หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง)

หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยพรหม วงศ์พระถาง อดีตกรมการพิเศษจังหวัดแพร่ เป็นบุตรชายในพ่อเจ้าวงศ์ กับแม่เจ้าฟองจันทร์ วงศ์พระถาง สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระถางนครแพร่ และเจ้าผู้ครองนครแพร่

หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง)

เจ้าน้อยพรหม วงศ์พระถาง
เจ้านายฝ่ายเหนือ
ประสูติพ.ศ. 2413
อนิจกรรมพ.ศ. 2479
ชายาเจ้าแสงมอน รัตนวงศ์
เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี
ราชวงศ์แสนซ้าย
พระบิดาเจ้าวงศ์ วงศ์พระถาง
พระมารดาเจ้าฟองจันทร์ วงศ์พระถาง

ประวัติ แก้

หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยพรหม เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2413 เป็นบุตรชายของพ่อเจ้าวงศ์ กับแม่เจ้าฟองจันทร์ วงศ์พระถาง สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระถางนครแพร่ ตำแหน่งปกครองในเค้าสนามหลวงเมืองนครแพร่ มีเจ้าพี่น้องร่วมเจ้าบิดามารดา 6 คน คือ

  1. เจ้าน้อยสวน วงศ์พระถาง สมรสกับเจ้าฟองแก้ว วงศ์พระถาง
  2. เจ้าคำเม็ด แก่นหอม (วงศ์พระถาง) สมรสกับ เจ้าหนานตั๋น แก่นหอม (ราชโอรสในเจ้าพิริยเทพวงษ์)
  3. เจ้ากาบแก้ว ขัติยวรา (วงศ์พระถาง) สมรสกับเจ้าน้อยโข้ ขัติยะวรา
  4. หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าน้อยพรหม วงศ์พระถาง)
  5. เจ้าน้อยเสาร์ วงศ์พระถาง สมรสกับเจ้าพลอยแก้ว ใยญาณ (ธิดาพ่อเจ้าจันทร์ ใยญาณ)
  6. เจ้าคำปิ๋ว ทิพย์วิชัย (วงศ์พระถาง) สมรสกับเจ้าหนานพัฒน์ ทิพย์วิชัย

ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรมการพิเศษจังหวัดแพร่ เล่ากันว่าท่านเป็นผู้มีความละเอียดถี่ถ้วน มีความมัธยัสถ์ ขยันและเก่งในการทำธุรกิจ ซึ่งก็ทำให้ครอบครัวท่านร่ำรวย และมีชื่อเสียงในสมัยนั้น[1]

หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าน้อยพรหม วงศ์พระถาง) ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2479 สิริอายุ 66 ปี

ชีวิตครอบครัว แก้

หลวงพงษ์พิบูลย์ สมรสครั้งแรกกับเจ้าแสงมอน รัตนวงศ์ (ธิดาเจ้าน้อยเสาร์ กับเจ้าเขียว รัตนวงศ์) ไม่มีบุตรด้วยกัน และสมรสครั้งที่ 2 กับเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี (ธิดาในเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) กับเจ้าคำ มหายศปัญญา และเป็นธิดาบุญธรรมในแม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา ชายาองค์แรกในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย) แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน จึงได้รับหลาน 3 คน มาเป็นบุตรบุญธรรม คือ เจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช เจ้าทองด้วง วงศ์บุรี (บุตรธิดาเจ้าคำมูล ทิพย์วิชัย กับเจ้าไข่แก้ว มหายศปัญญา) และนายประจวบ วงศ์บุรี (บุตรชายเจ้าน้อยไฝ ทิพย์วิชัย กับนาง(เจ้า)ศรีพูน หัวเมืองแก้ว)

การทำงาน แก้

หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) นอกจากรับราชการแล้ว ท่านยังมีอาชีพในการทำป่าไม้สัมประทานในเขตเมืองนครแพร่ โดยสืบทอดจากเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) ผู้เป็นพ่อตา

กิจสาธารณะ แก้

หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) และภรรยาของท่าน คือ เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ได้เป็นผู้นำในการก่อสร้างวิหารใหม่วัดพงษ์สุนันท์ ซึ่งวิหารหลังเดิมได้พังทลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2472 และทำสังฆกรรมไม่ได้หลายปี ต่อมาพระมหาโกศล อคฺควีโร ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดพงษ์สุนันท์ เพื่อให้เกียรติแก่ท่านและภรรยาที่เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์ ปัจจุบันได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ จากเจ้าไข่มุกต์ และเจ้าทองด้วง วงศ์บุรี ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพงษ์พิบูลย์ได้ร่วมกับคณะศรัทธาทั่วไปอุปถัมภ์วัดนี้ตลอดมาถึงปัจจุบัน[2]

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. คุ้มวงศ์บุรี .ประวัติหลวงพงษ์พิบูลย์
  2. หมู่บ้าน วังฟ่อน ดอตคอม .วัดพงษ์สุนัน