สถานีรถไฟอุตรดิตถ์

สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ (อังกฤษ: Uttaradit Railway Station) ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 485.17 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายเหนือ เดิมเขียนว่า "สถานีรถไฟอุตตรดิตถ์"

อุตรดิตถ์

Uttaradit
สถานีระดับที่ 1
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาราง 1 รางหลีก (ตัวสถานี)
6 ชานชาลาราง (โรงรถจักร)
ทางวิ่ง9
โครงสร้าง
ที่จอดรถมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1150 (อด.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพ.ศ. 2453; 114 ปีที่แล้ว (2453)
สร้างใหม่พ.ศ. 2494; 73 ปีที่แล้ว (2494)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
วังกะพี้ สายเหนือ ศิลาอาสน์
มุ่งหน้า เชียงใหม่
อุตรดิตถ์
Uttaradit
กิโลเมตรที่ 485.17
วังกะพี้
Wang Kaphi
−8.35 กม.
ศิลาอาสน์
Sila At
+2.35 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

ประวัติ

แก้

ในปีพ.ศ. 2448 - 2449 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เตรียมการที่จะสร้างทางรถไฟสายเหนือ ไปเชียงใหม่ และอีกสายหนึ่งจากอุตรดิตถ์ไปบ้านไกร ตำบลท่าเดื่อ ล่องแม่น้ำโขงไปหลวงพระบาง จึงมีการสร้างสถานีรถไฟไว้ที่อุตรดิตถ์ ได้มีการเตรียมถางทาง โค่นต้นไม้ถมดิน ทางรถไฟตรงมาทางหลังวัดท่าถนน ผ่านป่าช้าของวัดท่าถนน (คือสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ปัจจุบัน) สร้างมุ่งตรงไปถึงป่าไผ่หนาทึบ (คือที่ตั้งสถานีรถไฟท่าเสาในปัจจุบัน) ตัดผ่านหน้าวัดใหญ่ท่าเสาไปถึงหน้าวัดดอยท่าเสา

ในปี พ.ศ. 2405 มีการจัดสร้างสะพานดาราข้ามแม่น้ำน่านอยู่ประชาชนได้พากันมามุงดู บางคนพูดว่า "รถไฟเป็นอย่างนี้เองหนอ พ่อแม่เราตายเสียก่อน น่าเสียดาย อยากให้แกเห็นรถไฟอย่างเราจริง ๆ"

ในปี พ.ศ. 2450 ก็ได้วางรถไฟไปตามเส้นทางดังกล่าว ขณะที่ทางการวางรางรถไฟก็มีรถจักรทำงานจูงรถพ่วงที่บรรทุกดิน หินกรวดไปด้วย ประชาชนชาวอุตรดิตถ์ จึงได้เห็นรถไฟที่มาถึงอุตรดิตถ์ในปีนี้

ในปี พ.ศ. 2452 - 2453 ทางการจึงได้จัดการสร้างสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ขึ้นในบริเวณที่เป็นป่าช้าหลังวัดท่าถนนซึ่งเป็นสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ทางกรมรถไฟได้ว่าจ้างช่างชาวเยอรมันเป็นผู้ออกแบบสร้างเป็นตัวตึกสูงใหญ่ บนหลังคามีป้อมตากอากาศตรงหน้าสถานี ในเขตบริเวณสถานีพักรถไฟ อู่รถไฟ รถไฟพักเติมน้ำและฝืนได้สร้างบ้านพนักงานรถไฟด้วย ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสถานีรถไฟ ทางกรมทหารได้จัดตั้งทำสนามฝึกหัดทหารม้า (บริเวณโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์) นับว่าสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ในเวลานั้นสูงใหญ่สวยงามกว่าแห่งอื่น เป็นศรีสง่าแก่ชาวอุตรดิตถ์ยิ่งนัก ทรงอาคารสถานีที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ หรือ ยูเกินท์ชตีล (Jugendsti; ลักษณะทางสถาปัตยกรรมบาโรก และอาร์นูโวของชาวเยอรมัน) มีป้อมตากอากาศอยู่ตรงกลางสร้างโดยสถาปนิกชาวเยอรมัน ชื่อ คาร์ล ซีกฟรีด เดอห์ริง ยังผู้ออกแบบสถานที่สำคัญต่างๆในประเทศไทย เช่น พระรามราชนิเวศน์ วังบางขุนพรหม วังวรดิศ พระตำหนักเขาน้อย และวังพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ และร่วมงานก่อสร้างกับวิศวกรโครงสร้างชาวเยอรมัน ชื่อ ดร. Kurt Beyer ผู้เคยคุมงานก่อสร้างสะพานปรมินทร์ (สะพานบ้านดารา) เดิม แล้วเสร็จเปิดให้บริการพร้อมกับสะพานปรมินทร์ (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพ.ศ. 2452 ซึ่งเป็นปีที่เปิดใช้สะพานปรมินทร์อย่างเป็นทางการ)

ในปีพ.ศ. 2487 ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการรื้อป้อมออกแล้วสร้างเป็นหลังคาคลุมเพื่อป้องกันการเป็นเป้าโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีฐนทัพอยู่ที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แต่ภายหลังก็ถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก จนอาคารสถานีเสียหายอย่างมาก รวมทั้งสะพานปรมินทร์ที่บ้านดาราด้วย เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการตัดกำลังการขนส่งของประเทศญี่ปุ่น ที่เข้ายึดครองประเทศไทย ในช่วงนั้นในนามของฝ่ายอักษะ

 
สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ที่สร้างขึ้นทดแทนสถานีรถไฟที่ถูกระเบิด

หลังจากนั้นจึงสร้างสถานีรถไฟขึ้นมาใหม่บริเวณที่เดิม (สถานีรถไฟเก่า) ขึ้นมาให้บริการ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น พร้อมกับการก่อสร้างหอนาฬิกาอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นลักษณะการผสมผสานศิลปะไทยและตะวันตก โดยมีศาลาจตุรมุขอยู่ส่วนบนสุดของหอนาฬิกา แต่เดิมทางการรถไฟฯจะนำหัวรถจักรไอน้ำเก่ามาตั้งไว้ที่บริเวณหอนาฬิกาดังกล่าว แต่พื้นที่คับแคบจึงย้ายไปตั้งไว้ที่สถานีรถไฟศิลาอาสน์จนถึงปัจจุบัน ต่อมาสภาพของสถานีเริ่มทรุดโทรม และคับแคบ ในปีพ.ศ. 2530 สถานีรถไฟศิลาอาสน์ ได้สร้างขึ้นภายหลังสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ เนื่องจากประสบปัญหาการเปลี่ยนถ่ายขบวนและตัดขบวนที่มีมากขึ้น ทำให้รางในสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ไม่เพียงพอจึงย้ายไปสร้างสถานีรถไฟศิลาอาสน์ ภายหลังจึงจัดสร้างสถานีรถไฟอุตรดิตถ์แห่งใหม่ทดแทนสถานีรถไฟหลังเก่าในบริเวณพื้นที่ป่าช้าข้างสถานีรถไฟอุตรดิตถ์เดิม

ในปัจจุบันสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือประมาณ 200 เมตร ด้านหน้าเป็นชานชาลา ด้านหลังเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น เปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นอาคารทรงสมัยใหม่มีโถงสถานีอยู่บริเวณตรงกลางของอาคาร ส่วนอื่นๆจะเป็นการเปิดสัมปทานให้ร้านค้าเช่าขายของในบริเวณด้านที่ติดกับถนน เช่น ร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และไอที เครื่องเขียน ทองรูปพรรณ คลินิก เนื้อสัตว์ ข้าวสาร ถ่ายรูป ของชำ และร้านถ่ายรูป สำหรับสถานีรถไฟเก่า การรถไฟฯ ได้มอบให้กับเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยปัจจุบันใช้เป็นอาคารแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP และกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 การรถไฟฯ มีโครงการ SMART STATION จึงได้มีการปรับปรุงสถานีรถไฟอุตรดิตถ์อีกครั้ง โดยมีการทาสีใหม่เป็นสีไข่ไก่ และสีน้ำตาลทราย การปรับปรุงป้ายสถานี ปรับปรุงห้องน้ำ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ร้านสะดวกซื้อ จุดบริการฝากสัมภาระ จุดบริการตำรวจรถไฟ สถานที่จอดรถ ปรับปรุงภูมิทัศน์สถานีให้ร่มรื่นมากยิ่งขึ้น และมีเสียงประกาศ ขณะขบวนรถไฟจอดเทียบชานชาลาสถานีเป็นภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในอนาคตการรถไฟฯจะใช้พื้นที่ใช้สอยในเขตของสถานีรถไฟอุตรดิตถ์พัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งสถานีรถไฟอุตรดิตถ์เป็น 1 ใน 13 สถานีรถไฟที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้

ระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ

แก้

ประแจกลสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลาชนิดมีเสาเข้าเขตใน เสาออก ไม่มีสัญญาณเตือน ( ก.4 )

 
บรรยากาศสถานีรถไฟอุตรดิตถ์

สถานที่ใกล้เคียง

แก้

อาคารสถานีรถไฟอุตรดิตถ์

แก้
  • ชั้นที่ 1 ลานจอดรถ, ห้องโถงผู้โดยสาร, จุดรับฝากสัมภาระและสินค้า, ร้านสะดวกซื้อ, จุดบริการตำรวจรถไฟ, จุดจำหน่ายตั๋ว และห้องน้ำ
  • ชั้นที่ 2 ที่ทำการนายแพทย์เขตอุตรดิตถ์ (นพข.อด.), ที่ทำการทันตแพทย์เขตอุตรดิตถ์ (ทตพ.อด.), ที่ทำการพยาบาลเขตอุตรดิตถ์ (พยบ.อด.), ที่ทำการหน่วยสะพานอุตรดิตถ์ (นสพ.อด.) และสารวัตรแขวงบำรุงทางอุตรดิตถ์ (สบท.อด.)
  • ชั้นที่ 3 ส่วนราชการการรถไฟฯ
  • ชั้นที่ 4 ส่วนราชการการรถไฟฯ

อาคารสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ (เก่า)

แก้
  • ชั้นที่ 1 งานปฏิบัติการโดยสารภูมิภาค 3
  • ชั้นที่ 2 งานปฏิบัติการโดยสารภูมิภาค 3

หน่วยงานบริเวณสถานี

แก้
  • ฝ่ายการเดินรถ
    • งานควบคุมการเดินรถเขตอุตรดิตถ์ (ผคร.อด.)
    • สารวัตรงานเดินรถแขวงอุตรดิตถ์ (สดร.อด.)
  • ฝ่ายการช่างกล
    • วิศวกรกำกับการกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ (วกข.อด.)
    • สารวัตรแขวงรถจักรอุตรดิตถ์ (สรจ.อด.)
    • สารวัตรแขวงโรงงานอุตรดิตถ์ (สรง.อด.)
    • ที่ทำการพนักงานตรวจรถอุตรดิตถ์ (พตร.อด.)
  • ฝ่ายการช่างโยธา
    • ที่ทำการหน่วยสะพานอุตรดิตถ์ (นสพ.อด.)
    • สารวัตรแขวงบำรุงทางอุตรดิตถ์ (สบท.อด.)
  • สำนักงานแพทย์รถไฟ
    • ที่ทำการพยาบาลอุตรดิตถ์ (พยบ.อด.)

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

ส่วนราชการ และเอกชน

แก้
  • สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุตรดิตถ์
  • ศูนย์ราชการกระทรวงการคลัง (ตรงข้ามโรงรถจักรแขวงอุตรดิตถ์)
  • กองบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
  • โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
  • สนามแบดมินตันเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขา อุตรดิตถ์
  • ธนาคารกสิกรไทย สาขา อุตรดิตถ์
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา อุตรดิตถ์
  • ธนาคารออมสิน สาขา ถนนมุขศาลา
  • ธนาคารทหารไทย สาขา อุตรดิตถ์
  • ธนาคารกรุงไทย สาขา ถนนศรีอุตรา
  • ไปรษณีย์ไทย สาขา อุตรดิตถ์
  • นาซ่าแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • ร้านขนมปังโอชิน สาขาอุตรดิตถ์
  • ร้านสะดวกซื้อ 7 - 11 สาขาสถานีรถไฟอุตรดิตถ์
  • ร้านสะดวกซื้อ 7 - 11 สาขาตลาดเทศบาล 3
  • AIS Telewiz สาขาหน้าสถานีรถไฟอุตรดิตถ์

ระบบขนส่งมวลชนที่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์

แก้
  • รถแท๊กซี่
  • รถจักรยานยนต์รับจ้าง (วัดท่าถนน)
  • คิวรถประจำทางสายอุตรดิตถ์-ฟากท่า-บ้านโคก (สถานีรถไฟเก่า)

ตารางเวลาการเดินรถ

แก้

เที่ยวไป

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง อุตรดิตถ์ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ13 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.05 03.05 เชียงใหม่ 08.40
ร107 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.45 04.02 เด่นชัย 05.15
ด51 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.30 06.03 เชียงใหม่ 12.10
ท403 พิษณุโลก 05.55 07.34 ศิลาอาสน์ 07.40
ท407 นครสวรรค์ 05.00 09.04 เชียงใหม่ 14.35
ท406 สวรรคโลก 13.00 13.58 ศิลาอาสน์ 14.05
ดพ7 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05 14.22 เชียงใหม่ 19.30
ร111 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30 15.21 เด่นชัย 16.30
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 22.20 เชียงใหม่ 04.05
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง อุตรดิตถ์ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร106 ศิลาอาสน์ 07.30 07.32 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.10 งดเดินรถ
ร112 เด่นชัย 07.30 08.30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.20
ท405 ศิลาอาสน์ 10.00 10.02 สวรรคโลก 11.00
ร102 เชียงใหม่ 06.30 11.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ดพ8 เชียงใหม่ 08.50 13.29 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.55
ท408 เชียงใหม่ 09.30 15.37 นครสวรรค์ 19.55
ท410 ศิลาอาสน์ 16.30 16.32 พิษณุโลก 18.10
ร108 เด่นชัย 19.05 20.16 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.30
ด52 เชียงใหม่ 15.30 21.34 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ดพ14 เชียงใหม่ 17.00 22.39 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

17°37′13″N 100°05′51″E / 17.6201982°N 100.0975513°E / 17.6201982; 100.0975513