พ.ศ. 2562
ปี
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 2019)
พุทธศักราช 2562 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2019 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีกุน เอกศก จุลศักราช 1381 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้เป็นปีแห่งตารางธาตุ[1] เนื่องด้วยครบรอบ 150 ปีการประดิษฐ์ตารางธาตุโดยดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412
- ปีที่ 10 และปีสุดท้ายของคริสต์ทศวรรษ 2010, ปีที่ 19 ของคริสต์ศตวรรษที่ 21 และปีที่ 19 ของคริสต์สหัสวรรษที่ 3
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2562 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2019 MMXIX |
Ab urbe condita | 2772 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1468 ԹՎ ՌՆԿԸ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6769 |
ปฏิทินบาไฮ | 175–176 |
ปฏิทินเบงกอล | 1426 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2969 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 67 Eliz. 2 – 68 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2563 |
ปฏิทินพม่า | 1381 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7527–7528 |
ปฏิทินจีน | 戊戌年 (จอธาตุดิน) 4715 หรือ 4655 — ถึง — 己亥年 (กุนธาตุดิน) 4716 หรือ 4656 |
ปฏิทินคอปติก | 1735–1736 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3185 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2011–2012 |
ปฏิทินฮีบรู | 5779–5780 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2075–2076 |
- ศกสมวัต | 1941–1942 |
- กลียุค | 5120–5121 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12019 |
ปฏิทินอิกโบ | 1019–1020 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1397–1398 |
ปฏิทินอิสลาม | 1440–1441 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 31 / ศักราชเรวะ 1 (令和元年) |
ปฏิทินจูเช | 108 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4352 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 108 民國108年 |
เวลายูนิกซ์ | 1546300800–1577836799 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม
- ทุกงานที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2466 ยกเว้นการบันทึกเสียง กลายเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐ ซึ่งเป็นงานกลุ่มแรกที่กลายเป็นสาธารณสมบัตินับตั้งแต่การขยายระยะเวลาลิขสิทธิ์[2]
- ฌาอีร์ โบลโซนารูดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีบราซิล
- ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์วัตถุแถบไคเปอร์ 2014 MU69 กลายเป็นการสำรวจวัตถุที่เกิดขึ้นไกลที่สุดในระบบสุริยะ[3]
- ประเทศกาตาร์ประกาศลาออกจากโอเปก
- การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมายในประเทศออสเตรีย
- 3 มกราคม – ยานอวกาศฉางเอ๋อ 4 ของจีน เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนด้านไกลของดวงจันทร์[4]
- 6 มกราคม – สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน สละราชสมบัติจากการเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 15 แห่งประเทศมาเลเซีย ทำให้พระองค์เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์แรกที่สละราชสมบัติ[5]
- 10 มกราคม – ประเทศเวเนซุเอลาเกิดวิกฤตทางรัฐธรรมนูญ เมื่อฮวน กวยโดและรัฐสภา ประกาศว่าประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโร ไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง และเริ่มกระบวนการที่จะนำเขาออกจากตำแหน่ง[6]
- 18 มกราคม – เกิดการฉีกขาดของท่อส่งผ่านน้ำมันในตลาอัวลีลปัน ประเทศเม็กซิโก มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 144 คน และบาดเจ็บอีก 33 คน[7]
- 23 มกราคม – วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562: ผู้คนหลายพันคนประท้วง โดยเห็นด้วยกับประธานาธิบดีเฉพาะกาล ฮวน กวยโด มีผู้เสียชีวิตหลายคน ฝ่ายนิโกลัส มาดูโรตัดขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐ[8]
- 25 มกราคม – เขื่อนกักเก็บหางแร่ถล่มในนครบรูมาจิญญู ประเทศบราซิล มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 58 คน และผู้สูญหายอีกกว่า 300 คน[9]
- 27 มกราคม – เกิดเหตุระเบิดสองลูกซ้อนที่อาสนวิหารโฮโล ประเทศฟิลิปปินส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย และบาดเจ็บอีก 100 กว่าราย[10]
- 28 มกราคม – กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวหาบริษัทเทคโนโลยีหัวเว่ยของจีนว่ามีการฉ้อโกงจำนวนมากเกิดขึ้น เพิ่มความตึงเครียดให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน[11]
กุมภาพันธ์
แก้- 1 กุมภาพันธ์ – ประธานาธิบดีทรัมป์ยืนยันว่าสหรัฐจะถอนตัวออกจากสนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลางแห่งปี พ.ศ. 2530[12] วันต่อมารัสเซียประกาศระงับสนธิสัญญาตาม[13]
- 3 กุมภาพันธ์ – สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จถึงกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทำให้พระองค์เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์แรกที่เสด็จเยือนคาบสมุทรอาระเบีย[14]
- 5 กุมภาพันธ์ – กลุ่มตอลิบานสังหารผู้คนอย่างน้อย 47 คนในการโจมตีระหว่างที่มีการเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพอัฟกานิสถาน-ตอลิบานที่กรุงมอสโก มีอีก 12 คนที่ได้รับบาดเจ็บ[15]
- 12 กุมภาพันธ์ – สาธารณรัฐมาซิโดเนียเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย ยุติความขัดแย้งนับทศวรรษกับประเทศกรีซและยังเปิดทางในการเข้าร่วมนาโตและสหภาพยุโรป[16][17]
- 14 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุโจมตีด้วยระเบิดฆ่าตัวตายด้วยรถยนต์ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตกว่า 40 นาย เป็นการโจมตีที่ร้ายแรงที่สุดในกัศมีร์ในรอบสามทศวรรษ[18][19]
- 20 กุมภาพันธ์ – เกิดเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ในกรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 78 คน[20][21]
- 21 กุมภาพันธ์ – สเปซไอแอลปล่อยยานเบเรชีท ภารกิจสู่ดวงจันทร์ที่เอกชนจัดหาทุนเป็นครั้งแรกของโลก[22][23]
- 23 กุมภาพันธ์ – วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562: ประธานาธิบดีมาดูโรตัดขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกับโคลอมเบีย เนื่องจากมีสิ่งของความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมถูกพยายามที่จะส่งเข้ามาข้ามพรมแดน[24][25]
- 26 กุมภาพันธ์ – กองทัพอากาศอินเดียโจมตีทางอากาศใส่ค่ายที่อ้างว่าเป็นของกลุ่มก่อการร้ายในมูซาฟฟาราบัดและชาโกธี กัศมีร์ภายใต้การปกครองของปากีสถาน และที่บาลาก็อตในปากีสถานแผ่นดินใหญ่ ตามคำกล่าวอ้างของอินเดีย มีผู้ก่อการร้ายประมาณ 300 คนเสียชีวิต รวมทั้งเป้าหมายระดับสูง นำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างอินเดีย–ปากีสถาน พ.ศ. 2562
- 27–28 กุมภาพันธ์ – การประชุมสุดยอดเกาหลีเหนือ-สหรัฐ พ.ศ. 2562 จัดขึ้นที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยเป็นการประชุมสุดยอดครั้งที่สองระหว่างดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และ คิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ
มีนาคม
แก้- 11 มีนาคม – เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินโดยสารแบบโบอิ้ง 737 เอธิโอเปียแอร์ไลน์ส เที่ยวบินที่ 302 ตก ส่งผลให้ผู้โดยสาร 149 คน และลูกเรืออีก 8 คน เสียชีวิตทั้งหมด[26] เครื่องโบอิง 737 แบบ MAX 8 และ MAX 9 ถูกสั่งให้จอดทั่วโลก[27]
- 15 มีนาคม – มีผู้เสียชีวิต 51 คนและบาดเจ็บ 50 คนในการโจมตีก่อการร้ายต่อมัสยิดสองแห่งในไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ นับเป็นเหตุกราดยิงและก่อการร้ายที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์นิวซีแลนด์[28]
- 24 มีนาคม - การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย พุทธศักราช 2562
เมษายน
แก้- 10 เมษายน – นักวิทยาศาสตร์โครงการกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซอนเผยแพร่ภาพถ่ายของหลุมดำครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเป็นหลุมดำที่ตั้งอยู่ใจกลางดาราจักรเมซีเย 87[29][30]
- 11 เมษายน – จูเลียน อาสซานจ์ ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิลีกส์ ถูกจับหลังลี้ภัยในสถานเอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[31][32]
- 15 เมษายน – เกิดเหตุเพลิงไหม้อาสนวิหารน็อทร์-ดาม ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำให้หลังคาและยอดแหลมหลักถล่ม[33][34]
- 21 เมษายน – เกิดเหตุระเบิดแปดจุดในประเทศศรีลังกาช่วงเทศกาลอีสเตอร์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 290 คน บาดเจ็บมากกว่า 500 คน[35][36][37][38]
- 30 เมษายน – สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะทรงสละราชสมบัติให้กับเจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ถือเป็นการสิ้นสุดศักราชเฮเซ
พฤษภาคม
แก้- 1 พฤษภาคม – เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ที่ 126 แห่งญี่ปุ่น ภายหลังการสละราชบัลลังก์ของพระราชบิดาเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา
- 17 พฤษภาคม – รัฐสภาไต้หวันตรากฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน ทำให้ไต้หวันเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย[39]
- 19 พฤษภาคม – กูเกิลยกเลิกการสนับสนุนการปรับแอนดรอยด์สำหรับโทรศัพท์หัวเว่ย เช่นเดียวกับแอพกูเกิล เพลย์สโตร์และจีเมล หลังสหรัฐขึ้นบัญชีดำบริษัทหัวเว่ย[40]
- 20 พฤษภาคม – การนิยามหน่วยฐานเอสเอใหม่มีผลใช้บังคับ[41]
- 23 พฤษภาคม – การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2562: นเรนทระ โมทีและพรรคภารตียชนตาชนะการเลือกตั้งถล่มทลาย โดยพันธมิตรการเมืองของเขาคว้า 353 ที่นั่งจาก 543 ที่นั่ง[42][43][44]
มิถุนายน
แก้- 3 มิถุนายน – มีผู้ถูกฆ่ากว่า 100 คนเมื่อทหารซูดานและทหารอาสาสมัครจันจาวีดบุกและเปิดฉากยิงใส่ค่ายประท้วงนอกสำนักงานใหญ่กองทัพในกรุงคาร์ทูม ประเทศซูดาน[45]
- 7 มิถุนายน–7 กรกฎาคม – มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2019 ในประเทศฝรั่งเศส
- 13 มิถุนายน – เรือบรรทุกน้ำมันสองลำถูกโจมตีใกล้ช่องแคบฮอร์มุซขณะแล่นผ่านอ่าวโอมานท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างประเทศอิหร่านและสหรัฐ โดยสหรัฐกล่าวหาว่าอิหร่านอยู่เบื้องหลัง[46]
- 19 มิถุนายน – ทางการดัตช์ตั้งข้อหาชายสี่คนฐานฆ่าผู้โดยสารและลูกเรือจำนวน 298 คนของมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 ซึ่งถูกยิงตกขณะบินผ่านน่านฟ้ายูเครนในเดือนกรกฎาคม 2557[47]
- 20 มิถุนายน – ประเทศอิหร่านยิงโดรนสำรวจของสหรัฐตกเหนือช่องแคบฮอร์มุซหลังอ้างว่าโดรนลำดังกล่าวละเมิดน่านฟ้า ขณะที่สหรัฐอ้างว่ามันถูกยิงตกในน่านฟ้าสากลโดยเป็น "การโจมตีที่ไม่ได้ยั่วยุ"[48]
กรกฎาคม
แก้- 1 กรกฎาคม – ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศยืนยันว่าประเทศอิหร่านเกินขีดจำกัดคลังเก็บยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ[49]
- 17 กรกฎาคม
- ฮัวคิน "เอล ชาโป" กุซมาน อดีตหัวหน้าแก๊งซีนาโลอา ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดรายใหญ่สุดในสหรัฐ ได้รับตัดสินจำคุกตลอดชีวิตบวก 30 ปี[50]
- องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ[51]
- 18 กรกฎาคม – เกิดเหตุลอบวางเพลิงเกียวโตแอนิเมชัน ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 35 คน บาดเจ็บอีกจำนวนมาก[52]
สิงหาคม
แก้- 21 สิงหาคม – จูเซปเป คอนเต ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลี[53]
กันยายน
แก้- 11 กันยายน – นักดาราศาสตร์ประกาศการค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ K2-18b ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งแรกที่ตรวจพบน้ำบนดาวเคราะห์ที่ดาวเคราะห์ในเขตอาศัยได้รอบดาวฤกษ์
ตุลาคม
แก้- 4 ตุลาคม – การประท้วงในฮ่องกง พ.ศ. 2562: ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง แครี หลั่ม และประธานฝ่ายบริหารในสภาใช้ข้อบังคับระเบียบฉุกเฉินและสั่งห้ามหน้ากากในการชุมนุมสาธารณะโดยมีผลใช้บังคับทันที[54]
- 9 ตุลาคม – ประธานาธิบดีตุรกี เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประกาศบุกครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย โดยมุ่งเป้าไปยังกลุ่มเคิร์ด[55]
- 12 ตุลาคม – พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น นับเป็นพายุลูกรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทำให้มีการอพยพประชาชนเจ็ดล้านคน[56]
- 14 ตุลาคม – ศาลสูงสุดสเปนพิพากษาลงโทษแกนนำขบวนการเอกราชคาตาลันจำคุก 9 ถึง 13 ปีฐานปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองและใช้งบประมาณแผ่นดินในทางที่ผิด เกิดการประท้วรุนแรงทั่วคาตาโลเนียตามมา[57][58]
- 19 ตุลาคม – ประชาชนตามประเมินหนึ่งล้านคนเดินขบวนผ่านกรุงลอนดอนในการประท้วงซึ่งพีเพิลส์โหวตจัดระเบียบเพื่อเรียกร้องให้ลงประชามติว่าด้วยเบร็กซิตรอบสอง[59]
- 27 ตุลาคม – ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าผู้นำของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี ถูกฆ่าตายในปฏิบัติการกองกำลังพิเศษของสหรัฐ มีรายงานว่าอัล - อัลบัฆดาดี จุดชนวนเสื้อกั๊กฆ่าตัวตายหลังจากถูกไล่ล่าเข้าไปในอุโมงค์[60][61]
- 31 ตุลาคม – เกิดเพลิงไหม้ปราสาทชูริ แหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในประเทศญี่ปุ่น ทำให้อาคารส่วนใหญ่เสียหาย[62]
พฤศจิกายน
แก้- 9 พฤศจิกายน – ศาลสูงสุดอินเดียยกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ แก่ศาสนิกฮินดู
- 10 พฤศจิกายน – การประท้วงในโบลิเวีย พ.ศ. 2562: เอโบ โมราเลสลาออกจากตำแหน่งหลังเกิดเสียงเรียกร้องให้นับคะแนนการเลือกตั้งใหม่
- 11 พฤศจิกายน – ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์[63]
- 23 พฤศจิกายน
- มีการลงประชามติเอกราชบูเกนวิลล์ ประเทศปาปัวนิวกินี ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่เห็นชอบให้แยกตัวเป็นเอกราช[64]
- แรดสุมาตราตัวสุดท้ายตายในประเทศมาเลเซีย[65]
ธันวาคม
แก้- 2 ธันวาคม – ไต้ฝุ่นคัมมูริขึ้นฝั่งที่ประเทศฟิลิปปินส์ ส่งผลให้เกิดการอพยพผู้คนจำนวนกว่า 200,000 คน แต่ไม่มีรายงานของผู้ได้รับบาดเจ็บหรือความเสียหายรุนแรง[66]
- 2–13 ธันวาคม – การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2562 จัดขึ้นที่มาดริด ประเทศสเปน หลังจากเซบัสเตียน ปิเญรา ประธานาธิบดีชิลี ประกาศว่าประเทศชิลีไม่สามารถจัดการประชุมได้เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ[67]
- 5 ธันวาคม – มีรายงานว่าเหตุการณ์แผ่นดินถล่มในประเทศบุรุนดี พ.ศ. 2562 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 26 ราย[68]
- 8 ธันวาคม – เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงงานแห่งหนึ่งในเดลี ประเทศอินเดีย มีผู้เสียชีวิต 43 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 50 ราย[69]
- 9 ธันวาคม
- องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกออกเสียงเป็นเอกฉันท์ห้ามรัสเซียแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศเป็นเวลาสี่ปีฐานความผิดเกี่ยวกับการใช้สารต้องห้าม ซึ่งรวมทั้งห้ามลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 และโอลิมปิกฤดูหนาว 2022[70]
- ภูเขาไฟปะทุบนเกาะไวท์ ประเทศนิวซีแลนด์ มีผู้เสียชีวิต 19 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 28 ราย[71][72]
- เหตุซี–130 กองทัพอากาศชิลีตก พ.ศ. 2562: อากาศยานขนส่งทหารชิลีตกขณะมุ่งหน้าสู่ฐานเปรซิเดนเตเอดัวร์โดเฟรย์มอนตัลวาในแอนตาร์กติกา ทำให้ผู้โดยสาร 38 รายเสียชีวิตทั้งลำ[73] จุดตกได้รับการระบุตำแหน่งในวันที่ 12 ธันวาคม[74]
- 10 ธันวาคม – ซันนะ มะรินกลายเป็นนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งที่อายุน้อยที่สุด ด้วยอายุ 34 ปี หลังจากที่ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยของประเทศฟินแลนด์[75]
- 11 ธันวาคม – องค์การการค้าโลกไม่สามารถแทรกแซงในข้อพิพาทการค้าได้อีก หลังจากสหรัฐกีดกันการแต่งตั้งคณะกรรมการคนใหม่[76][77][78]
- 12 ธันวาคม
- มีการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2562 สำหรับที่นั่งทั้งหมดในสภาสามัญชน 650 ที่นั่ง
- มีประกาศว่าประเทศอิสราเอลจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่สามในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เนื่องจากทุกพรรคการเมืองใหญ่ไม่สามารถจัดตั้งแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างเด็ดขาด การเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563[79]
- 16 ธันวาคม – สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงยกเลิกความลับของสมเด็จพระสันตะปาปาในกรณีการล่วงละเมิดทางเพศ สืบเนื่องจากการประชุมว่าด้วยการพิทักษ์เยาวชนในโบสถ์เมื่อหลายเดือนก่อน[80] สมเด็จพระสันตะปาปายังทรงยกช่วงอายุนิยามของ "งานลามกเด็ก" จากอายุ 14 ปีเป็น 18 ปี[81]
- 17 ธันวาคม – เรือบรรทุกอากาศยานจีนชานตงเข้าประจำการ โดยเป็นเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกที่สร้างขึ้นภายในประเทศจีนอย่างเต็มรูปแบบ[82]
- 18 ธันวาคม
- มีการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเชออปส์ โดยมีภารกิจศึกษาการก่อตัวของดาวเคราะห์นอกระบบและคำนวณรัศมี ความหนาแน่นที่น่าจะเป็น และโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์เหล่านั้นโดยแม่นยำ[83]
- สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเห็นชอบข้อความฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งสองข้อต่อดอนัลด์ ทรัมป์ ทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่สามในประวัติศาสตร์ที่ถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง[84]
- 19 ธันวาคม
- รัฐบาลความตกลงแห่งชาติของประเทศลิเบียบังคับใช้ความตกลงร่วมมือกับประเทศตุรกี โดยอนุญาตให้กองทัพตุรกีเข้ามาแทรกแซงในสงครามกลางเมืองลิเบียครั้งที่สอง[85]
- การระบาดของตั๊กแตนสร้างความเสียหายแก่พืชผลและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์กว่า 173,000 เอเคอร์ (437,690 ไร่) ในประเทศเอธิโอเปียและโซมาเลีย[86]
- ศาลในประเทศฟิลิปปินส์วินิจฉัยให้อันดาล อัมปาตวน จูเนียร์ ซัลดี อัมปาตวน น้องชาย และบุคคลอีก 31 คนรวมถึงสมาชิกในครอบครัวอัมปาตวนอีก 3 คน มีความผิดในข้อหาฆาตกรรม 57 คดี และลงโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีการปล่อยตัวชั่วคราว จากการมีส่วนในการสังหารหมู่มากินดาเนา[87][88]
วันเกิด
แก้- 6 พฤษภาคม – อาร์ชี เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์ พระโอรสคนแรกในเจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งซัสเซกซ์และเมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ อยู่ในลำดับที่ 7 ของการสืบสันตติวงศ์สหราชอาณาจักร[89]
วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม – ไอวาน ดิมิตรอฟ นักฟุตบอลชาวบัลแกเรีย (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2478)
- 2 มกราคม
- จีน ออคเคอร์ลันด์ ผู้ประกาศมวยปล้ำชาวอเมริกัน (เกิด 19 ธันวาคม พ.ศ. 2485)
- เบลก นอร์ดสตรอม นักธุรกิจชาวอเมริกัน (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2503)
- 4 มกราคม - ฟรานซิสโก โอลิเวนเซีย นักกฎหมายชาวสเปน (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477)
- 7 มกราคม – โมเช แอเร็นส์ วิศวกรอากาศยาน นักวิจัย นักการทูต และนักการเมืองชาวอิสราเอลเชื้อสายลิทัวเนีย (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2468)
- 9 มกราคม – เวอร์นา บลูม นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2481)
- 21 มกราคม
- เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส (ประสูติ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2476) ประมุขของราชวงศ์ออร์เลอ็อง
- เอมิเลียโน ซาลา นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2533)
กุมภาพันธ์
แก้- 4 กุมภาพันธ์ – มัตตี นือแกเน็น นักสกีกระโดดไกลชาวฟินแลนด์ (เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506)
- 11 กุมภาพันธ์
- เจ้าหญิงอาลิกซ์ เจ้าหญิงแห่งลีญ (ประสูติ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472)
- ซิบฆัตตุลลอฮ์ โมญัดเดดี นักการเมืองชาวอัฟกานิสถาน (เกิด 21 เมษายน พ.ศ. 2468)
- 12 กุมภาพันธ์
- กอร์ดอน แบงส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ (เกิด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480)
- เปโดร โมราเลส นักมวยปล้ำอาชีพชาวเปอร์โตริโก (เกิด 22 ตุลาคม พ.ศ. 2485)
- 13 กุมภาพันธ์ – เอริก แฮร์ริสัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481)
- 19 กุมภาพันธ์ – คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์ นักออกแบบแฟชั่นชาวเยอรมัน (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2476)
มีนาคม
แก้- 4 มีนาคม
- คิงคองบันดี นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เกิด 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500)
- ลูค เพอร์รี นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 11 ตุลาคม พ.ศ. 2509)
- 6 มีนาคม – ดาวเวียง บุตรนาโค นักเขียนและนักแต่งเพลงชาวลาว (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2497)
เมษายน
แก้- 17 เมษายน – อาลัน การ์ซิอา ประธานาธิบดีเปรูคนที่ 61 และ 64 (เกิด 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2492)
- 22 เมษายน – เล ดึ๊ก อัญ ประธานาธิบดีเวียดนาม คนที่ 4 (เกิด 1 ธันวาคม พ.ศ. 2463)
- 23 เมษายน – แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชสมภพ 5 มกราคม พ.ศ. 2464)
พฤษภาคม
แก้- 14 พฤษภาคม
- ทิม คอนเวย์ นักแสดงและนักแสดงตลกชาวอเมริกัน (เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476)
- กรัมปีแคต แมวที่มีชื่อเสียงทางอินเทอร์เน็ต (เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2555)
- สเวน ลินควิสต์ นักประพันธ์ชาวสวีเดน (เกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2475)
- 22 พฤษภาคม – สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ สุลต่านแห่งรัฐปะหัง (ประสูติ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2473)
- 26 พฤษภาคม – เปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษ องคมนตรี อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และอดีตนายกรัฐมนตรีไทย (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463)
มิถุนายน
แก้- 1 มิถุนายน – โฆเซ อันโตนิโอ เรเยส นักฟุตบอลชาวสเปน (เกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2526)
- 10 มิถุนายน – อี ฮี-โฮ สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของเกาหลีใต้ (เกิด 21 กันยายน พ.ศ. 2465)
กรกฎาคม
แก้- 4 กรกฎาคม - ณรงค์ พงษ์ภาค (นพดล ดวงพร) นักแสดงและนักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484)
- 22 กรกฎาคม – หลี่ เผิง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่ 4 (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2472)
- 25 กรกฎาคม – อัลบาญี กออิด อัสซิบซี ประธานาธิบดีตูนิเซียคนที่ 5 และนายกรัฐมนตรีตูนิเซียคนที่ 18 (เกิด 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469)
สิงหาคม
แก้- 4 สิงหาคม – นวน เจีย นักการเมืองกัมพูชา อดีตผู้นำอันดับสองของเขมรแดง (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2469)
- 16 สิงหาคม – ปีเตอร์ ฟอนดา นักแสดง ผู้กำกับและผู้เขียนบทชาวอเมริกัน (เกิด 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483)
- 16 สิงหาคม – เจ้าหญิงคริสตีนาแห่งเนเธอร์แลนด์ (เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492)
- 19 สิงหาคม - ขวัญใจ ศรีประจันต์ นักเพลงอีแซวชาวไทย น้องสาวของ ขวัญจิต ศรีประจันต์ (เกิด พ.ศ. 2493)
- 27 สิงหาคม - หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ นักร้อง นักแสดง นักเขียน นักชิม และนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ชาวไทย (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2469)
- 28 สิงหาคม – มิเชล อูมอนต์ (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2479)
กันยายน
แก้- 6 กันยายน – รอเบิร์ต มูกาบี ประธานาธิบดีซิมบับเวคนที่ 2 (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467)
- 11 กันยายน – บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย คนที่ 3 (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2479)
- 19 กันยายน
- ซีน อัลอาบิดีน บิน อะลี ประธานาธิบดีตูนิเซียคนที่ 2 และนายกรัฐมนตรีตูนิเซีย คนที่ 14 (เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2479)
- 21 กันยายน – ซีคมุนท์ เยน นักบินอวกาศเยอรมัน (เกิด 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480)
- 26 กันยายน – ฌัก ชีรัก อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส (เกิด 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475)
- 28 กันยายน – สุลต่านอิสมาอีล เปตราแห่งกลันตัน สุลต่านแห่งกลันตัน (เกิด 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492)
ตุลาคม
แก้- 11 ตุลาคม – อะเลคเซย์ เลโอนอฟ นักบินอวกาศชาวรัสเซีย (เกิด 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2477)
- 14 ตุลาคม – ซ็อลลี นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2537)[90]
พฤศจิกายน
แก้- 18 พฤศจิกายน - สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี เจ้าหญิงแห่งกัมพูชา (เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2486)
- 24 พฤศจิกายน - คู ฮา-รา นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ (เกิด 13 มกราคม พ.ศ. 2534)
- 27 พฤศจิกายน - ก็อดฟรีย์ เกา นักแสดงและนายแบบชาวไต้หวัน-แคนาดา (เกิด 22 กันยายน พ.ศ. 2527)
- 29 พฤศจิกายน - ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2461)
ธันวาคม
แก้- 4 ธันวาคม - เท็ตสึ นากามูระ คุณหมอของชาวญี่ปุ่น (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2489)
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
แก้รางวัลโนเบล
แก้- สาขาเคมี – จอห์น บี. กูดอีนาฟ, เอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม และ อากิระ โยชิโนะ[91]
- สาขาวรรณกรรม – เพเทอร์ ฮันท์เคอ[92]
- สาขาสันติภาพ – อาบีย์ อาห์เม็ด[93]
- สาขาฟิสิกส์ – จิม พีเบิลส์, มีแชล มายอร์ และ ดีดีเย เกโล[94]
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – วิลเลียม เคลิน จูเนียร์, ปีเตอร์ เจ. แรตคลิฟฟ์ และ เกร็ก แอล. เซเมนซา[95]
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – อภิจิต บาเนอร์จี, เอสเทอร์ ดิวโฟล และ ไมเคิล ครีเมอร์[96]
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้ภาพยนตร์
แก้- พ.ศ. 2525 – เบลดรันเนอร์ เริ่มต้นปีนี้
- พ.ศ. 2531 – อากิระ คนไม่ใช่คน เรื่องเริ่มต้นที่ปีนี้
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- ↑ "The United Nations proclaims the international year of the periodic table of chemical elements". iupac.org.
- ↑ "Public Domain Day 2019". Center for the Study of the Public Domain. สืบค้นเมื่อ January 17, 2019.
- ↑ "New Horizons: Nasa probe survives flyby of Ultima Thule". BBC. 1 January 2019. สืบค้นเมื่อ 10 February 2019.
- ↑ Moss, Trefor (2019-01-03). "China Lands Probe on the 'Dark Side' of the Moon". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
- ↑ "Malaysia king: Sultan Muhammad V abdicates in historic first". BBC News. 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
- ↑ "¿Venezuela tiene un presidente interino?". Semana. 11 January 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-01-13.
- ↑ "Nacional: Asciende a 114 el número de muertos por explosión en Tlahuelilpan". El Universal (ภาษาสเปน). 26 January 2019. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.
- ↑ "Venezuelan President Maduro is severing diplomatic ties with the US". 23 January 2019. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
- ↑ "40 dead, almost 300 missing after dam collapse in Brazil". ABC News (ภาษาอังกฤษ). 2019-01-27. สืบค้นเมื่อ 2019-01-27.
- ↑ Francis Wakefield (January 29, 2019). "AFP releases names of casualties of Jolo blast". Manila Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-30. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- ↑ "US files charges against China's Huawei and CFO Meng Wanzhou". BBC News. 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 28 January 2019.
- ↑ "Donald Trump confirms US withdrawal from INF nuclear treaty". The Guardian. 1 February 2019. สืบค้นเมื่อ 1 February 2019.
- ↑ "INF nuclear treaty: Russia follows US in suspending pact". BBC News. 2 February 2019. สืบค้นเมื่อ 2 February 2019.
- ↑ "Pope Francis Makes 'Historic' Gulf Tour Amid Yemen Crisis and Christian Repression". The New York Times. 3 February 2019. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
- ↑ "Taliban launch deadly attacks as they attend Afghan peace talks". Al Jazeera. 5 February 2019. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
- ↑ "Macedonia officially changes name to North Macedonia, drawing line under bitter dispute". CNN. 13 February 2019. สืบค้นเมื่อ 13 February 2019.
- ↑ "ใช้ชื่อใหม่ "มาซิโดเนียเหนือ" ยุติปัญหา 3 ทศวรรษ ปูทางร่วมนาโต". ไทยรัฐ. 14 February 2019. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
- ↑ "Kashmir suicide attack kills dozens of Indian security forces". อัลจาซีรา. 14 February 2019. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
- ↑ "แคชเมียร์เลือดนอง คาร์บอมบ์พลีชีพพุ่งชนรถบัส ฆ่าตร.อินเดียครึ่งร้อย". ข่าวสด. 15 February 2019. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
- ↑ "Bangladesh fire: Blaze kills dozens in Dhaka historic district". BBC. 21 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 February 2019.
- ↑ "เพลิงไหม้ย่านชอกบาซาร์ใจกลางกรุงธากาของบังกลาเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 78 คน". ข่าวสด. 21 February 2019. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
- ↑ "Israel's Beresheet Moon mission gets under way". BBC News. 22 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 February 2019.
- ↑ "Israeli company sends world's first privately funded mission to moon". The Guardian. 22 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 February 2019.
- ↑ "Venezuela's Maduro cuts ties with Colombia amid border conflict". NBC News. 23 February 2019. สืบค้นเมื่อ 23 February 2019.
- ↑ "ชายแดนเวเนซุเอลาเดือด เมื่อ'กวยโด'เริ่มขนของข้ามฝั่ง". เดลีนิวส์. 24 February 2019. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
- ↑ "Ethiopian Airlines crash: 'No Survivors' on flight with 157 on board, plane similar to jet in Lion Air crash". The Straits Times. 10 March 2019. สืบค้นเมื่อ 10 March 2019.
- ↑ "US joins other nations in grounding Boeing 737 MAX amid growing safety concerns". Channel NewsAsia (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
- ↑ "Dozens killed in Christchurch mosque attack". www.cnn.com. 15 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
- ↑ "Astronomers capture first image of a black hole". EurekAlert!. 10 April 2019. สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.
- ↑ "First ever black hole image released". BBC News. 10 April 2019. สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.
- ↑ "Julian Assange: Wikileaks co-founder arrested in London". BBC News. 11 April 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
- ↑ "Julian Assange arrested at Ecuadorian embassy". The Guardian. 11 April 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
- ↑ "Notre Dame fire: major incident at historic Paris landmark". The Guardian. 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
- ↑ "Notre-Dame cathedral: Firefighters tackle blaze in Paris". BBC News. 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
- ↑ "156 Dead In Blasts At Two Sri Lanka Churches During Easter Mass: Report". NDTV.com. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ "Multiple explosions in Sri Lanka: Blasts during Easter Sunday service in Colombo". The National (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ "Easter Day bombs kill 138 in attacks on Sri Lankan churches, hotels". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ Pokharel, Sugam; McKirdy, Euan (21 April 2019). "Sri Lanka blasts: At least 138 dead and more than 400 injured in multiple church and hotel explosions". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
- ↑ "Taiwan gay marriage: Parliament legalises same-sex unions". BBC News. 17 May 2019. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
- ↑ "Google blocks Huawei access to Android updates after blacklisting". The Guardian. 19 May 2019. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
- ↑ "The International System of Units (SI)". BIPM. 20 May 2019.
- ↑ "Complete guide to 2019 Lok Sabha election results: Seat by seat, state by state, party by party". India Today news. 24 May 2019. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
- ↑ "Indian elections' results from ECI official website". ECI (Election Commission of India). 24 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
- ↑ "India election results 2019: Narendra Modi secures landslide win". BBC News. 23 May 2019. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
- ↑ "35 dead as Sudan troops move against democracy protesters". Associated Press. 3 June 2019.
- ↑ Pérez-Peña, Richard; Reed, Stanley; Kirkpatrick, David D. (June 13, 2019). "Tankers Attacked Again in Gulf of Oman, Raising Fears of Wider Conflict". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ June 13, 2019.
- ↑ "MH17: Four charged with shooting down plane over Ukraine". BBC News. 2019-06-19. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
- ↑ "Iran says it's 'completely ready for war' after US military confirms it shot down American drone". ABC News. 20 June 2019.
- ↑ "Iran nuclear deal: Enriched uranium limit breached, IAEA confirms". BBC News. 1 July 2019. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
- ↑ "El Chapo trial: Mexican drug lord Joaquín Guzmán gets life in prison", BBC News, 17 July 2019, สืบค้นเมื่อ 17 July 2019
- ↑ "DR Congo Ebola declared public health emergency", BBC News, 17 July 2019, สืบค้นเมื่อ 17 July 2019
- ↑ "Fire Department Confirms 33 Dead In Arson Attack, NHK Japan (Archived 2019-07-18)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
- ↑ Livia Borghese; Ivana Kottasova; Kara Fox (August 21, 2019), "Italy's Prime Minister Giuseppe Conte resigns, attacks Salvini as 'irresponsible'", CNN, สืบค้นเมื่อ August 21, 2019
- ↑ "Anti-mask law to take effect from midnight". RTHK. 4 October 2019. สืบค้นเมื่อ 4 October 2019.
- ↑ "Turkey launches ground offensive in Syria". October 9, 2019 – โดยทาง www.bbc.com.
- ↑ "Typhoon Hagibis: Biggest Japan storm in decades makes landfall". BBC News. October 12, 2019. สืบค้นเมื่อ October 12, 2019.
- ↑ "Spanish Supreme Court sentences Catalan separatists to prison, sparking protests". The Washington Post. October 14, 2019. สืบค้นเมื่อ October 14, 2019.
- ↑ "Violent clashes erupt as Spanish court jails Catalonia leaders". BBC. Oct 14, 2019. สืบค้นเมื่อ October 15, 2019.
- ↑ "March organisers hail 'one of the greatest protest marches in British history'". The Guardian. 19 October 2019. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
- ↑ "ISIS leader al-Baghdadi confirmed dead after apparent suicide during U.S. operation: sources". Fox News. October 27, 2019.
- ↑ "IS leader dead after US raid in Syria, Trump says". October 28, 2019 – โดยทาง www.bbc.com.
- ↑ "Fire at Shuri Castle, a world heritage site". NHK. Oct 31, 2019. สืบค้นเมื่อ Oct 31, 2019.
- ↑ "NASA: Transits of Mercury, Seven Century Catalog: 1601 CE to 2300 CE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2007-04-15.
- ↑ Bohane, Ben (2019-12-11). "Bougainville votes overwhelmingly for independence from PNG". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.
- ↑ "Malaysia's last known Sumatran rhino dies". BBC News. 2019-11-23. สืบค้นเมื่อ 2019-11-23.
- ↑ Typhoon hits Philippines, disrupting travel, work Reuters, Dec 2, 2019
- ↑ "Because the Climate Crisis 'Does Not Wait for Us,' Spain to Host COP25 in Place of Chile". Common Dreams. Nov 1, 2019. สืบค้นเมื่อ Nov 1, 2019.
- ↑ "Landslides in northwest Burundi kill at least 26 people". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-05. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ "43 Dead In 'Extremely Horrific' Fire At New Delhi Factory". NPR.org.
- ↑ "Russia banned from Tokyo Olympics and football World Cup". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
- ↑ "Death toll from New Zealand volcano eruption rises to 19". 22 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
- ↑ "New Zealand volcano eruption: death toll rises to 19". 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
- ↑ "Antarctica-bound plane missing with 38 on board". BBC News. BBC. 2019-12-10. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
- ↑ "Chile air force plane found off tip of South America along with human remains". CBS News. 12 December 2019. สืบค้นเมื่อ 12 December 2019.
- ↑ "Finland anoints Sanna Marin, 34, as world's youngest serving prime minister". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
- ↑ "UK's post-Brexit trade at risk as WTO's top court shuts down". The Guardian. 11 December 2019. สืบค้นเมื่อ 11 December 2019.
- ↑ "U.S. trade offensive takes out WTO as global arbiter". Reuters. 10 December 2019. สืบค้นเมื่อ 11 December 2019.
- ↑ "Trump Cripples W.T.O. as Trade War Rages". New York Times. 8 December 2019. สืบค้นเมื่อ 11 December 2019.
- ↑ Israel will hold unprecedented third election in a year, 12 December 2019, bbc.com.
- ↑ "Pope lifts 'pontifical secret' rule in sex abuse cases". BBC. 17 December 2019.
- ↑ "Pope abolishes 'pontifical secret' in clergy sex abuse cases", NBC World News, December 17, 2019
- ↑ Xi Jinping attends commissioning ceremony of first Chinese-built aircraft carrier, 17 December 2019, CGTN.
- ↑ "Cheops satellite lifts off to study planets beyond solar system". The Guardian. 18 December 2019. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
- ↑ By Gregg Re; Marisa Schultz, "House impeaches Trump over Ukraine dealings, as Pelosi floats holding up Senate trial", Fox News Jeremy Herb; Manu Raju (Dec 18, 2019), "House of Representatives impeaches President Donald Trump", CNN
- ↑ "Libyan government activates cooperation accord with Turkey". The Guardian. December 19, 2019.
- ↑ Plague of locusts ravages harvests in Somalia and Ethiopia NBC World News, Dec 19, 2019
- ↑ "Ampatuan brothers convicted in 10-year massacre case". Rappler. December 19, 2019.
- ↑ "Maguindanao : Philippine family clan members guilty of massacre". BBC News. December 19, 2019.
- ↑ Davies, Gareth (May 17, 2019). "Duchess of Sussex gave birth at Portland Hospital in Westminster, royal baby's birth certificate confirms". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 17, 2019.
- ↑ Im, Eun-byel (October 14, 2019). "[Update] Singer and actor Sulli found dead". The Korea Herald. Herald Corporation. สืบค้นเมื่อ October 14, 2019.
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 2019". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 9, 2019.
- ↑ "The Nobel Prize in Literature 2019". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 10, 2019.
- ↑ "The Nobel Peace Prize 2019". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 11, 2019.
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 2019". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 8, 2019.
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2019". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 7, 2019.
- ↑ "The Prize in Economic Sciences 2019". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ October 14, 2019.