พระยาอินทวิไชย[2] หรือ เจ้าหลวงอินต๊ะวิไจย เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่ต่อจากพระยาเทพวงศ์ผู้เป็นราชบิดา

พระยาอินทวิไชย

เจ้าน้อยอินทวิไชย
พระยานครแพร่
ครองราชย์พ.ศ. 2359พ.ศ. 2390[1]
รัชกาลก่อนหน้าพระยาเทพวงศ์
รัชกาลถัดไปพระยาพิมพิสารราชา
ประสูติพ.ศ. 2324
พิราลัยพ.ศ. 2390
พระชายาแม่เจ้าสุพรรณวดีราชเทวี
พระนามเต็ม
พระองค์สมเด็จพระบรมบัวพิตองค์เปนเจ้า (พระญาอินทวิไชยราชา)
พระบุตร6 พระองค์
ราชวงศ์แสนซ้าย
พระบิดาพระยาเทพวงศ์
พระมารดาแม่เจ้าสุชาดาราชเทวี
เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่ง
ราชวงศ์แสนซ้าย
*พระยาแสนซ้าย
*พระยาเทพวงศ์
*พระยาอินทวิไชย
พระยาพิมพิสารราชา
เจ้าพิริยเทพวงษ์

ราชประวัติ

แก้

พระยาอินทวิไชย มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยอินทวิไชย เป็นราชโอรสองค์โตในพระยาเทพวงศ์ กับแม่เจ้าสุชาดาราชเทวี ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2324 มีตำแหน่งเดิมเป็น พระอินทวิไชย หรือ ท้าวอินทวิไชย จนกระทั่งชนมายุได้ 35 วัสสา ได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่ในปี พ.ศ. 2359 [1]ดังบันทึกพับสาวัดดอยจำค่าระบุว่า

"...เจ้าหลวงลิ้นทองเสวยเมืองอยู่ได้ ๔๕ ปี เถิงสวัรคต(สวรรต) ว่าง ๑ ปี เจ้าหลวงอินทวิไชยผู้เปนลูกขึ้นแทนอยู่ได้ ๓๑ ปี..."

พระราชพงสาวดารรัชกาลที่ 4 ระบุว่า "...ตั้งพระเมืองใจบุตรพระยาแสนซ้ายเป็นพระยาแพร่ๆ ถึงแก่กรรมแล้วโปรดเกล้าฯ ตั้งพระอินทวิไชยบุตรพระเมืองใจเป็นพระยาแพร่..."ในยุคที่พวกยุโรปกำลังล่าเมืองขึ้นและต้องการเมืองไทยเป็นอาณานิคมอังกฤษพยายามอย่างยิ่งที่จะยึดเมืองแพร่ เพราะมีป่าไม้สักที่อุดมสมบูรณ์จำนวนมหาศาล จึงขอเข้าทำกิจการป่าไม้ในเมืองแพร่คือบริษัท อิสต์ เอเชียติก พระยาอินทวิไชย ดำเนินวิทโยบายอย่างสุขมรอบคอบ พยายามมิให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับชนต่างชาติ อันเป็นชนวนให้เกิดสงคราม เมืองแพร่จึงอยู่รอดปลอดภัยตลอดมา[3]

พระยาอินทวิไชย ถึงแก่พิราลัยเมื่อปี พ.ศ. 2390 สิริชนมายุได้ 66 วัสสา[4]

ราชโอรส-ธิดา

แก้

พระยาอินทวิไชย มีราชโอรส-ธิดา กับแม่เจ้าสุพรรณวดีราชเทวี 6 พระองค์[3]

1.เจ้าบุญนำ
2.เจ้าน้อยศรวิชัย พบหลักฐานที่วัดพระหลวง สูงเม่น
3.เจ้าคำมูล สมรสด้วย เจ้าหน่อแก้ว บุตรแห่ง พระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ ๔ และย้ายไปปลูกคุ้มอยู่ริมลำน้ำปิงที่เมืองตาก(ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงแรมเวียงตาก) ดูแลสัมปทานไม้สักทองที่ล่องมาตามลำน้ำปิง มีบุตรและธิดารวม ๓ คน ชื่อ เข่ง ขุนทอง และทองอยู่
4.เจ้าน้อง
5.เจ้าบัวคำ
6.เจ้าเทียมตา(เตียมตา) เสกสมรสกับเจ้าธรรมปัญโญ

เนื่องจากราชโอรสพระยาอินทวิไชยถึงแก่อนิจกรรมตั้งแต่ยังทรงเยาว์ จึงทำให้ขาดรัชทายาทที่จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พระยาราชวงศ์(พิมพิสาร) โอรสแม่เจ้าปิ่นแก้ว กับเจ้าวังขวา จึงได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่เป็นพระยาพิมพิสารราชา

ราชกรณียกิจ

แก้
  • ทรงสร้างวัดมหาโพธิ และสร้างวิหารในปีพ.ศ. 2383 โดยนำช่างมาจากกรุงเทพฯถือเป็นวิหารหลังในนครแพร่ที่สร้างตามแบบงานสถาปัตยกรรมและศิลปะสยาม (วิหารหลังนี้รื้อในปีพ.ศ. 2495)
  • พ.ศ. 2382 ทรงสร้างพระธาตุวัดมหาโพธิ โดยได้รับถวายพระบรมสารีริกธาตุจากครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถรที่อัญมาจากประเทศพม่า
  • ทรงหล่อระฆังถวายวัดมหาโพธิ สร้างตู้ธรรมถวายวัดสูงเม่น สร้างคัมภีร์ใบลานถวายวัดศรีชุม
  • พ.ศ. 2390 ทรงร่วมกับครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร ออกราชบัญญัติกฎหมายอาชญาเจ้ามหาชีวิต และวินัย

พระอิสริยยศ

แก้
  • พ.ศ. 2324 เจ้าน้อยอินทวิไชย
  • ก่อน พ.ศ. 2359 พระอินทวิไชย หรือท้าวอินทวิไชย
  • พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2390 พระยานครแพร่

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือและตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556. 428 หน้า. หน้า 20. ISBN 978-616-220-054-0
  2. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑-๔. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2555. 2,136 หน้า. หน้า 1559. ISBN 978-616-7146-30-0
  3. 3.0 3.1 "เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย)". วังฟ่อนดอตคอม. 22 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ภูเดช แสนสา. เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม