ยกกระบัตร
ตำแหน่งข้าราชการไทยโบราณ เทียบเท่าตำแหน่งพนักงานอัยการ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ยกกระบัตร ยกระบัตร ยกบัตร ยุกกระบัตร ยุกระบัตร หรือ ยุกรบัตร คือ ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวังในอดีต มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดีรักษาความยุติธรรม มีหน้าที่คล้ายคลึงตำแหน่งแมยิสเตร็ดในระบบการปกครองของตะวันตก
ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดการปกครองหัวเมืองรูปแบบใหม่ดังนี้
- หัวเมืองชั้นใน ทรงลดฐานะเมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวงลงมาเป็นเมืองจัตวาส่งขุนนางไปปกครอง
- หัวเมืองชั้นนอก ทรงผนวกหัวเมืองประเทศราชในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น สุโขทัย นครศรีธรรมราช เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ตามขนาดและความสำคัญของเมือง ด้านการปกครองจะส่งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครอง หัวเมืองจะมีอำนาจอิสระในการปกครองภายในเมืองของตนพอสมควร แต่ต้องอยุ่ในความควบคุมของราชธานี รวมทั้งต้องใช้ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของส่วนกลางด้วย ทางราชธานีจะส่งขุนนางส่วนกลางตำแหน่ง ยุกระบัตร หรือ ยกกระบัตร ไปสอดส่องดูแลการปฏิบัติราชการของเจ้าเมือง มีสิทธิพิจารณาคำอุทธรณ์ของราษฎรด้วย
- หัวเมืองประเทศราช อยุธยาไม่ได้เข้าไปปกครองแต่ให้เจ้านายเชื้อสายเจ้าเมืองเดิมปกครองอย่างอิสระ และจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้อยุธยาตามเวลาที่กำหนดไว้