แม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา

แม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา (พ.ศ. 2381–2478) เป็นอดีตชายาของเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่องค์สุดท้าย

บัวถา มหายศปัญญา
แม่เจ้า
แม่เจ้าบัวถาเมื่อ พ.ศ. 2477 ขณะอายุ 96 ปี[1]
ชายาเจ้าเมืองแพร่
ก่อนหน้าแม่เจ้าแก้วไหลมา
ถัดไปแม่เจ้าบัวไหล
เกิดพ.ศ. 2381
เมืองแพร่ อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 2478 (ราว 97 ปี)
จังหวัดแพร่ อาณาจักรสยาม
พระสวามีน้อยเทพวงษ์
พระบิดาพระยาบุรีรัตน (หนานปัญญา)
พระมารดาแม่เจ้าเฮือนแก้ว

ประวัติ

แก้

แม่เจ้าบัวถา เกิดในวันศุกร์ ปีฉลู[1] เป็นธิดาคนใหญ่ของพระยาบุรีรัตน (หนานปัญญา)[2] หรือเจ้าบุรีปัญญา (เฒ่า) กับแม่เจ้าเฮือนแก้ว ภรรยาเอก มีเจ้าน้องร่วมบิดามารดาคือ พระยาบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) และมีเจ้าน้องต่างมารดาอีก 5 คน[3] โดยแม่เจ้าเฮือนแก้ว มารดาของแม่เจ้าบัวถา เป็นเจ้าน้องของพระยาพิมพิสารราชา หรือเจ้าหลวงขาเค และทั้งสองสืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองเมืองแพร่จากฝ่ายมารดา คือ เจ้าปิ่นแก้ว[4]

แม่เจ้าบัวถาเข้าเป็นชายาคนแรกของเจ้าพิริยเทพวงษ์[3][5][6] ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เพราะสามีเป็นบุตรของพระยาพิมพิสาร ซึ่งเป็นศักดิ์เป็นลุง[4] แต่ทั้งสองไม่มีบุตรด้วยกัน และตัดสินใจแยกทางกันในเวลาต่อมา ภายหลังแม่เจ้าบัวถาได้รับอุปการะเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี บุตรสาวของพระยาบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) กับแม่เจ้าคำ เป็นบุตรบุญธรรม[7] พร้อมกับสร้างคุ้มวงศ์บุรีเมื่อ พ.ศ. 2440 ไว้เป็นเรือนหอสำหรับเจ้าสุนันตากับหลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) ถือเป็นอาคารที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมยุควิกตอเรียหลังแรกในจังหวัดแพร่[1]

แม่เจ้าบัวถาถึงแก่กรรมภายในคุ้มวงศ์บุรี[1] เมื่อ พ.ศ. 2478 สิริอายุได้ 97 ปี

ความสนใจ

แก้

แม่เจ้าบัวถาชอบสีฟ้าเพราะท่านเกิดในวันศุกร์ ภายในห้องส่วนตัวของแม่เจ้าในคุ้มวงศ์บุรีจึงตกแต่งด้วยสีฟ้าเพียงห้องเดียว[1] และด้วยความที่แม่เจ้าเกิดปีฉลู เครื่องเงินภายในคุ้มวงศ์บุรีจะมีการสลักลายเป็นรูปวัวตามปีเกิดของท่าน[1]

แม่เจ้าบัวถาสนใจการอุปถัมภ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่น มีจิตใจโอบอ้อมอารีแก่คนทุกชนชั้น โดยเฉพาะชนชั้นทาส[1] ท่านเคยให้การอุปถัมภ์วัดศรีชุมในจังหวัดแพร่[8] แม่เจ้ารับช่างเครื่องเงินจากชุมชนพระนอนจำนวนสองคนมาอุปถัมภ์เป็นช่างเงินประจำคุ้ม[1] นอกจากนี้แม่เจ้ายังเลิกทาสสนองพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2448 ด้วยการมอบทรัพย์สินและที่ดินแก่ทาสไว้ตั้งตัวทุกคน มีทาสบางคนที่ยังสมัครใจอยู่เป็นบริวารของคุ้มวงศ์บุรีต่อไป และมีลูกหลานที่สนิทสนมกับทายาทคุ้มวงศ์บุรีสืบมาถึงปัจจุบัน[1]

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 โลจน์ นันทิวัชรินทร์ (22 ตุลาคม 2563). "คุ้มวงศ์บุรี เรือนหอไม้สีชมพูอายุ 123 ปีของลูกหลานชายาเจ้าหลวงแพร่องค์สุดท้าย". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "นามสกุลพระราชทาน". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 53-54
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 16
  5. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (15 ธันวาคม 2560). "จากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสู่ประวัติศาสตร์แบบท้องถิ่นนิยม". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "กบฏเงี้ยว พ.ศ.2445 - การต่อต้านสยามของประเทศราชล้านนา". Huexonline. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 33, 55, 58
  8. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (26 พฤษภาคม 2559). "วัดและชุมชนในเวียงแพร่: ความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชาวเมืองแบบโบราณ". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

บรรณานุกรม

แก้
  • บัวผิว วงศ์พระถาง และคณะ. เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย. แพร่ : แพร่ไทยอุสาหการพิมพ์, 2536. 151 หน้า. ISBN 974-89141-2-7