พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา)

อำมาตย์ตรี พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) หรือ เจ้าน้อยหนู พระยาบุรีรัตน์องค์สุดท้ายแห่งนครแพร่ และอดีตกรมการพิเศษจังหวัดแพร่ เป็นโอรสในพระยาบุรีรัตน์ (หนานปัญญา) กับแม่เจ้าเฮือนแก้ว (ราชนัดดาเจ้าหลวงเทพวงศ์) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำรงวงศ์ตระกูลเจ้านายเมืองแพร่หลังการยกเลิกระบบเจ้าผู้ครองนครแพร่เสมือนเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าหลวง

พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา)

เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา
พระยาบุรีรัตน์นครแพร่
ประสูติพ.ศ. 2383
พิราลัยพ.ศ. 2465
ชายาเจ้าคำ มหายศปัญญา
เจ้าจันทร์คำ บุรีรัตน์
หม่อม
  • หม่อมป้าว
    หม่อมสา
พระบุตร5 ท่าน
ราชวงศ์แสนซ้าย
พระบิดาเจ้าบุรีรัตน์ (หนานปัญญา มหายศปัญญา)
พระมารดาแม่เจ้าเฮือนแก้ว มหายศปัญญา

พระประวัติ แก้

พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) หรือเจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา มีชื่อทางพระว่าเจ้าน้อยอินทวงษ์ เป็นโอรสในพระยาบุรีรัตน์ (หนานปัญญา หรือเจ้าบุรีปัญญา) กับแม่เจ้าเฮือนแก้ว (ราชนัดดาเจ้าหลวงเทพวงศ์) [1]และมีศักดิ์เป็นเจ้าภราดร(ลูกพี่ลูกน้อง)กับเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ มีเจ้าพี่ร่วมมารดา 1 คน คือแม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา พระชายาองค์แรกในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย และเจ้าพี่น้องต่างมารดาอีก 5 คน ได่แก่

  • เจ้าพระเมืองชัย (เจ้าน้อยชัยลังกา มหายศปัญญา) สมรสกับเจ้าคำป้อ (ธิดาเจ้ามหาวรรณ)
  • เจ้าหนานชื่น มหายศปัญญา
  • เจ้าน้อยสม มหายศปัญญา สมรสกับนางคำผง และเจ้าคำเมา
  • เจ้าคำนวล มหายศปัญญา สมรสกับสามีเงี้ยว
  • เจ้าคำปวน มหายศปัญญา สมรสกับส่างอินถา

เจ้าน้อยหนู เดิมมีตำแหน่งเป็น "พระวังขวา" และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็น "พระยาบุรีรัตน์" ในปี พ.ศ. 2440 แทนเจ้าบิดาที่ถึงแก่พิราลัยลง ในตำแหน่งเสนาฝ่ายนานครแพร่ นอกจากนี้ท่านยังทำสัมประทานป่าไม้ในเขตเมืองนครแพร่อีกด้วย

พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) พิราลัยเมื่อปี พ.ศ. 2465 สิริอายุ 82 ปี ได้รับพระราชทานเงินจำนวน 2,000 สตางค์ และผ้าขาวจำนวน 4 พับ ในการช่วยงานพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานประตูมาน

การทำงาน แก้

ภายหลังเมืองแพร่เปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ.2445 พระยาบุรีรัตน์ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำรงวงศ์ตระกูลเจ้านายเมืองแพร่แทนภาระทั้งปวงในยุคเจ้าหลวง ทั้งนี้พระยานิกรกิตติการ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ในขณะนั้นก็ได้ประสานความร่วมมือกับพระยาบุรีรัตน์ ซึ่งถือเป็นเสมือนผู้รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ โดยการใช้โรงเรียนเทพวงษ์เป็นเครื่องมือประสานความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสยาม เจ้านาย และประชาชนเมืองแพร่ ได้ขอพระราชทานนาม "พิริยาลัย" และเปิดโรงเรียนในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2456

  • ในปีพ.ศ.2445 ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาในกับวัดปงสนุก (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพงษ์สุนันท์)
  • ได้สร้างระฆังถวายวัดพระธาตุช่อแฮ และบริจาคเงินทำนุบำรุงวัดต่างๆในเมืองแพร่
  • บำรุงโรงเรียน และขอพระราชทานนาม"พิริยาลัย"
  • สร้างตลาดสุขาภิบาลเด่นไชย
  • สร้างฝายแม่พวกหรือฝายเจ้าบุรี ที่ตำบลเด่นไชย อำเภอสูงเม่น
  • เป็นแม่งานใหญ่ร่วมกับแม่เจ้าบัวไหล และเจ้านายเมืองแพร่ในการรับเสด็จสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คราวเสด็จเยือนเมืองแพร่ในปีพ.ศ.2454

โอรส-ธิดา แก้

พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) มีชายา และหม่อม 4 คน คือ

  • แม่เจ้าคำ (ธิดาเจ้าน้อยชัยลังกา (โอรสในเจ้าราชวงศ์) กับเจ้าคำเกี้ยว) [2]มีโอรส-ธิดา 2 คน คือ
  1. เจ้าอินป๋ง มหายศปัญญา สมรสกับ เจ้าฟองสมุทร วราราช (ธิดาเจ้าอุปราช (น้อยเสาร์ วราราช) กับเจ้าฟองแก้ว วราราช)มีบุตร - ธิดา 6 คน คือ
    1. เจ้าธิดา หัวเมืองแก้ว
    2. เจ้าไข่แก้ว ทิพย์วิชัย
    3. เจ้าฝนแสนห่า ณ ลำปาง
    4. เจ้าน้อยหมู มหายศปัญญา
    5. เจ้าน้อยห่าน มหายศปัญญา
    6. เจ้าน้อยดำ มหายศปัญญา
  2. เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี สมรสกับ หลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าน้อยพรหม วงศ์พระถาง) มีบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย 3 คน คือ
    1. เจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช
    2. เจ้าทองด้วง วงศ์บุรี
    3. นายประจวบ วงศ์บุรี
  • คุณหญิง เจ้าจันทร์คำ บุรีรัตน์ (ธิดาเจ้าพระเมืองแก่น กับเจ้าปิมปา วงศ์เมืองแก่น) ไม่มีบุตรด้วยกัน
  • หม่อมป้าว (ชาวสวรรคโลก) มีธิดา 2 คน คือ
  1. เจ้าสุธรรมมา หัวเมืองแก้ว สมรสกับเจ้าหนานไชยวงศ์ หัวเมืองแก้วมีบุตร - ธิดา 2 คน คือ
    1. เจ้าบุญยก หัวเมืองแก้ว
    2. เจ้ามานพ หัวเมืองแก้ว
  2. เจ้าสุกันทา วิจฝัน สมรสกับเจ้าหนานนุช วิจฝัน มีบุตร - ธิดา 4 คน คือ
    1. เจ้าโสมนัส ศรีใจลม
    2. เจ้ามานิจ วิจฝัน
    3. เจ้าดวงเนตร วิจฝัน
    4. เจ้าปราณีต วิจฝัน
  • หม่อมสา มีโอรส 1 คน คือ
  1. เจ้าน้อยแดง มหายศปัญญา สมรสกับเจ้าบุ วงศ์เมืองแก่น มีบุตร - ธิดา 4 คน คือ
    1. เจ้าน้อยอ่วม มหายศปัญญา
    2. เจ้าน้อยอ๊อด มหายศปัญญา
    3. เจ้าจำปา ศรีวิไล
    4. เจ้าบัวจันทร์ ประเทศรัตน์

เหตุการณ์กบฎเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ แก้

ในปีพ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลินที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว เจ้าพิริยเทพวงษ์จึงต้องเสด็จหลีภัยการเมืองไปประทับเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว[3] และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 ส่วนเจ้านายองค์อื่นๆถูกถอดยศศักดิ์ ถูกควบคุมลงไปกักตัวไว้ที่กรุงเทพฯ และให้ชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ร่วมถึงพระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) ก็ถูกภาคทัณฑ์ ให้ย้ายออกจากนครแพร่ชั่วคราว และงดสิทธิพิเศษต่างๆ จนกว่าจะแสดงความจงรักภักดีให้สยามพอใจ

นามสกุล แก้

พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า มหายศปัณยา ในวันที่ 2 เมษษยน พ.ศ. 2462 โดยเป็นชื่อของเจ้าปู่ คือ พระยาบุรีรัตน์ (หนามหายศ) และเจ้าบิดา คือ พระยาบุรีรัตน์ (หนานปัญญา)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง).หมู่บ้าน วังฟ่อน ดอตคอม
  2. เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย) .หมู่บ้าน วังฟ่อน ดอตคอม
  3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ประวัติเจ้าพิริยเทพวงศ์ (เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่) เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  5. คุ้มวงศ์บุรี .ประวัติพระยาบุรีรัตน์
ก่อนหน้า พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) ถัดไป
พระยาบุรีรัตน์ (หนานปัญญา มหายศปัญญา)   พระยาบุรีรัตน์แห่งนครแพร่
(พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2455)
  รัฐบาลสยามยกเลิกตำแหน่ง