สมเด็จพระวรราชินี (เภา)

สมเด็จพระวรราชินีนาถ (พ.ศ. 2363–2412) พระนามเดิม เภา หรือ เพา เป็นพระเทพีในสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี และเป็นพระวรราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์

สมเด็จพระวรราชินี (เภา)
พระวรราชมารดา
ประสูติพ.ศ. 2363
สวรรคตพ.ศ. 2412 (49 พรรษา)
อุดงฦๅไชย กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
คู่อภิเษกสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
พระราชบุตรพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม (อภิเษกสมรส)
พระบิดาพระมนตรีธิราช
ศาสนาพุทธ

พระราชประวัติ แก้

สมเด็จพระวรราชินีนาถ ประสูติเมื่อมะโรงโทศก[1] มีพระนามเดิมว่า เภา หรือ เพา เป็นธิดาของพระมนตรีธิราช[2] เบื้องต้นทรงเข้ารับราชการเป็นบาทบริจาริกาในตำแหน่งพระสนมชั้นแม่นาง[3] ตามเสด็จนักองค์ด้วงเมื่อครั้งประทับอยู่วังเจ้าเขมรในกรุงเทพมหานคร ประสูติกาลพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ นักองค์ศรีสวัสดิ ประสูติเมื่อปีชวดโทศก[4]

หลังสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีขึ้นเสวยราชสมบัติกรุงกัมพูชาแล้ว ทรงตั้งพระนามแก่เจ้านายฝ่ายในและบรรดาศักดิ์บาทบริจาริกาในราชสำนักทั้งหมด ทรงพระกรุณาพระราชทานพระนามแก่นักนางเภา เป็น พระปิโยพระบรมอัจฉราอับศร ในตำแหน่งพระเทพี คู่กับนักนางแป้น ที่ทรงพระกรุณาพระราชทานพระนามว่า พระปิโยพระบรมท้าวธิดา[5]

พระปิโยพระบรมอัจฉราอับศรสวรรคตในปีมะโรงสัมฤทธิศก ตรงกับ พ.ศ. 2412 สิริพระชนมายุ 42 พรรษา[1] หลังพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ เสวยราชสมบัติกรุงกัมพูชา จึงสถาปนาพระราชชนนีขึ้นเป็นสมเด็จพระวรราชินีนาถย้อนหลัง[6] พระอัฐิถูกบรรจุไว้ภายในพระเจดีย์สมเด็จพระหริรักษ์มหาอิศราธิบดี บนเขาพระราชทรัพย์ อำเภอพญาฦๅ จังหวัดกันดาล เคียงกับพระสวามี และสมเด็จพระวรราชินี (แป้น)[1][7]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 เขมรสมัยหลังพระนคร, หน้า 71
  2. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3, หน้า 234
  3. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 281
  4. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 236
  5. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 267-268
  6. เขมรสมัยหลังพระนคร, หน้า 68-70
  7. ศิลปะเขมร, หน้า 151
บรรณานุกรม
  • ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยาพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560. 360 หน้า. ISBN 978-616-514-575-6
  • เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563. 336 หน้า. ISBN 978-616-514-668-5
  • รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และศานติ ภักดีคำ. ศิลปะเขมร. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557. 232 หน้า. ISBN 978-974-02-1324-6
  • ศานติ ภักดีคำ. เขมรสมัยหลังพระนคร. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. 224 หน้า. ISBN 978-974-02-1147-1