน และเจ้าน้อยทอง
- วงศ์วรรณ ต้นสกุล คือ นายแสน หรือพ่อเจ้าแสน บุตรเจ้าเทพวงศ์ แยกมาจากสกุล "ผาทอง"
- นามวงศ์ ต้นสกุล คือ เจ้าน้อยนามวงศ์ บุตรเจ้าหนานเมืองชัย กับเจ้าจันทร์สม นัดดาในเจ้าราชวงศ์นครแพร่
- ศรีจันทร์แดง ต้นสกุลไม่ปรากฏ แต่มีผู้สืบสกุลคือ เจ้าน้อยมหาชัย(ปิว) เจ้าน้อยยศ เจ้าน้อยกันทะวัง และเจ้าน้อยเทพ
- อิ่นคำลือ เจ้าหนานอินต๊ะ กับเจ้าขิง
- อุตรพงศ์ ต้นสกุลคือ เจ้าอุตรการโกศล กับเจ้าคำเมา
- ใยญาณ ต้นสกุลคือ พ่อเจ้าจันทร์ สืบเชื้อสายมาจากพระยาอินทวิไชย เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 2
- เมืองพระ ต้นสกุลคือ เจ้าเมืองพระ (หนุ่ม) บุตรเจ้าเมืองพระ (เฒ่า) กับเจ้าโนจา
- ดอกไม้ ต้นสกุลคือ เจ้าน้อยดอก
- หัวเมืองแก้ว ต้นสกุลคือ เจ้าหัวเมืองแก้ว (โอรสเจ้าหลวงลำปาง)
- นันทิยา ต้นสกุล คือ เจ้าทองอินทร์ บุตรเจ้าหนานคันธิยะ พระญาติแม่เจ้าสุพรรณวดีราชเทวี
- กันจรรยา ต้นสกุล คือ เจ้าปัญญา บุตรเจ้าหนานคันธิยะ พระญาติแม่เจ้าสุพรรณวดีราชเทวี
- วราราช
- ขัติยวรา
- ไชยประวัติ
- รัตนวงศ์
- วิจผัน
อ้างอิง
แก้- ภูเดช แสนสา เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม
- ประวัติศาสตร์แพร่ (เหตุเงี้ยวจลาจล)
ก่อนหน้า | ราชวงศ์แสนซ้าย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์มังไชย | ราชวงศ์ที่ปกครองนครแพร่ (พ.ศ. 2330 - พ.ศ. 2445) |
— |