ท้าววนิดาพิจาริณี (เจ้าจอมมารดาสุ่น ในรัชกาลที่ 4)

ท้าววนิดาพิจาริณี หรือ เจ้าจอมมารดาสุ่น มีนามเดิมว่า ยี่สุ่น[1] (ไม่ทราบ — 3 กันยายน พ.ศ. 2443)[1] เป็นนางละครและพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติการพระราชธิดาหนึ่งพระองค์คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี[2][3]

คุณ

ท้าววนิดาพิจาริณี (สุ่น)

ท้าววนิดาพิจาริณีขณะสวมชุดทหารจิงโจ้
เสียชีวิต3 กันยายน พ.ศ. 2443[1]
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุตรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี
บุพการีพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น สุกุมลจันทร์)
คุณหญิงกลิ่น สุรินทรราชเสนี
ญาติเจ้าจอมมารดาสุด ในรัชกาลที่ 5 (น้องสาว)
เจ้าจอมมารดาสาย ในรัชกาลที่ 5 (น้องสาว)

ประวัติ แก้

ท้าววนิดาพิจาริณี เกิดในครอบครัวอำมาตย์สืบสันดานมาแต่พระยาธรรมปุโรหิต (แก้ว) เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก[1] เป็นธิดาของพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น สุกุมลจันทร์) บ้างเขียนว่า "จัน"[2] กับคุณหญิงกลิ่น สุรินทรราชเสนี[1] (บางแห่งว่าเกิดกับมารดาชื่อ สุ่น)[2] มีน้องสาวร่วมบิดามารดาอีกสองคนเข้ารับราชการเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ เจ้าจอมมารดาสุด[4] และเจ้าจอมมารดาสาย[3]

เจ้าจอมมารดาสุ่นได้ถวายตัวเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สนองพระเดชพระคุณด้วยมีประสูติการพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 —20 กรกฎาคม พ.ศ. 2446)[1][2][3]

หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตไปแล้ว เจ้าจอมมารดาสุ่นยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็น ท้าววนิดาพิจาริณี ศักดินา 800 เมื่อปี พ.ศ. 2429[1][2][3]

ท้าววนิดาพิจาริณี ป่วยเป็นวัณโรคถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2443 ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 ราชสกุลวงศ์, หน้า 76
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 319
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ หน้า 135
  4. ราชสกุลวงศ์, หน้า 81
  5. "ข่าวตายในกรุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 17 (ตอนที่ 25): หน้า 314. 16 กันยายน ร.ศ. 119. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-27.
  • กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ กรุงเทพฯ : ยิปซี. 2552
  • ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554,