พระเจ้าธรรมโศรกราช
พระธรรมาโศกราช (เขมร: ធម្មាសោករាជ; อักษรโรมัน: Thomma Saok) [1]พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรพระองค์ที่ 37 เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายของพระบรมลำพงษ์ราชา และเป็นพระอนุชาของพระบรมรามา มีพระนามเดิมว่า เจ้าพญาแก้วฟ้า
พระธรรมาโศกราช | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์เมืองนครหลวง | |||||||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 1916-1936 | ||||||||
รัชกาลก่อนหน้า | พระบรมรามา | ||||||||
รัชกาลถัดไป | พระอินทราชา (พระนครอินทร์) | ||||||||
สวรรคต | พ.ศ. 1936 | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วรมัน | ||||||||
ราชสกุล | ราชสกุลตระซ็อกประแอม | ||||||||
พระราชบิดา | พระบรมลำพงษ์ราชา |
หลังจากพระบรมรามา พระเชษฐาถูกวางยาพิษปลงพระชนม์ และพระญาติวงศ์ เสนาบดีได้การถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว พระราชมารดาจึงให้ไปรับเจ้าพญาแก้วฟ้ามาครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีธรรมโศกราชธิราชรามาธิบดี (ปีเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่ละหลักฐานระบุไว้ต่างกัน พระราชพงศาวดารพระมหากษัตริย์เสวยราชสมบัติในกรุงกัมพูชาธิบดีเป็นลำดับเรียงมา ระบุปี พ.ศ. 1913 ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา [2]ฉบับออกญาวังวรเวียงชัย (ชวน) ได้เพิ่มกษัตริย์กัมพูชาอีก 2 พระองค์ก่อนถึงรัชกาลนี้ คือ พระธรรมโศกราชมหาราชาธิราช (พ.ศ. 1916–1936) และพระศรีสุริโยวงษ์ (พ.ศ. 1900–1906) จากนั้น จึงเป็นรัชกาลพระบรมอโศกราชมหาราชาธิราช ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1957 ส่วนเอกสารมหาบุรุษเขมร ระบุปี พ.ศ. 1917)
เมื่อพระองค์ขึ้นเสวยราชย์ ทรงปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม และทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักจีน สมัยราชวงศ์หมิง และได้ส่งทูตไปยังเมืองจีนในปี พ.ศ. 1920 และ 1926 ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม "สมเด็จเจ้าพระยากัมพูชา”
อ้างอิง
แก้- ↑ Merz, Thomas (1998), "PDF in the Browser", Web Publishing with Acrobat/PDF, Springer Berlin Heidelberg, pp. 9–23, ISBN 978-3-540-63762-2, สืบค้นเมื่อ 2023-02-02
- ↑ Chroniques royales du Cambodge. Mak Phoeun. Paris: Ecole française d'Extrême-Orient. 1981–1988. ISBN 2-85539-537-2. OCLC 8762634.
{{cite book}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: others (ลิงก์)