พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ หรือ กรมภู หรือ กรมภูธเรศ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 24 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ[2] ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. 1217 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2398
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
![]() | |
อธิบดีกรมพระนครบาล | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2419 - พ.ศ. 2429[1] |
หม่อม | หม่อมทองคำ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมสุ่น ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมแส ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมเล็ก ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมผึ่ง ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมอันเส็ง ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมหรุ่ม ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมองุ่น ทวีวงศ์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 15 พระองค์ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 4 |
ประสูติ | 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 |
สิ้นพระชนม์ | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2440 (42 ปี) |
พระองค์ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีกรมพระนครบาล ต่อมาในปี พ.ศ.2429 (จุลศักราช 1248) เนื่องจากสถานการณ์ที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม ราษฎรพากันตกใจหวั่นไหวไปทั่วทั้งพระนคร กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ผู้บังคับการกรมพระนครบาลในขณะนั้น ทรงไม่สามารถจัดการปราบปรามโจรผู้ร้ายได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ ออกจากตำแหน่งผู้บังคับการกรมพระนครบาล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระยาเทพประชุน และพระยาธรรมสารนิติวิชิตรภักดี ทั้ง 4 เป็นผู้มีอำนาจปรึกษาพร้อมกันบังคับการสิทธิขาด ในตำแหน่งที่เสนาบดี กรมพระนครบาล[3]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ประทับอยู่ที่วังสะพานช้างโรงสี เหนือ (เรียกกันว่า วังเหนือ) ซึ่งเดิมเป็นวังที่ประทับของ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ และกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา โดยเป็นวังในกลุ่มของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีอยู่ 3 วัง คือบริเวณที่ปัจจุบันเรียกกันว่า แพร่งนรา แพร่งสรรพศาสตร์ และแพร่งภูธร ทั้ง 3 แพร่งได้ชื่อมาจากเสด็จในกรม 3 พระองค์ เจ้าของวัง คือ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 25 ค่ำ ปีระกา นพศก จ.ศ. 1259 ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2440[4] พระชันษาได้ 42 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ทวีวงศ์
ในย่านถนนเจริญกรุง จะมีตลาดเก่าแก่ตลาดหนึ่งที่มีชื่อว่า ตลาดกรมภูธเรศ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "ตลาดกรมภู"
พระโอรสและพระธิดาแก้ไข
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลทวีวงศ์ มีหม่อม 8 ท่าน ได้แก่
- หม่อมทองคำ
- หม่อมสุ่น
- หม่อมแส
- หม่อมเล็ก
- หม่อมผึ่ง
- หม่อมอันเส็ง
- หม่อมหรุ่ม
- หม่อมองุ่น
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 14 พระองค์ เป็นชาย 6 พระองค์ และหญิง 8 พระองค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าหญิงสุนทรารมณ์ | หม่อมทองคำ | 29 กันยายน 2419 | 3 กุมภาพันธ์ 2465 | ||
2. หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ | ที่ 1 ในหม่อมแส | 11 กุมภาพันธ์ 2419 | พ.ศ. 2496 | หม่อมเฉื่อย (จารุจินดา) หม่อมราชวงศ์หญิงลมุล (สุประดิษฐ์) หม่อมอบ หม่อมวรรณ หม่อมหลวงหญิงพัวพันธ์ (ศิริวงศ์) | |
3. หม่อมเจ้ากลาง | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
4. หม่อมเจ้าหญิงทราบศิริมาน | หม่อมสุ่น | 21 กรกฎาคม 2421 | 3 กรกฎาคม 2496 | ||
5. หม่อมเจ้ากาญจนสังกาศ | หม่อมองุ่น | 19 ธันวาคม 2422 | 15 สิงหาคม 2495 | หม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี ทวีวงศ์ หม่อมเกษร หม่อมจงจิตต์ (มัธยมจันทร์) | |
6. หม่อมเจ้าชาติชูศักดิ์ | ที่ 1 ในหม่อมผึ่ง | 16 มีนาคม 2425 | 11 มิถุนายน 2454 | หม่อมพยอม (ประทีปะเสน) | |
7. หม่อมเจ้าหญิงลักษณลาวรรณ | มีนาคม หรือ เมษายน 2425 | 11 มิถุนายน 2445 | |||
8. หม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี | หม่อมเล็ก | 8 เมษายน 2426 | 1 พฤศจิกายน 2475 | หม่อมเจ้ากาญจนสังกาศ ทวีวงศ์ | |
9. หม่อมเจ้าหญิงพาณีอนงค์ (ท่านหญิงแจ๊ด) |
24 กรกฎาคม 2428 | 10 พฤษภาคม 2510 | |||
10. หม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ | ที่ 2 ในหม่อมแส | 5 เมษายน 2430 | 28 เมษายน 2502 | หม่อมหลวงหญิงนัดดาดวง (สิงหรา) หม่อมหลวงหญิงเกษสุดา (สิงหรา) | |
11. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | เมษายน 2431 | 15 มิถุนายน 2432 | |||
12. หม่อมเจ้าหญิงวิลาศกัญญา (ท่านหญิงชี) |
ที่ 2 ในหม่อมผึ่ง | 10 มกราคม 2431 | ไม่ทราบปี | ||
13. หม่อมเจ้าหญิงกลาง | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
14. หม่อมเจ้าหญิงเก๋ง | หม่อมอันเส็ง | ไม่ทราบปี | 30 พฤศจิกายน 2441 |
พระนัดดาแก้ไข
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช มีพระนัดดารวม 32 คน ดังนี้
- หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ทิพลาภ ทวีวงศ์ ที่ 1 ในหม่อมเฉื่อย
- หม่อมราชวงศ์เขจรเจริญลาภ ทวีวงศ์ ในหม่อมราชวงศ์หญิงลมุล
- หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์ภิรมย์เฉลิมลาภ) ที่ 2 ในหม่อมเฉื่อย
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิไลลาภ บุนนาค ในหม่อมวรรณ
- หม่อมราชวงศ์หญิงพิมพ์พงษ์ อินวะษา ในหม่อมหลวงหญิงพัวพันธ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงภัทรา สิงหเสนี ที่ 3 ในหม่อมเฉื่อย
- หม่อมราชวงศ์ดิลกลาภ ทวีวงศ์ ที่ 4 ในหม่อมเฉื่อย
- หม่อมเจ้ากาญจนสังกาศ ทวีวงศ์ มีโอรสธิดา 10 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ทวีลาภ ทวีวงศ์ ที่ 1 ในหม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี
- หม่อมราชวงศ์หญิงโสมสิริ ทวีวงศ์ ที่ 2 ในหม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี
- หม่อมราชวงศ์ชำนาญ ทวีวงศ์ ในหม่อมเกษร
- หม่อมราชวงศ์หญิงทวีศรี วรรณวัฒน์ ที่ 3 ในหม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี
- หม่อมราชวงศ์ทวีศักดิ์ ทวีวงศ์ ที่ 4 ในหม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี
- หม่อมราชวงศ์ทรงวิทย์ ทวีวงศ์ ที่ 1 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิตวดี อินทรวิชะ ที่ 2 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมราชวงศ์วีรวุฒิ ทวีวงศ์ ที่ 3 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมราชวงศ์ถวัลย์ศักดิ์ ทวีวงศ์ ที่ 4 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงลักษมี ชัวต์ ที่ 5 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมเจ้าชาติชูศักดิ์ ทวีวงศ์ มีธิดา 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงพยุงศักดิ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงชูศักดิ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงสิบศักดิ์ ทวีวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี ทวีวงศ์ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ทวีลาภ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงโสมสิริ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงทวีศรี วรรณวัฒน์
- หม่อมราชวงศ์ทวีศักดิ์ ทวีวงศ์
- หม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ ทวีวงศ์ มีโอรสธิดา 12 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงพันธุปรีดี ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์พันธุม ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์พันธุ์ปรีชา ทวีวงศ์ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมหลวงหญิงนัดดาดวง
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุดาพันธุ์ จงเกษม
- หม่อมราชวงศ์สุตพันธุ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงศิริพันธุ์ หลิมละมัย
- หม่อมราชวงศ์หญิงถนอมพันธุ์ แสงประดับ
- หม่อมราชวงศ์วีระพันธุ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์สันติพงศ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเปี่ยมพันธุ์ หุ่นแก้ว
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิมลพันธุ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงยุพาพันธุ์ สินธุพันธุ์ ทั้ง 9 นี้ในหม่อมหลวงหญิงเกษสุดา
พระเกียรติยศแก้ไข
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศแก้ไข
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[6]
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[7]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ reign-type = ดำรงตำแหน่ง | reign = พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2455
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (43): 385. 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ ประกาศเปลี่ยนอธิบดีกรมพระนครบาล
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- ณัฐชยา จากหนังสือ คู่มือนักชอป "จะซื้อซะอย่าง" '
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
- "พระเจ้าแผ่นดิน" กับเงินของ "แผ่นดิน"Archived 2007-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน