พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ (25 ตุลาคม พ.ศ. 2397 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2449) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภักตร์พิมลพรรณ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2397 |
สิ้นพระชนม์ | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2449 (51 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4 |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อวันพุธ เดือน 12 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1216 ตรงกับวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2397 มีพระโสทรเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์ คือ หม่อมยิ่ง มีพระโสทรอนุชาสองพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีพระโสทรขนิษฐาหนึ่งพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีโสกันต์ขึ้น ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ความว่า "ครั้นมาถึง ณ เดือน ๒ เสด็จพระราชดำเนินออกไปเมืองเพ็ชรบุรี ให้ตั้งพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ พระองค์เจ้าหมันหยาพาธร วันศุกร เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ เวลาบ่าย พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์บนพระนครคิรีที่พระที่นั่งราชธรรมสภา ๓๐ รูป ตั้งกระบวนแห่แต่หน้าพระตำหนักมาตามถนนราชวิถี ขึ้นไปทรงฟังสวดพระพุทธมนต์ทั้ง ๓ วัน ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๕ ค่ำ เวลาเช้าโสกันต์ ครั้นเวลาบ่ายแห่มาสมโภชอีก ๑ วัน กระบวนแห่และเครื่องเล่นรายทางนั้นมีพร้อมทุกสิ่ง เหมือนอย่างโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์แล้วเสด็จกลับเข้ามากรุงเทพมหานคร"[1]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเมีย อัฐศก จุลศักราช 1268 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2449 สิริพระชันษา 51 ปี และเนื่องจากในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานน้ำหลวงอาบพระศพ ในช่วงค่ำวันเดียวกัน[2]
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- 25 ตุลาคม พ.ศ. 2397 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2449 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[3]
ราชตระกูล
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ |
พระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: เงิน แซ่ตัน | |||
พระชนนี: เจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4 |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: พระสำราญหฤทัย (อ้าว ธรรมสโรช) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี) | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ท้าวทรงกันดาร (สี) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล |
อ้างอิง
แก้- ↑ โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ และพระองค์เจ้ามัณยาภาธร.
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 570