สถานีรถไฟ
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
สถานีรถไฟ คืออาคารหรือกลุ่มอาคารที่ใช้บริการขนส่งระบบราง เป็นจุดจอด แวะพัก เปลี่ยนขบวน สำหรับการเดินรถไฟ มีการรับส่งผู้โดยสาร หรือรับส่งสินค้า หรือทั้งสองอย่าง โดยทั่วไปประกอบด้วยอย่างน้อยหนึ่งทางวิ่ง ทางเดินข้างทางวิ่ง(ชานชาลา) และอาคารสถานี มีบริการเสริมเช่น การขายตั๋ว ห้องรอรับฝากสัมภาระ และบริการขนส่งสินค้า หากสถานีอยู่บนเส้นทางรถไฟระบบรางเดี่ยวสถานีจะมีรางขนานช่วงสั้นๆเพื่อสับรางให้รถไฟที่ผ่านจากทิศทางตรงข้ามวิ่งผ่านได้เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรทางราง
สถานีที่เล็กที่สุดมักเรียกว่า "ป้ายหยุดรถไฟ" หรือ ในบางส่วนเรียกว่า "ที่หยุดรถไฟ" สถานีอาจอยู่ในระดับพื้นดิน ใต้ดิน หรือยกระดับ อาจเชื่อมต่อกับทางแยกรถไฟหรือโหมดการขนส่งอื่น ๆ เช่น รถเมล์ รถราง หรือ ระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ
ประเภทของสถานี
แก้ประเภทของสถานีรถไฟได้แก่
สถานีทั่วไป
แก้เป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเปิดรับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ เช่น สถานีรถไฟคลองมะพลับ สถานีรถไฟแม่ตานน้อย ในเส้นทางสายเหนือ สถานีรถไฟแผ่นดินทอง สถานีบ้านแสลงพัน ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟบ้านดงบัง สถานีรถไฟองครักษ์ ในเส้นทางสายตะวันออก และสถานีรถไฟบูกิ๊ต สถานีรถไฟแสงแดด ในเส้นทางสายใต้
สถานีชุมทาง เป็นสถานีที่ทางรถไฟสายหลัก และสายแยก แยกออกจากกัน ทั้งนี้ สถานีชุมทางก็มีคุณสมบัติเหมือนกันกับสถานีทั่วไปเช่นกัน กล่าวคือ เป็นสถานที่รับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย มีสถานีชุมทางทั้งหมด 27 สถานี (สถานีชุมทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 18 สถานี สถานีชุมทางในอนาคต 8 สถานี และยกเลิกใช้แล้ว 1 สถานี) คือ
- สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (ใช้งานเฉพาะขบวนรถชานเมือง,ขบวนรถพิเศษท่องเที่ยว และขบวนรถพิเศษอื่นๆ ส่วนขบวนรถไฟทางไกลประเภท ขบวนรถเร็ว,รถด่วน,รถด่วนพิเศษ จะใช้งานในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์)
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์
- สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จังหวัดนครราชสีมา
- สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
- สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
- สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว จังหวัดสระบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ จังหวัดสระบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา(ปัจจุบันยกเลิกใช้งานแล้ว)
- สถานีรถไฟชุมทางเด่นชัย จังหวัดแพร่(สถานีรถไฟเด่นชัยในปัจจุบัน)
- สถานีรถไฟชุมทางปากน้ำโพ จังหวัดนครสรรค์(สถานีรถไฟปากน้ำโพในปัจจุบัน)
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านป่าซาง จังหวัดเชียงราย(อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
- สถานีรถไฟชุมทางถนนเซาท์เทิร์น จังหวัดสุราษฎร์ธานี(ชุมทางในอนาคต)
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านหนองแวงไร่ จังหวัดขอนแก่น(อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
- สถานีรถไฟชุมทางทับปุด จังหวัดพังงา(ชุมทางในอนาคต)
- แบ่งชั้นสถานีเป็น 5 ระดับ ตามปริมาณรายได้จากการโดยสาร จำนวนประชากรในชุมชน และความสำคัญในการเดินรถไฟ เป็นที่ตั้งของแขวงเดินรถ ดังนี้
- ชั้นพิเศษ สถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟลาดกระบัง สถานีรถไฟแหลมฉบัง
- ชั้น 1 สถานีรถไฟเพชรบุรี สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีรถไฟอยุธยา สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี สถานีรถไฟนครสวรรค์ สถานีรถไฟปากน้ำโพ สถานีรถไฟตะพานหิน สถานีรถไฟพิษณุโลก สถานีรถไฟพิชัย สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ สถานีรถไฟชุมทางเด่นชัย สถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีรถไฟแม่น้ำ สถานีรถไฟหัวตะเข้ สถานีรถไฟปราจีนบุรี สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ สถานีรถไฟขอนแก่น สถานีรถไฟอุบลราชธานี สถานีรถไฟศาลายา สถานีรถไฟบ้านโป่ง สถานีรถไฟราชบุรี สถานีรถไฟหัวหิน สถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์ สถานีรถไฟบางสะพานใหญ่ สถานีรถไฟชุมพร สถานีรถไฟหลังสวน สถานีรถไฟไชยา สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี สถานีรถไฟบ้านส้อง สถานีรถไฟคลองจันดี สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง สถานีรถไฟตรัง สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช สถานีรถไฟพัทลุง สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ สถานีรถไฟยะลา สถานีรถไฟสุไหงโกลก สถานีรถไฟปะทิว สถานีรถไฟสวี
- ชั้น 2 สถานีรถไฟตลาดพลู สถานีรถไฟคลองตัน สถานีรถไฟลาดกระบัง สถานีรถไฟแม่กลอง สถานีรถไฟกบินทร์บุรี สถานีรถไฟพัทยา สถานีรถไฟลำชี สถานีรถไฟสวรรคโลก สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา สถานีรถไฟขุนตาน สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก สถานีรถไฟน้ำตก สถานีรถไฟบ้านกรูด สถานีรถไฟมาบอำมฤต สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง สถานีรถไฟชะอวด สถานีรถไฟกันตัง สถานีรถไฟคีรีรัฐนิคม
- ชั้น 3 สถานีรถไฟค้อ สถานีรถไฟวังโพ สถานีรถไฟตาเซะ สถานีรถไฟไม้แก่น สถานีรถไฟบ้านใหม่ ป้ายหยุดรถสะพานจุฬาลงกรณ์
- ชั้น 4
-
สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
-
สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ
-
สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย
-
สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ชานชาลาที่ 1 - 2
-
สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง
-
ภายนอกของสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
สถานีทั่วไปและสถานีชุมทางที่สำคัญในต่างประเทศ
แก้-
สถานีรถไฟ Broad Green, ลิเวอร์พูล, อังกฤษ (รูปแสดงในปี 1962) เปิดในปี 1830 เป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงใช้งานเป็นสถานีผู้โดยสารทั่วไป
-
ด้านหน้าของสถานี Liverpool Lime Street มีลักษณะคล้ายปราสาทและเป็นสถานีรถไฟชุมทางที่เลิกใช้งานแล้วที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
-
สถานีเพนซิลเวเนีย ในมิดทาวน์แมนฮัตตัน (นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา) เป็นสถานีรถไฟและศูนย์กลางการถ่ายโอนที่สำคัญเช่นเดียวกับสถานีรถไฟที่คึกคักที่สุดในซีกโลกตะวันตกที่ให้บริการผู้โดยสารรถไฟกว่า 430,000 คนและผู้โดยสารแอมแทร็คต่อวัน ปี 2018 [4]}}
ป้ายหยุดรถไฟ
แก้เป็นสถานที่ที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร แต่ไม่มีการขนส่งสินค้าขึ้นลง รวมไปถึงป้ายหยุดรถไฟจะไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายบอกชื่อทำด้วยเหล็ก เป็นตั้งแต่ก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์ ป้ายหยุดรถไฟพญาไท ในเส้นทางสายตะวันออก ป้ายหยุดรถไฟนิคมรถไฟ กม.11 ในเส้นทางสายเหนือ ป้ายหยุดรถไฟบ้านหนองกันงาในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ และป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ป้ายหยุดรถไฟบางระมาด ที่หยุดรถไฟฉิมพลี ที่หยุดรถไฟ พุทธมณฑล สาย 2หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์ ที่หยุดรถไฟสะพานจุฬาลงกรณ์ ที่หยุดรถไฟบ้านป่าไก่ ที่หยุดรถไฟบ้านทรัพย์สมบูรณ์ในเส้นทางสายใต้
ที่หยุดรถไฟ
แก้เป็นสถานีที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าขึ้นลง แต่ไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายทำด้วยปูน อาจเป็นที่หยุดรถตั้งแต่ก่อสร้างหรือสถานีที่ ถูกลดระดับ เช่น ที่หยุดรถไฟบ้านแต้ ที่หยุดรถไฟบ้านไร่ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ที่หยุดรถไฟห้วยโรง ที่หยุดรถไฟปากแพรก ที่หยุดรถไฟเขาหลุง ในเส้นทางสายใต้ ที่หยุดรถไฟผาคอ ที่หยุดรถไฟแม่พวก ที่หยุดรถไฟนวนคร ในทางรถไฟสายเหนือ และ ที่หยุดรถไฟไทย ชายแดนไทย-กัมพูชา ในทางรถไฟสายตะวันออก เป็นต้น
สถานีรถไฟเฉพาะกิจ
แก้สถานีรถไฟเฉพาะกิจ คือสถานีที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เป็นสถานีขนส่งสินค้าอย่างเดียวไม่รับผู้โดยสาร (บางแห่งรับผู้โดยสารร่วมด้วย) นอกจากนี้ อาจจะเป็นสถานีสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา
รายชื่อสถานีรถไฟในประเทศไทย
แก้รายชื่อสถานีรถไฟ ที่ทำการเดินรถระหว่างสถานีโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย
แก้- รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง (กรุงเทพ - ชุมทางบ้านภาชี)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี - สวรรคโลก เชียงใหม่)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี - อุบลราชธานี หนองคาย ท่านาแล้ง)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ (ชุมทางบางซื่อ - คีรีรัฐนิคม นครศรีธรรมราช กันตัง ปาดังเบซาร์ สุไหงโก-ลก)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออก (กรุงเทพ - ชุมทางคลองสิบเก้า ชุมทางแก่งคอย อรัญประเทศ แหลมฉบัง จุกเสม็ด ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ มาบตาพุด)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่ - มหาชัย - บ้านแหลม-แม่กลอง)
รายชื่อสถานีรถไฟฟ้าในประเทศไทย
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "The 51 busiest train stations in the world– All but 6 located in Japan". Japan Today. 6 February 2013. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ "SNCF Open Data — Fréquentation en gares en 2016". Paris, France: SNCF. สืบค้นเมื่อ 2018-03-19 – โดยทาง ressources.data.sncf.com – SNCF OPEN DATA.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWA
- ↑ Devin Leonard (January 10, 2018). "The Most Awful Transit Center in America Could Get Unimaginably Worse". Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ November 14, 2018.