พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474) อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399
สิ้นพระชนม์13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 (75 ปี)[1]
หม่อมหม่อมวาศน์
หม่อมส้มจีน
หม่อมไป๋
พระบุตร27 องค์
ราชสกุลกมลาศน์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง พระสนมเอก (ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)) เมื่อวันจันทร์ เดือน 12 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. 1218 ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 มีพระโสทรภราดาภคินีได้แก่

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา
  5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง
  6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
  7. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
  8. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช
  9. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์[2]

พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้เป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์[3]

ปี พ.ศ. 2419 ขณะมีพระชันษาได้ 20 ปี ทรงผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์[4]

พระองค์ทรงเริ่มรับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี เมื่อ พ.ศ. 2425 พระองค์ ทรงรับหน้าที่ซ่อมปรับปรุงเครื่องประดับประดาเครื่องศิลา กระถางต้นไม้ ประดับพระอารามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และกำกับราชการกรมช่างหล่อ

ปี พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2459[5][6] จนสิ้นพระชนม์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ประทับอยู่ที่วังบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ใกล้โรงพักสำราญราษฎร์ และสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. 1293 ตรงกับวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 สิริพระชันษา 74 ปี[7] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[8]

พระโอรสและพระธิดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร เป็นต้นราชสกุลกมลาศน์[9] มีหม่อมที่ปรากฏชื่อ 3 คน ได้แก่

  1. หม่อมวาศน์ (สกุลเดิม คชเสนี) ธิดาขุนพราหมณ์
  2. หม่อมส้มจีน
  3. หม่อมไป๋

มีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 27 องค์ เป็นชาย 14 องค์ และหญิง 13 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
  1. หม่อมเจ้าทิพาภา กมลาศน์ ไม่ทราบ พ.ศ. 2422 22 สิงหาคม พ.ศ. 2463 มิได้สมรส
  2. หม่อมเจ้าสุรเชษฐพงษ์ กมลาศน์ ไม่ทราบ พ.ศ. 2423 พ.ศ. 2463 มิได้สมรส
  3. หม่อมเจ้ามัณฑารพ กมลาศน์ ที่ 1 ในหม่อมวาศน์ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2425 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 มิได้สมรส
  4. หม่อมเจ้าฉลาดลบเลอสรร กมลาศน์ ที่ 2 ในหม่อมวาศน์ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 มิได้สมรส
  5. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ พฤษภาคม พ.ศ. 2428 ตุลาคม พ.ศ. 2429 มิได้สมรส
  6. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ พฤษภาคม พ.ศ. 2429 ตุลาคม พ.ศ. 2431 มิได้สมรส
  7. หม่อมเจ้าหญิงกลาง ไม่ทราบ พ.ศ. 2429 14 ธันวาคม พ.ศ. 2433 มิได้สมรส
  8. หม่อมเจ้าเฉลียววรรณมาลา ชยางกูร (ท่านหญิงแป้น) ที่ 3 ในหม่อมวาศน์ พ.ศ. 2430 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร
  9. หม่อมเจ้าดัชนี กมลาศน์ ไม่ทราบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2431 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 มิได้สมรส
  10. หม่อมเจ้าหญิงเล็ก ไม่ทราบ ตุลาคม พ.ศ. 2431 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 มิได้สมรส
  11. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี มิได้สมรส
  12. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี มิได้สมรส
  13. หม่อมเจ้าฉวีประภา กมลาศน์ ที่ 1 ในหม่อมไป๋ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 30 กันยายน พ.ศ. 2519 มิได้สมรส
  14. หม่อมเจ้านภมณี กมลาศน์ ที่ 2 ในหม่อมไป๋ 7 มีนาคม พ.ศ. 2433 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 มิได้สมรส
ไฟล์:หม่อมเจ้าศุขปรารภ.JPG 15. หม่อมเจ้าศุขปรารภ กมลาศน์ (ท่านชายเล็ก) ที่ 4 ในหม่อมวาศน์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2433 5 ตุลาคม พ.ศ. 2500 หม่อมพร้อม (เอี่ยมสะอาด)

หม่อมหลวงวงษ์ (กุญชร)

  16. หม่อมเจ้าพรปรีชา กมลาศน์ หม่อมส้มจีน 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 9 มีนาคม พ.ศ. 2503 หม่อมลมุล
  17. หม่อมเจ้าส้มจีน ไม่ทราบ พ.ศ. 2434 ไม่ทราบปี มิได้สมรส
  18. หม่อมเจ้าธาดาพันธ์ กมลาศน์ ที่ 3 ในหม่อมไป๋ 22 มกราคม พ.ศ. 2435 พ.ศ. 2476 หม่อมอรชร (จาตุรงคกุล)
  19. หม่อมเจ้ากลั่นแก้วสินธุ์ กมลาศน์ ไม่ทราบ 29 มกราคม พ.ศ. 2436 พ.ศ. 2506 หม่อมบุญรอด
  20. หม่อมเจ้าถวิลวิถาร กมลาศน์ (ท่านหญิงเล็ก) ที่ 5 ในหม่อมวาศน์ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 4 เมษายน พ.ศ. 2510 มิได้สมรส
  21. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบ พ.ศ. 2438 พ.ศ. 2447 มิได้สมรส
  22. หม่อมเจ้าปฏิภาณว่อง กมลาศน์ ไม่ทราบ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2439 พ.ศ. 2506 มิได้สมรส
  23. หม่อมเจ้าถ่องวิทยา กมลาศน์ ไม่ทราบ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2439 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 มิได้สมรส
  24. หม่อมเจ้าเตี้ย ไม่ทราบ พ.ศ. 2441 ไม่ทราบปี มิได้สมรส
  25. หม่อมเจ้าบุญญราษี กมลาศน์ ไม่ทราบ 24 กันยายน พ.ศ. 2444 28 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มิได้สมรส
  26. หม่อมเจ้าปรีชาพล กมลาศน์ ไม่ทราบ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 พ.ศ. 2506 หม่อมวิศิษฐ์ศรี (สิงหเสนี)
  27. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม ไม่ทราบ พ.ศ. 2448 ไม่ทราบปี มิได้สมรส

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์ (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2426)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (พ.ศ. 2426 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระยศ

แก้
นายกองตรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
รับใช้กองเสือป่า
ชั้นยศนายกองตรี

พระยศเสือป่า

แก้
  • 8 ธันวาคม 2460 – นายกองตรี[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/3275.PDF
  2. สมบัติ พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 297
  3. "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลของท้าวมังสี (ขำ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/113.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/114.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์
  8. ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เล่ม 49, ตอน 0 ง, 12 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4254
  9. "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 135. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. พระราชทานยศเสือป่า
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2017-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 44 หน้า 2567 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2470
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/061/536.PDF
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 564
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3120.PDF
  15. พระราชทานเหรียญจักรมาลา
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/438.PDF
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ   กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)
  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี