จังหวัดชลบุรี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย[2] ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ
จังหวัดชลบุรี | |
---|---|
คำขวัญ: ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย | |
อักษรไทย | ชลบุรี |
อักษรโรมัน | Chon Buri |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ภัครธรณ์ เทียนไชย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2559) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 4,363 ตร.กม. (1,685 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 50 |
ประชากร (พ.ศ. 2562)[1] | |
• ทั้งหมด | 1,558,301 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 9 |
• ความหนาแน่น | 357.16 คน/ตร.กม. (925.0 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 10 |
รหัสไอเอสโอ 3166 | TH-20 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ประดู่ (ประดู่ป่า) |
• ดอกไม้ | ประดู่ (ประดู่ป่า) |
• สัตว์น้ำ | ปลาฉลามกบ |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนมนตเสวี ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 |
• โทรศัพท์ | 0 3827 5034, 0 3827 9434 |
เว็บไซต์ | http://www.chonburi.go.th |
![]() |
ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดต่อ (ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันตก ประชากรของจังหวัดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประชากรในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน[1]
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
สมัยก่อนประวัติศาสตร์แก้ไข
จังหวัดชลบุรีเคยเป็นชุมชนโบราณที่เคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะว่าเคยมีการขุดค้นด้านโบราณคดีแล้วพบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพานทองซึ่งอยู่ในบริเวณวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในอดีตพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ เมืองศรีพโล และเมืองพญาแร่ โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
ซึ่งแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบในครั้งนั้นได้พบสิ่งมีคุณค่าทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด เครื่องประดับจำพวกกำไล ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผาแบบใช้เชือกทาบ และได้พบซากของอาหารทะเลอีกด้วย จึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าปัจจุบันนี้มาก แหล่งโบราณคดีที่กล่าวอ้างทั้งหมดข้างต้นนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันยาวนานของจังหวัดชลบุรี
สมัยประวัติศาสตร์แก้ไข
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานในทำเนียบศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อ พ.ศ. 1919 มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองคือ “ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร” ศักดินา 2,400 ไร่ ส่งส่วยไม้แดง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จยกทัพผ่านมาทางบริเวณจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน ก่อนที่จะเข้าตีเมืองจันทบุรี และยกทัพกลับไปกู้กรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหวัดชลบุรีขึ้นเป็นทางการ บริเวณจังหวัดชลบุรีประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมือง คือ เมืองบางปลาสร้อย เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิรูประบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว จึงรวมเมืองพนัสนิคมและเมืองบางละมุงขึ้นต่อเมืองชลบุรี อยู่ในสังกัดมณฑลปราจีน ดังมีบันทึกว่า
"รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1, เมืองนครนายก 1, เมืองพนมสารคาม 1 และเมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า มณฑลปราจีน ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม, เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม"
ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ระบบมณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิก ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด
อนึ่งเมืองพนัสนิคมยุบเป็นอำเภอพนัสนิคมก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอพานทอง อำเภอบ่อทอง อำเภอหนองใหญ่ อำเภอเกาะจันทร์และบางตำบลของอำเภอบ้านบึง เมืองบางละมุงยุบเป็นอำเภอบางละมุง ก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอศรีราชา, อำเภอสัตหีบ และเมืองชลบุรีเป็นเมืองศูนย์กลางจังหวัดและได้แยกออกเป็นอำเภอบ้านบึง
ภูมิศาสตร์แก้ไข
ที่ตั้งและอาณาเขตแก้ไข
จังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 12 องศา 30 ลิปดา ถึง 13 องศา 43 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 45 ลิปดา ถึง 101 องศา 45 ลิปดาตะวันออก และมีอาณาเขตจรดจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดระยอง
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง
- ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวไทย
ภูมิประเทศแก้ไข
จังหวัดชลบุรีมีภูเขาทอดอยู่เกือบกลางของจังหวัดเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล ตอนเหนือเป็นที่ราบเหมาะแก่การกสิกรรม ทิศตะวันออกและทิศใต้เดิมเป็นป่าเขาพื้นที่ลุ่มดอน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพจากป่าไม้เป็นที่โล่งเตียนใช้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว สับปะรด ยางพารา และมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งจะพบแหล่งเพาะปลูกเกือบทุกอำเภอ มีชายฝั่งทะเลและหาดสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหลายแห่ง เช่น ชายหาดบางแสน พัทยา เป็นต้น ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ยกเว้นบางส่วนของอำเภอพนัสนิคม และส่วนใหญ่ของอำเภอพานทองจะเป็นดินเหนียว และดินตะกอน แหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อยจึงมีปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำประกอบกับมีการบุกรุกแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมจากการทำไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อย
ภูมิอากาศแก้ไข
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ส่งผลให้จังหวัดชลบุรีมีฤดูกาลแตกต่างกันอย่างชัดเจน 3 ฤดู ได้แก่[3]
- ฤดูร้อน เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างอบอ้าว แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด
- ฤดูฝน เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกกระจายทั่วไป โดยมักตกหนักในเขตป่าและภูเขา
- ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัด ทว่าเย็นสบาย ท้องฟ้าสดใส ปลอดโปร่ง และมีแดดตลอดวัน นับเป็นช่วงเวลาซึ่งชายหาดจะคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว ส่วนภาคเกษตร ในฤดูนี้เป็นเวลาที่ค่อนข้างแล้ง เพราะฝนทิ้งช่วงหลายเดือน
หน่วยการปกครองแก้ไข
การปกครองส่วนภูมิภาคแก้ไข
จังหวัดชลบุรีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 11 อำเภอ 92 ตำบล 687 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 11 อำเภอมีดังนี้
ลำดับ [# 1] |
ชื่ออำเภอ | ชั้น [4] |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ห่างจากตัวจังหวัด (ก.ม.)[5] |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) |
ตำบล [# 2][6] |
หมู่บ้าน [# 3][6] |
ประชากร (คน)[7] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | พิเศษ | 228.8 |
– | 2481 | 18 | 107 | 339,600 |
||
2 | 646.3 |
2481 | 8 | 52 | 108,351
| ||||
3 | 397.5 |
2524 | 5 | 24 | 23,807
| ||||
4 | 727 |
2444 | 8 | 72 | 322,587
| ||||
5 | 173 |
2481 | 11 | 76 | 71,982
| ||||
6 | 450.9 |
2495 | 20 | 185 | 125,061
| ||||
7 | 643.558 |
2437[# 4] | 8 | 73 | 309,333
| ||||
8 | 17.3 |
2437 | 1 | 7 | 4,538
| ||||
9 | 348.122 |
2496 | 5 | 40 | 165,091
| ||||
10 | 781.6 |
2528 | 6 | 47 | 50,204
| ||||
11 | 248.8 |
2550 | 2 | 27 | 37,746
|
- ↑ เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
- ↑ รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- ↑ รวมหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- ↑ ในนาม "อำเภอบางพระ"
การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข
จังหวัดชลบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 99 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีเทศบาล 47 แห่ง เป็นเทศบาลนคร 2 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่ง และเทศบาลตำบล 36 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 49 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง คือ เมืองพัทยา[8] โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดชลบุรี (รวมเมืองพัทยา) มีดังนี้
|
|
|
|
- หมายเหตุ
- ก เมืองพัทยาไม่เป็นเทศบาล แต่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
- ข เทศบาลนครแหลมฉบังตั้งอยู่ทั้งในอำเภอบางละมุงและในอำเภอศรีราชา
เศรษฐกิจแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรแก้ไข
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2549 | 1,205,574 | — |
2550 | 1,233,446 | +2.3% |
2551 | 1,264,687 | +2.5% |
2552 | 1,289,590 | +2.0% |
2553 | 1,316,293 | +2.1% |
2554 | 1,338,656 | +1.7% |
2555 | 1,364,002 | +1.9% |
2556 | 1,390,354 | +1.9% |
2557 | 1,421,425 | +2.2% |
2558 | 1,455,039 | +2.4% |
2559 | 1,483,049 | +1.9% |
2560 | 1,509,125 | +1.8% |
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[9] |
ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จังหวัดชลบุรีมีประชากร 1,509,125 คน[1] คิดเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 696,038 คน และประชากรเพศหญิง 725,387 คน[1] มีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 345.89 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ อำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีความหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอเมืองชลบุรี มีประชากรอาศัยอยู่ 330,156 คน มีความหนาแน่น 1,442.98 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่อำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอเกาะสีชัง มีประชากรอาศัยอยู่ 4,580 คน ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุด คือ อำเภอหนองใหญ่ ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 59.44 คนต่อตารางกิโลเมตร
จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2558[10] ประชากรจังหวัดชลบุรีประมาณร้อยละ 97.87 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นศาสนาอิสลามร้อยละ 1.56 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.60
ศาสนา | จำนวน (คน)[10] | ร้อยละ |
---|---|---|
พุทธ | 1,256,081 | 97.87 |
อิสลาม | 20,000 | 1.56 |
คริสต์ | 7,707 | 0.60 |
อื่น ๆ | 800 | 0.06% |
การขนส่งแก้ไข
จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางคมนาคมที่ดีจังหวัดหนึ่งของประเทศ โดยมีระบบการขนส่งทั่วถึงและสะดวกทั้งการขนส่งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ รวมทั้งมีการขนส่งทางท่อสำหรับสินค้าเหลว ได้แก่ น้ำมันและสารเคมี การขนส่งของจังหวัดชลบุรีในปัจจุบันอาศัยทางบกเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการขนส่งทางเรือและทางอากาศ ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
จังหวัดชลบุรีมีท่าอากาศยานขนาดเล็ก 1 แห่งคือ สนามบินบางพระ ตั้งอยู่ในอำเภอศรีราชา เป็นสนามฝึกซ้อมสำหรับเครื่องบินลำเล็ก จึงไม่ได้เปิดให้บริการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ทั่วไป
เนื่องจากจังหวัดชลบุรีมีสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการขนส่งทางทะเล กล่าวคือด้านตะวันตกของจังหวัดเป็นชายฝั่งที่มีแนวยาวระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร โดยหลายแห่งเป็นชายหาดที่งดงาม และบางแห่งเหมาะจะเป็นท่าจอดเรือ ส่งผลให้ชายฝั่งทะเลของจังหวัดมีท่าเทียบเรือประมงและท่าเทียบเรือสินค้า ทั้งที่เป็นท่าเทียบเรือของเอกชนและท่าเทียบเรือพาณิชย์สำหรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ รวมถึงการขนส่งสินค้าเลียบตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้าสู่ท่าเรือกรุงเทพฯ
การขนส่งทางรถไฟของจังหวัดชลบุรีอาศัยเส้นทางรถไฟสายตะวันออก โดยเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร–ฉะเชิงเทรา–ศรีราชา เมื่อรัฐบาลมีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ขึ้น เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ ท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
การขนส่งทางรถยนต์เป็นระบบการคมนาคมสำคัญที่สุดของจังหวัดชลบุรี และมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โครงข่ายนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง โดยจังหวัดชลบุรีมีถนนที่สร้างเสร็จแล้วเป็นระยะทาง 745.497 กิโลเมตร เป็นทางหลวงแผ่นดินรวมระยะทาง 745.497 กิโลเมตร และระยะทางต่อ 2 ช่องจราจรคิดเป็นระยะทาง 1,191.408 กิโลเมตร ทางหลวงสายหลักของจังหวัดชลบุรี เช่น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7, ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3) เป็นต้น
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆแก้ไข
- อำเภอบ้านบึง 17 กิโลเมตร
- อำเภอศรีราชา 23 กิโลเมตร
- อำเภอพานทอง 24 กิโลเมตร
- อำเภอพนัสนิคม 26 กิโลเมตร
- อำเภอเกาะสีชัง 36 กิโลเมตร
- อำเภอบางละมุง 48 กิโลเมตร
- อำเภอเกาะจันทร์ 49 กิโลเมตร
- อำเภอหนองใหญ่ 53 กิโลเมตร
- อำเภอบ่อทอง 59 กิโลเมตร
- อำเภอสัตหีบ 85 กิโลเมตร
การศึกษาแก้ไข
จังหวัดชลบุรีมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่
นอกจากนี้ ยังมีสถาบันและวิทยาลัยอื่น ๆ ได้แก่
- มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
- วิทยาลัยมหาดไทย
- วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคพัทยา (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง)
- วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคบางแสน (เดิมชื่อ วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี)
- วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์เมืองพัทยา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีดาราสมุทรบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีบริหารธุรกิจ (CAT)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
- วิทยาลัยวิศวกรรมแหลมฉบัง
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีราชา
- โรงเรียน
วัฒนธรรมแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬาแก้ไข
จังหวัดชลบุรีมีทีมฟุตบอลอาชีพซึ่งปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยลีกเพียงทีมเดียว คือ สโมสรฟุตบอลชลบุรี ซึ่งเป็นทีมในอำเภอเมืองชลบุรี มีผลงานได้เป็นแชมป์ประเทศไทยหนึ่งสมัยในปี พ.ศ. 2550 และเป็นตัวแทนไปแข่งในเขตเอเชียในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ส่วนสโมสรฟุตบอลราชนาวีในอำเภอสัตหีบนั้น กำลังแข่งขันในไทยลีก 2
สโมสรฟุตบอลอาชีพอื่น ๆ ในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ นาวิกโยธิน ยูเรก้า, กองเรือยุทธการ, พัทยา ดิสคอฟเวอร์รี่ ยูไนเต็ด และพานทอง
จังหวัดชลบุรีมีทีมฟุตซอลฟุตซอลที่สร้างชื่อเสียง คือทีม ชลบุรี ธ.อ.ส. อาร์แบค หรือปัจจุบันคือ ชลบุรี บลูเวฟ[11]
นอกจากนี้สโมสรวอลเลย์บอลจังหวัดชลบุรี (ชลบุรี วีซี) ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก 2 สมัย[ต้องการอ้างอิง]
สถานที่สำคัญแก้ไข
- พัทยา
- สวนน้ำรามายณะ
- สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
- สวนเสือศรีราชา
- อุทยานหินล้านปีและฟาร์มจระเข้พัทยา
- เขาสามมุข
- แหลมแท่น
- ศาลเจ้านาจาไทจื้อ
- เกาะล้าน
- วัดเครือวัลย์
- หาดบางเสร่
- สวนนงนุช
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
- สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
- ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จ.ชลบุรี
- วัดญาณสังวราราม
- วิหารเซียน
- ปราสาทสัจธรรม
- เมืองจำลอง
- วัดสัตหีบ
- วัดเทพพุทธาราม
- วัดใหญ่อินทาราม
- วัดอุทกเขปสีมาราม
- ตลาดหนองมน
- บางแสน
- เกาะสีชัง
- หาดสัตหีบ
- วัดเกาะลอย
- วัดศรีมหาราชา
- จักสานที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พนัสนิคม)
- หอพนัสบดี
- วัดหน้าพระธาตุ
- วัดโบสถ์ (พนัสนิคม)
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็น กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2563. สืบค้น 16 มกราคม 2563.
- ↑ "ชลบุรี". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "ภูมิอากาศจังหวัดชลบุรี" (PDF). สำนักภูมิสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2020. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครองจังหวัดนนทบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/nonthaburi.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
- ↑ กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ."
- ↑ 6.0 6.1 ฐานข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี. "รายชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. และขนาดพื้นที่อำเภอ เทศบาล อบต. ในแต่ละอำเภอ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.151.46.31/Chocolate/Program45/A090101.php?id_topic=A0901 2551. สืบค้น 13 มกราคม 2552.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อข้อมูลประชากร2562
- ↑ ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ 2555. สืบค้น 8 มิถุนายน 2561.
- ↑ 10.0 10.1 ข้อมูลผู้นับถือศาสนาพุทธ ในจังหวัดชลบุรี สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชลบุรี
- ↑ "ชลบุรี ธอส.อาร์แบค ตั้งเป้าเข้ารอบสุดท้ายฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย". สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: จังหวัดชลบุรี |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°24′N 101°00′E / 13.4°N 101°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดชลบุรี
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย