พันเอก[1] ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม หรือ หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (10 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2505) นามเดิม ช่วง ขวัญเชิด อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 กันยายน พ.ศ. 2486 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ถัดไปพลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
22 สิงหาคม พ.ศ. 2484 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ถัดไปพลเอก มังกร พรหมโยธี
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าพระยาศรีเสนา
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถัดไปพระยาสุนทรพิพิธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ก่อนหน้าจรูญ สืบแสง
ถัดไปควง อภัยวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มีนาคม พ.ศ. 2442
เสียชีวิต9 มีนาคม พ.ศ. 2505 (62 ปี)
คู่สมรสมาลัย เชวงศักดิ์สงคราม
ประหยัด เชวงศักดิ์สงคราม

ประวัติ แก้

พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2442 บิดาชื่อบุญรอด มารดาชื่อทับทิม[2]

การศึกษา แก้

เมื่อโตได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนครพิทยาคม ย้ายที่อยู่และเรียนที่จังหวัดชลบุรี เข้าเรียนชั้นประถม 2 ที่โรงเรียนวัดต้นสน แล้วย้ายไปโรงเรียนอุดมพิทยากร (วัดกำแพง) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนชั้นประถม 3 ที่โรงเรียนวัดเมือง ขณะนั้นรัฐบาลได้ตั้งโรงเรียนสามัญประจำมณฑลขึ้นและจัดให้มีการปรับเทียบความรู้นักเรียนประถมเป็นมัธยมทั้งหมด เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ช่วงจึงได้รับการปรับวุฒิเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัดฉะเชิงเทราต่อในทันที ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเลือกที่จะเป็นทหาร จึงสอบแข่งขันเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

การทำงาน แก้

พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงครามสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2464[3]แล้วเริ่มปฏิบัติราชการในกองทัพบกจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเชวงศักดิ์สงคราม ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475[4]และได้รับตำแหน่งที่สำคัญเรื่อยมา เช่น

นอกจากนี้ระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ[9] พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ยังดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (31 พฤษภาคม 2490 ถึง 8 พฤศจิกายน 2490) ด้วย

นอกเหนือจากงานราชการแล้ว พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[10] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม และสมาชิกวุฒิสภา

สมรส แก้

พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม สมรสกับ นางมาลัย เชวงศักดิ์สงคราม และ นางประหยัด เชวงศักดิ์สงคราม มีบุตร-ธิดา รวม 10 คน

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2505 อายุได้ 63 ปี ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 18 มิถุนายน พ.ศ. 2505

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  2. "พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06. สืบค้นเมื่อ 2015-04-19.
  3. พระราชทานยศ (หน้า ๒๘๙๘)
  4. พระราชทานบรรดาศักดิ์ ทหารบก (หน้า ๖๒๒)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิบดีกรมราชทัณฑ์
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมสาธารณสุข
  7. ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย -- Administrator of Ministry of Interior[ลิงก์เสีย]
  8. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 เก็บถาวร 2007-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Secretariat of the Cabinet, THAILAND
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  10. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๙๖, ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๘๔, ๑๑ มกราคม ๒๔๘๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๐, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๘, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๓๐๒๔, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖