วังเจ้าเขมร
วังเจ้าเขมร เป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระญาติวงศ์ และข้าราชบริพารของราชสำนักกัมพูชา ตั้งอยู่ติดถนนเจริญกรุง[1] ริมสะพานดำรงสถิต[2] ตำบลสามยอด จังหวัดพระนคร[3] (ปัจจุบันขึ้นกับแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) เพราะตามธรรมเนียมราชสำนักกัมพูชาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์กัมพูชาทุกพระองค์ (ยกเว้นพระนางเจ้ามี) ทรงเข้ารับการศึกษาที่กรุงเทพมหานคร[4] และเป็นสถานที่ลี้ภัยทางการเมืองของเจ้านายกัมพูชาบางพระองค์[5]
ประวัติ
แก้เจ้านายของกัมพูชาเข้ามาพำนักในดินแดนสยามมีมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาแล้ว กระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเจ้านายเขมรย้ายเข้ากรุงเทพมหานครหลังเกิดความขัดแย้งภายในราชสำนัก เจ้านายที่อพยพมาในคราวนั้นคือ สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ หรือนักองค์เอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงชุบเลี้ยงนักองค์เอง ส่วนนักองค์อีและนักองค์เภา เข้ารับราชการเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท[6] และได้พระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวังเจ้าเขมร ณ ตำบลคอกควาย หรือคอกกระบือ (ปัจจุบันคือแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร) เมื่อราว พ.ศ. 2321[7] หรือ พ.ศ. 2325[8] ต่อมาโปรดให้รื้อพระตำหนักที่ตำบลคอกกระบือใน พ.ศ. 2335[9] ไปสร้างวังเจ้าเขมรขึ้นใหม่บริเวณปากคลองหลอดวัดราชนัดดาบนเกาะรัตนโกสินทร์ ตรงข้ามทางทิศใต้ของวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2329[10]
หลังสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ หรือนักองค์เอง และสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี หรือนักองค์จัน กลับไปครองกรุงกัมพูชา ก็พาครอบครัวบางพระองค์กลับไปด้วย แต่ก็ยังเสด็จกลับมาประทับที่กรุงเทพมหานครเพื่อทรงเยี่ยมพระญาติวงศ์ที่ยังรับราชการอยู่ในราชสำนักสยามเป็นระยะ[11] แม้สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณจะเสด็จกลับไปเสวยราชสมบัติที่กรุงกัมพูชาแล้ว แต่นักนางไชย ซึ่งเป็นพระชนนี ยังคงอาศัยอยู่ภายในวังเจ้าเขมรตราบจนสิ้นชีวิต[12] กษัตริย์กัมพูชายังส่งพระราชโอรสมาเล่าเรียนที่กรุงเทพมหานครตามพระราชธรรมเนียม เช่น พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ รวมทั้งพระองค์เจ้าวัตถา[4] พระมหากษัตริย์สยามเองก็ให้การอุปการะอย่างพระราชบุตรบุญธรรม[13] ภายในวังเจ้าเขมรจะมีครูสอนภาษาเขมรและไทย[3] แต่พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตารที่เคยประทับในวังนี้ "...ตรัสแต่ภาษาไทย ถึงกล่าวกันว่าตรัสเขมรมิใคร่คล่อง"[14]
ในเวลาต่อมาหลังกัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส วังเจ้าเขมรก็โรยราลง คงหลงเหลือเจ้านายเขมรอยู่ไม่มาก ในช่วง พ.ศ. 2401 เป็นต้นมา จำนวนเจ้านายเขมรชั้นสูงในวังเริ่มลดลงโดยลำดับ แล้วถูกแทนที่ด้วยเจ้านายเขมรระดับล่าง[12] หนึ่งในนั้นคือ พระอินทเบญญา (สะราคำ วัตถา) หรือนักสะราคำ พระนัดดาของพระองค์เจ้าวัตถา เป็นต้นสกุลวัตถา ซึ่งรับราชการอยู่ในประเทศไทยจนสิ้นชีวิต[15] ชุมชนชาวเขมรรอบวังเจ้าเขมรก็สูญหายไปพร้อมกับความเจริญของเมืองหลวง ทั้งการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างถนน และอัคคีภัยที่ผลาญชุมชน ลูกหลานชาวเขมรได้กลืนกลายเป็นชาวไทยโดยสมบูรณ์ ชุมชนเขมรเก่าก็ถูกแทนที่ด้วยอาคารพาณิชย์ของชาวไทยเชื้อสายจีน[12]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ "สถานที่ต่าง ๆ ที่เสนาบดีในตระกูลบุนนาคเป็นแม่กองสร้าง". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-19. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สร้างสะพานข้ามคลอง". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แล หอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร : อักษรเจริญทัศน์, 2512, หน้า ก
- ↑ 4.0 4.1 ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม-มิถุนายน 2557). ""ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร". วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1), หน้า 150
- ↑ ไกรฤกษ์ นานา (12 กรกฎาคม 2563). "สายลับเขมร ช่วงวิกฤติ ร.ศ.112 คือใคร? มีบทบาทอย่างไรท่ามกลางความแตกแยกในราชสำนักเขมร". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประวัติชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร". กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-22. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 160-161
- ↑ ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา, หน้า 166-167
- ↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 สร้างวังเจ้าเขมร". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (25 มิถุนายน 2561). ""เมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ" และการเดินทางย้อนรอยการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ (๒)". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 ปดิวลดา บวรศักดิ์ (3 กุมภาพันธ์ 2566). "เปิดถิ่นฐาน "ชาวขแมร์" ในรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงไหน ทำอะไรกันบ้าง?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ไกรฤกษ์ นานา (28 เมษายน 2563). "เบื้องหลัง พระราชดำรัส ร.4 เรื่องเสียเมืองเขมร "เราขอบอกท่านด้วยความเจ็บปวดยิ่ง"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม-มิถุนายน 2557). ""ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร". วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1), หน้า 151
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แล หอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร : อักษรเจริญทัศน์, 2512, หน้า ง
- บรรณานุกรม
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563. 336 หน้า. ISBN 978-616-514-668-5