ช่องแคบฮอร์มุซ (อาหรับ: مضيق هرمز, Madīq Hurmuz; เปอร์เซีย: تنگه هرمز, Tangeh-ye Hormoz; อังกฤษ: Strait of Hormuz) เป็นช่องแคบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้กับอ่าวเปอร์เซียทางตะวันตกเฉียงใต้ ฝั่งทางตอนเหนือเป็นประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้เป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และแหลมมุซันดัม (Musandam) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโอมาน

แผนที่ประวัติศาสตร์ของบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ (ค.ศ. 1892)

ช่องแคบส่วนที่แคบที่สุดกว้าง 54 กิโลเมตร[1] ช่องแคบฮอร์มุซเป็นทางออกทางมหาสมุทรทางเดียวของบริเวณส่วนใหญ่ของประเทศที่ส่งปิโตรเลียมออกในอ่าวเปอร์เซีย จากข้อมูลขององค์การว่าด้วยข้อมูลด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่าโดยถัวเฉลี่ยในแต่ละวันจะมีเรือบรรทุกน้ำมัน 15 ลำที่บรรทุกน้ำมันราว 16.5 ถึง 17 ล้านบาร์เรลที่เดินทางออกจากช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งทำให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในโลก การขนส่งน้ำมันจากช่องแคบเป็นจำนวน 40% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมด และ 20% ของการขนส่งน้ำมันทั่วโลก[2]

อ้างอิง แก้

  1. "The Encyclopedia of Earth". National Council for Science and Environment.
  2. World Oil Transit Chokepoints: Strait of Hormuz