ท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 4)
ท้าวสมศักดิ์ นามเดิม เหม (พ.ศ. 2382 — 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465) เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] ประสูติการพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ต้นราชสกุลโศภางค์ ณ อยุธยา[1][3]
คุณ ท้าวสมศักดิ์ (เหม) | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2382 |
เสียชีวิต | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 (83 ปี)[1] |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ |
บิดามารดา | พระอัคนีสร (พิณ) แย้ม สุวรรณทัต |
ประวัติ
แก้ท้าวสมศักดิ์ มีนามเดิมว่าเหม เกิดราวปี พ.ศ. 2382 เป็นธิดาของพระอัคนีสร (พิณ) กับแย้ม (สกุลเดิม สุวรรณทัต) มารดาเป็นน้องสาวของพระยาราชภักดี (ทองคำ สุวรรณทัต)[4][5] และเจ้าจอมมารดางิ้ว พระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี[6] นอกจากนี้ยังเป็นญาติกับเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4 เมื่อนับจากฝ่ายมารดา[7][8]
เจ้าจอมมารดาเหมได้เข้าถวายตัวเป็นฝ่ายในสนองพระเดชพระคุณเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเรียกเจ้าจอมมารดาเหมว่า "แฝดเหม"[9] และได้รับพระราชทานหีบลงยาและขันทองคำ[2] เจ้าจอมมารดาเหมประสูติการพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ (18 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 — 11 ตุลาคม พ.ศ. 2432) เป็นต้นราชสกุลโศภางค์ ณ อยุธยา[1][3]
หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าจอมมารดาเหมก็ยังพำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็น ท้าวสุภัตติการภักดี พนักงานตรวจเครื่องวิเสทสำหรับราชการต่าง ๆ ในพระมหามณเฑียร ถือศักดินา 1,000 ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434[10] ต่อมาเลื่อนเป็น ท้าวอินทรสุริยา ปฏิบัติงานห้องเครื่องวิเสท และตำแหน่ง ท้าวสมศักดิ์ ปฏิบัติงานว่าการพนักงานฝ่ายในทั้งปวง เป็นตำแหน่งสุดท้าย[1][4][5]
ท้าวสมศักดิ์ ป่วยเป็นโรคชรา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 สิริอายุ 83 ปี เวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ มีประโคมกลองชนะเขียว 10 จ่าปี่ 1 หีบลองในและหีบทองประกอบนอก กับรถวอประเทียบรับศพเป็นเกียรติยศ[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[12]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[2]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[13]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 ราชสกุลวงศ์, หน้า 72
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-28.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)". ผู้จัดการรายวัน. 13 กุมภาพันธ์ 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 315
- ↑ 5.0 5.1 พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗, หน้า 133
- ↑ พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 76
- ↑ พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 313
- ↑ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗, หน้า 131
- ↑ คาถาพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, หน้า 36
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (33): 282. 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (ง): 2363. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชพิธีฉัตรมงคล แลถวายบังคมพระบรมรูป" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 1767. 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-28.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 80. 16 เมษายน พ.ศ. 2454.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-27.
- กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ กรุงเทพฯ : ยิปซี. 2552
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. คาถาพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา. พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา. 2472.
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554,