วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา

วิกฤตการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองเริ่มขึ้นในประเทศเวเนซุเอลาในปี 2553 ภายใต้ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซและดำเนินต่อมาจนประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโรคนปัจจุบัน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เวเนซุเอลา[1] และนับเป็นวิกฤตครั้งเลวร้ายที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในทวีปอเมริกา[2][3] โดยมีภาวะเงินเฟ้อเกิน ความอดอยากสูง โรค อาชญากรรมและอัตราตาย และการย้ายออกนอกประเทศขนานใหญ่[4] ผู้สังเกตการณ์และนักเศรษฐกิจแถลงว่า วิกฤตดังกล่าวมิใช่ผลลัพธ์แห่งความขัดแย้งหรือภัยธรรมชาติแต่เป็นผลพวงจากนโยบายประชานิยมซึ่งเริ่มตั้งแต่การปฏิวัติโบลิบาร์ของรัฐบาลชาเบส[5][6][7][8][9][10] โดยสถาบันบรุกคิงส์แถลงว่า "ประเทศเวเนซุเอลากลายเป็นตัวแทนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวง การบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด และการปกครองซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยสามารถนำไปสู่ความทรมานอย่างกว้างขวางได้อย่างไรโดยแท้"[11]

วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ประธานาธิบดีชาเบสประกาศ "สงครามเศรษฐกิจ" เนื่องจากความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ วิกฤตดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นภายใต้รัฐบาลมาดูโร และผลจากราคาน้ำมันที่ถูกในต้นปี 2558[12][13] และปริมาณการผลิตน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและการลงทุน รัฐบาลไม่สามารถตัดรายจ่ายเมื่อเผชิญกับรายได้จากน้ำมันที่ลดลงและรับมือกับปัญหาโดยปฏิเสธการมีอยู่ของปัญหา[14][15] และปราบปรามการคัดค้านอย่างรุนแรง การฉ้อราษฎร์บังหลวงทางการเมือง การขาดแคลนอาหารและยาอย่างเรื้อรัง การปิดบริษัท การว่างงาน การลดลงของผลิตภาพ ลัทธิอำนาจนิยม การละเมิดสิทธิมนุษยชน การบริหารเศรษฐกิจมวลรวมที่ผิดพลาด และการพึ่งพาน้ำมันอย่างสูงล้วนส่งเสริมให้วิกฤตนี้เลวร้ายลง การหดตัวของจีดีพีประชาชาติและต่อหัวในประเทศเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี 2556–60 รุนแรงกว่าสมัยสหรัฐระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือของประเทศรัสเซีย คิวบาและอัลเบเนียหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต[16][17] อัตราเงินเฟ้อต่อปีสำหรับราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละหลายแสน ส่วนเศรษฐกิจหดตัวเกือบร้อยละ 20 ต่อปีในปี 2559[18] เมื่อปลายปี 2561 เงินเฟ้อแตะร้อยละ 1.35 ล้าน

วิกฤตดังกล่าวมีผลต่อชีวิตของชาวเวเนซุเอลาโดยเฉลี่ยทุกระดับ ในปี 2560 ความอดอยากรุนแรงถึงขั้นที่ประชากรเกือบร้อยละ 75 มีน้ำหนักลดลงกว่า 8 กิโลกรัม เกือบร้อยละ 90 ยากจน และกว่าครึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการอาหารขั้นพื้นฐาน[19] นับตั้งแต่เริ่มวิกฤตจนถึงปี 2560 ชาวเวเนซุเอลากว่า 2.3 ล้านคนออกนอกประเทศ เวเนซุเอลาเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าคนสูงสุดในโลก โดยมีผู้ถูกฆ่า 90 ต่อ 100,000 คนในปี 2558

อ้างอิง แก้

  1. "Moody's: Political risk poses major challenges to credit in Latin America". Moody's Investors Service. 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2017-08-30.
  2. Bahar, Dany (2018-05-29). "US sanctions must be precise in order to spare innocent Venezuelans". Brookings Institution (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-05-30.
  3. "Once Latin America's Richest Nation, Venezuela Continues to Fall Apart". The Epoch Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2018-05-30.
  4. Larmer, Brook (1 November 2018). "What 52,000 Percent Inflation Can Do to a Country". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 November 2018.
  5. 남민우, 기 (2 May 2018). "화폐경제 무너졌는데…최저임금 인상에 목매는 베네수엘라". 朝鮮日報 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 22 May 2018. Venezuela's fall is considered to be mainly caused by the populist policy
  6. Murphy, Robert P. (6 May 2017). "The Venezuelan Crisis Is Due to Economic Ignorance". The Independent Institute. สืบค้นเมื่อ 2018-08-31. As awful as the Venezuelan crisis is, it is not surprising. Indeed, the pattern we see there is a predictable outcome of “populist” policies that ignore the basic laws of economics.
  7. "The Chávez Record". Cato Institute (ภาษาอังกฤษ). 2013-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-08-31. Hugo Chavez is dead. He leaves behind a country ruined by populist policies he referred to as 'Socialism of the 21st Century'
  8. "A Populist Paradox". Kellogg School of Management at Northwestern University (ภาษาอังกฤษ). 1 November 2010. สืบค้นเมื่อ 2018-08-31. Chavez won the election despite multiple signs that some of his populist policies, including redistributive land reform and price setting, were harming average Venezuelans.
  9. Corrales, Javier (7 March 2013). "The House That Chavez Built". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ 6 February 2015.
  10. Benzaquen, Mercy (2017-07-16). "How Food in Venezuela Went From Subsidized to Scarce". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-07-18.
  11. "The Venezuelan refugee crisis: Challenges and solutions" (PDF). Brookings Institution. 13 April 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-12-10.
  12. Mariana Zuñiga and Anthony Faiola. "Even sex is in crisis in Venezuela, where Contraceptives are growing scarce".
  13. Uri Friedman. "How Populism Helped Wreck Venezuela".
  14. "Delcy Rodríguez: No existe crisis humanitaria en Venezuela". El Nacional (ภาษาสเปน). 2018-08-31. สืบค้นเมื่อ 2018-09-02.
  15. "Maduro niega la diáspora venezolana en la ONU: Se ha fabricado por distintas vías una crisis migratoria - LaPatilla.com". LaPatilla.com (ภาษาสเปนแบบยุโรป). 2018-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-09-27.
  16. Krauze, Enrique (March 8, 2018). "Hell of a Fiesta". New York Review of Books. สืบค้นเมื่อ April 23, 2018.{{cite journal}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. Goodman, Joshua; Alonso Lugo, Luis (2018-04-19). "US officials: 16 nations agree to track Venezuela corruption". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-19. สืบค้นเมื่อ 2018-04-20.
  18. "Venezuela 2016 inflation hits 800 percent, GDP shrinks 19 percent: document". Reuters. 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.
  19. Caraballo-Arias, Yohama; Madrid, Jesús; Barrios, Marcial (2018-09-25). "Working in Venezuela: How the Crisis has Affected the Labor Conditions". Annals of Global Health (ภาษาอังกฤษ). 84 (3). doi:10.29024/aogh.2325. ISSN 2214-9996.