วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562
วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562 เป็นข้อพิพาทประธานาธิบดีซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2562 และดำเนินมาจนปัจจุบัน
วิกฤตการณ์ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562 | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา | |||
พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทั้งสองฝ่าย (บน) นิโกลัส มาดูโร (ล่าง) ฮวน กวยโด | |||
วันที่ | 10 มกราคม 2562 – ปัจจุบัน (5 ปี 298 วัน) | ||
สถานที่ | ประเทศเวเนซุเอลา | ||
สาเหตุ |
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นิโกลัส มาดูโร ได้รับประกาศให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ซึ่งกระบวนการและผลของการเลือกตั้งนั้นเป็นที่พิพาทอย่างกว้างขวาง[1] วันที่ 10 มกราคม 2562 สมัชชาแห่งชาติเวเนซุเอลา ซึ่งฝ่ายค้านเป็นฝ่ายข้างมาก ระบุว่าผลการเลือกตั้งไม่ชอบ และประกาศให้ฮวน กวยโดรักษาราชการประธานาธิบดี โดยอ้างข้อความหลายตอนของรัฐธรรมนูญแห่งเวเนซุเอลา ค.ศ. 1999 ซึ่งตราขึ้นในสมัยของอูโก ชาเบซ ประธานาธิบดีคนก่อน ฝ่ายศาลยุติธรรมสูงสุดซึ่งนิยมมาดูโรวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ของสมัชชาฯ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[2]
มีการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศและโลกเมื่อวันที่ 23 มกราคมซึ่ง กวยโด เรียกร้องให้ชาวเวเนซุเอลาเดินขบวนต่อต้านมาดูโร[3][4] เกิดการเดินขบวนสนับสนุนการปฏิวัติโบลิบาร์และรัฐบาลเช่นกัน[5] การเดินขบวนใหญ่ยังคงดำเนินต่อไปจนวันที่ 30 มกราคม[6][7] ในวันที่ 24 มกราคม เกิดการปะทะระหว่างตำรวจปราบจลาจลกับผู้ประท้วงมีจำนวนผู้เสียชีวิต 13 ราย[8]ต่อมาวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีประชาชนเสียชีวิตจากอาวุธปืนอีก 2 ราย[9]
มีการประชุมพิเศษในองค์การนานารัฐอเมริกันในวันที่ 24 มกราคมและสหประชาชาติในวันที่ 26 มกราคมแต่ไม่มีความเห็นพ้อง เลขาธิการสหประชาชาติ อังตอนียู กูแตรึช เรียกร้องให้มีการเจรจา[10] ประเทศเม็กซิโกและอุรุกวัยประกาศการประชุมระหว่างประเทศสำหรับประเทศที่มีจุดยืนเป็นกลางโดยกำหนดมีขึ้นในกรุงมอนเตวิเดโอในวันที่ 7 กุมภาพันธ์[11]
รัฐบาลมาดูโรอ้างว่าวิกฤตปัจจุบันเป็นรัฐประหารของสหรัฐเพื่อโค่นเขาและควบคุมน้ำมันสำรองมหาศาลของประเทศ[12][13][14]
อ้างอิง
แก้- ↑ Bullock, Penn (10 January 2019). "Climate Change, U.S. Shutdown, Michael Cohen: Your Friday Briefing". New York Times (Online) – โดยทาง ProQuest.
President Nicolás Maduro was inaugurated for a second term after an election last year that was widely considered illegitimate — and despite a plummeting economy and skyrocketing violence, hunger and migration.
- ↑ "El Tribunal Supremo de Justicia de Venezuela declara "inconstitucional" a la Asamblea Nacional y anula el nombramiento de Juan Guaidó como su presidente". สืบค้นเมื่อ 29 January 2019.
- ↑ "Protestas en Venezuela: miles de personas participan en manifestaciones masivas contra el gobierno de Maduro". BBC News Mundo (ภาษาสเปน). 23 January 2019. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ "Las 50 fotos de las masivas marchas contra la dictadura de Nicolás Maduro en Venezuela y Latinoamérica". Infobae (ภาษาสเปน). 24 January 2019. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ Sanchez, Ray and Nicole Chavez (23 January 2019). "Maduro defiant as Venezuelan opposition leader declares himself acting president". CNN. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ "Trump backs Venezuela's Guaido as demonstrations rage across the country". BBC. 30 January 2019. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
- ↑ Smith, Scott and Christine Armario (30 January 2019). "Despite repression, Venezuelans return to the streets". Local10 News Miami. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-03. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
- ↑ "ประท้วงต้านผู้นำเวเนซุเอลา แนวโน้มบานปลาย ล่าสุดตายแล้ว 13ราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ 2019-10-24.
- ↑ https://news.thaipbs.or.th/content/277942
- ↑ "UN political chief calls for dialogue to ease tensions in Venezuela; Security Council divided over path to end crisis". สืบค้นเมื่อ 29 January 2019.
- ↑ "Uruguay y México convocan a conferencia internacional en Montevideo sobre situación en Venezuela" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-01. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
- ↑ "Canciller Arreaza advierte que objetivo de plan golpista es el petróleo venezolano" (ภาษาสเปน). presidencia.gob.ve. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-31. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ "'Oil' the 'sole and real' purpose behind US 'coup' attempt, says Venezuela's foreign minister". RT. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ "Maduro afirma que el petróleo es el principal motivo de la presión de EEUU contra Venezuela" (ภาษาสเปน). Europa Press. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.