รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ประชุมบทละคอนดึกดำบรรพ ฉบับบริบูรน์ พร้อมด้วยเรื่องประวัติเจ้าคุนพระประยูรวงส์และตำนานละคอนดึกดำบรรพ (พ.ศ. 2486) ได้ระบุถึงลำดับชั้นของภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งเป็น 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นพิเศษ ชั้นที่หนึ่ง ชั้นที่สอง ชั้นที่สาม และชั้นที่สี่ โดยสังเกตจากเครื่องใส่หมากที่ได้รับพระราชทานเป็นสำคัญ ดังนี้[1]
- ชั้นพิเศษ สำหรับพระราชทานพระมเหสีเทวี เรียกในกฎมนเทียรบาลว่า พระภรรยาเจ้า ได้หีบและพานหมากเสวยทองคำลงยาราชาวดี
- ชั้นที่ 1 สำหรับพระสนมเอก ได้รับพระราชทานพานทอง หีบหมากลงยา และกระโถนทองคำ แต่ขนาดย่อมกว่าเครื่องยศฝ่ายหน้า
- ชั้นที่ 2 สำหรับเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมอยู่งานที่ได้รับพระเมตตา หรือที่เรียกว่า พระสนม ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี
- ชั้นที่ 3 สำหรับนางอยู่งานที่ทรงเลือกไว้ใกล้ชิดพระองค์ เรียกว่า เจ้าจอมอยู่งาน ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำ และบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าจอม
- ชั้นที่ 4 สำหรับนางอยู่งานที่ใช้สอยในพระราชมนเทียร ได้รับพระราชทานหีบหมากเงินกาไหล่ทอง แต่ไม่นับเป็นเจ้าจอม
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการแต่งตั้งพระภรรยาเจ้า โดยการใช้คำนำหน้าพระนามเป็นครั้งแรก คือ สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในที่สมเด็จพระนางนาฏบรมอรรคราชเทวี และสมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ในที่สมเด็จพระนางนาถราชเทวี ก่อนหน้านี้ราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ไม่มีการตั้งพระภรรยาเจ้าพระองค์ใดเป็นพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการเลย[2] แต่ธรรมเนียมไทยในขณะนั้นยังไม่มีพระราชพิธีอภิเษกสมรส จึงให้นับว่าพระอัครมเหสีเป็นสมเด็จพระราชินี (Queen Consort) ตามอย่างสากล[3] ทว่าหลังพระอัครมเหสีสองพระองค์นั้นสวรรคต ก็มิทรงสถาปนาผู้ใดเป็นพระอัครมเหสีอีก แม้แต่พระภรรยาเจ้าอีกองค์หนึ่ง คือ หม่อมเจ้าพรรณราย ได้รับการยกย่องเป็นเจ้าข้างใน แต่ไม่ได้สถาปนาพระอิสริยยศให้สูงขึ้นแต่ประการใด[4]
หนังสือพิมพ์ Bangkok Calender ฉบับ พ.ศ. 2406 ระบุว่าในปีนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระภรรยาถึง 34 คน และมีนางห้ามที่เป็นลูกขุนนางอีก 74 คน ที่บิดานั้นทูลเกล้าถวายเพื่อเป็นบาทบริจาริกา สรุปแล้วทรงมีเจ้าจอมหม่อมห้ามในพระองค์รวมกัน 108 คน[5] นอกจากนี้พระองค์ยังเคยส่งคณะราชทูตไปกรุงลอนดอน ทรงเสียพระทัยที่ไม่สามารถซื้อหญิงฝรั่งมาเป็นนางสนมได้ ต่างจากเวลาคณะทูตสยามไปกรุงจีน ทรงประกาศไว้ความว่า "อนึ่ง ถ้าอังกฤษจะนินทาว่าตื่นก็ควรแล้ว ด้วยเราเปนชาวป่าได้เข้าไปในเมืองสวรรค์ เสียใจอยู่แต่ว่า ถ้าเปนถึงเมืองสวรรค์แล้ว ผู้ที่ไปเปนแต่ไปชมนางเทพอัปสรกัญญา แต่จะซื้อมาเหมือนผู้หญิงจีนไม่ได้ ต้องกลับมาแผลงรัง ถ้ากระนั้นซื้อได้แต่เครื่องแต่งนางสวรรค์ มาแต่งนางมนุษย์เราที่นี้เล่นบ้างก็จะดีอยู่ พอดูเล่นประหลาด ๆ"[6] แม้จะมิได้หญิงฝรั่งมาเป็นบาทบริจาริกา แต่พระองค์มีพระสนมเป็นหญิงต่างด้าวรับราชการอยู่ เช่น เจ้าจอมมารดาดวงคำจากกรุงเวียงจันทน์ พระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวงจากกรุงกัมพูชา และตนกูสุเบียจากกรุงลิงกา[7] หากบาทบริจาริกาสองนางหลังนี้ประสูติกาลพระราชบุตร พระราชบุตรนั้นจะมีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าฟ้า เพราะมีมารดาเป็นเจ้าหญิงต่างด้าวหรือเป็นธิดาเจ้าประเทศราช[3] แต่เจ้าจอมทั้งสองก็มิได้ประสูติกาลพระราชบุตรเลย
บาทบริจาริกาเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน แอนนา ลีโอโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก อธิบายว่าภายในเขตพระราชฐานชั้นในนั้นมีลักษณะเหมือนเป็นเมืองย่อม ๆ มีร้านรวง ถนน ตลาด และสวน ที่มีสตรีดูแลอยู่ทั้งหมด[8] หญิงที่ถวายตัวแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีมาก นอกจากการปรนนิบัติพัดวีพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็ล้วนมีหน้าที่อื่น ๆ กันตามสมควร เช่น เย็บปักถักร้อย ทำพวงมาลัย ทำอาหารคาวหวาน เป็นนางละครหรือนักดนตรีมโหรี และหลายคนไม่มีโอกาสได้ถวายตัวไปถึงห้องพระบรรทมของพระเจ้าอยู่หัวเลย[6] แอนนา ลีโอโนเวนส์กล่าวถึงกิจกรรมในราชสำนักและการปรนนิบัติของนางบาทบริจาริกาไว้ว่า "ตอนบ่าย 2 พระองค์ [พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว] ตื่นบรรทมเองโดยมีพวกผู้หญิงช่วยกันสรงน้ำและชโลมน้ำมันให้ จากนั้นพระองค์เสด็จไปยังห้องเสวยซึ่งจะจัดเสิร์ฟอาหารมื้อใหญ่สุดของวันถวาย พระองค์สนทนาปราศรัยกับบรรดาชายาและสนมคนโปรด พระองค์อุ้มลูก ๆ กอดลูก สรรหาคำถามชวนขันหรือน่าพิศวงมาถามลูก ๆ ไม่หยุดหย่อน ทั้งยังทำหน้าตาตลก ๆ หยอกล้อลูก ๆ วัยทารก ยิ่งโปรดแม่ก็ยิ่งรักลูก ความรักลูกเป็นคุณสมบัติอันหนักแน่นมั่นคงของผู้มีอำนาจเด็ดขาดหากโดดเดี่ยวเดียวดายผู้นี้ พวกเขามัดใจพระองค์ด้วยความน่ารักและความไว้วางใจ ทำให้พระองค์สดชื่นกระปรี้กระเปร่าไปกับท่าทางไร้เดียงสาของลูก ๆ ที่ช่างร่าเริง สง่างาม และน่าเอ็นดูนัก"[9]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศไว้ ความว่า "อนึ่ง ผู้หญิงบ้านนอกขอกนา เปนลูกเลขไพร่หลวงไพร่สมทาสขุนนาง ในหลวงไม่เอาเปนเมียดอก เกลือกจะมีลูกออกมา จะเสียเกียรติยศ แต่ผู้นำผู้หญิงงาม ๆ มาให้ก็ดีใจอยู่ ด้วยจะให้มีกิตติศัพท์เล่าฤๅว่า ยังไม่ชราภาพนัก จึงมีผู้หาเมียให้เท่านั้นดอก จึงรับไว้แล้วให้หัดเปนลครบ้าง มโหรีบ้าง เล่นการต่าง ๆ ไปโดยสมควร จะได้ทำหม่นหมองในคนต่ำ ๆ เลว ๆ นั้นหามิได้ ถ้าบิดามารดามาร้องจะขอตัวคืนไป ฤๅตัวร้องจะออกเอง ก็ไปง่าย ๆ ดี ๆ ผู้หญิงนั้นก็บริสุทธิ์อยู่ไม่เศร้าหมอง"[6] และมีพระกรุณาอนุญาตให้เจ้าจอมหม่อมห้ามลาออกจากราชการได้ ยกเว้นแต่ผู้ที่มีพระราชบุตรกับพระเจ้าอยู่หัว เพราะเกรงว่าจะเสียเกียรติแห่งพระเจ้าลูกเธอ หญิงที่ออกจากราชการแล้วจะออกไปสมรสใหม่ก็ไม่ทรงห้าม ดังในประกาศความว่า "ใคร ๆ ไม่สบายจะใคร่กราบถวายบังคม ลาออกนอกราชการไปอยู่วังเจ้าบ้านขุนนางบ้านบิดามารดา จะมีลูกมีผัวให้สบายประการใด ก็อย่าให้กลัวความผิดเลย ให้กราบทูลถวายบังคมลาโดยตรง แล้วก็จะโปรดให้ไปตามปรารถนาโดยสะดวก ไม่กักขังไว้ แลไม่ให้มีความผิดแก่ผู้นั้นแลผู้ที่จะเป็นผัวนั้นเลย ห้ามแต่อย่าให้สนสื่อ หาชู้หาผัวแต่ตัวยังอยู่ในราชการ แต่เจ้าจอมมารดาในพระเจ้าลูกเธอ จะโปรดให้ออกนอกราชการไปมีผัวใหม่ไม่ได้ จะเสียเกียรติยศพระเจ้าลูกเธอไป เมื่อจะใคร่ออกนอกราชการ เพียงจะอยู่กับพระเจ้าลูกเธอไม่มีผัวก็จะทรงพระกรุณาโปรด"[6] หนังสือพิมพ์ Bangkok Calender ฉบับ พ.ศ. 2406 รายงานว่ามีบาทบริจาริกาทูลเกล้าถวายฎีกาขอออกจากราชการจำนวน 27 คน[6]
รายพระนามและรายนาม
แก้พระภรรยาเจ้า
แก้ลำดับ | พระบรมฉายาลักษณ์ | พระนาม | พระชาติตระกูล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1. | สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในที่สมเด็จพระนางนาฏบรมอรรคราชเทวี ตำแหน่ง : พระอัครมเหสี พระนามเดิม: หม่อมเจ้าโสมนัส ในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระราชสมภพ : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2377 สวรรคต : 10 ตุลาคม พ.ศ. 2395 (17 พรรษา) |
|
||
2. | สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ในที่สมเด็จพระนางนาถราชเทวี ตำแหน่ง : พระอัครมเหสี พระนามเดิม: หม่อมเจ้ารำเพย ในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระราชสมภพ : 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 สวรรคต : 9 กันยายน พ.ศ. 2404 (27 พรรษา) |
|||
3. | หม่อมเจ้าพรรณราย พระนามเดิม: หม่อมเจ้าแฉ่ ในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ประสูติ : 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381 สิ้นพระชนม์ : 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 (76 ปี) |
|
บาทบริจาริกา
แก้เจ้าจอมมารดา
แก้ลำดับ | รูป | นาม | ชาติตระกูล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1. | เจ้าจอมมารดากลิ่น ตำแหน่ง : พระสนมเอก[10] นามเดิม: กลิ่น, ซ่อนกลิ่น (สกุลเดิม คชเสนี) เกิด : พ.ศ. 2377 ถึงแก่อสัญกรรม : 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (91 ปี) |
|
||
2. | เจ้าจอมมารดาเกศ, เกษ เกิด : พ.ศ. 2362 ถึงแก่อสัญกรรม : 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 (96 ปี)[11] |
|
||
3. | เจ้าจอมมารดาแก้ว นามเดิม: แก้ว (สกุลเดิม บุรณศิริ)[12] เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 24 มกราคม พ.ศ. 2444[12] |
|
||
4. | เจ้าจอมมารดาเขียน นามเดิม: เขียน (สกุลเดิม สิริวันต์) ฉายา : เขียนอิเหนา เกิด : พ.ศ. 2385 ถึงแก่อสัญกรรม : พ.ศ. 2484 (99 ปี) |
|
||
5. | เจ้าจอมมารดาจันทร์ ตำแหน่ง : พระสนมเอก[13] นามเดิม: จันทร์ (สกุลเดิม สุขสถิต) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448[13] |
|
||
6. | เจ้าจอมมารดาชุ่ม นามเดิม: ชุ่ม (สกุลเดิม โรจนดิศ) เกิด : พ.ศ. 2387 ถึงแก่อสัญกรรม : 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 (80 ปี) |
|
||
7. | เจ้าจอมมารดาเชย เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 17 ธันวาคม พ.ศ. 2451[14] |
|
||
8. | เจ้าจอมมารดาดวงคำ นามเดิม: เจ้าหนูมั่นแห่งเวียงจันทน์ ฉายา : มั่นดวงคำ เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 29 ตุลาคม พ.ศ. 2449[15] |
|
||
9. | เจ้าจอมมารดาตลับ ตำแหน่ง : พระสนมเอก[16] นามเดิม: ตลับ (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) เกิด : พ.ศ. 2375 ถึงแก่อสัญกรรม : พ.ศ. 2427 (52 ปี)[17] |
|
||
10. | เจ้าจอมมารดาเที่ยง ตำแหน่ง : พระสนมเอก[16] นามเดิม: เที่ยง (สกุลเดิม โรจนดิศ) เกิด : 27 ธันวาคม พ.ศ. 2374 ถึงแก่อสัญกรรม : 24 มกราคม พ.ศ. 2456 (81 ปี) |
|
||
11. | เจ้าจอมมารดาน้อย นามเดิม: คุณหญิงน้อย เกิด : 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348[18] ถึงแก่อสัญกรรม : พ.ศ. 2389–2400 (ราว 41–52 ปี) |
|
||
12. | เจ้าจอมมารดาบัว นามเดิม: บัว (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 31 มีนาคม พ.ศ. 2441 |
|
||
13. | เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ตำแหน่ง : พระสนมเอก[19] นามเดิม: เปี่ยม (สกุลเดิม สุจริตกุล) ประสูติ : 5 มีนาคม พ.ศ. 2381 พิราลัย : 13 เมษายน พ.ศ. 2447 (66 ปี) |
|
||
14. | เจ้าจอมมารดาพึ่ง, ผึ้ง ตำแหน่ง : พระสนมเอก[13] นามเดิม: เต่า (สกุลเดิม อินทรวิมล) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 9 มีนาคม พ.ศ. 2433 (53 ปี)[13] |
|
||
15. | เจ้าจอมมารดาพุ่ม นามเดิม: พุ่ม (สกุลเดิม ณ ราชสีมา) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
16. | เจ้าจอมมารดาเพ็ง นามเดิม: หุ่น ฉายา : หุ่นเมขลา เกิด : พ.ศ. 2386 ถึงแก่อสัญกรรม : 28 กันยายน พ.ศ. 2432[20] |
|
||
17. | เจ้าจอมมารดาแพ ตำแหน่ง : พระสนมเอก[13] นามเดิม: แพ (สกุลเดิม ธรรมสโรช) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 |
|
||
18. | เจ้าจอมมารดามาไลย เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
19. | เจ้าจอมมารดาวาด ตำแหน่ง : พระสนมเอก[21] นามเดิม : แมว (สกุลเดิม งามสมบัติ) ฉายา : แมวอิเหนา เกิด : 11 มกราคม พ.ศ. 2384 ถึงแก่อสัญกรรม : 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (98 ปี) |
|
||
20. | เจ้าจอมมารดาสังวาล ตำแหน่ง : พระสนมโท[22] นามเดิม: ปล้อง (สกุลเดิม ณ ราชสีมา) สมญา : หนูสังวาลย์ เกิด : พ.ศ. 2381 ถึงแก่อสัญกรรม : 8 กันยายน พ.ศ. 2456 (75 ปี) |
|
||
21. | เจ้าจอมมารดาสำลี ตำแหน่ง : พระสนมเอก[11] นามเดิม: สำลี (สกุลเดิม บุนนาค) เกิด : พ.ศ. 2378 ถึงแก่อสัญกรรม : 21 มกราคม พ.ศ. 2443 (65 ปี) |
|
||
22. | เจ้าจอมมารดาสุ่น นามเดิม: ยี่สุ่น (สกุลเดิม สุกุมลจันทร์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 3 กันยายน พ.ศ. 2443[23] |
|
||
23. | เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง นามเดิม: หม่อมราชวงศ์แสง (สกุลเดิม ปาลกะวงศ์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
24. | เจ้าจอมมารดาหรุ่น นามเดิม : หรุ่น (สกุลเดิม ศุภมิตร)[12] เกิด : พ.ศ. 2384 ถึงแก่อสัญกรรม : 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 (88 ปี) |
|
||
25. | เจ้าจอมมารดาห่วง เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : พ.ศ. 2463 |
|
||
26. | เจ้าจอมมารดาหว้า เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
27. | เจ้าจอมมารดาหุ่น เกิด : พ.ศ. 2383[25] ถึงแก่อสัญกรรม : 16 มีนาคม พ.ศ. 2467 |
|
||
28. | เจ้าจอมมารดาเหม ฉายา : แฝดเหม เกิด : พ.ศ. 2382 ถึงแก่อสัญกรรม : 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 (83 ปี)[26] |
|
||
29. | เจ้าจอมมารดาโหมด ตำแหน่ง : พระสนมโท[12] นามเดิม: โหมด (สกุลเดิม อินทรวิมล) เกิด : พ.ศ. 2381 ถึงแก่อสัญกรรม : 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 (81 ปี)[12] |
|
||
30. | เจ้าจอมมารดาอิ่ม, อินทร์ เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 19 ตุลาคม พ.ศ. 2450[27] |
|
||
31. | เจ้าจอมมารดาเอม นามเดิม: เอม (สกุลเดิม นาครทรรพ) เกิด : พ.ศ. 2382 ถึงแก่อสัญกรรม : 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 (75 ปี)[28] |
|
||
32. | เจ้าจอมมารดาเอี่ยม เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : 3 ตุลาคม พ.ศ. 2443[29] |
|
เจ้าจอม
แก้ลำดับ | รูป | นาม | ชาติตระกูล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1. | เจ้าจอมกลิ่น นามเดิม : กลิ่น (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ภายหลังได้เป็น ท้าวศรีสัจจา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[30] | |
2. | เจ้าจอมกลีบ นามเดิม : กลีบ (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
3. | เจ้าจอมกลีบ เกิด : พ.ศ. 2391 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ขอลาออกจากราชการเมื่ออายุ 15 ปี เพราะมีมรดกจากการมรณกรรมของบิดาไว้เลี้ยงตัวได้[32] | |
4. | เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง พระนามเดิม : นักเยี่ยม ประสูติ : พ.ศ. 2394 สิ้นพระชนม์ : ไม่มีข้อมูล |
|
||
5. | เจ้าจอมกุหลาบ นามเดิม : กุหลาบ (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
6. | เจ้าจอมกุหลาบ นามเดิม : กุหลาบ (สกุลเดิม ณ สงขลา)[33] เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
7. | เจ้าจอมเกด เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
8. | เจ้าจอมเกตุ นามเดิม : เกตุ (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
9. | เจ้าจอมเขียน นามเดิม : เขียน (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
10. | เจ้าจอมแจ่ม นามเดิม : แจ่ม (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการ[35] | |
11. | เจ้าจอมจับ นามเดิม : จับ (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
12. | เจ้าจอมช้อย นามเดิม : ช้อย (สกุลเดิม โรจนดิศ) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
13. | เจ้าจอมตาด เกิด : พ.ศ. 2369 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 37 ปี เดิมถวายตัวเป็นพนักงานชวาลามาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ลาออกเพราะอยากใช้ชีวิตนอกพระราชวัง[32] | |
14. | เจ้าจอมทองดี เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
15. | เจ้าจอมทับทิม นามเดิม : ทับทิม (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
16. | เจ้าจอมทับทิม นามเดิม : ทับทิม (สกุลเดิม เพ็ญกุล) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับพระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ บุนนาค)[36] | |
17. | เจ้าจอมทับทิม นามเดิม : ทับทิม (สกุลเดิม วัชโรทัย) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
18. | เจ้าจอมทับทิม นามเดิม : ทับทิม (สกุลเดิม สุรคุปต์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
19. | เจ้าจอมทิพย์ เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
20. | เจ้าจอมนวน นามเดิม : นวน (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการ[35] | |
21. | เจ้าจอมบุนนาค เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
22. | เจ้าจอมประทุม นามเดิม : เจ้าประทุมแห่งเวียงจันทน์ เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
23. | เจ้าจอมปริก เกิด : พ.ศ. 2390 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ขอลาออกจากราชการเมื่ออายุ 16 ปี ตามความประสงค์ของมารดา และมีทักษะการเป็นนางละครสามารถเลี้ยงตัวได้[32] | |
24. | เจ้าจอมเปลี่ยน เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
25. | เจ้าจอมเป้า นามเดิม : เป้า (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
26. | เจ้าจอมเผือก เกิด : พ.ศ. 2368 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ขอลาออกจากราชการเมื่ออายุ 38 ปี เดิมเป็นเจ้าจอมอยู่งานในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพนักงานชวาลาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลาออกเพราะอยากใช้ชีวิตนอกพระราชวัง[32] | |
27. | เจ้าจอมพร้อม นามเดิม : พร้อม (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกมาสมรสกับพระยาประสการีวงศ์ (ชาย) และพระสถลรัฐยาภิบาล (นุ้ย บุณยรัตพันธุ์)[39] | ||
28. | เจ้าจอมนักพลอย พระนามเดิม : นักพลอย ประสูติ : ไม่มีข้อมูล สิ้นพระชนม์ : ไม่มีข้อมูล |
|
||
29. | เจ้าจอมพัน เกิด : พ.ศ. 2391 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ออกจากราชการเมื่ออายุ 15 ปี เพราะเป็นคนมือไว จึงถูกเชิญให้ออกจากราชการ[32] | |
30. | เจ้าจอมพุ่ม เกิด : พ.ศ. 2390 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ขอลาออกจากราชการเมื่ออายุ 16 ปี เพราะมีมรดกจากการมรณกรรมของบิดาไว้เลี้ยงตัวได้[32] | |
31. | เจ้าจอมรุน เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
32. | เจ้าจอมเล็ก เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
33. | เจ้าจอมหม่อมหลวงเลี่ยม นามเดิม : หม่อมหลวงเลี่ยม เทพหัสดิน เกิด : พ.ศ. 2385 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 21 ปี เดิมถวายตัวเป็นพนักงานพระแสง แต่ลาออกเพราะป่วยเป็นโรคลมสันดาน[32] | |
34. | เจ้าจอมเลี่ยม เกิด : พ.ศ. 2391 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 15 ปี ลาออกเพราะ "...หูตาน่ากลัวนัก ขัดใจก็ออกเสีย บิดามารดาก็เห็นชอบด้วย"[32] | |
35. | เจ้าจอมวัน นามเดิม : วัน (สกุลเดิม บุนนาค) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
36. | เจ้าจอมวาศ นามเดิม : วาศ (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธุ์)[40] | |
37. | เจ้าจอมสังวาล เกิด : พ.ศ. 2388 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 18 ปี ตามความประสงค์ของมารดา และมีทักษะการเป็นนางละครสามารถเลี้ยงตัวได้[32] | |
38. | เจ้าจอมสารภี เกิด : พ.ศ. 2391 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 15 ปี ให้ออกเพราะ "...รูปพรรณ์ก็ชอบกลอยู่..." และ "...ทรงเห็นว่ามีกิริยาแง่งอนศึกษามากเกินการไป..."[32] | |
39. | เจ้าจอมตนกูสุเบีย พระนามเดิม : เติงกูซาฟียะฮ์ บินตี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน มูฮัมเมด มูอัซซัม ชะฮ์ ประสูติ : ไม่มีข้อมูล สิ้นพระชนม์ : 16 มกราคม พ.ศ. 2437 |
|
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับเติงกูลง บินเติงกูกูดิน | |
40. | เจ้าจอมเสงี่ยม นามเดิม : เสงี่ยม (สกุลเดิม อมาตยกุล) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|||
41. | เจ้าจอมแสง เกิด : พ.ศ. 2367 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 39 ปี เคยเป็นเจ้าจอมอยู่งานในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพนักงานพระสุธารสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลาออกเพื่อไปใช้ชีวิตออกพระราชวัง[32] | |
42. | เจ้าจอมหนูชี นามเดิม : หนูชี (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
43. | เจ้าจอมหนูสุด นามเดิม : สุด (สกุลเดิม บุนนาค)[42] เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
44. | เจ้าจอมหุ่น เกิด : พ.ศ. 2383 ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 23 ปี ถวายตัวแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้าจอมอยู่งานในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอลาออกเพื่อไปใช้ชีวิตออกพระราชวัง[32] | |
45. | เจ้าจอมเหลี่ยม เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
46. | เจ้าจอมองุ่น เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
47. | เจ้าจอมอรุ่น ฉายา : อรุ่นบุษบา เกิด : พ.ศ. 2385 ถึงแก่อสัญกรรม : 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 (82 ปี) |
|
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับพระยาอรรคราชนาคภักดี (เนตร เนตรายน)[43] | |
48. | เจ้าจอมอำพัน นามเดิม : อำพัน (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
49. | เจ้าจอมอิ่ม นามเดิม : อิ่ม (สกุลเดิม ณ นคร) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
||
50. | เจ้าจอมอิ่ม นามเดิม : อิ่ม (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับพระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม บุณยรัตพันธุ์)[35] | |
51. | เจ้าจอมเอี่ยม นามเดิม : เอี่ยม (สกุลเดิม จาตุรงคกุล) เกิด : ไม่มีข้อมูล ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล |
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, หน้า 43-44
- ↑ วิภา จิรภาไพศาล (11 พฤษภาคม 2564). "วิวัฒนาการความเป็นมาของตำแหน่ง "พระภรรยาเจ้า"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระ. "พระราชนิพนธ์ ธรรมเนียมราชตระกูล ในกรุงสยาม". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""หม่อมเจ้าพรรณราย" พระมเหสีผู้ทรง "ออกรับแขกเมือง" สมัยรัชกาลที่ 4". ศิลปวัฒนธรรม. 22 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สตรีสยามในอดีต, หน้า 244-245
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 สตรีสยามในอดีต, หน้า 246-248
- ↑ นักรบ มูลมานัส (10 ตุลาคม 2561). "เรื่องเล่าเส้นผมเจ้าดารารัศมี ทหารอินเดียนแดง ที่ไขข้อข้องใจว่าทำไมถึง Don't touch my hair!". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ มองสยามผ่านแอนนา, หน้า 163
- ↑ มองสยามผ่านแอนนา, หน้า 121
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 55
- ↑ 11.0 11.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 54
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 ราชสกุลวงศ์, หน้า 63
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 ราชสกุลวงศ์, หน้า 51
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 78
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 69
- ↑ 16.0 16.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 52
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (43): 385. 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 50
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 60
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 71
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 73
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 58
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 76
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 77
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 67
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 72
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 79
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 62
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 53
- ↑ 30.0 30.1 เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 12.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ลำดับสกุลบุณยรัตพันธุ์". สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 13
- ↑ 32.00 32.01 32.02 32.03 32.04 32.05 32.06 32.07 32.08 32.09 32.10 32.11 32.12 32.13 32.14 32.15 32.16 32.17 32.18 32.19 32.20 32.21 32.22 32.23 สตรีสยามในอดีต, หน้า 248-249
- ↑ เกียรติประวัติตระกูล ณ สงขลา (PDF). ม.ป.ท. 2554. p. 125.
- ↑ เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 10.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 35.5 "ลำดับสกุลบุณยรัตพันธุ์". สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 9
- ↑ ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก, หน้า 233
- ↑ สุเจน กรรพฤทธิ์. ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว. กรุงเทพฯ:สารคดี. 2555, หน้า 48-49
- ↑ คุณพุ่ม. นิราศบางยี่ขัน. ม.ป.ท.:โสภณพิพรรฒธนากร. 2465, หน้า 1
- ↑ 39.0 39.1 39.2 "ลำดับสกุลบุณยรัตพันธุ์". สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 16-17
- ↑ "ลำดับสกุลบุณยรัตพันธุ์". สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 12
- ↑ 41.0 41.1 ประวัติบรรพบุรุษ และสกุลวงศ์อมาตยกุล, หน้า 20
- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค. พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) เก็บถาวร 2012-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 18 เมษายน 2556
- ↑ ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก, หน้า 235
- Jeffary Finestone. สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ : บริษัทกู๊ดวิว เพรส จำกัด, พ.ศ. 2543. 394 หน้า. ISBN 974-87148-8-8
- สาระ มีผลกิจ. ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2551. 296 หน้า. ISBN 9744516817 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554. 368 หน้า. ISBN 9786167058580
- วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. ISBN 874341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ธนากิต. พระบรมราชินีนาถ เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์พีระมิด, พ.ศ. 2543.
ดูเพิ่ม
แก้- รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 1 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 2 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 3 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 4 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- รายพระนามพระภรรยาเจ้าและพระสนมในรัชกาลที่ 5 และ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ราชสกุล