พระนารายน์ราชารามาธิบดี

สมเด็จพระนารายน์ราชารามาธิบดี หรือ นักองค์ตน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชารัชกาลที่ 103 และเป็นพระโอรสของนักองค์โสร์ ผู้เป็นพระโอรสของพระรามาธิบดี (นักองค์ทอง) ประสูติประมาณ พ.ศ. 2282

พระนารายน์ราชารามาธิบดี
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
ครองราชย์พ.ศ. 2301–2318
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระรามาธิบดี (นักองค์ทอง)
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งกัมพูชา
ประสูติพ.ศ. 2283
สวรรคตพ.ศ. 2318
พระอัครมเหสีสมเด็จพระภัควดี พระเอกกระษัตรี
สมเด็จพระภัควดี พระศรีสุชาดา
พระราชบุตรนักองค์เม็ญ
นักองค์อี
นักองค์เภา
นักองค์เอง
พระนามเต็ม
พระราชโองการ พระนารายณ์ราชารามาธิบดี พระศรีสุริโยพรรณ บรมอินทรา มหาจักรพรรดิราช บรมนารถพระบาทบรมบพิตร เสด็จสถิตย์เป็นอิศวรยอดรัฐราษฎร์ บวรวิวัฒนวิเวก เอกราชาขัติยาบดินทร์ นรินทรอิศโรดม บรมราชวิสุทธิ จุติชาติวรวงษ์ ทรงพลานุภาพ องค์อรรคราชา มหามหินทรนรนารถ พระบาทบรมบพิตร วิชิตไชยไกรอุดม บรมเถลิงถการ ราชหฤไทยโสภณเจตสิก เตรกตรึกจตุปัจจัยไทยทาน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปรารถนาพระพุทธภูมิ
พระนามเดิม
นักองค์ตน
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
ราชสกุลราชสกุลตระซ็อกประแอม
พระราชบิดาสมเด็จพระอุไทยราชา (นักองค์โสร์)
พระราชมารดาสมเด็จพระมหากระษัตรี (เภา)

[1]ในช่วงปลายรัชกาลของพระรามาธิบดี (นักองค์ทอง) เกิดการแย่งชิงอำนาจกันขึ้นในราชสำนักกัมพูชา สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ (องค์หิง) ผู้เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระศรีไชยเชษฐ์ พระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนที่สิ้นพระชนม์ไป นำสมัครพรรคพวกไปล้อมจับบนักองค์ตน นักองค์ตนได้หนีไปพึงสมเด็จพระโสร์ทศที่เมืองเปียม สมเด็จพระโสร์ทศจึงเกณฑ์กองทัพมาตีทัพของนักองค์หิงแตกไป นักองค์หิงถูกจับประหารชีวิต พระแก้วฟ้า (นักองค์ด้วง) อนุชาของนักองค์หิงหนีไปบวชแต่ก็ถูกจับสึกและถูกประหารชีวิตเช่นกัน นักองค์โนนและนักองค์ชี พระโอรสของพระศรีไชยเชษบ์และเป็นหลานของนักองค์หิงหนีไปบวช ชายาของนักองค์หิงได้ร่วมมือกับเจ้าฟ้าทะละหะ (เภา) และออกญาวงษาธิราช (โสม) จะจับนักองค์ตนฆ่า แต่นักองค์ตนรู้พระองค์ก่อน จึงรวบรวมทหารปราบพวกกบฏแตกพ่ายไปเมืองโพธิสัตว์ นักองค์โนนและนักองค์ชีได้หนีไปกับกลุ่มกบฏนี้ด้วย

ต่อมา ใน พ.ศ. 2300 พระรามาธิบดี (นักองค์ทอง) สิ้นพระชนม์ นักองค์ตนได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระอัยกา แล้วจึงรวบรวมทหารไปตีฝ่ายของพระศรีไชยเชษฐ์ที่ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์ให้เด็ดขาด ฝ่ายนักองค์ตนเป็นฝ่ายชนะ จับเชื้อสายของพระศรีไชยเชษฐ์ประหารชีวิตหมดสิ้น รวมทั้งนักองค์ชี ส่วนนักองค์โนนมีผู้มาช่วยพาหนีไปกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ จากนั้น นักองค์ตนจึงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา

พระองค์ดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบนิยมเวียดนาม และขอกำลังทหารเวียดนามมาช่วยเมื่อเกิดความขัดแย้งกับไทย ซึ่งในรัชกาลของพระองค์ เกิดสงครามกับสยามในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2312 สยามยกทัพไปตีบันทายเพชรทางบกแต่ไม่ทันสำเร็จ มีข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคต จึงเลิกทัพกลับมาก่อน อีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2314 ซึ่งหลักฐานทางฝ่ายไทยกล่าวว่าตีได้เมืองบันทายเพชร นักองค์ตนหนีไปเวียดนาม จึงอภิเษกให้นักองค์โนนขึ้นเป็นกษัตริย์กัมพูชา แต่หลักฐานทางกัมพูชากล่าวว่า สยามตีเมืองบันทายเพชรไม่สำเร็จ จึงให้นักองค์โนนประทับอยู่ที่เมืองกำปอต จน พ.ศ. 2318 เวียดนามที่สนับสนุนนักองค์ตนอ่อนแอลง นักองค์ตนจึงถวายราชสมบัติแก่นักองค์โนน พระองค์นั้นดำรงตำแหน่งพระมหาอุปโยราช จนสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2320

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เกิดการจลาจลในกัมพูชาเพื่อต่อต้านนักองค์โนน จนนักองค์โนนถูกสำเร็จโทษ พระโอรสของพระองค์คือนักองค์เองได้ครองราชสมบัติต่อมา

อ้างอิง แก้

  1. "OCT. 7TH "CONFESS THAT IT IS SO"", Scaffolding, Princeton University Press, pp. 44–44, 2016-10-03, สืบค้นเมื่อ 2023-02-25
  • ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา แปลโดย พันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์). นนทบุรี. สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. 2550
  • ศานติ ภักดีคำ. 2554. เขมรรบไทย. กทม. มติชน
  • สุมาลี บำรุงสุข. นักองค์เอง ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 155 - 157