แม่เจ้าบัวไหล
บัวไหล (พ.ศ. พ.ศ. 2390–2475) บ้างเรียก แม่เจ้าหลวง[1] หรือ บัวไหล เทพวงศ์ เป็นชายาคนที่สองของเจ้าพิริยเทพวงษ์ อดีตเจ้าผู้ครองเมืองแพร่[2] และยังเป็นย่าของโชติ แพร่พันธุ์ หรือยาขอบ นักเขียนนวนิยายชื่อดัง
บัวไหล | |
---|---|
แม่เจ้า | |
ชายาเจ้าเมืองแพร่ | |
ดำรงพระยศ | ? – 25 กันยายน พ.ศ. 2445 |
ก่อนหน้า | แม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา |
เกิด | พ.ศ. 2390 นครน่าน อาณาจักรรัตนโกสินทร์ |
ถึงแก่กรรม | พ.ศ. 2475 จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย |
พระสวามี | น้อยเทพวงษ์ |
พระบุตร | เจ้ากาบคำ วราราช เจ้าเวียงชื่น บุตรรัตน์ เจ้าสุพรรณวดี ณ น่าน เจ้ายวงคำ เตมิยานนท์ เจ้ายวงแก้ว เทพวงศ์ เจ้าหอมนวล ศรุตานนท์ เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ |
พระบิดา | เจ้าไชยสงคราม |
พระมารดา | แม่เจ้าอิ่นคำ |
ประวัติ
แก้แม่เจ้าบัวไหล เกิดที่เมืองน่าน[3] เป็นธิดาคนเล็กจากทั้งหมดสี่คนของเจ้าไชยสงคราม[3] (หรือ แสนไชยสงคราม)[4] จากหนังสือ เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย ระบุว่าเขามีเชื้อสายเจ้าเจ็ดตนจากเมืองพะเยา[3] ส่วนมารดาชื่ออิ่นคำ เป็นภรรยาคนที่สอง และเป็นเชลยศึกเชื้อสายยอง[3][4] ซึ่งถูกกวาดไปไว้ที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน[3] (บางแห่งว่าบ้านถิ่น จังหวัดแพร่)[4] บัวไหลมีพี่ชายฝาแฝด คือ เจ้าจอมแปง กับเจ้าเทพรส และมีพี่สาวชื่อเจ้าสามผิว[3] ซึ่งเจ้าเทพรส พี่ชาย เป็นต้นสกุลรสเข้ม[5] ในวัยเยาว์บัวไหลได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเจ้านายตามขนบธรรมเนียมล้านนามาเป็นอย่างดี[6]
ส่วนที่มาของชื่อ บัวไหล มีหลายสำนวน สำนวนหนึ่งว่า เมื่อแรกเกิด เจ้าไชยสงครามต้องคดีกับกงสุลอังกฤษ เขาต้องนำลูกสาวคนเล็กนี้ล่องเรือลงใต้ไปด้วยเพื่อแก้คดีที่กรุงเทพมหานคร จึงตั้งชื่อดังกล่าว[3] อีกสำนวนหนึ่งอธิบายว่า เพราะบุตรสาวคนนี้เกิดขึ้นมาในช่วงที่บิดาจะต้องติดต่อราชการไปมาระหว่างเมืองน่านกับพะเยาอยู่เนือง ๆ จึงตั้งชื่อดังกล่าว[4]
บัวไหลเข้าเป็นชายาคนที่สองของเจ้าพิริยเทพวงษ์[1][2] เจ้าผู้ครองเมืองแพร่ ซึ่งเป็นประเทศราชขนาดน้อยที่สุดในบรรดาประเทศราชทั้งห้าทางตอนเหนือของสยาม[2] ทั้งสองมีบุตรด้วยกันเจ็ดคน ได้แก่ เจ้ากาบคำ เจ้าเวียงชื่น เจ้าสุพรรณวดี เจ้ายวงคำ เจ้ายวงแก้ว เจ้าหอมนวล และเจ้าอินทร์แปลง (หรืออินทร์แปง)[1][4] บัวไหลเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนเจ้าพิริยเทพวงศ์ ปกครองเมืองแพร่อยู่เจ็ดวัน จึงถูกเรียกขานอย่างยกย่องว่า แม่เจ้าหลวง[3][6]
หลังเกิดกบฏเงี้ยวขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 และถูกทางการสยามปราบปราม[2] เจ้าพิริยเทพวงษ์หนีออกจากเมืองแพร่ไปหลวงพระบาง[7] ฝ่ายสยามได้ทำการปลดเจ้าพิริยเทพวงษ์ลงเป็นไพร่ ให้เรียกว่า น้อยเทพวงษ์ พร้อมกับยึดคุ้มหลวงและทรัพย์สมบัติ ส่วนบัวไหลถูกถอดและถูกริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า[8] หลังเหตุการณ์ดังกล่าว เจ้าเวียงชื่น พระธิดา และพระยาราชวงศ์ (น้อยบุญศรี) พระชามาดา ก่ออัตวินิบาตกรรมด้วยการดื่มยาพิษจนเสียชีวิตทั้งคู่[4] ส่วนบัวไหลถูกควบคุมตัวไปกักไว้ที่กรุงเทพมหานคร พร้อมกับบุตรธิดา[2] โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นระยะเวลา 4-5 ปี จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับภูมิลำเนาได้[6]
ในบั้นปลาย บัวไหลอาศัยอยู่กับคุณหญิงหอมนวล ราชเดชดำรง ธิดาคนเล็กและลูกเขยที่จวนข้าหลวงจังหวัดเชียงราย จนถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2475[6]
ความสนใจ
แก้บัวไหลมีฝีมือในเชิงเย็บปักถักร้อย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากอิ่นคำ พระมารดาซึ่งเป็นเชลยชาวยอง โดยเฉพาะการนำปีกแมลงทับมาประดับร่วมกับผ้าลูกไม้[4] ทั้งเคยปักผ้าม่านและหมอนขวาน รวมถึงเครื่องใช้ต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่โปรดปรานยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดห้องไว้โดยเฉพาะ แล้วพระราชทานนามว่า ห้องบัวไหล ถือเป็นเกียรติยศที่สูงส่ง[3] และมีผลงานสำคัญอีกหนึ่งชิ้น คือ ผ้าปักไหมคำเป็นตัวอักษรธรรมล้านนาบนพระคัมภีร์ยาวต่อเนื่องกันหลายแผ่น ทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 หรือเมื่อบัวไหลมีอายุได้ 23 ปี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดพระพุทธบาทมิ่งเมือง ซึ่งสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เคยมีแนวคิดที่จะยื่นเสนอให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[9] ต่อมาวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์[8]
อ้างอิง
แก้เชิงอรรถ
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 33
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "กบฏเงี้ยว พ.ศ.2445 - การต่อต้านสยามของประเทศราชล้านนา". Huexonline. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 40
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 เพ็ญสุภา สุขคตะ (29 พฤศจิกายน 2565). "โศกนาฏกรรมของสองเจ้านาง หลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 102
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "ภาพถ่ายชุดเมืองแพร่ (บ้านคุณโกมล พานิชพันธ์) อำเภอลอง จังหวัดแพร่". Chiang Mai House of Photography by Associate Professor Kanta Poonpipat Foundation. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 129
- ↑ 8.0 8.1 "ประกาศลัญจกราภิบาล ถอดบัวไหลออกจากสามัญสมาชิกาตติยจุลจอมเกล้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (เพิ่มเติม 28): 467. 11 ตุลาคม ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
บรรณานุกรม
แก้- บัวผิว วงศ์พระถาง และคณะ. เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย. แพร่ : แพร่ไทยอุสาหการพิมพ์, 2536. 151 หน้า. ISBN 974-89141-2-7