เจ้าจอมมารดาดวงคำ ในรัชกาลที่ 4
เจ้าจอมมารดาดวงคำ[1][2] (เกิด: ไม่มีข้อมูล — อสัญกรรม: 29 ตุลาคม พ.ศ. 2449) เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีนามเดิมว่า เจ้าหนูมั่นแห่งเวียงจันทน์[3] สืบเชื้อสายมาจากเจ้านายลาวฝ่ายเวียงจันทน์ เป็นธิดาของเจ้าคลี่[4] พระโอรสในเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ กับเจ้าท่อนแก้ว ธิดาเจ้าอุปราช (ติสสะ)
เจ้าจอมมารดาดวงคำ | |
---|---|
เกิด | ไม่ปรากฏ กรุงเทพพระมหานคร ประเทศสยาม |
ถึงแก่อสัญกรรม | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
บุตร-ธิดา | • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี |
บิดา | เจ้าคลี่แห่งเวียงจันทน์ |
มารดา | เจ้าท่อนแก้วแห่งเวียงจันทน์ |
เมื่อเจ้าอนุวงศ์ ทรงก่อการวุ่นวายขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอุปราชไม่ได้ร่วมด้วย เจ้าคลี่ ผู้บิดา จึงได้พาครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในกรุงเทพฯ เจ้าหนูมั่นจึงเกิดที่กรุงเทพฯ ท่านมีพี่ชายคนหนึ่ง ชื่อเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (เจ้าหน่อคำ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี[5]
ครั้นเมื่อถวายตัวเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า ดวงคำ ทรงตรัสเรียกว่า มั่นดวงคำ[6] และให้ประสูติกาลพระราชธิดาสองพระองค์คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา (17 สิงหาคม พ.ศ. 2404 — 16 มิถุนายน พ.ศ. 2468)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2408 — 18 มีนาคม พ.ศ. 2505)
กล่าวกันว่าเจ้าจอมมารดาดวงคำนั้นเล่าลือกันว่าผิวเนื้อนวล ในนิราศวังบางยี่ขันที่คุณพุ่มแต่งเรื่องตามเสด็จพระองค์เจ้านารีรัตนาไปเยี่ยมพระญาติฝ่ายมารดาคือเจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ (เจ้าหนู) เจ้าเมืองมุกดาหาร เมื่อ พ.ศ. 2412 มีกลอนตอนหนึ่งว่า
แต่คุณจอมตรอมกรมอารมณ์อุรา | ไม่ผัดหน้าผิวเนื้อเธอเหลือนวล | |
ยังงามงดชดช้อยนั้นน้อยฤๅ | สมเขาฦๅว่าเปนองค์ทรงสงวน |
ที่ปราโมทย์โปรดปรานการก็ควร | แบบกระบวนบทบาทเยื้องยาตรา | |
— นิราศวังบางยี่ขัน |
อนึ่งเจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ เป็นโอรสของเจ้าอุปราช (ติสสะ)[7] และน้องชายของเจ้าท่อนแก้ว มารดาเจ้าจอมมารดาดวงคำ เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์มีบุตรีท่านหนึ่งรับราชการเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ เจ้าจอมประทุม[8]
เจ้าจอมมารดาดวงคำ มีชีวิตอยู่ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2449[9] การนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดํารงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาดวงคำพร้อมกับศพพี่ชายคือเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 126[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า[11]
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2012-11-30.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "การศพเจ้าจอมทิพมณฑา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (46): 1068. 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 69. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-18.
- ↑ "VIENTIANE The Khun Lo Dynasty". royalark.net. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ส.พลายน้อย. (2545, มกราคม). “ลาวบางกอก,” ศิลปวัฒนธรรม. 23(3) : 98–103
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. คาถาพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา. พระนคร:ราชบัณฑิตยสภา. 2472, หน้า 60
- ↑ "ประวัติเมืองมุกดาหารในอดีต". หนังสือพิมพ์มุกดาหารนิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-15. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คุณพุ่ม. นิราศบางยี่ขัน. ม.ป.ท.:โสภณพิพรรฒธนากร. 2465, หน้า 1
- ↑ ข่าวอสัญกรรม
- ↑ "การเมรุวัดเทพศิรินทราวาส ศพเจ้าจอมมารดาดวงคำและศพเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (49): 1332. 8 มีนาคม พ.ศ. 2450.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/035/374_1.PDF