พระบาอาต หรือ พระบาอัฐ (เขมร: បាសាត) พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยา[1]

พระบาอาจ
พระมหากษัตริย์พระนคร
ครองราชย์พ.ศ.1898-1900
รัชกาลก่อนหน้าพระบาสาต
รัชกาลถัดไปพระกฎุมบงพิสี
ประสูติไม่ปรากฏ
สวรรคตพ.ศ.1900
พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าบาอาจ
พระนามเดิม
เจ้าบาอาจ
ราชวงศ์ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
พระราชบิดาพระบรมลำพงษ์ราชา

พระบาอาต พงศาวดารเขมรในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑[2] ระบุว่าเป็นพระโอรสของพระบรมลำพงษ์ราชา พระมหากษัตริย์เขมรพระองค์ก่อน แต่พงศาวดารเขมร ฉบับนักองค์เองระบุแตกต่างออกไปว่าเป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยา

หลังจากกองทัพอยุธยาซึ่งนำโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) สามารถตีนครธม ราชธานีเขมรแตกแล้วสมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงแต่งตั้งพระบาสาต พระราชโอรสของพระบรมลำพงษ์ราชาหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เขมร เมื่อ พ.ศ. 1895 โดยขึ้นต่ออาณาจักรอยุธยา

ถ้าพระบาอาต เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จริงสามารถอธิบายการปกครองในลักษณะนี้ได้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงส่งพระโอรสของพระองค์ทั้ง 3 ไปปกครองจักรวรรดิเขมรแทนพระราชวงศ์เดิม ส่วนหนึ่งเพราะต้องการผนวกอำนาจการปกครองของเขมรให้มาอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา โดยอาศัยฐานะรัฐเครือญาติ

พระบาอาต ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเชษฐาอีก 2 หรือ 3 ปี (พ.ศ. 1897-1900 หรือ 1898-1900) ก็สวรรคตอีกพระองค์หนึ่ง พระกฎุมบงพิสี พระอนุชาอีกพระองค์จึงขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 1 เดือน (ใน พ.ศ. 1900) แล้วพระศรีสุริโยวงษ์ (เจ้าพญากลเมฆ (นักโพรก) ตามพงศาวดารเขมร ฉบับนักองค์เอง) พระราชวงศ์เขมรเดิมจึงได้ครองราชย์สืบต่อมา

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติ The Series ชุด พระมหากษัตริย์ในอาเซียน ตอน พระบาสาต พระบาอาต และพระกฎุมบงพิสี
  2. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา แปลโดย พันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์). นนทบุรี. สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. 2550[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]