เจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 4
เจ้าจอมมารดาเอม (พ.ศ. 2382 — 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456) เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งให้ประสูติการพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ[1][2][3]
เจ้าจอมมารดาเอม | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2382[1] |
เสียชีวิต | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 (74 ปี)[1] |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ |
บิดามารดา | หลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ นาครทรรพ) เอี่ยม ปราณีประชาชน |
ประวัติ
แก้เจ้าจอมมารดาเอม เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2382[1][2] บ้างว่าเกิดปี พ.ศ. 2383[3] ในครอบครัวอำมาตย์ เป็นธิดาของหลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ นาครทรรพ) ยกกระบัตรกรุงเก่า กับภริยาชื่อเอี่ยม[1][2][3] มีพี่น้องจำนวนหนึ่ง เช่น หม่อมตาดเล็กในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ หม่อมสุวรรณและหม่อมพริ้งในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นอาทิ
ต่อมาเจ้าจอมมารดาเอมได้ถวายตัวเข้าเป็นฝ่ายในสนองพระเดชพระคุณเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ให้ประสูติการพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 — 22 มีนาคม พ.ศ. 2426) ถึงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 พร้อมทั้งหีบหมากกะไหล่ทองและกาน้ำกะไหล่ทอง[4]
หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตก็ยังพำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวังเพื่ออำรุงเลี้ยงพระราชธิดา แต่เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ลง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเจ้าจอมมารดาเอมก็อยู่เพียงตัวคนเดียว ออกมาอยู่นอกวังบ้าง กลับเข้าไปในวังบ้างตามอัตภาพ กระทั่งในปี พ.ศ. 2447 เจ้าจอมมารดาเอมเริ่มมีอาการป่วย จึงออกมารักษาตัวที่วังสรรพสาตรศุภกิจของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ จนถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456[5] พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2457 พร้อมกับศพของเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ในรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จเป็นองค์ประธาน[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2447 : เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 (ม.ป.ร.4)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 62. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-28.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554, หน้า 309-310
- ↑ 3.0 3.1 3.2 กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ กรุงเทพฯ : ยิปซี. 2552, หน้า 128
- ↑ 4.0 4.1 "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 570. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-28.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 2609. 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ การพระราชทานเพลิงพระศพและศพที่พระเมรุวัดราชาธิวาส พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ (หน้า ๖๖๙)