สถานีรถไฟแม่กลอง
สถานีรถไฟแม่กลอง (อังกฤษ: Mae Klong Railway Station) เป็นสถานีรถไฟระดับ 3 บนทางรถไฟสายแม่กลอง (ช่วงบ้านแหลม-แม่กลอง) ตั้งอยู่ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม[1] ซึ่งเป็นสถานีปลายทางของเส้นทางช่วงบ้านแหลม-แม่กลอง ระยะทาง 34.049 กิโลเมตร ในระยะทางปัจจุบัน
สถานีรถไฟแม่กลอง | |
---|---|
รถไฟชานเมือง | |
![]() ป้ายสถานีรถไฟแม่กลองฝั่งถนนเพชรสมุทร | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | ถนนเพชรสมุทร ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000 |
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
สาย | รถไฟชานเมืองสายแม่กลอง |
ชานชาลา | 1 |
ราง | 2 ราง รางที่หนึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว |
โครงสร้าง | |
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน,ชานชาลาต่ำ |
ที่จอดรถ | ลานจอดรถข้างสถานีรถไฟริมฝั่งแม่น้ำ |
ข้อมูลอื่น | |
รหัสสถานี | 5032 |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2448 |
แม่กลอง | |
Mae Klong | |
กิโลเมตรที่ 33.944 | |
บางกระบูน Bang Krabun −3.59 กม. |
สิ้นสุดทางรถไฟ End of the railway +0.11 กม. |
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายแม่กลอง |
ผู้โดยสารที่เดินทางไปกรุงเทพ จะต้องลงจากขบวนรถที่สถานีรถไฟบ้านแหลม และต่อเรือข้ามฟากที่ท่าฉลอม ไปขึ้นรถไฟช่วงต่อที่สถานีรถไฟมหาชัย มีปลายทางที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ระยะทาง 31.220 กิโลเมตร [2]
ข้อมูลจำเพาะแก้ไข
- ประเภทเส้นทาง : ทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลอง (บ้านแหลม-แม่กลอง)
- รหัส : 5230
- ชื่อภาษาไทย : แม่กลอง
- ชื่อภาษาอังกฤษ : Mae Klong
- ชื่อย่อภาษาไทย : แอ.
- ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : MKO.
- ชั้นสถานี : สถานีรถไฟชั้น 3
- ระบบอาณัติสัญญาณ : -
- พิกัดที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเมืองสมุทรสงคราม ริมแม่น้ำแม่กลอง ไกล้กับตลาดร่มหุบ
- ที่อยู่ : ถนนเพชรสมุทร ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
- ขบวนรถ/วัน: 8 ขบวน รถชานเมือง
- ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ประมาณ 100 คน
- สถานีก่อนหน้า : สถานีรถไฟบ้านแหลม
- สถานีก่อนหน้า(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : ที่หยุดรถไฟบางกระบูน
- ห่างจากสถานีบ้านแหลม : 33.93 กิโลเมตร
- เบอร์โทรติดต่อ 0-3471-1906
ตารางเดินรถไฟสถานีรถไฟแม่กลองแก้ไข
*ข้อมูลวันที่ 4 กันยายน 2563[3]
เที่ยวไปแก้ไข
ขบวนรถ | ต้นทาง | สถานีรถไฟแม่กลอง | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ช4381 | บ้านแหลม | 07.30 | ปลายทาง | แม่กลอง | 08.30 | |
ช4381 | บ้านแหลม | 10.10 | ปลายทาง | แม่กลอง | 11.10 | |
ช4381 | บ้านแหลม | 13.30 | ปลายทาง | แม่กลอง | 14.30 | |
ช4381 | บ้านแหลม | 16.40 | ปลายทาง | แม่กลอง | 17.40 | |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
เที่ยวกลับแก้ไข
ขบวนรถ | ต้นทาง | สถานีรถไฟแม่กลอง | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ช4380 | แม่กลอง | 06.20 | ต้นทาง | บ้านแหลม | 07.20 | |
ช4382 | แม่กลอง | 09.00 | ต้นทาง | บ้านแหลม | 10.00 | |
ช4384 | แม่กลอง | 11.30 | ต้นทาง | บ้านแหลม | 12.30 | |
ช4386 | แม่กลอง | 15.30 | ต้นทาง | บ้านแหลม | 16.30 | |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
ประวัติสถานีรถไฟแม่กลองแก้ไข
สถานีรถไฟแม่กลอง อยู่ในเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง(ช่วงสถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง) เปิดเดินรถไฟตลอดทั้งสายครั้งแรกเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ในนามบริษัท รถไฟแม่กลอง ทุนจำกัด(บริษัทที่ได้รับสัมปทานในขณะนั้น)
วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 บริษัท รถไฟท่าจีน จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานทางรถไฟสายแม่กลอง(ช่วงสถานีรถไฟปากคลองสาน - สถานีรถไฟมหาชัย)ในขณะนั้น กับบริษัท รถไฟแม่กลอง ทุนจำกัด ได้รวมกิจการเข้าเป็นบริษัทเดียวกัน โดยได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2451 ใช้ชื่อว่า“บริษัท รถไฟแม่กลอง ทุนจำกัด ”
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เวลาเที่ยงคืน สัมปทานทางรถไฟระหว่างสถานีคลองสาน – มหาชัย ได้หมดอายุลง และในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เวลาเที่ยงคืน สัมปทานทางรถไฟระหว่างสถานีบ้านแหลม – แม่กลอง ได้สิ้นสุดลงตามลำดับ ทางรัฐบาลได้รับซื้อกิจการทั้งหมดของบริษัทฯ มาดำเนินงานต่อไป ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,000,000 บาท และจัดตั้ง “องค์กรรถไฟสายแม่กลอง” ดำเนินกิจการเป็นเอกเทศ ภายใต้สังกัดกรมรถไฟ โดยมีคณะกรรมการควบคุมอำนวยการ ประกอบด้วยอธิบดีกรมรถไฟ เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง มีผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบบริหารงานแบบเดียวกับครั้งยังเป็นของบริษัท
เมื่อกรมรถไฟ ได้เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว กระทรวงคมนาคมมีคำสั่งให้องค์การนี้มารวมกับการรถไฟฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา โดยให้มีฐานะเป็น “ สำนักงานรถไฟสายแม่กลอง ” แต่ยังรวมเฉพาะหลักการเท่านั้น ส่วนการบริหารและวิธีดำเนินงานคงปฏิบัติตามเดิมต่อไป จนในที่สุดกระทรวงคมนาคม มีคำสั่งให้สำนักงานนี้มารวมกิจการกับการรถไฟฯ ทุกอย่าง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นต้นไป จนถึงปัจจุบัน[4]
การซ่อมบำรุงและปรับปรุงเส้นทางแก้ไข
เดิมย่านสถานีรถไฟแม่กลองนั้นยาวถึงตลาดร่มหุบ ลักษณะเป็นทางตีโค้งคู่กับแนวเส้นทางในปัจจุบัน แต่เนื่องจากความเจริญของเมืองและการรุกล้ำพื้นที่เขตทางรถไฟ ย่านสถานีรถไฟแม่กลองยาวแค่ถึงก่อนจุดตัดถนนเพชรสมุทร ดังเช่นในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2558 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้สั่งปิดเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง(สถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง) ระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 - 8 พฤศจิกายน 2558 รวมระยะเวลา 180 วัน เพื่อปรับปรุงเส้นทางตามโครงการปรับปรุงทางรถไฟ ในระหว่างนี้จะใช้รถยนต์รับส่งผู้โดยสารชั่วคราวไปก่อน[5]
เนื่องจากทางรถไฟสายแม่กลอง(สถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง) มีรถไฟตลอดเส้นทางเพียงขบวนเดียว ทางหลีกจึงมีแค่สถานีบ้านแหลม ป้ายหยุดรถบ้านนาขวาง และสถานีรถไฟแม่กลอง โดยไม่มีเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟสายหลัก ทำให้การขนส่งขบวนรถเพื่อซ่อมบำรุง ต้องบรรทุกขบวนรถจากศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีรถไฟธนบุรีหรือสถานีรถไฟมักกะสัน โดยผ่านทางแพขนานยนต์[6]
การท่องเที่ยวแก้ไข
สถานีรถไฟแม่กลอง เป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว UNSEEN THAILAND คือ "ตลาดร่มหุบ" ซึ่งเป็นตลาดที่ตั้งอยู่คร่อมรางรถไฟ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กำหนดเส้นทางวงเวียนใหญ่-มหาชัย-บ้านแหลม-แม่กลอง เป็นเส้นทางส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟ[7]
โครงการในอนาคตแก้ไข
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้มีการศึกษาการปรับปรุงและสร้างทางในแนวเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง[8]โดยจะก่อสร้างผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี โดยที่จังหวัดสมุทรสาครจะก่อสร้างข้ามแม่น้ำท่าจีนด้วย และคาดว่าจะใช้แนวทางเลือกที่ 4 คือเป็นเส้นทางเลี่ยงตัวเมืองจังหวัดสมุทรสาคร โดยเบี่ยงแนวออกจากแนวของรถไฟเดิมประมาณ กม.31 ระหว่างสถานีรถไฟบ้านขอมและสถานีรถไฟคลองจาก ยกระดับข้ามถนนเอกชัย และเบี่ยงแนวเข้าไปตามแนวเส้นทางของถนนพระราม 2 บริเวณกม.26+800 ถึง กม.32+160 แล้วเบี่ยงแนวออกทางซ้ายเพื่อตรงไปเชื่อมกับแนวเส้นทางรถไฟเดิม
ขณะที่จังหวัดสมุทรสงครามจะก่อสร้างข้ามแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งคาดว่าจะใช้ทางเลือกที่ 3 คือเป็นเส้นทางที่เลี่ยงตัวเมืองสมุทรสงคราม โดยเบี่ยงแนวออกจากแนวของรถไฟเดิมประมาณ กม.66 หลังจากผ่านสถานีรถไฟบางกระบูน ซึ่งจะเป็นทางรถไฟยกระดับไปตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325 เพื่อข้ามคลองแม่กลอง และทางหลวงหมายเลข 325 บริเวณที่จะแยกไปอำเภอดำเนินสะดวกประมาณ กม.40+850 และข้ามแม่น้ำแม่กลอง
จากนั้นจะลงสู่ระดับพื้นดินเพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟที่จะก่อสร้างใหม่ และเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งจะก่อสร้างรถไฟขนานไปกับแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 และจะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่เพิ่มขึ้นอีก 3 สถานีในช่วงนี้ คาดว่าโครงการนี้จะมีมูลค่าทั้งหมดประมาณ 42,243 ล้านบาท[9]
ชื่อสถานีที่มีการศึกษาและระยะทางที่ห่างจากสถานีกลางบางซื่อ[10]แก้ไข
ชื่อสถานีภาษาไทย | ชื่อสถานีอักษรโรมัน | รหัสสถานี | ระยะห่างจากสถานีกลางบางซื่อ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
มหาชัย | Mahachai | 5019 | 43.6 | สถานีรถไฟในปัจจุบัน |
ท่าฉลอม | Tha Chalom | 5020 | 46.4 | ที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถในปัจจุบัน |
บ้านชีผ้าขาว | Ban Chi Phakhao | 5021 | 48.1 | |
คลองนกเล็ก | Khlong Nok Lek | 5035 | 50.1 | เป็นป้ายหยุดรถไฟ เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2539 |
บางสีคต | Bang Si Kot | 5022 | 51.2 | ที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถในปัจจุบัน |
บางกระเจ้า | Bang Krachao | 5023 | 53.0 | |
บ้านบ่อ | Ban Bo | 5024 | 54.9 | |
บางโทรัด | Bang Thorat | 5025 | 57.4 | |
บ้านกาหลง | Ban Ka Long | 5026 | 60.2 | |
บ้านนาขวาง | Ban Na Khwang | 5027 | 61.6 | |
บ้านนาโคก | Ban Na Khok | 5028 | 64.0 | |
เขตเมือง | Ket Muang | 5029 | 67.7 | |
ลาดใหญ่ | Lad Yai | 5030 | 72.0 | |
บางกระบูน | Bang Krabun | 5031 | 74.5 | |
แม่กลอง | Mae Klong | 5032 | 78.1 | สถานีรถไฟในปัจจุบัน |
บางกระพ้อม | Bang Kaphom | - | 84.5 | สถานีรถไฟในอนาคตที่มีการศึกษา |
อัมพวา | Amphawa | - | 89.3 | |
วัดเพลง | Wat Pleng | - | 95.7 | |
ปากท่อ | Pak Tho | 4093 | 99.4 | สถานีรถไฟสายใต้*
เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้สายใต้ |
ระเบียงภาพแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายแม่กลอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-28. สืบค้นเมื่อ 2009-08-28.
- ↑ โรม บุนนาค. ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552. 216 หน้า. ISBN 978-611-7180-00-2
- ↑ หนังสือวันหนึ่งฉันจะนั่งรถไฟ หน้า144 ของกองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563
- ↑ อนุสรณ์ครบรอบ 72 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2439 – 2512 สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563
- ↑ ร.ฟ.ท. สั่งปิดสายตลาดร่มหุบชั่วคราว 180 วัน
- ↑ การซ่อมบำรุงและปรับปรุงเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟบ้านแหลม-สถานีรถไฟแม่กลอง สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563
- ↑ นั่งรถไฟเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาจากเว็บไซต์ รฟท. สืบค้นวันที่ 29 กันยายน 2554
- ↑ http://www.otp.go.th/th/index.php/component/content/article/16-2549/128-itsi.html เก็บถาวร 2010-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการงานศึกษาและออกแบบโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ร่วมกับรถไฟฟ้าทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รังสิต-สถานีบ้านภาชี มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา ตลิ่งชัน-นครปฐม และมหาชัย-ปากท่อ)
- ↑ เวนคืน 4 โครงการฝั่งธนฯสนข.ปัดฝุ่นทางด่วน-รถไฟ. หนังสือพิมพ์วัฏจักร. 17/2/2547.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 2010-10-16.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีรถไฟแม่กลอง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°24′27″N 99°59′47″E / 13.4074994°N 99.9962577°E