พระนางโสมา

พระมหากษัตริยานีแห่งฟูนาน

พระนางโสมา (เขมร: សោមា) ตามภาษาอินเดีย หรือ หลิวเย่ ตามภาษาจีน หรือ นางนาค ตามภาษาขอมโบราณ หรือพระนามเต็มว่า พระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคาเทวี (เขมร: ព្រះនាងសូមាសិវិកាទេវៈនាគាទេវី) เป็นพระมหากษัตริยานีแห่งอาณาจักรฟูนาน ครองราชย์ประมาณศตวรรษที่ 1[1][2] นับเป็นปฐมกษัตริย์และกษัตริยานีพระองค์แรกของอาณาจักรขอมพระนางอภิเษกสมรสกับพราหมณ์ชาวอินเดียคนหนึ่ง นามว่ากามพู สวยัมภูวะ หรือ เกาฑิณยะ ซึ่งต่อมาก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระนางโสมา เป็นพระเจ้าเกาฑิณยะวรมันเทวะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ พระทอง

พระนางโสมา
พระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคาเทวี
พระบรมรูปพระนางโสมา
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งฟูนาน
ครองราชย์ศตวรรษที่ 1
พระองค์ก่อนสถาปนาตำแหน่ง
พระองค์ถัดไปพระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 1 (พระทอง)
พระราชสมภพอาณาจักรฟูนาน
พระราชสวามีพระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 1 (พระทอง)
พระนามเต็ม
พระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคาเทวี
(เขมร: ព្រះនាងសូមាសិវិកាទេវៈនាគាទេវី)
พระราชบิดาพระเจ้าโสมะ
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และผีแบบเขมร

ตามตำนานในพระราชพงศาวดารเขมรในเอกสารมหาบุรุษเขมร พระนางทรงสืบเชื้อสายมาจากเผ่านาค ราชวงศ์วรมันที่ได้อภิเษกสมรสกับกามพู สวยัมภูวะ (เกาฑิณยะ) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในตำนานพระทอง-นางนาค

การอภิเษกสมรสระหว่างพระทองกับนางนาคทำให้เกิดราชวงศ์วรมันขึ้น ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาอาณาขอมตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนาน[3]

เหตุการณ์ในตำนานพระทอง-นางนาคของพระนางโสมายังมีความใกล้เคียงกับตำนานของ อามาเตราซุ ซึ่งเป็นตำนานเทพเจ้าและปฐมจักรพรรดิญี่ปุ่นตามคติชินโต ของญี่ปุ่น

วัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

  • เพลง เรือมบูเจีย เปรี๊ยะเนียงโสมาสีวิกาเทวะนาคเทวี โดยศิลปิน แก้วเพทาย มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระนางโสมา
  • ลายเพลงบูชา พระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคาเทวี โดยศิลปิน แก้วเพทาย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "The women who made Cambodia". The Phnom Penh Post. 19 May 2010.
  2. "C. 87 Stela from Mỹ Sơn B6". Corpus of the Inscriptions of Campā.
  3. Sanyal, Sanjeev (2016-08-10). The Ocean of Churn: How the Indian Ocean Shaped Human History (ภาษาอังกฤษ). Penguin UK. p. 82-84. ISBN 978-93-86057-61-7.
ก่อนหน้า พระนางโสมา ถัดไป
สถาปนาตำแหน่ง   พระมหากษัตริย์ฟูนาน
(ค.ศ. 68 – ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1)
  พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 1