พนม นพพร
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พนม นพพร (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชายเสียงดี ใบหน้าหล่อเหลาชาวเมืองน้ำเค็ม ที่สามารถร้องเพลงได้ดีทั้งแนวสนุกสนานและแนวหวานซึ้ง โด่งดังอย่างมากจากเพลง "ลาสาวแม่กลอง" นอกจากนั้นก็ยังมีเพลงฮิตติดหูผู้ฟังอีกมากมายหลายเพลง พนม ยังมีฝีมือในด้านการแสดงภาพยนตร์อีกด้วย โดยได้ฝากฝีมือไว้ในด้านการแสดงภาพยนตร์หลายเรื่อง และเมื่อประสบการณ์ด้านการแสดงมีมากขึ้น เขาก็ยังหันมาเอาดีทางด้านการสร้างภาพยนตร์เองและก็ประสบความสำเร็จ พนม ยังหันมาจับธุรกิจจัดรายการโทรทัศน์ และตั้งค่ายเพลงซึ่งก็ประสบความสำเร็จและนับเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งที่ประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจมากที่สุดอีกคนหนึ่งของเมืองไทย
พนม นพพร | |
---|---|
เกิด | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ชาตรี ชินวุฒิ |
เสียชีวิต | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (77 ปี) |
อาชีพ | นักร้อง นักแสดง ผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับการแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2509 - 2552 (43 ปี) |
ประวัติ
แก้พนม นพพร มีชื่อจริงว่า ชาตรี ชินวุฒิ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น ชมมงคล) มีชื่อเล่นว่า โอ เกิดเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เกิดที่ ต.หนองตำลึง อ.พานทอง จ.ชลบุรี ในครอบครัวที่มีฐานะไม่ลำบากนัก โดยครอบครัวมีที่นาไว้ให้เช่า และมีร้านกาแฟ มีพี่น้อง 4 คน โดยเป็นคนที่ 3 พนม นพพร จบการศึกษาชั้นมัธยม 6 (ระบบเก่า) จากโรงเรียนพัฒนศิลป์ ที่ จ. ชลบุรี และไม่ได้เรียนต่อเพราะว่าอยากเป็นนักร้องลูกทุ่ง แม้ว่าพ่อแม่อยากให้รับราชการมากกว่าก็ตาม
พนม นพพร มีอาการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดสมองแตกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และรักษาตัวมาตลอด ต่อมามีอาการลิ่มเลือดจากหัวใจหลุดขึ้นไปที่สมองทำให้ต้องผ่าตัดและกลับมาพักฟื้นที่บ้านเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนจะเสียชีวิตโดยสงบ[1] เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สิริอายุ 77ปี
สำหรับกำหนดการสวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศล ได้เริ่มจัดพิธีรดน้ำศพในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 16.00 น. ที่ ณ ศาลาการเปรียญ วัดบางรักน้อย ถนนบ้านไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี กำหนดการสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 4 คืน ตั้งแต่วันที่ 14 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 18.00 น. และส่วนกำหนดการพิธีฌาปนกิจศพจะจัดขึ้นในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
เข้าสู่วงการเพลง
แก้พนม นพพร ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งอย่างมาก โดยมีสาเหตุมาจากการชอบไปดูรำวงและฟังวิทยุ ซึ่งในสมัยนั้นก็นิยมเปิดเพลงลูกทุ่งอย่างมาก จากนั้นก็เริ่มหัดร้องโดยยึดแนวของนักร้องมากมายหลายคน อาทิ คำรณ สัมบุณณานนท์ , ชาย เมืองสิงห์, พร ภิรมย์, ไพรวัลย์ ลูกเพชร, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ พนม นพพร เคยตระเวนประกวดตามเวทีประกวดมาบ้าง แต่ปรากฏว่าไม่เคยชนะเลย ในระหว่างนั้นก็เคยขึ้นไปร้องเชียร์รำวงอยู่บ้าง โดยได้ค่าร้องคืนละ 20 บาท เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้กับคณะรำวงชื่อดังแห่งยุคนั้นอย่างเช่น วงดาวน้อย และดาวทอง
ต่อมาวงดนตรีของเทียนชัย สมยาประเสริฐ มาเปิดการแสดงแถว ต.บางพระ จ.ชลบุรี และมีการประกวดร้องเพลง ซึ่งพนม นพพร ก็ไปประกวด แต่ในงานนี้เป็นการประกวดแบบอัดเทป ไม่มีการประกาศผลทันที แต่จะประกาศผลทางสถานีวิทยุในภายหลัง ซึ่งก็ปรากฏว่า พนม นพพร เป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะ ประจวบกับช่วงนั้นเขาจบการศึกษาแล้ว ก็จึงเก็บเสื้อผ้าเข้ากรุงเทพ ฯ โดยมาอยู่ที่บ้านของเทียนชัย สมยาประเสิรฐ เพื่อฝึกร้องเพลงและร่วมวงดนตรี ซึ่งที่นี่เขาได้บันทึกเสียงเพลงแรกชื่อเพลง “ลมร้อน “ ผลงานการประพันธ์ของ อรุณ รุ่งรัตน์ ขณะที่พนม นพพร ใช้ชื่อว่า พนาวัลย์ ลูกเมืองชล ซึ่งเพลงนี้ก็ทำให้เขาเป็นที่รู้จักพอสมควร แต่อยู่ได้ไม่นานวงเทียนชัยก็แตก เนื่องจากลูกวงแยกย้ายกันไปตั้งวงเอง
เมื่อไม่มีที่ให้สังกัด พนม นพพร จึงต้องหาเลี้ยงชีพโดยการไปเป็นนักร้องสลับฉากให้กับคณะลิเก รวมทั้งวงดนตรีอื่นๆ ทั้งเพลิน พรมแดน , นิยม มารยาท และอื่นๆ ต่อมามีผู้ชวนไปสมัครอยู่กับวงจุฬารัตน์ของครูมงคล อมาตยกุล ปรากฏว่าครูไม่รับ โดยให้เหตุผลว่านักร้องเต็ม พนม นพพร จึงพยายามอีกด้วยการร้องเพลงให้ฟัง ครูก็ยังไม่รับ พนม นพพร จึงต้องเสนอตัวเป็นเด็กรถประจำวงและรับใช้นักร้องในวง แค่พอให้มีข้าวกินไปวันๆ ซึ่งครูก็ตอบตกลง
ระหว่างที่วงไปเดินสายแถวอีสาน เมื่อจะไปแสดงที่ อ.ชุมแพ นักร้องเริ่มป่วยกันมากขึ้น ทางวงเกรงว่าโปรแกรมการแสดงจะไม่พอ จึงนำเอาพนม นพพร ที่ต้องทำหน้าที่เก็บตั๋ว ไปร้องเพลงฆ่าเวลา โดยให้ร้องเปิดวงเป็นคนแรก ซึ่ง พนม นพพร ก็ได้ร้องเพลง อนิจจา ของโฆษิต นพคุณ ปรากฏว่าเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนในวงและผู้ชมอย่างมาก แต่ชีวิตของเขาหลังจากนั้นก็ยังเหมือนเดิม เมื่อลงจากเวทีก็ยังต้องไปทำงานระดับล่างต่อไป แต่เขาก็ได้ร้องเพลงเปิดวงครั้งละ 1 เพลงมาตลอด
เมื่อกลับมากรุงเทพฯ วันหนึ่ง นักร้องดังๆในวงต้องไปอัดแผ่นเสียง ซึ่งพนม นพพร ก็ตามไปรับใช้ด้วย ปรากฏว่าวันนั้นราวตี 3 ก็อัดเสร็จแล้ว ซึ่งถือว่าเร็วมาก ครูมงคล อมาตยกุล เห็นว่าพอมีเวลาเหลือ จึงเรียกพนม นพพร มาลองซ้อมเพลง ตอนนั้น สรวง สันติ ได้แต่งเพลงให้พนม นพพร เพลงหนึ่ง เขาจึงนำเพลงนี้มาเสนอครูมงคล ปรากฏว่าซ้อมไปซ้อมมาครูเกิดชอบ จึงเขียนโน้ตให้นักดนตรี และบันทึกเสียงกันในตอนนั้นเลย เพลงนี้มีชื่อว่า “ สุขีเถิดที่รัก “ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างมาก
จากนั้น เมื่อพนม นพพร มีอายุประมาณ 22 ปี ก็มีโอกาสบันทึกเสียงอีก 2 เพลง เพลงแรกชื่อ “ อัดอั้นตันใจ “ ของลพ บุรีรัตน์ (ตอนนั้นใช้ชื่อ กนก เกตุกาญจน์ ) ส่วนอีกเพลง พนม นพพร บอกว่าเขาไม่ค่อยชอบ เพราะไม่ใช่แนวของเขา แต่ครูมงคลแนะนำว่า ยิ่งไม่ชอบยิ่งต้องใช้ความพยายาม แต่เพลงนี้ก็เป็นเพลงที่สร้างชื่อให้พนม นพพร ขึ้นมาอยู่ในชั้นแนวหน้าของวงการลูกทุ่งไทย โดยเพลงนั้นก็คือเพลง “ ลาสาวแม่กลอง “ (แต่งโดย เลิศ วงศ์สาโรจน์ และขายสิทธ์ไปให้ เกษม สุวรรณเมนะ เป็นเจ้าของผู้เผยแพร่ เนื้อร้องและทำนอง เนื่องจากผู้แต่งไม่มีความรู้ในการบันทึกตัวโน๊ต)
เข้าสู่วงการภาพยนตร์
แก้พนม นพพร อยู่กับวงจุฬารัตน์มานานหลายปี จนความนิยมที่มีต่อวงค่อยๆลดลงไป ครูมงคล อมาตยกุล จึงยุบวง ชินกร ไกรลาศ ซึ่งตอนนั้นก็ได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์ไปก่อนแล้ว ก็ชวน พนม นพพร ไปเป็นตัวประกอบประเภทวิ่งผ่านหน้าฉาก ซึ่งเขาก็ร่วมแสดงอยู่หลายเรื่องจนได้พอมีบทบาทบ้างในภาพยนตร์เรื่อง “ ลมรักทะเลใต้ “ จากนั้นก็มีบทดีๆเรื่อยๆ
ขณะเดียวกัน เมื่อภาพยนตร์ดัง เพลงที่เขาร้องประกอบภาพยนตร์ก็ดังตามไปด้วย จนในที่สุดเขาก็ตัดสินใจตั้งวงดนตรีพนม นพพร ออกเดินสายแสดงดนตรีร่วมกับงานด้าน การแสดงไปด้วย วงพนม นพพร เดินสายอยู่ 5 – 6 ปี ก็ยุบวง
หลังจากที่พอมีประสบการณ์เกี่ยวกับวงการภาพยนตร์อยู่บ้าง พนม นพพร ซึ่งมั่นใจในความสามารถของตน ทั้งด้านการแสดง การเขียนบท การตัดต่อ ก็ลองสร้างภาพยนตร์เรื่องแรกดูบ้าง ชื่อ “ คมนักเลง “ เป็นภาพยนตร์แนวบู๊ มี สมบัติ เมทะนี และ อรัญญา นามวงศ์ นำแสดง แต่เมื่อสร้างเสร็จ ภาพยนตร์บู๊ตกยุคไปแล้ว พนม นพพร จึงล้มเหลวในงานสร้างภาพยนตร์ แต่เขาก็ไม่ท้อ เมื่อมีการสร้างต่อในเรื่องที่ 2 ชื่อ “ คุณพ่อขอโทษ “ ที่มี ไพโรจน์ สังวริบุตร และ ลลนา สุลาวัลย์ นำแสดง ปรากฏว่าเรื่องนี้พอประสบความสำเร็จอยู่บ้าง แต่พอถึงเรื่องที่ 3 คือ “ จับกัง “ ที่มี สรพงษ์ ชาตรี นำแสดง พนม นพพร ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ได้ทั้งเงินและกล่อง สมความตั้งใจ จากนั้นพนม นพพร ก็สร้างภาพยนตร์เพิ่มอีก 2 – 3 เรื่อง
บริษัท นพพร โปรโมชั่น
แก้หลังประสบความสำเร็จในแวดวงภาพยนตร์ พนม นพพร ก็หันมาจับธุรกิจโทรทัศน์โดยการเปิดบริษัท นพพร โปรโมชั่น เพื่อซื้อรายการโทรทัศน์เพื่อนำมาให้เช่าเวลาเปิดเพลงของค่ายต่างๆ และเรื่องนี้ก็เป็นสาเหตุให้เขาต้องเปิดค่ายเพลง เอ ไอเดีย และ นพพร ซิลเวอร์โกลด์ ตามมา โดยปัจจุบัน นพพร ซิลเวอร์โกลด์ มีนักร้องอยู่ในสังกัดกว่า 20 คน เช่น อัศวิน สีทอง , สาลี่ ขนิษฐา , แมงปอ ชลธิชา , อร อรดี , ลูกปัด พิมพ์ชนก และอื่นๆ นอกจากนี้ยังได้ผลิตละครโทรทัศน์ โดยมีผลงานออกอากาศทาง ช่อง 7 สี
ผลงานเพลงดัง
แก้- ฮักสาวขอนแก่น (เกษม สุวรรณเมนะ)
- ลาสาวแม่กลอง (เกษม สุวรรณเมนะ)
- ตุ๊กติ๊ก
- เซิ้งสวิง (สัญญา จุฬาพร)
- ข้าวเหนียวติดมือ (ราชัน สุวรรณไตรย์; ช.คำชะอี)
- เขียนจดหมายส่งมา (ไพรสณฑ์ รุ่งรังษี)
- 11 ไฮโล (สรวง สันติ)
- นักร้องพเนจร (ณรงค์ โกษาผล)
- หนุนขอนต่างแขน (สรวง สันติ)
- ใต้เงาโศก
- สุขีเถิดที่รัก (สรวง สันติ)
- สาวทุ่งในกรุงเทพฯ
- ฮักสาวลาวพวน
- ตะวันลับฟ้า
- ฟ้ากับดิน
- อัดอั้นตันใจ
- ดอกฟ้า
- พิมพ์จ๋าพิมพ์
- ทะเลร่ำไห้
- น้องจ๋า
- คนขี้อาย
- ตะรางดวงใจ (ไพบูลย์ บุตรขัน; เดิม ชาญ เย็นแข เป็นผู้ขับร้องเพลงนี้คนแรก)
ผลงานการแสดงภาพยนตร์
แก้- เพลงรักแม่น้ำแคว (2513)
- เสน่ห์ลูกทุ่ง (2513)
- มันมากับความมืด (2514)
- มนต์รักชาวไร่ (2514)
- สวรรค์นางไพร (2514)
- ลำดวน (2514)
- สะใภ้ยี่เก (2514)
- ค่าของคน (2514)
- แม่ศรีไพร (2514)
- เทวดามาแล้ว (2514)
- เจ้าพระยาที่รัก (2514)
- ขวัญใจไอ้หนุ่ม (2515) รับบท เผือก
- สวนสน (2515)
- ศาลาลอย (2515)
- หาดทรายแก้ว (2515)
- หัวใจป่า (2515)
- นางฟ้าชาตรี (2515)
- บุหงาหน้าฝน (2515)
- ขอบฟ้าเขาเขียว (2516)
- ยอดชาย (2516)
- แก้วกลางนา (2516)
- แก้วตาขวัญใจ (2516)
- คนองกรุง (2516)
- วางฟูซาน (2516)
- ดรุณีผีสิง (2516)
- เตะฝุ่น (2516)
- ดอนโขมด (2516)
- อะไรกันนักหนา (2516)
- ธิดาพญายม (2517)
- แว่วเสียงลมรัก (2517)
- เพชฌฆาตรัก (2518)
- ตะบันไฟตะไลเพลิง (2518)
- ปล้นครั้งสุดท้าย (2518)
- ไอ้สากเหล็ก (2520)
- คมนักเลง (2521)
- ลูกทาส (2522)
- เรือเพลง (2522)
- คุณพ่อ…ขอโทษ..! (2522)
- ชาติหน้าก่อนเที่ยง (2522)
- ไอ๊หยาอาตือ (2524)
- ไอ้จอมเก (2527)
- ตำรวจเหล็ก (2529)
- รักซึมลึก (2530)
- สงครามเพลงแผน 2 (2533) รับเชิญ
ผลงานการสร้างภาพยนตร์
แก้- คมนักเลง
- คุณพ่อขอโทษ
- จับกัง
- หมามุ่ย
- อุ๊ย ! เขิน
- บัวตูมบัวบาน
- พูดด้วยปืน
- แม่ครัวหัวไข่
- บ้านไร่อลเวง
- บุญยัง จับกังกำลัง 2
- ยุทธการกล้วยไม้ป่า
- เพลงรักแผ่นดินเพลิง
- คนในซอย
- ไอ้ขี้เมา
ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์
แก้ช่อง 7
แก้- ภูติแม่น้ำโขง (2535-2536)
- มนต์รักลูกทุ่ง (2538)
- เสน่ห์บางกอก (2539)
- สุรพล สมบัติเจริญ (คนจริง) (2541) (รับเชิญ)
- มนต์รักลูกทุ่ง (2548)
- ล่องเรือหารัก (2552)
- เพลงรักข้ามภพ (2552)
ผลงานการสร้างละครโทรทัศน์
แก้ช่อง 3, ช่อง 7
แก้- แม่ศรีไพร (2539)
- เสน่ห์บางกอก (2539)
- รักต้องลุ้น (2540)
- ไอ้แก่น (2540)
- แหม่มจ๋า (2541)
- เทพบุตรสุดที่รัก (2542)
ช่อง 7
แก้ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละคร