พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์

กษัตริย์กัมพูชา ปี ค.ศ. 1904 - 1927

พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (เขมร: ព្រះបាទស៊ីសុវតិ្ថ; พระบาทสีสุวัตถิ์, ในเอกสารไทยเรียกว่า "สมเด็จพระศรีสวัสดิ์") ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 110 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระบรมฉายาลักษณ์ในปี 2465
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
ครองราชย์27 กุมภาพันธ์ 2447 – 9 สิงหาคม 2470
ราชาภิเษก28 เมษายน 2449
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระนโรดม
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
พระราชสมภพ7 กันยายน พ.ศ. 2383
กรุงอุดงมีชัย อาณาจักรเขมรอุดง (ปัจจุบันคือ จังหวัดกันดาล)
สวรรคต9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 (86 พรรษา)
พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล
พนมเปญ กัมพูชา
คู่อภิเษก20 พระองค์
พระราชบุตร29 พระองค์
พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ จอมจักรพงศ หริราชปรมินทร์ภูวนัย ไกรแก้วฟ้าสุราลัย พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี
ราชวงศ์ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
(ราชสกุลสีสุวัตถิ์)
พระราชบิดาสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
พระราชมารดาสมเด็จพระวรราชินี (เภา)
ศาสนาศาสนาพุทธ

พระองค์ปกครองพระราชอาณาจักรกัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2470 ในช่วงการปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 3 ในประวัติศาสตร์กัมพูชายุคอาณานิคม

พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง) และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร (นักองค์ราชาวดี)

พระราชประวัติ

แก้
  พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชายุคใหม่
 สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
 พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
 พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
 พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 1)
 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 2)
 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
 
อนุเสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีสุวัตถิ์ที่ระลึงถึงการที่กัมพูชาได้รับจังหวัดพระวิหาร, พระตะบองและเสียมราฐคืนจากสยามโดยการกดดันจากฝรั่งเศส

เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2383 ที่กรุงอุดงมีชัย นครหลวงเก่าของกัมพูชา [1] ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

  • พระชนมายุ 18 ได้รับพระสุพรรณบัฎเป็น สมเด็จพระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้า
  • พระชนมายุ 24 อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร 1 พรรษา
  • พระชนมายุ 36 (พ.ศ. 2413) ได้รับแต่งตั้งเป็น สมเด็จพระมหาอุปราชบรมบพิตรกรุงกัมพูชา
  • พระชนมายุ 65 (24 มีนาคม พ.ศ. 2447) ครองราชย์เป็นกษัตริย์กัมพูชาต่อจากพระนโรดม (พระเชษฐา) ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ จอมจักรพงศ หริราชปรมินทร์ภูวนัย ไกรแก้วฟ้าสุราลัย พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี"

พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ทรงขึ้นครองราชย์เมี่อ พ.ศ. 2447 สืบต่อจากพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ด้วยการสนับสนุนจากฝรั่งเศส

ช่วงที่พระองค์ครองราชย์ ฝรั่งเศสได้เรียกร้องเอาเมืองพระตะบอง เสียมราฐ สตึงแตรง และเกาะกง คืนจากสยามไปรวมกับกัมพูชาเหมือนเดิม

  • พระชนมายุ 67 (พ.ศ. 2449) ได้เสด็จประพาสประเทศฝรั่งเศส

พระราชกรณียกิจ

แก้

การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝรั่งเศส

แก้
 
กองทหารอินโดจีนที่ฝรั่งเศสเกณฑ์มาช่วยทำศึกแนวรบตะวันตก
 
กองทหารอินโดจีนเดินรักษาการณ์ในแนวรบตะวันตก

เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้อุบัติในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งในขณะนั้นปกครองกัมพูชาในฐานะเจ้าอาณานิคม ได้เริ่มมีนโยบายเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารในแนวหน้า เพื่อทดแทนทหารฝรั่งเศสซึ่งเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันตก ในดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสได้เริ่มมีการเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารจากทั้งในตังเกี๋ย โคชินจีน อันนัม และกัมพูชา

ในปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) มีโปสเตอร์ขนาดใหญ่ปรากฏในเมืองและหมู่บ้านต่างๆใสพระราชอาณาจักรกัมพูชาชี้แจงให้ประชาชนเข้าร่วมสงครามโลก จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) พระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกาเรียกร้องให้อาสาสมัครมีส่วนร่วมในสงครามโลกกับฝรั่งเศส[2]

ข้าหลวงใหญ่แห่งอินโดจีนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2459 เรียกเกณฑ์ผู้ชาย 7,000 คน (เท่ากับทหารจำนวนเจ็ดกองพัน) เพื่อจัดตั้งทหารกองหนุนและทหารประจำการจากอินโดจีนเพื่อที่จะส่งไปยังฝรั่งเศสและขออาสาสมัครเพิ่มเติมอีก 12,000 คน, แรงงานที่มีทักษะ 10,000 คน (พยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรม, ล่าม ฯลฯ ) และแรงงานไร้ฝีมือ 20,000 คน

กัมพูชาถูกเรียกตัวให้จัดพลทหารอาสา 1,000 คนและคนงาน 2,500 คนไปช่วยฝรั่งเศสทำสงคราม ชาวเขมรหลายกองกำลังในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งถูกนำไปใช้หลังแนวหน้าเช่นอินโดจีนหรือไม่ก็ไปทำงานเป็นแรงงานในโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ฝรั่งเศส

สวรรคต

แก้

เสด็จสวรรคตที่ กรงุพนมเปญ เมี่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 รวมพระชนมายุ 88 พรรษา ทรงครองราชย์ 24 ปี

 
สมเด็จกรมศาลาเร็จจณาเขมร ทรงถ่ายรูป พระราชพิธีสรงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ศรีสวัสดิ์ ก่อนอัญเชิญพระบรมศพลงในพระบรมโกศ

กำหนดการพระราชพิธีพระบรมศพ

แก้

พิธีกรรมวันแรก สรงน้ำพระบรมศพ แผ่นทองที่ครอบพระพักตร์นั้น เป็นแผ่นทองที่จารึกอายตนะ 6 (พระปรมาภิไธยและวันเวลาพระราชสมภพและวันเสด็จสวรรคต) มีซับพระพักตร์ตาดเงินขาวคลุมบนแผ่นทอง และมีทรงสะพักตาดเงินขาวคลุมบนพระองค์

ตอนสรงน้ำพระศพนั้น สรงบนพระแท่นสานด้วยหวาย มีถาดหรือรางสังกะสีรองอยู่ใต้พระแท่น เมื่อสรงเสร็จแล้วก็เชิญพระศพไปประดิษฐานบนพระแท่นที่สวรรคต

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2470 (หลังสวรรคต 1 เดือน) พระสีสุวัตถิ มุนีวงศ์ (ไทยเรียกพระศรีสวัสดิ์ มณีวงศ์)กษัตริย์พระองค์ใหม่ ถวายพระนามให้กษัตริย์ที่สวรรคตว่า "พระกรุณาในพระบรมราชานุโกศ"

พิธีในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2471 (หลังสวรรคต 7 เดือน) อัญเชิญพระศพในพระบรมโกศทอง(สูง 2 เมตร 80 ซม.) เพื่อจะขึ้นรถแห่ไปยังพระเมรุ

งานพระราชพิธีพระบรมศพ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้
  ฝรั่งเศส พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) เครื่องอิสริยาภรณ์กรัวซ์ดูเมรีตแองโดชีนัวส์ ชั้นกางเขนทอง  
  สยาม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม  
  สยาม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก  
  ฝรั่งเศส พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์  
  หลวงพระบาง พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว  
  รัฐในอารักขาอันนัม พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) เครื่องราชอิสริยาภรณ์มังกรแห่งอันนัม  
  สเปน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าการ์โลสที่ 3  
  สวีเดน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา  

เกร็ดความรู้

แก้
  • สนับพระชงฆ์ผ้าขาว ๑ สนับพระชงฆ์มีเชิงงอนทอง ๑ พระภูษาเยียรบับขาว ๑ สายรัดพระองค์ทองฝังเพชร ๑ (ที่ใช้ในพระราชพิธีเหมือนราชประเพณีในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓)
  • ในบันทึกจดหมายเหตุ ที่เก็บรักษาไว้ในเก๋งพระอาลักษณ์ กล่าวว่า เครื่องที่ถวายพระบรมศพทรงทั้งหมดนั้นราคากว่า ๑๐,๐๐๐ เหรียญ (ฝรั่งเศส) เป็นพระราชทรัพย์พระกรุณาในพระบรมราชานุโกศ และจะต้องเรียกเอาออกในเวลาที่เชิญพระบรมศพใส่ลงในพระโกศเงินกาไหล่ทอง เพื่อแห่ไปสู่พระเมรุมาศ และสิ่งของนี้จะต้องสร้างเป็นพระพุทธรูป ๑ องค์ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระกรุณาในพระบรมราชานุโกศ
  • มีประเพณีเหมือนของไทยอีกอย่างหนึ่งคือแต่งเครื่องขาวไว้ทุกข์ แต่ไม่ได้โกนผม สมัยโบราณอาจโกนผมกันทั้งแผ่นดิน ทว่า พ.ศ. ๒๔๗๐ ในอาณัติฝรั่งเศส คงจะเลิกประเพณีนี้ไป เว้นเสียแต่พวกเจ้านายฝ่ายในที่อายุมาก และพวกฝ่ายใน เพราะมีบรรยายไว้ในราชกำหนดว่า

"มีนางร้องไห้ประจำยาม ๒๐ คน ล้วนแต่โกนผมนุ่งขาวไว้ทุกข์ ร้องยำยามตามบทที่กรมพระราชนิพนธ์ (คงจะพระนามทรงกรมของเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่ง-จุลลดาฯ) ได้แต่งถวายสำหรับพระบรมศพ ในเวลาที่ร้องยำยามถวายนั้น มีกลองชนะ ๑๐ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ฯลฯ"[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "HM King ANG DUONG". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-08.
  2. "Fighting for colonial masters: Khmers in the First World War". The Phnom Penh Post. 19 มิถุนายน 2541. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. จดหมายเหตุ หนังสือพระราชกำหนดการ พระราชพิธีพระบรมศพ พระกรุณาฯ ศรีสวัสดิ์ - เก๋งพระอาลักษณ์ พระบรมมหาราชวังเขมรินทร์

38

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระนโรดม    
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
(ราชสกุลสีสุวัตถิ์)

(24 เมษายน พ.ศ. 2447- 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470)
  พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์