เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) (30 ตุลาคม พ.ศ. 2428 – 25 กันยายน พ.ศ. 2519) ขุนนาง 5 แผ่นดิน อดีตประธานศาลฎีกา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ประธานองคมนตรี และเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ มีบทบาทในคณะรัฐมนตรีหลายคณะ โดยดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงการคลัง ภายหลังพ้นภารกิจทางการเมืองแล้ว ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และเคยดำรงตำแหน่ง ประธานองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9
นอกจากได้รับราชการและทำงานด้านการเมือง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศยังมีความสำคัญกับวงการประกันชีวิตของไทย โดยเมื่อ ปี พ.ศ. 2489 ได้เป็นผู้ก่อตั้ง และประธานคนแรก ของบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของไทย ที่ก่อตั้ง และบริหารงานโดยคนไทย และยังคงดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เกิดวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2428 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดที่บ้านพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ณ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายคนโตของพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา กับนางอนันตสมบัติ (เชื้อ วัชราภัย) ธิดาของหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) กับท่านปั้น วัชราภัย (ณ สงขลา) เป็นหลานของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 6 นับจากทั้งฝ่ายบิดาและมารดา เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 9 คน ได้แก่
- เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
- พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9 ประธานรัฐสภาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมรสกับท่านผู้หญิงศรี (ลพานุกรม) น้องสาวเภสัชกร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรรมการราษฎร อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์คนแรก
- คุณหญิงลิ้ม ณ สงขลา สมรสกับ พระยาอภิรักษ์ราชอุทาน (ฑิตย์ ณ สงขลา) มหาดเล็ก เจ้ากรมสวนหลวงและองคมนตรี
- หลวงสฤษฎิสุขาการ (รอด ณ สงขลา)
- คุณหญิงเกษร สุขุม
- นางมหานุภาพปราบสงคราม (จิ๋ว ณ สงขลา) สมรสกับหลวงมหานุภาพปราบสงคราม (ผ่อง โรจนะหัสดิน)
- นายอาจ ณ สงขลา สมรัสกับ นางผัน
- คุณเอื้อน ณ สงขลา
- นางราชฤทธิ์บริรักษ์ (ลำดวน ณ สงขลา) สมรสกับ ขุนราชฤทธิ์บริรักษ์ (ขำ ณ สงขลา)
การศึกษา
แก้- เรียนหนังสือแบบเรียนหลวงชุดมูลบทบรรพกิจ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จบเล่มพิศาลการันต์ จากครูขวด ที่เมืองสงขลา จากนั้นได้อพยพจากสงขลา มาพำนักในกรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2435 ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เลขประจำตัว (อสช 771) จนจบชั้นสูงสุดสายวิชาสามัญ โดยได้คะแนนสอบเป็นที่ 1
- หลังจากนั้นท่านได้เข้าศึกษาวิชากฎหมายที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
- สมัครเข้าเป็นล่ามฝึกหัดใน กรมกองหมาย ซึ่งไม่มีเงินเดือนหรือรายได้ใด ๆ แต่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ภาษาอังกฤษ
- พ.ศ. 2448 สอบเป็น เนติบัณฑิตสยาม ได้เมื่ออายุเพียง 20 ปี 1 เดือน และได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการประจำ ในกรมกองหมาย ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาอังกฤษ
- พ.ศ. 2449 ได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาวิชากฎหมายในสำนักเกรย์อิน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ณ ประเทศอังกฤษ ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 โดยใช้เรือพระที่นั่งมหาจักรี ไปเปลี่ยนเรือโดยสารที่สิงคโปร์ กระทรวงยุติธรรมจึงได้ขอพระบรมราชานุญาตให้นายจิตรร่วมกระบวนเสด็จไปประเทศอังกฤษ ซึ่งนายจิตร ณ สงขลา ได้บันทึกไว้ดังนี้
...ในปีพุทธศักราช 2450 พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราช เสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ตามเสด็จนอกสวิต (Suite) ในฐานะเป็นนักเรียนหลวงของกระทรวงยุติธรรม พร้อมกับนักเรียนอื่นอีกสองคน โดยเรือพระที่นั่งจักรีจากกรุงเทพฯ เปลี่ยนขึ้นเรือแซกชั่น ของบริษัทเยอรมันน๊อรทด๊อยซ์ลอยด์ จากสิงคโปร์ตรงไปเมืองเยนัว ประเทศอิตาลี แล้วโดยสารรถไฟไปยังเมืองซานเรโม ซึ่งเป็นที่ประทับเมื่อได้พักอยู่เจ็ดวันแล้ว ได้กราบถวายบังคมลาตามเสด็จพระเจ้าลูกยาเธอสี่พระองค์คือ สมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พร้อมด้วยพระยาวิสูตรโกษา อัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ และเลขานุการ ไปยังกรุงลอนดอน เพื่อศึกษาวิชากฎหมายต่อไป
- พ.ศ. 2453 สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister – at – law) โดยใช้เวลาศึกษาวิชากฎหมายที่ สำนักเกรย์อิน (Gray’s Inn) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง และตลอดระยะเวลาที่ศึกษา ได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับวิชากฎหมายอีกด้วย
การทำงาน
แก้- พ.ศ. 2454
- นายจิตรสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษแล้วได้เข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร เป็นเสนาบดี ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- 3 เดือนต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงจินดาภิรมย์ และได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ
- พ.ศ. 2455
- ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ว่าที่อธิบดีกองหมาย กองล้มละลายและหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และเป็นเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในกระทรวงยุติธรรม
- เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย และเป็นกรรมการสอบไล่ที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ถึง พ.ศ. 2465
- พ.ศ. 2456 ได้รับแต่งตั้งเป็น อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2456[2] และได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระจินดาภิรมย์ราชสภาบดี
- พ.ศ. 2457 ดำรงตำแหน่ง มหาอำมาตย์ตรี กรรมการและบรรณารักษ์เนติบัณฑิตยสภา
- พ.ศ. 2459 ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี
- พ.ศ. 2460 เป็นผู้พิพากษาศาลทรัพย์เชลย และเป็นเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา
- พ.ศ. 2461
- ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เป็นกรรมการผู้ชี้ขาดราคาที่ดินเพื่อก่อสร้าง สนามบินดอนเมือง
- พ.ศ. 2462 ดำรงตำแหน่ง อาจารย์สอนกฎหมายที่ดินที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรรมการที่ปรึกษาของสภากาชาดไทย
- พ.ศ. 2464
- ได้รับแต่งตั้งเป็น ตุลาการแห่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ของ สันติบาตชาติ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
- เป็นประธานผู้ชี้ขาดในการจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างสะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
- เป็นกรรมการสภากรรมการรถไฟ
- พ.ศ. 2465
- เป็นกรรมการศาลฎีกา (พ.ศ. 2465 - 2468)
- เป็นผู้แทนสภากาชาดสยาม ในการประชุม สภากาชาดนานาประเทศ ครั้งที่ 1 ในบูรพาทิศ (1st Conference of Oriental Red Cross Society)
- พ.ศ. 2466 เป็น กรรมการกรมร่างกฎหมาย
- พ.ศ. 2467
- เป็น นายกกรรมการเนติบัณฑิตยสภา กรรมการสภานิติศึกษา กรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
- ดำรงตำแหน่ง อุปนายกกรรมการกรมร่างกฎหมาย และอุปนายกสภานิติศึกษา กรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- พ.ศ. 2470 เป็น อธิบดีศาลฎีกา กรรมการองคมนตรี อุปนายกสภากรรมการองคมนตรี และประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างข้อบังคับสภากรรมการองคมนตรี
- พ.ศ. 2471 ดำรงตำแหน่งเป็นนายกกรรมการกรมร่างกฎหมาย นายกสภานิติศึกษา สภานายกพิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภาโดยตำแหน่งเสนาบดี และรั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ระหว่างเป็นอธิบดีศาลฎีกา และเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น "เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ" ดำรงศักดินา 10000
- พ.ศ. 2476 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2476 - 2477)
- พ.ศ. 2477
- ได้รับแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 และได้รับเลือกเป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2477 – 2479)
- เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไปเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงลอนดอน เพื่ออัญเชิญเสด็จกลับคืนมาครองราชย์
- เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไปเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ณ เมืองโลซาน เพื่ออัญเชิญให้เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 8
- ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ศาสตราจารย์วิสามัญ แห่ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
- พ.ศ. 2480 เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ครั้งแรก
- พ.ศ. 2481 เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2487[3]
- เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 2
- เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- พ.ศ. 2489 เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 3[4]
- พ.ศ. 2490 เป็น สมาชิกวุฒิสภา และประธานวุฒิสภา (พ.ศ. 2490 – 2494)
- พ.ศ. 2491 เป็น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และได้รับเลือกเป็น ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2491 – 2492) ได้จัดทำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ซึ่งต่อมาถูกล้มเลิกโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ทำรัฐประหารและนำฉบับ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
- พ.ศ. 2492 เป็น ประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง และเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ โดยตำแหน่ง (พ.ศ. 2492 – 2494)
- พ.ศ. 2493 ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2493 ได้ร่วมกล่าวคำถวายพระพรชัยมงคลเป็นภาษามคธ และในพิธีเบื้องปลาย เสด็จออกมหาสมาคม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และในฐานะประธานรัฐสภาได้กราบถวายพระพรชัยมงคลในนามประชาชนชาวไทย
- พ.ศ. 2495 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น องคมนตรี (8 เมษายน 2495 - 25 กันยายน พ.ศ. 2519)
- พ.ศ. 2506 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานองคมนตรี (27 พฤษภาคม 2506-8 มิถุนายน 2506 , 9 กรกฎาคม 2506-14 กรกฎาคม 2506)
หน้าที่พิเศษ
แก้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) และพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) น้องชาย เป็นผู้อุปถัมป์วัดสุทธิวรารามต่อจากนางอนันตสมบัติ (เชื้อ ณ สงขลา) ผู้เป็นมารดาและได้เป็นผู้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดสุทธิวราราม เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2511 โดยหลังจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว ได้ตรัสกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ว่า
ขอฝากดูแลวัดนี้ด้วย มีโอกาสจะมาอีก
ผลงานทางวิชาการ
แก้- คำอธิบายกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
- คำอธิบายกฎหมายลักษณะพิจารณาคำพยานหลักฐาน
- คำอธิบายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และวิธีพิจารณาความแพ่ง
- คำอธิบายกฎหมายล้มละลาย
- คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ครอบครัว
แก้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศได้สมรสกับท่านผู้หญิงน้อม ธิดาของนายพลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) กับคุณหญิงล้วน (จารุรัตน์) มีบุตร-ธิดารวม 11 คน ดังนี้[5][6]
- นางจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ถนิต ณ สงขลา) สมรสกับศาสตราจารย์ หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (วิสุทธิ์ ไกรฤกษ์) บุตรเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
- นายขนบ ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์
- นางจำนงค์ (ณ สงขลา) สมรสกับ นายพิพรรธน์ ไกรฤกษ์ บุตรคนโตของพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) กับคุณหญิงจำเริญ น้องสาวเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
- นางสมศรี (ณ สงขลา) สมรสกับ นายเผดิม อังสุวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา
- นางภิรมย์ (ณ สงขลา) สมรสกับ นายโอบบุญ วณิกกุล เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว และกรุงปารีส บุตรพระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล) องคมนตรี เสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และประธานศาลฎีกา
- พันเอกจินดา ณ สงขลา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สมรสกับนางสาวพิมสิริ สารสิน บุตรีนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีไทย กับท่านผู้หญิงสิริ
- นางสาวผกา ณ สงขลา
- นายเจตนา ณ สงขลา สมรสกับ นางกรรติกา (หัพนานนท์)
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ญาใจ (ยาใจ) ณ สงขลา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับนางสาวสุคนธา ลิมปิชาติ บุตรีหลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ) อธิบดีกรมตำรวจ และสมรสกับนางอุไรวรรณ (พ่วงบุญมาก)
- นางสายจิตร (ณ สงขลา) สมรสกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรคนโตของศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคุณหญิงศรีไชยยศสมบัติ
- บุตรชาย ถึงแก่กรรมเมื่อคลอด
และภายหลังจากท่านผู้หญิงน้อม พหลโยธิน ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2495 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศได้สมรสกับท่านผู้หญิงประภา วัชราภัย ธิดาของ มหาอำมาตย์โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) และ คุณหญิงจำเริญ วัชราภัย (ภัทรนาวิก)ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน ท่านผู้หญิงประภา วัชราภัย ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516
ลำดับยศ บรรดาศักดิ์ และ ตำแหน่งทางวิชาการ
แก้- พ.ศ. 2454 หลวงจินดาภิรมย์
- พ.ศ. 2456 พระจินดาภิรมย์ราชสภาบดี
- พ.ศ. 2457 มหาอำมาตย์ตรี พระจินดาภิรมย์ราชสภาบดี
- พ.ศ. 2459 มหาอำมาตย์โท พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471 - มหาอำมาตย์เอก[7]
- พ.ศ. 2474 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ดำรงศักดินา 10,000 ไร่ มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏว่า
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ สมันตเนตรนิศุทธยุตติธรรมธร วิสดรนีติศาสตรราชประเพณี วิเชียรคีรีสัลลีวงศวัยวฑฒน์ บรมกษัตรสุนทรมหาสวามิภักดิ์ สุขุมลักษณ์สุจริตาร์ชวาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณาภิรดี อภัยพีรยปรากรมพาหุ[8]
- พ.ศ. 2482 ศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[9]
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2519 สิริอายุได้ 90 ปี 11 เดือน 8 วัน หลังจากรับราชการทั้งด้านตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ และองคมนตรี รวมทั้งสิ้นถึง 72 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[13]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[14]
- พ.ศ. 2472 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[16]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[17]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[18]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2497 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ รายพระนาม/รายนามประธานองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. ๒๔๙๒ - )[ลิงก์เสีย]
- ↑ แจ้งความกระทรวงยุติธรรม เรื่อง ย้ายหน้าที่ราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ "เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร) - ชมรมสายสกุล ณ สงขลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
- ↑ ทำเนียบสายสกุล ณ สงขลา สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) - ชมรมสายสกุล ณ สงขลา
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 48, 15 พฤศจิกายน 2474, หน้า 409
- ↑ "ศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๔, ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๗๐๑, ๒๕ เมษายน ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๘, ๒๑ เมษายน ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๔๖, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๐๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๕๓๐, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๙๙, ๔ กันยายน ๒๔๗๐
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติบุคคลสำคัญด้านกฎหมาย : มหาอำมาตย์โท พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี - พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ เก็บถาวร 2009-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ - ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
- เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) - พิพิธภัณฑ์มีชีวิต สภากาชาดไทย[ลิงก์เสีย]
- เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) - ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)” กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนการพิมพ์, 2519.
ดูเพิ่ม
แก้ก่อนหน้า | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ | ประธานองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506) |
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ | ||
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) | ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา (22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479) |
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) | ||
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) | ประธานวุฒิสภา (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494) |
"ไม่มีวุฒิสภา" สมัยต่อไป พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) | ||
มหาอำมาตย์โท พระยากฤติกานุกรณ์กิจ (ดั่น บุนนาค) (ต่อมาเป็น มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ) |
อธิบดีศาลฏีกา (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471) |
พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล) | ||
เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) | เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม (พ.ศ. 2471 – พ.ศ. 2474) |
พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) | ||
เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครั้งที่ 1) (21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481) |
พลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) | ||
พลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครั้งที่ 2) (1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488) |
ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม | ||
พระยานลราชวสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครั้งที่ 3) (31 มกราคม พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489) |
หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) | ||
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477) |
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) | ||
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (20 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) |
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม | ||
พลเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (2 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) |
นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) |