รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย
(เปลี่ยนทางจาก กษัตริย์แห่งกัมพูชา)

พระมหากษัตริย์กัมพูชาเป็นพระประมุขที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์วรมัน

พระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา
ព្រះមហាក្សត្រនៃព្រះរាជអាណាចក្រកម្ពុជា
Royal Standard of the King of Cambodia.svg
ธงมหาราช
อยู่ในราชสมบัติ
Norodom Sihamoni (2007) (crop).jpg
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
(รัชกาลที่ 114)
ตั้งแต่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547
รายละเอียด
พระราชอิสริยยศพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี เป็นเจ้าชีวิตเหนือหัว
ព្រះចៅក្រុងកម្ពុជាធិបតី ជា​ម្ចាស់​ជីវិត​លើត្បូង។
รัชทายาทเลือกตั้งโดยกรมปรึกษาราชบัลลังก์
กษัตริย์องค์แรกพระนางนาคโสมา
สถาปนาเมื่อศตวรรษที่ 1-2 , ราชวงศ์วรมัน
ตำนานพระทอง-นางนาค, อาณาจักรฟูนัน
ที่ประทับ พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล ราชธานีพนมเปญ, พระราชอาณาจักรกัมพูชา
ประวัติศาสตร์กัมพูชา
นครวัด
ประวัติศาสตร์ยุคแรก
อาณาจักรฟูนาน (611–1093)
อาณาจักรเจนละ (1093–1345)
อาณาจักรพระนคร (1345–1974)
ยุคมืด
สมัยจตุมุข (1974–2068)
สมัยละแวก (2068–2136)
สมัยศรีสันธร (2136–2162)
สมัยอุดง (2162–2406)
ยุครัฐในอารักขา
ไทยและเวียดนาม
อาณานิคมฝรั่งเศส (2406–2496)
ส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส
ยุคญี่ปุ่นยึดครอง (2484–2489)
หลังได้รับเอกราช
สงครามกลางเมืองกัมพูชา
(2510–2518)
รัฐประหาร พ.ศ. 2513
สาธารณรัฐเขมร
สงครามเวียดนาม พ.ศ. 2513
ยุคเขมรแดง
(2518–2519)
สงครามกัมพูชา–เวียดนาม (2518–2532)
สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา
(2522–2536)
การจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
(2536–ปัจจุบัน)
หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536

พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 114 (รัชกาลที่ 114)

ตามพระราชพงศาวดารกัมพูชาที่ได้บันทึกพระราชวงศ์วรมันนั้นได้แก่ เอกสารมหาบุรุษเขมร และพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับ รบากษัตริย์ โดยการแบ่งบันทึกพระราชพงศาวดารดังกล่าวจะเป็นเป็น 2 ภาค อันได้แก่

ภาคแรก เป็นตำนานที่ได้มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เริ่มจากรัชกาลของพระทอง-นางนาค จนถึง รัชกาลของพระบาทนิพพานบท[1]

ภาคสอง (ภาคพงศาวดาร) เริ่มตั้งแต่รัชกาลของพระบาทนิพพานบท จนถึง รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนโรดม[1]

หน้านี้เป็นรายพระนามพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

สมัยอาณาจักรฟูนัน(พ.ศ. 611–1170)(อาณาจักรพนม)แก้ไข

รัชกาลที่ พระนามในภาษาสันสกฤต พระนามในบันทึกของจีน ครองราชย์
01 นางนาค / พระราชินีโสมา
ทรงร่วมครองราชย์กับพระทอง (ตำนานพระทอง-นางนาค)
Liǔyè 柳葉 / Yèliǔ葉柳 พ.ศ.611-ศตวรรษที่ 1
02 พระเจ้าเกาฑิณยะวรมันเทวะ (พระทอง)
(ตำนานพระทอง-นางนาค)
Hùntián 混塡 / Hùnhuì 混湏 ศตวรรษที่ 1-2
03 ไม่ทราบพระนาม ไม่ทราบพระนาม ศตวรรษที่ 2
04 Hun Pan-huang Hùnpánkuàng 混盤況 ศตวรรษที่ 2-741
05 Pan-Pan Pánpán 盤盤 พ.ศ.741-744
06 พระเจ้าศรีมารญะ ฟ่าน ชือม่าน 范師蔓 พ.ศ.744-768
07 (พระเจ้าฟ่าน จินเซิง) ฟ่าน จินเซิง 范金生 พ.ศ.768
08 พระเจ้าศรีธรณีนทรวรมัน ฟ่าน จาน 范旃 พ.ศ.768-787
09 (พระเจ้าฟ่าน เฉิง) ฟ่าน เฉิง 范長 พ.ศ.787
10 พระเจ้าอัสรชัย ฟ่าน สุน 范尋 พ.ศ.787-832
11 ไม่ทราบพระนาม Fàn Tiānzhú พ.ศ.832-900
12 Candana Zhāntán 旃檀 พ.ศ.900-953
13 พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 2 Qiáochénrú 僑陳如 พ.ศ.953-978
14 พระเจ้าศรีอินทรวรมัน Chílítuóbámó 持梨陀跋摩 พ.ศ.977-978
15 ไม่ทราบพระนาม ไม่ทราบพระนาม พ.ศ.978-981
16 ไม่ทราบพระนาม ไม่ทราบพระนาม พ.ศ.981-1027
17 พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 Qiáochénrú Shéyébámó 僑陳如闍耶跋摩 พ.ศ.1027-1057
18 พระเจ้ารุทรวรมัน Liútuóbámó 留陁跋摩 พ.ศ.1057-1093
สงคราม อาณาจักรฟูนัน-เจนละ พ.ศ.1093-1170
พระเจ้าปวีรักษ์วรมัน ไม่ทราบพระนาม พ.ศ.1093-1143
พระเจ้ามเหนทรชัยวรมัน ไม่ทราบพระนาม พ.ศ.1143-1158
พระเจ้านเรนทรวรมัน ไม่ทราบพระนาม พ.ศ.1158-1170

สมัยอาณาจักรเจนละ (พ.ศ. 1093–1345)แก้ไข

รัชกาล พระนาม ครองราชย์
พระเจ้าศรุตวรมัน พ.ศ.1093-1098
พระเจ้าเศรษฐวรมัน พ.ศ.1098-1103
พระเจ้าวีรวรมัน พ.ศ.1103-1118
พระนางกัมพุชราชลักษมี พ.ศ.1118-1123
19 พระเจ้าภววรมันที่ 1 พ.ศ.1123-1143
20 พระเจ้ามเหนทรวรมัน (เจนละ) พ.ศ.1143-1159
21 พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 พ.ศ.1159-1178
22 พระเจ้าภววรมันที่ 2 พ.ศ.1182-1200
23 พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 พ.ศ.1200-1224
24 พระนางเจ้าชัยเทวี พ.ศ.1224-1256
25 พระเจ้าพลาทิตย์ พ.ศ.1256
26 พระเจ้านรีประทินวรมัน พ.ศ.1256-1259
27 พระเจ้าปุษกรักษ์ พ.ศ.1259–1273
28 พระเจ้าสัมภูวรมัน พ.ศ.1273–1303
29 พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1 พ.ศ.1303-1323
30 พระเจ้ามหิปติวรมัน
(มหิปาฏิวรมัน)
พ.ศ.1303-1345
อาณาจักรศรีวิชัยแห่งชวาภายใต้ราชวงศ์ไศเลนทร์ ยกกองทัพเรือขนาดมหึมาเข้าโจมตีและยึดครองอาณาจักรเจนละ

แหล่งที่มา:[2]

ยุคอาณาจักรพระนคร (พ.ศ. 1345–1974)แก้ไข

รัชกาล พระบรมสาทิสลักษณ์
พระบรมรูป
พระนาม ครองราชย์ เมืองหลวง หมายเหตุ
31   พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 1345–1378 มเหนทรบรรพต, หริหราลัย
(ทรงสถาปนาเป็นเมืองหลวง)
ทรงประกาศอิสรภาพกัมพูชาจากการยึดครองของอาณาจักรศรีวิชัย (ชวา) ทรงสถาปนาจักรวรรดิเขมร และรับการอภิเษกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิพนมกุเลนและทรงริเริ่มลัทธิเทวราชขึ้นเป็นครั้งแรกในกัมพูชา
32   พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 1378–1420 หริหราลัย พระราชโอรสในพระเจ้าชัยวรมันที่ 2
33 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 1420–1432 หริหราลัย ภาคิไนยในพระเจ้าชัยวรมันที่ 2, พระองค์ได้ทรงสร้างปราสาทพระโค โดยทรงอุทิศแด่พระราชบิดาและพระอัยกา อีกทั้งยังทรงสร้างปราสาทบากอง
34   พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 1432–1453 ยโศธรปุระ
(ทรงสถาปนาเป็นเมืองหลวง)
พระราชโอรสในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1, พระองค์ได้ทรงสร้างปราสาทโลเลย ทรงย้ายราชธานีไปตั้งที่กรุงยโศธรปุระล้อมรอบด้วยพนมบาเค็ง, อีกทั้งยังทรงโปรดให้ขุดบารายตะวันออก
35 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 1453–1466 ยโศธรปุระ พระราชโอรสในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระองค์ได้ทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรุง
36 พระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 1466–1471 ยโศธรปุระ พระราชโอรสในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1, พระเชษฐาในพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระองค์ได้ทรงมีบทบาทในการชิงพระราชบัลลังก์พระมาตุลาของพระองค์เอง พระเจ้าชัยวรมันที่ 4, พระองค์ทรงโปรดให้สร้างปราสาทกระวาน
37 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 1471–1484 เกาะแกร์ พระราชนัดดาในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (ประสูติแต่พระนางมเหนทรเทวี, พระธิดาในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1) พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางชยเทวี, พระขนิษฐาในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1[3], พระองค์ทรงราชาภิเษกโดยอ้างสิทธิ์ทางสายพระราชมารดา, พระองค์ทรงสถาปนาเกาะแกร์เป็นราชธานี
38 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 1484–1487 เกาะแกร์ พระราชโอรสในพระเจ้าชัยวรมันที่ 4
39 พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 1487–1511 เมืองพระนคร (ยโศธรปุระ) เป็นพระปิตุลาและพระภาดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระองค์ได้ชิงพระราชบัลลังก์จากพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2และทรงย้ายราชธานีกลับมาที่เมืองพระนคร, ทรงโปรดให้สร้างปราสาทแปรรูปและปราสาทแม่บุญตะวันออก, ทรงเริ่มทำสงครามกับอาณาจักรจามปาในปี ค.ศ. 946
40 พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 1511–1544 ชัยเยนทรนคร ในศรียโศธรปุระ พระราชโอรสของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือเมืองชัยเยนทรนครและปราสาทตาแก้ว ให้เป็นศูนย์กลางแทนเมืองศรียโศธรปุระ
41 พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 1544–1549 เมืองพระนคร ยุคแห่งความวุ่นวาย, พระมหากษัตริย์ 3 พระองค์ครองราชย์พร้อมกันและต่างขัดแย้ง
42 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 1549–1593 เมืองพระนคร ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ,ทรงดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับราชวงศ์โจฬะและทรงสู้รบกับอาณาจักรตามพรลิงก์, ทรงโปรดให้สร้างปราสาทพระขรรค์กำปงสวาย, พระองค์ได้ทรงหันมานับถือศาสนาพุทธ,นิกายมหายาน
44 พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 1593–1609 เมืองพระนคร (ยโศธรปุระ) ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ, พระองค์ทรงสืบราชสันตติวงศ์แต่พระมเหสีในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1, ทรงโปรดให้สร้างปราสาทบาปวน, ทรงโปรดให้ขุดบารายตะวันตกและทรงโปรดให้สร้างปราสาทแม่บุญตะวันตก, รวมถึงปราสาทสด็อกก็อกธม
45 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 1609–1623 ยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) แย่งราชบัลลังก์จากพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2, ตั้งศูนย์กลางพระนครที่ปราศาทบาปวน. การรุกรานของอาณาจักรจามปาในปี 1074 และ 1080
46 พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 1623–1650 เมืองพระนคร พระองค์ทรงชิงราชบัลลังก์จากวิมายปุระ,
ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ต้นสายราชสกุลมหิธรปุระ
ทรงโปรดให้สร้างปราสาทพิมาย
47 พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 1650–1656 เมืองพระนคร ทรงชิงราชบัลลังก์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6
48   พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 1656–1688 เมืองพระนคร ทรงลอบปลงพระชนม์พระปัยกาและแย่งชิงเพื่อขึ้นครองราชสมบัติต่อ และยังทรงโปรดให้สร้าง ปราสาทนครวัด, บันทายสำเหร่, ธรรมนนท์, เจ้าสายเทวดา และ บึงมาลา อีกทั้งยังทรงทำศึกสงครามรุกรานกับอาณาจักรไดเวียต และ จามปา
49 พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 1693–1703 เมืองพระนคร สืบต่อจากลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
50 พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 1703–1710 เมืองพระนคร ถูกยึดอำนาจโดยพระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน
51 พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน 1710–1720 เมืองพระนคร อาณาจักรจามปาได้เข้ามารุกรานเมื่อปี พ.ศ. 1720 จนกระทั่งเสียพระนครเขมรให้แก่จามปาในรัชสมัยพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 4 กษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปา ในอีกหนึ่งปีต่อมา คือเมื่อปี พ.ศ. 1721
1178–1181 ถูกรุกรานโดยอาณาจักรจามปา (ว่างเว้นกษัตริย์)
52   พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 1724–1761 (ทรงสถาปนานครธมเป็นเมืองหลวง) ทรงเป็นผู้นำกองทัพชาวเขมรในการกอบกู้เอกราชของอาณาจักรเขมรให้พ้นจากการปกครองของอาณาจักรจามปา จนสามารถได้รับชัยชนะและมีเอกราชอีกครั้งในปี พ.ศ. 1734 หลังจากประสบความสำเร็จจากการทำศึกครั้งนั้นแล้ว จึงได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญเช่น การสร้างอโรคยศาลา พระราชวัง สระน้ำหลวง รวมไปถึงปราสาทองค์สำคัญ เช่น ปราสาทตาพรหม, ปราสาทพระขรรค์, ปราสาทบายน ใน นครธม และ ปราสาทนาคพันธ์ เป็นต้น
53 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 1762–1786 เมืองพระนคร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในรัชสมัยของพระองค์นั้นได้สูญเสียดินแดนทางฝั่งตะวันตกโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงประกาศเป็นเอกราชและสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และดินแดนทางฝั่งตะวันออกนั้น อาณาจักรจามปา ก็ยังได้ประกาศเอกราชขึ้นมาอีกในรัชสมัยเดียวกัน
54 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 1786–1838 เมืองพระนคร มองโกลรุกรานนำโดยกุบไลข่านในปี 1283 และทำสงครามกับสุโขทัย
55 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 1838–1851 เมืองพระนคร ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าชัยวรมันที่ 8เป็นพระสัสสุระ ทำให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ  รับนักการทูตชาวจีนหยวน โจว ต๋ากวาน (1296–1297)
56 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 4 1851–1870 เมืองพระนคร
57 พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 1870–1879 เมืองพระนคร พระมหากษัตริย์กัมพูชาที่มีพระนามปรากฏในศิลาจารึกภาษาสันสกฤตเป็นพระองค์สุดท้าย สิ้นสุดการปกครองโดยราชสกุลมหิธรปุระหลังจากที่ได้ปกครองอาณาจักรมาอย่างยาวนานกว่า 300 ปี
58   พระเจ้าแตงหวาน 1879–1883 เมืองพระนคร พระมหากษัตริย์ต้นสายราชสกุลตระซ็อกประแอม
59 พระบรมนิพพานบท 1883–1889 เมืองพระนคร
60 พระสิทธานราชา 1889–1890 เมืองพระนคร
61 พระบรมลำพงษ์ราชา 1890-1896 เมืองพระนคร
1352–1357 สยาม (อาณาจักรอยุธยา) ตีนครธมแตก แต่ยังมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ต่อไป
62 พระบาสาต

(พระบากระษัตร)

1896–1899 เมืองพระนคร
63 พระบาอาต

(พระบาอัฐ)

1899–1900 เมืองพระนคร
64 พระกฎุมบงพิสี 1900 เมืองพระนคร
65 พระศรีสุริโยวงษ์ 1900–1906 เมืองพระนคร
66 พระบรมรามา 1906–1916 เมืองพระนคร
67 พระธรรมาโศกราช 1916–1936 เมืองพระนคร
1393 สยามตีนครธมแตกเป็นครั้งที่สอง นำโดยสมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ยังมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ต่อไป
68 พระอินทราชา

(พญาแพรก)

1931–1964 เมืองพระนคร
69 พระบรมราชารามาธิบดีที่ 1 (พระบรมราชาเจ้าพระยาญาติ) 1915–1976 กรุงจตุรมุข ทรงทิ้งเมืองนครธมในปี ค.ศ. 1431 และทรงย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่กรุงจตุรมุข

ยุคหลังจักรวรรดิเขมร (พ.ศ. 1974–2406)แก้ไข

กรุงจตุรมุข (พ.ศ. 1931–2083)แก้ไข

ประเทศราชภายใต้อาณาจักรอยุธยาแก้ไข

พ.ศ. 1974 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จยกทัพมาตีเมืองนครหลวง (นครธม) ได้สำเร็จ และทรงแต่งตั้งพระอินทราชา พระราชโอรสครองเมืองนครธมต่อไป ในฐานะประเทศราช ต่อมาอาณาจักรอยุธยาได้แต่งตั้งให้เจ้าพระยาแพรก พระราชโอรสอีกพระองค์ในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 มาครองนครธม จนกระทั่งถูกเจ้าพระยาญาติ เชื้อพระราชวงศ์วรมันกอบกู้ชาติได้สำเร็จ พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบรมราชารามาธิบดีที่ 1 ส่วนเจ้าพระยาแพรกถูกปลงพระชนม์

รัชกาลที่ พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม ระยะเวลาเสวยราชสมบัติ เมืองหลวง เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย
69   พระบรมราชารามาธิบดีที่ 1 (หรือพระบรมราชาเจ้าพญาญาติ) พ.ศ. 1916–1976 (ทรงสถาปนากรุงจตุรมุขเป็นราชธานี) ทรงย้ายราชธานีมายังกรุงจตุรมุข
เข้าสู่ยุคอาณาจักรเขมรจตุรมุข
70   พระนารายณ์รามาธิบดี หรือพระนารายณ์ราชาที่ 1 (พญาคำขัด) พ.ศ. 1976–1980 ทรงย้ายราชธานีกลับมาเมืองพระนคร
71   พระศรีราชา พ.ศ. 1981–2019 เมืองพระนคร *(ถูกเจ้าพญาเดียรราชา พระอนุชาชิงราชสมบัติ)
72   พระศรีสุริโยไทยราชา หรือเจ้าพญาเดียรราชา พ.ศ. 1981–2019 (โอรสเจ้าพญาญาติ กับพระอิทรมิตรา พระราชธิดาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 กษัติย์อยุธยา) ถูกพระพระธรรมราชาชิงราชสมบัติ
73   พระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี(พระศรีธรรมราชาที่ 1) พ.ศ. 2011–2047 กรุงจตุรมุข (โอรสพระศรีสุริโยไทย กับธิดาขุนทรงพระอินทร์ขุนนางอยุธยาที่ถูกส่งมาเป็นเจ้าเมืองโพธิสัตว์) ทรงถูกพระอนุชาก่อกบฏ แต่ทรงขอกำลังอยุธยาปราบกบฏได้ และย้ายราชธานีกลับมาเมืองจตุรมุขอีกครั้ง
74   พระศรีสุคนธบท หรือพญางามขัต หรือเจ้าพระยาฎำขัตราชา พ.ศ. 2047–2055 กรุงบาสาณ (ย้ายราชธานีมาอยู่เมืองบาสาณ)
75   พระเจ้าไชยเชษฐาฐิราช หรือเจ้ากน หรือขุนหลวงพระเสด็จ พ.ศ. 2055–2068 กรุงบาสาณ (ชิงราชสมบัติพระศรีสุคนธบท ตั้งตนเป็นกษัตริย์ที่เมืองบาสาณ)
76   พระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) พ.ศ. 2059–2109 กรุงละแวก (อนุชาพระศรีสุคนทบท หนีขุนหลวงพระเสด็จมาพึ่งกรุงศรีอยุธยา ภายหลังได้ครองราย์และย้ายราชธานีไปที่ละแวก)
อาณาจักรเขมรจตุรมุขเปลี่ยนมาเป็นอาณาจักรเขมรละแวกได้ตกเป็นประเทศราชของสยาม (กรุงศรีอยุธยา)

กรุงละแวก (พ.ศ. 2083–2140)แก้ไข

รัชกาลที่ พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม ระยะเวลาเสวยราชสมบัติ เมืองหลวง เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย
76   พระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) พ.ศ. 2059–2109 (ทรงสถาปนากรุงละแวกเป็นราชธานี) ทรงย้ายราชธานีมายังกรุงละแวก
เข้าสู่ยุคอาณาจักรเขมรละแวก
77   สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก) หรือ พระยาละแวก หรือ ปรมินทราชา พ.ศ. 2109–2119 กรุงละแวก ทรงประกาศอิสรภาพจากกรุงศรีอยุธยา, ทำสงครามและเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)ทรงประกาศอิสรภาพจากกรุงศรีอยุธยา
อาณาจักรเขมรละแวกได้เอกราชจากสยาม (กรุงศรีอยุธยา)
78   สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา) หรือ นักพระสัตถา พ.ศ. 2119–2137 กรุงละแวก *(ครองราชย์ร่วมกับพระโอรส)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีกรุงละแวกได้สำเร็จ
อาณาจักรเขมรละแวกได้ตกเป็นประเทศราชของสยาม (กรุงศรีอยุธยา) เป็นครั้งที่สอง
79   พระไชยเชษฐาที่ 1 นักพระสัตถา พ.ศ. 2127–2137 กรุงละแวก สถาปนาเป็นกษัตริย์ครองราชย์พร้อมกัน
80   พระบรมราชาที่ 5 (พญาตน) พ.ศ. 2127–2137 กรุงละแวก นักพระสัตถาสถาปนาเป็นกษัตริย์ครองราชย์พร้อมกัน

กรุงศรีสุนทร (พ.ศ. 2140–2162)แก้ไข

รัชกาลที่ พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม ระยะเวลาเสวยราชสมบัติ เมืองหลวง เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย
81   พระบาทรามเชิงไพร หรือพระรามที่ 1 พ.ศ. 2137–2139 (ทรงสถาปนากรุงศรีสุนทรเป็นราชธานี) ทรงย้ายราชธานีมายังกรุงศรีสุนทร, เข้าสู่ยุคอาณาจักรเขมรศรีสุนทร
82   พระรามที่ 2 (พญานูร) พ.ศ. 2139–2139/2140 กรุงศรีสุนทร
83   พระบรมราชาที่ 5 (พญาตน) พ.ศ. 2139/2140–2142 กรุงศรีสุนทร ครองราชย์ครั้งที่ 2 ที่เมืองศรีสันธร
84   พระบรมราชาที่ 6 (พญาอน) พ.ศ. 2142–2143: กรุงศรีสุนทร
85   พระแก้วฟ้าที่ 1 หรือเจ้าพญาโญม พ.ศ. 2143–2145 กรุงศรีสุนทร
86   พระบรมราชาที่ 7 (ศรีสุริโยพรรณ) หรือพระศรีสุพรรณมาธิราช พ.ศ. 2145–2162 กรุงศรีสุนทร
87   พระไชยเชษฐาที่ 2หรือพระชัยเจษฎา พ.ศ. 2162–2170 กรุงศรีสุนทร

กรุงอุดงฦๅไชย (พ.ศ. 2162–2384)แก้ไข

รัชกาลที่ พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม ระยะเวลาเสวยราชสมบัติ เมืองหลวง เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย
87   พระไชยเชษฐาที่ 2 หรือพระชัยเจษฎา พ.ศ. 2162–2170 (ทรงสถาปนากรุงอุดงมีชัยเป็นราชธานี) ทรงย้ายราชธานีมายังกรุงอุดงมีชัย, เข้าสู่ยุคอาณาจักรเขมรอุดง
88   พระศรีธรรมราชาที่ 2 หรือ พญาตู พ.ศ. 2170–2175 กรุงอุดงมีชัย
89   พระองค์ทองราชา หรือองค์ทอง พ.ศ. 2175–2183 กรุงอุดงมีชัย
90   พระปทุมราชาที่ 1 (องค์นน) พ.ศ. 2183–2185 กรุงอุดงมีชัย
91   พระรามาธิบดีที่ 1 พ.ศ. 2185–2201 กรุงอุดงมีชัย
92   พระบรมราชาที่ 8 (นักองค์สูร) พ.ศ. 2202–2215 กรุงอุดงมีชัย
93   พระปทุมราชาที่ 2 (พระศรีชัยเชษฐ์) พ.ศ. 2215–2216 กรุงอุดงมีชัย
94   พระแก้วฟ้าที่ 2 (นักองค์ชี) พ.ศ. 2216–2220 กรุงอุดงมีชัย
95   พระไชยเชษฐาที่ 3 (นักองค์สูร) รัชสมัยที่ 1 พ.ศ. 2220–2238 กรุงอุดงมีชัย
96   พระรามาธิบดีที่ 2 (นักองค์ยง) พ.ศ. 2238–2239 กรุงอุดงมีชัย
--   พระไชยเชษฐาที่ 3 (นักองค์สูร) รัชสมัยที่ 2 พ.ศ. 2239–2243 กรุงอุดงมีชัย
97   พระแก้วฟ้าที่ 3 (นักองค์อิม) รัชสมัยที่ 1 พ.ศ. 2243–2244 กรุงอุดงมีชัย
--   พระไชยเชษฐาที่ 3 (นักองค์สูร) รัชสมัยที่ 3 พ.ศ. 2244–2245 กรุงอุดงมีชัย
98   พระศรีธรรมราชาที่ 3 รัชสมัยที่ 1 พ.ศ. 2245–2247 กรุงอุดงมีชัย
--   พระไชยเชษฐาที่ 3 (นักองค์สูร) รัชสมัยที่ 4 พ.ศ. 2247–2250 กรุงอุดงมีชัย
--   พระศรีธรรมราชาที่ 3 รัชสมัยที่ 2 พ.ศ. 2252–2258 กรุงอุดงมีชัย
--   พระแก้วฟ้าที่ 3 (นักองค์อิม) รัชสมัยที่ 2 พ.ศ. 2258–2265 กรุงอุดงมีชัย
99   พระสัตถาที่ 2 หรือนักองค์ชี รัชสมัยที่ 1 พ.ศ. 2265–2272 กรุงอุดงมีชัย
--   พระแก้วฟ้าที่ 3 (นักองค์อิ่ม) รัชสมัยที่ 3 พ.ศ. 2272–2272 กรุงอุดงมีชัย
--   พระสัตถาที่ 2 รัชสมัยที่ 2 พ.ศ. 2272–2280 กรุงอุดงมีชัย
--   พระศรีธรรมราชาที่ 3 รัชสมัยที่ 3 พ.ศ. 2281–2293 กรุงอุดงมีชัย
100   พระศรีธรรมราชาที่ 4 (นักองค์อิ่ม) พ.ศ. 2293–2293 กรุงอุดงมีชัย
101   พระรามาธิบดีที่ 3 (นักองค์ทอง) รัชสมัยที่ 1 พ.ศ. 2293–2294 กรุงอุดงมีชัย
--   พระสัตถาที่ 2
ครองราชย์ครั้งที่ 3
พ.ศ. 2294–2294 กรุงอุดงมีชัย
102   พระศรีไชยเชษฐ์ (นักองค์สงวน) พ.ศ. 2294–2300 กรุงอุดงมีชัย
--   พระรามาธิบดีที่ 3 (นักองค์ทอง) รัชสมัยที่ 2 พ.ศ. 2301–2303 กรุงอุดงมีชัย
103   พระนารายน์ราชารามาธิบดี (นักองค์ตน) พ.ศ. 2303–2318 กรุงอุดงมีชัย
อาณาจักรเขมรอุดงได้ตกเป็นประเทศราชของสยาม (อาณาจักรธนบุรี)
หมายเหตุ: สยามในนามอาณาจักรอยุธยาล่มสลายเมื่อ พ.ศ. 2310 และถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ในนามอาณาจักรธนบุรี
104   สมเด็จพระรามราชาธิราช (นักองค์โนน) พ.ศ. 2318–2322 กรุงอุดงมีชัย
105   สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ (นักองค์เอง) พ.ศ. 2322–2325: กรุงอุดงมีชัย
อาณาจักรเขมรอุดงได้ตกเป็นประเทศราชของสยาม (อาณาจักรรัตนโกสินทร์)
หมายเหตุ: สยามในนามอาณาจักรธนบุรีสิ้นสภาพจากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และมีการสถาปนาอาณาจักรรัตนโกสินทร์ขึ้นแทนที่ใน พ.ศ. 2325
เกิดสงครามขึ้นระหว่างสยาม (อาณาจักรรัตนโกสินทร์) กับ เวียดนาม (ราชวงศ์เหงียน) เพื่อแย่งชิงอิทธิพลเหนือกัมพูชา, นำไปสู่สงครามอานัมสยามยุทธ
106   สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี (นักองค์จัน) พ.ศ. 2349–2377 กรุงอุดงมีชัย
107   กษัตรีองค์มี (นักองเม็ญ) พ.ศ. 2349–2377 กรุงพนมเปญ พระนางได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามทำให้พระนางได้สถาปนาเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชาเพื่อถ่วงดุลกับสยามในช่วงอานัมสยามยุทธ
108   สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง) พ.ศ. 2384–2403 กรุงอุดงมีชัย
  • พ.ศ. 2383–2384: ว่างกษัตริย์

ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2403–ปัจจุบัน)แก้ไข

กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส (พ.ศ. 2406–2496)แก้ไข

รัชกาลที่ พระบรมฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และกลายเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2406 (เข้าสู่ยุคกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส)
หมายเหตุ: กัมพูชาพ้นจากความเป็นประเทศราชของสยาม ทางฝ่ายสยามถือเป็นการเสียอิทธิพลให้ฝรั่งเศส
109   พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร (นักองค์ราชาวดี) 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403 23 เมษายน พ.ศ. 2447 พระราชโอรสในสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง)
110   พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์) 27 เมษายน พ.ศ. 2447 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 พระราชโอรสในสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง)
พระอนุชาต่างพระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร (นักองค์ราชาวดี)
111   พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์) 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 23 เมษายน พ.ศ. 2484 พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์)
112   พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
(ครองราชย์ครั้งแรก)
24 เมษายน พ.ศ. 2484 2 มีนาคม พ.ศ. 2498 พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์)
กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์ พ.ศ. 2496
สถาปนาพระราชอาณาจักรกัมพูชาโดยใช้ระบอบสังคมราษฎรนิยม : พ.ศ. 2496 – 2513
กัมพูชาเข้าสู่ยุคสังคมราษฎรนิยม

พระราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2496–2513)แก้ไข

รัชกาลที่ พระบรมฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
113   พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต 3 มีนาคม พ.ศ. 2498 3 มษายน พ.ศ. 2503 พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร (นักองค์ราชาวดี)
เกิดรัฐประหารปี พ.ศ. 2513 ตำแหน่งถูกยกเลิก
หมายเหตุ: ยุบเลิกพระราชอาณาจักรกัมพูชา เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐเขมร : พ.ศ. 2513 – 2536

พระราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2536–ปัจจุบัน)แก้ไข

รัชกาลที่ พระบรมฉายาลักษณ์ รายพระนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
ฟื้นฟูราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นใหม่ พ.ศ. 2536
--   พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
(ครองราชย์ครั้งที่ 2)
24 กันยายน พ.ศ. 2536 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
114   พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 ศานติ ภักดีคำ. "เอกสารกัมพูชากับการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา" (PDF). ดำรงวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. O'Reilly, Dougald J. W. (2007). Early Civilizations of Southeast Asia by Dougald J. W. O'Reilly - Chenla. ISBN 9780759102798. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  3. Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. สืบค้นเมื่อ February 16, 2023.