พระอินทร์อภัย (หรือ อินทรอไภย)[1] มีชื่อตัวว่า ไพ มีฐานันดรศักดิ์เดิมว่า เจ้าฟ้าทัศไภย (หรือ ทัศไพ)[1] เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หลังการผลัดแผ่นดินก็ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ แต่ด้วยมีความสามารถด้านการแพทย์ จึงเข้ารับราชการในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นตำแหน่งเจ้าราชนิกูลที่ พระอินทร์อภัย และเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4

พระอินทร์อภัย
เกิดราว พ.ศ. 2320
เสียชีวิตพ.ศ. 2358
สาเหตุเสียชีวิตถูกประหาร
อาชีพแพทย์
บิดามารดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์

พระอินทร์อภัยถูกประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2358 เพราะลอบเป็นชู้กับบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[2]

ประวัติ แก้

พระอินทร์อภัย มีฐานันดรศักดิ์เดิมว่า เจ้าฟ้าทัศไภย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประสูติแต่กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หรือเจ้าหญิงฉิม[1] ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาสี่คน ได้แก่ เจ้าฟ้าทัศพงษ์ เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมาร และเจ้าฟ้าปัญจปาปี[3]

หลังการผลัดแผ่นดิน เจ้าฟ้าทัศพงศ์และเจ้าฟ้าทัศไภยมีความรู้ทางการแพทย์ ได้รับราชการในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นเจ้าราชนิกุล ที่ พระพงษ์นรินทร์ และ พระอินทร์อภัย ตามลำดับ[2] มีตำแหน่งเข้าเฝ้าต่อจากเสนาบดี และสามารถเข้าออกในเขตพระราชฐานได้ เนื่องจากเป็นแพทย์

ด้วยความที่พระอินทร์อภัยเป็นแพทย์ในราชสำนักจึงสามารถเข้านอกออกในเขตพระราชฐานฝ่ายในได้โดยสะดวก พระอินทร์อภัยลอบเป็นชู้กับบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ เจ้าจอมอ่อน เจ้าจอมอิ่ม เจ้าจอมไม้เทด ทนายเรือกนายหนึ่ง และโขลนคนหนึ่ง เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทำการไต่สวนจนได้ความเป็นสัตย์ ทรงโปรดเกล้าให้ประหารชีวิตพระอินทร์อภัยและเจ้าจอมเมื่อปีวอก พ.ศ. 2358[4][5]

ทายาท แก้

พระอินทร์อภัยมีบุตร-ธิดา ดังนี้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี, หน้า 81
  2. 2.0 2.1 เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9687-35-3
  3. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  4. หญิงร้าย, หน้า 158
  5. "ทำไมเจ้าจอมมารดาน้อย หม่อมเชื้อสายพระเจ้าตากห้าวจนร.4ทรงเกือบสั่งยิง-ตัดหัวตามพ่อ". ศิลปวัฒนธรรม. 29 ตุลาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระพระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552. 576 หน้า. ISBN 978-611-7146-02-2
  • วรธิภา สัตยานุศักดิ์กุล. หญิงร้าย. กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป, 2562. 256 หน้า. ISBN 978-616-301-670-6