เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์)

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร นามเดิม หม่อมราชวงศ์ลพ เป็นขุนนางชาวไทย ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น องคมนตรี ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลสุทัศน์[1]

เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร
(หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์)
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2469
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
ถัดไปเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400
เสียชีวิต12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 (81 ปี)
ศาสนาพุทธ
บุพการี
  • หม่อมเจ้าจินดา สุทัศน์ (บิดา)
  • หม่อมเจ้าอิน สุทัศน์ (มารดา)
ภาพล้อเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

ประวัติ แก้

เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร มีนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์ลพ เขาเป็นโอรสในหม่อมเจ้าจินดากับหม่อมเจ้าหญิงอิน หม่อมเจ้าจินดาเป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต กับหม่อมน้อย[2] เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400[3]ท่านมีพี่ชายร่วมพระบิดาเดียวกันคนหนึ่งคือเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์)

ในวัยเยาว์ได้เรียนหนังสือไทยกับพระพิมลธรรม (อ้น) และเรียนภาษาบาลีกับสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) และศึกษาในทางเลขกับพระอริยกวี (พลับ) ใน พ.ศ. 2422 ได้อุปสมบทที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์[4]

รับราชการ แก้

พ.ศ. 2418 ได้เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็ก ถึงปี พ.ศ. 2420 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายรองฉัน แล้วเลื่อนเป็นนายขัน หุ้มแพร ถือศักดินา ๔๐๐ เมื่อวันเสาร์ เดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบสองค่ำ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑ ตรงกับปี พ.ศ. 2422[5]ต่อมาย้ายไปรับราชการในกระทรวงนครบาล ตำแหน่งเจ้ากรมกองตระเวน ฝ่ายกองไต่สวนโทษหลวง ถึงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2433 จึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระประชากรกิจวิจารณ์ ถือศักดินา ๘๐๐[6]และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง เจ้ากรมกองตระเวนขวา ถือศักดินา 1,000[7] ได้เลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาจนได้เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2445 [8] และได้เลื่อนยศเป็น มหาอำมาตย์เอก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2455[9]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 วันต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดให้ท่านได้เข้าถือน้ำและรับตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[10]

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาอภัยราชา มหายุติธรรมธร สยามนริศรนิตยภักดี วรางคมนตรีกุลพิศิษฎ์ ไกรสรวิชิตสันตติวงษ์ สิทธิประสงค์นฤปราช สุจริตามาตย์สีตลัถยาศัย อดุลไตรรัตนสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[11] ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยยศประกอบด้วย มาลาเส้าสเทินกำมะหยี่ เครื่องทองคำลงยาราชาวดี เสื้อทรงประกาศ กระบี่ฝักทองคำสลัก หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี หลังหีบตราไอยราพต และกาน้ำรูปกระบอกมีถาดรองทองคำ ฝาตราไอยราพต[12] ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ยังทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเข็มตั้งเป็นท่านสมุหมนตรี[13] และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ได้รับพระราชทานยศเป็นจางวางเอก[14]

เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร ได้ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469[3] และได้รับพระราชทานบำนาญตลอดมา

ด้านชีวิตครอบครัว ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงเอี่ยม แต่ไม่ปรากฏว่ามีบุตรธิดา[3]

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร ได้เริ่มป่วยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนไปไหนไม่ได้ ครั้นถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เวลา 08:40 น. ได้ถึงแก่อสัญกรรมเพราะโรคชรา ด้วยความสงบที่บ้านถนนอนุวงศ์ สิริอายุ 82 ปี[4]

ตำแหน่ง แก้

  • 27 มีนาคม 2461 – ราชองครักษ์เวร[15]
  • 21 เมษายน 2462 – นายกกรรมการชำระประมวลกฎหมาย[16]

ยศ แก้

ยศพลเรือน แก้

  • มหาอำมาตย์เอก

ยศเสือป่า แก้

  • - นายหมู่โท
  • 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 - นายหมู่เอก[17]
  • 20 กรกฎาคม 2455 – นายหมู่ใหญ่[18]
  • 4 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - นายกองตรี[19]
  • 27 กุมภาพันธ์ 2458 - นายกองโท[20]
  • 6 มีนาคม พ.ศ. 2461 - นายกองใหญ่[21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เจ้าพระยาอภัยราชา (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑ เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๒๖ มิถุนายน ๒๔๕๖, หน้า ๖๕๘
  2. ราชินิกูลรัชกาลที่ 3,หน้า 17
  3. 3.0 3.1 3.2 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 170
  4. 4.0 4.1 "ประวัติบุคคลสำคัญด้านกฎหมาย : เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร". พิพิธภัณฑ์ศาลไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. พระราชทานสัญญาบัตรในปีเถาะเอกศก
  6. พระราชทานสัญญาบัตร
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม ๙, ตอน ๕๒, ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๕, หน้า ๒๐๐๗
  8. แจ้งความกระทรวงนครบาล
  9. พระราชทานเลื่อนยศ
  10. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2,273-4
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา, เล่ม ๒๙, ตอน ก, ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๕๕, หน้า ๒๕๒-๔
  12. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 1902. 24 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมุรธาธร เรื่อง พระราชทานเข็มตราตั้ง สมุหมนตรี แก่เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๓๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖, หน้า ๑๙๙๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๑, ตอน ๐ ง, ๖ ธันวาคม ๒๔๕๗, หน้า ๒๐๐๗
  15. แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกกรรมการชำระประมวลกฎหมาย
  17. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  18. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  19. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
  20. พระราชทานยศเสือป่า
  21. พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๓๗๕๒)
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๙๑, ๑๗ กันยายน ๑๓๐
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนักนี้ รายพระนามและนามผู้ที่จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๐, ๑๗ พฤศจิกายน ๑๓๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๔, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๓, ๑๗ ตุลาคม ๒๔๖๓
  26. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้น ๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๘, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๕๙๙, ๑ ตุลาคม ๑๒๔
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๖, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๖๘, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๘๐๗, ๒๘ ตุลาคม ๑๒๕
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๖, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
บรรณานุกรม
  • สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 168-70. ISBN 974-417-534-6