พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ[2] พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ เป็นอธิบดีกรมราชพัสดุ องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3][4] และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[5] และเป็นต้นราชสกุลเกษมศรี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค.jpg
อธิบดีกรมราชพัสดุ[1]
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าหญิงประสานศัพท์ เกษมศรี
หม่อม
9 ท่าน
พระบุตร30 องค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาจันทร์ พระสนมเอก
ประสูติ17 สิงหาคม พ.ศ. 2400
สิ้นพระชนม์3 มกราคม พ.ศ. 2459 (58 ปี)

พระประวัติแก้ไข

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 30 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ พระสนมเอก เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. 1219 ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400

เมื่อพระชันษาครบอุปสมบท ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร 1 พรรษา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นทิวากรวงษประวัติ ทรงศักดินา 15000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439[6] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำกับกรมช่างมุก 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติทรงรับราชการด้านใหญ่ เช่น ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงรับราชการตำแหน่งอธิบดีกรมราชพัสดุ ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แต่ทรงปฏิบัติได้ไม่นาน เนื่องจากประชวรพระโรคภายในจึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการประจำ คงรับแต่ราชการจรเป็นครั้งคราว ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อพ.ศ. 2430 เป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ ชุดที่ 3 และได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จุลสุราภรณ์ มงกุฎสยาม และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2

นอกจากทรงงานประจำและงานจรที่ทรงปฏิบัติแล้ว ยังมีงานอดิเรกที่ทรงรักและทรงอัจฉริยภาพอย่างยิ่ง ได้แก่

  • การละคร ทรงถนัดทั้งแบบละครเก่าและละครใหม่ ทรงแสดงละครทั้งละครพูดและละครร้อง เช่น โจร 40 ผัวกลัวเมีย และนิทราชาคริต
  • การดนตรี โปรดการเล่นซอสามสายและระนาด  ทรงจัดตั้งวงมโหรีปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในสมัยรัชกาลที่ 5
  • การเล่นกล้วยไม้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่รู้จักเลี้ยงกล้วยไม้อย่างประณีต จนในที่สุดก็ทรงเพาะพันธุ์ไม้ขึ้นได้สำเร็จ เช่น แคทลียาชื่อ "ทิวากาเรียนา"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ประชวรพระโรคบังคนเบาพิการ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2459) ณ วังถนนขาวสามเสน สิริพระชันษา 59 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงในพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑป และโปรดให้ข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน[7] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2459[2]

พระนิพนธ์แก้ไข

  1. โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ ห้องที่ 40 – 41 รวมโคลง 56 บท เนื้อความตั้งแต่ทศกัณฐ์ฝันร้ายจนถึงพิเภกทูลเรื่องทัพยักษ์ในเมืองลงกา
  2. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ได้แก่ โคลงประกอบรูปที่ 60 แผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ ภาพพระยาไทรถวายช้างเล็บครบ และโคลงประกอบรูปที่ 82 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพไฟไหม้อินทราภิเศกมหาปราสาท
  3. วชิรญาณสภาษิต จำนวน 2 บท
  4. โคลงสุภาษิตใหม่ หรือ โคลงสุภาษิตเจ้านาย จำนวน 16 บท ได้แก่ โคลงความรัก โคลงความเกลียดชัง โคลงความเบื่อหน่าย โคลงความเย่อหยิ่ง โคลงความอาลัย โคลงความริษยา โคลงความพยาบาท โคลงความอาย โคลงความกลัวขลาด โคลงความกล้าหาญ โคลงความเกียจคร้าน โคลงความเพียร โคลงความโทมนัส โคลงความโกง โคลงความสัตย์ซื่อ และโคลงความโกรธ
  5. โคลงความเท็จ ว่าด้วยของสิ่งเดียวจำนวน 7 บท ต่อมารวมพิมพ์ในชื่อ "โคลงพิพิธพากย์"  
  6. ยันตรสาตร ในโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์
  7. อธิบายด้วยเครื่องหอม 7 ประการ
  8. Court ข่าวราชการ 6 ฉบับคือ
    1. วันจันทร์ เดือน 9 ขึ้น 3 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238 (พ.ศ. 2419)  
    2. วันพุธ เดือน 9 แรม 4 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
    3. วันศุกร์ เดือน 10 ขึ้น 6 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
    4. วันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
    5. วันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
    6. วันจันทร์ เดือน 10 แรม 15 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238

พระโอรสและพระธิดาแก้ไข

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ มีชายาและหม่อมรวม 10 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมเพิ่ม (สกุลเดิม : สโรบล)
  2. หม่อมพลัด
  3. หม่อมลม้าย (สกุลเดิม : ปาณิกบุตร) หม่อมห้ามเอกรับตราจุลจอมเกล้า
  4. หม่อมเป้า
  5. หม่อมเจ้าหญิงประสานศัพท์ (ราชสกุลเดิม : สิงหรา) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร
  6. หม่อมสอน (สกุลเดิม : พวงนาค)
  7. หม่อมแช่ม
  8. หม่อมเชย
  9. หม่อมเชื้อ
  10. หม่อมแหวน (สกุลเดิม : ปาณิกบุตร)

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 30 พระองค์ เป็นชาย 18 พระองค์ และหญิง 12 พระองค์

พระรูป พระนาม พระมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
  1. หม่อมเจ้าปฏิพัทธ์เกษมศรี ที่ 1 ในหม่อมเพิ่ม มีนาคม พ.ศ. 2415 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 หม่อมชื่น
หม่อมรอด
หม่อมเนื่อง (ปันยารชุน)
  2. หม่อมเจ้าหญิงเม้า ที่ 2 ในหม่อมเพิ่ม พ.ศ. 2416 27 ธันวาคม พ.ศ. 2418
  3. หม่อมเจ้าสมบัติบูรณ์ หม่อมพลัด พฤษภาคม พ.ศ. 2417 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 หม่อมนาย
หม่อมเจริญ (ปาณิกบุตร)
หม่อมบู่
  4. หม่อมเจ้าศุภโยคเกษม
พระนามเดิม: หม่อมเจ้าขุนเณร
(พ.ศ. 2464: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม)
ที่ 3 ในหม่อมเพิ่ม 29 สิงหาคม พ.ศ. 2417 6 มกราคม พ.ศ. 2475 หม่อมขาว (สุรนันทน์)
หม่อมนวม (เสขรฤทธิ์)
หม่อมพิง (สุรนันทน์)
  5. หม่อมเจ้าหญิงผกามาลย์ ที่ 1 ในหม่อมลม้าย 1 มิถุนายน พ.ศ. 2424 27 มีนาคม พ.ศ. 2469
  6. หม่อมเจ้าหญิงรำไพเยาวยุภา หม่อมเป้า เมษายน พ.ศ. 2426 พ.ศ. 2454 หม่อมเจ้าอนุชาติสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์
  7. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) พ.ศ. 2428 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2434
  8. มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม ท.จ. หม่อมเจ้าหญิงประสานศัพท์ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429 25 กันยายน พ.ศ. 2506 หม่อมน้อม
หม่อมสอาด
หม่อมเจ้าหญิงศุขศรีสมร เกษมศรี
  9. นายพลตรี หม่อมเจ้านิลประภัศร ที่ 1 ในหม่อมสอน 29 ตุลาคม พ.ศ. 2433 15 ตุลาคม พ.ศ. 2476 หม่อมประภัศร์ (หงสกุล)
  10. หม่อมเจ้าตระการโชค ที่ 2 ในหม่อมลม้าย พ.ศ. 2433 1 มีนาคม พ.ศ. 2447
  11. หม่อมเจ้าสมภพ
พระนามเดิม: หม่อมเจ้าสำเภา
หม่อมแช่ม 7 สิงหาคม พ.ศ. 2434 24 กันยายน พ.ศ. 2506 หม่อมเยื้อน (ลักษณะประนัย)
  12. หม่อมเจ้า (เผือก) ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  13. หม่อมเจ้าจิตรโภคทวี ที่ 3 ในหม่อมลม้าย 10 ตุลาคม พ.ศ. 2436 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 หม่อมพร (เลาหเศรษฐี)
  14. หม่อมเจ้า (เล็ก) ที่ 2 ในหม่อมสอน 1 มกราคม พ.ศ. 2436 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2437
  15. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) 7 กันยายน พ.ศ. 2437 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2438
  16. หม่อมเจ้าวัฒยากร ที่ 3 ในหม่อมสอน 28 สิงหาคม พ.ศ. 2438 14 เมษายน พ.ศ. 2517 หม่อมละออง (สุขสถิตย์)
หม่อมสายหยุด (ตะเวทีกุล)
  17. หม่อมเจ้าอรรคพันธ์ ที่ 1 ในหม่อมเชย มิถุนายน พ.ศ. 2438 ตุลาคม พ.ศ. 2461
  18. หม่อมเจ้าหญิงศุขศรีสมร ที่ 4 ในหม่อมลม้าย 11 ตุลาคม พ.ศ. 2438 16 ธันวาคม พ.ศ. 2487 หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี
  19. หม่อมเจ้าหญิงอุทัยพงศ์ ที่ 1 ในหม่อมเชื้อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2439 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์
  20. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี พ.ศ. 2439
  21. หม่อมเจ้าหญิงสมทรง ที่ 4 ในหม่อมสอน 17 กันยายน พ.ศ. 2441 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล
  22. หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ ที่ 1 ในหม่อมแหวน 15 มกราคม พ.ศ. 2441 8 ธันวาคม พ.ศ. 2507 หม่อมเกษรบุปผา (อาคมานนท์)
  23. หม่อมเจ้าหญิงวิไลวรรณ ที่ 2 ในหม่อมเชื้อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 20 มกราคม พ.ศ. 2489 หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์
  24. หม่อมเจ้าหญิง (ตุ๊) ไม่ทราบปี 2 ตุลาคม พ.ศ. 2451
  25. หม่อมเจ้าสโมสรเกษม ที่ 5 ในหม่อมลม้าย 16 เมษายน พ.ศ. 2445 23 เมษายน พ.ศ. 2532 หม่อมเจ้าหญิงแขไขจรัสศรี (เทวกุล)
  26. หม่อมเจ้าหญิงมัณฑนา ที่ 2 ในหม่อมเชย 20 เมษายน พ.ศ. 2445 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488
  27. หม่อมเจ้าหญิงวงศ์แข ที่ 5 ในหม่อมสอน 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 18 กันยายน พ.ศ. 2539 หม่อมเจ้านิวัทธวงศ์ เกษมสันต์
  28. หม่อมเจ้ามงคลโยค ที่ 2 ในหม่อมแหวน 29 มิถุนายน พ.ศ. 2453 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473
  29. หม่อมเจ้าหญิงเกษมเสาวภา
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 3 ในหม่อมแหวน 8 มิถุนายน พ.ศ. 2457 29 มกราคม พ.ศ. 2545 เพียร์ ชัคกาเรีย (ปราโมทย์ ศิขรินทร์)
สุวัฒย์ ปราบณรงค์
  30. หม่อมเจ้าบุญโศลกเกษม ที่ 4 ในหม่อมแหวน 12 มกราคม พ.ศ. 2458 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 หม่อมศรีสมบัติ (อาคมานนท์)

พระนัดดาแก้ไข

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ มีพระนัดดารวม 95 คน ดังนี้

  • หม่อมเจ้าปฏิพัทธ์เกษมศรี เกษมศรี มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงชั้น เกษมศรี (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์หญิงชั้นสี่)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทรงสอางค์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสดศรี สุทัศน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงชูศรี เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์ระพีพันธุ์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงส่องศรี เทพหัสดิน
    • หม่อมราชวงศ์หญิงส่งศรี เกตุสิงห์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเสริมศรี เกษมศรี
  • หม่อมเจ้าสมบัติบูรณ์ เกษมศรี มีโอรสธิดา 6 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสมศรี สโรบล
    • หม่อมราชวงศ์หญิงบูรณศรี เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสิริผล เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์สมปอง เกษมศรี (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์สมเพส)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพงศ์ศรี พตด้วง
    • หม่อมราชวงศ์สมจิต เกษมศรี
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ประพฤทธิ์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงประภาศิริ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงศศิโฉม เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์จิตติน เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงแสงโสม เกษมศรี
    • หม่อมเกษมศรีศุภวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ขจิต เกษมศรี)
    • หม่อมราชวงศ์ (ชาย)
    • หม่อมราชวงศ์ (ชาย)
  • หม่อมเจ้าหญิงรำไพเยาวยุุภา ศุขสวัสดิ์ มีธิดา 1 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวาสรำไพ ศุขสวัสดิ์
  • หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์พงศ์พูนเกษม เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเปรมปรีดิ์มาน เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงศรีสอาด เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทมยันตี จักษุรักษ์
    • หม่อมราชวงศ์อุภัยเกษม เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์พูนสุข เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทอร์ศรี คงจำเนียร
  • หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงศรีสุภา เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงนิลสุดา โตกะหุต
    • หม่อมราชวงศ์ชัชวลิน เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงนิลประภา อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าสมภพ เกษมศรี มีโอรสธิดา 14 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์สมพงศ์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์จิราทิตย์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์ (ชาย)
    • หม่อมราชวงศ์ชุณหวงศ์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทำเนา จักรพันธุ์
    • ท่านผู้หญิงวรรณพิมล สรเทศน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเดือนเยี่ยม สินทวี
    • หม่อมราชวงศ์พงศ์เกษม เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงลำเภาพรรณ นุตเวช
    • หม่อมราชวงศ์อัครพงศ์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสิริลักษณา บุรณินทุ
    • หม่อมราชวงศ์เกษมศิริพันธุ์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงแน่งน้อย ศักดิ์ศรี
  • หม่อมเจ้าจิตรโภคทวี เกษมศรี มีโอรสธิดา 10 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจิตรเกษม อินทรครรชิต
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอุรุจิตรา โชติกเสถียร
    • หม่อมราชวงศ์อาจิตร เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์ทวีโภค เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงศมจิตรา เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์อุดมโภค เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์เกษมโภค เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์บูรณโภค เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเขมจิตรา เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์ศุภโภค เกษมศรี
  • หม่อมเจ้าวัฒยากร เกษมศรี มีโอรสธิดา 9 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงถนอมศรี เทวกุล
    • หม่อมราชวงศ์ทวีวัฒยา เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์วิวัฒย์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์นิติวัฒย์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเขมวัน แจ๊คสัน
    • หม่อมราชวงศ์วรวัฒย์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์ปริวัฒย์ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเขมศรี เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี
  • หม่อมเจ้าหญิงศุขศรีสมร เกษมศรี มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทมยันตี จักษุรักษ์
    • หม่อมราชวงศ์อุภัยเกษม เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์พูนสุข เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทอร์ศรี คงจำเนียร
  • หม่อมเจ้าหญิงอุทัยพงศ์ ศุขสวัสดิ์ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์สรวมสุข ศุขสวัสดิ์
    • หม่อมราชวงศ์เสริมสุข ศุขสวัสดิ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงยุพดี ศุขสวัสดิ์
    • หม่อมราชวงศ์ประสานสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงกฤษณา ศุขสวัสดิ์
  • หม่อมเจ้าหญิงสมทรง เทวกุล มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอนงคเทวัญ สุริยสัตย์
    • หม่อมราชวงศ์อุทัยเทวัญ เทวกุล
    • หม่อมราชวงศ์ทรงเทวัญ เทวกุล
    • หม่อมราชวงศ์อติเทวัญ เทวกุล
  • หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจิราธร อินทรปาลิต
    • หม่อมราชวงศ์พรพงศ์เกษม เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์เขมัสสิริ เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงธีรตาร์ เกษมศรี
  • หม่อมเจ้าหญิงวิไลวรรณ ศุขสวัสดิ์ มีธิดา 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเฉลิมสุข บุญไทย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงขวัญเกษม สุรคุปต์
  • หม่อมเจ้าสโมสรเกษม เกษมศรี มีโอรส 1 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี
  • หม่อมเจ้าหญิงวงศ์แข เกษมสันต์ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพันธุ์นิวัทธ์ เกษมสันต์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจันทรนิวัทธ์ เกษมสันต์
    • หม่อมราชวงศ์วงศ์นิวัทธ์ เกษมสันต์
    • หม่อมราชวงศ์ศุภนิวัทธ์ เกษมสันต์
  • หม่อมเจ้าบุญโศลกเกษม เกษมศรี มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจิราวดี จุฑาสมิต
    • หม่อมราชวงศ์วีระเดช เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงนพเกตมณี เต็งนิยม
    • หม่อมราชวงศ์ระวีวัฒนา เกษมศรี
    • หม่อมราชวงศ์ทิวาพันธุ์ เกษมศรี

พระอิสริยยศแก้ไข

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค (17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระยศแก้ไข

  • นายหมู่โท[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

พงศาวลีแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. อธิบดีกรมราชพัสดุ
  2. 2.0 2.1 "การพระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 711–715. 25 มิถุนายน 2459. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  4. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  5. อธิบดีกรมราชพัสดุองคมนตรี
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานสุพรรณบัตร และหิรัญบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (34): 414. 22 พฤศจิกายน ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (ง): 2408. 9 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. พระราชทานยศ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานแก่ท่านที่ได้รับพระสุพรรณบัตรและหิรัญบัตร, เล่ม ๑๓, ตอน ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๙, หน้า ๔๑๗
  10. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๕

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต, ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พล.ต. ม.ร.ว. และม.ร.ว แน่งน้อย  ศักดิ์ศรี.  ที่รฦก 150 ปี วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค  กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, 2550.
  • วชิรญาณ เล่มที่ 1 ฉบับที่ 1 จ.ศ. 1246  และพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ  กับประวัติเจ้าจอมมารดาจันทร์ในรัขกาลที่ 4.  กรุงเทพฯ : ชาตรี ศิลปสนอง, 2541.  (พิมพ์แจกเนื่องในงานฌาปนกิจศพ นางสายหยุด  ตะเวทิกุล  ณ เมรุวัดจันทนาราม  จังหวัดจันทบุรี   วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541)
  • อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าวัฒยากร  เกษมศรี ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 17 ธันวาคม 2517.  กรุงเทพฯ : ไชยเจริญการพิมพ์, 2517.