สถานีรถไฟน้ำตก (อังกฤษ: Nam Tok Railway Station) เดิมชื่อ สถานีท่าเสา อยู่ในเส้นทางรถไฟสายใต้ (ช่วงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก - สถานีรถไฟน้ำตก) หรือทางรถไฟสายตะวันตก โดยเป็นสถานีรถไฟปลายทางสำหรับการเดินรถเชิงสังคมมาถึงแค่สถานีนี้ (ยกเว้นรถไฟเชิงพาณิชย์) ซึ่งเป็น 1 ใน 6 สถานีรถไฟของเส้นทางนี้ที่เป็นระดับสถานีชั้น 2

สถานีรถไฟน้ำตก
สถานีรถไฟน้ำตก
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านท่าเสา หมู่ 3 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา1
ทางวิ่ง3
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถหน้าสถานี
ข้อมูลอื่น
สถานะปลายทางสำหรับรถไฟธรรมดา
รหัสสถานี4077 (าต.)
ประเภทชั้น 2
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
ผู้โดยสาร
2564ประมาณ 50 คน/วัน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
บ้านพุพง
มุ่งหน้า ธนบุรี
สายใต้ น้ำตกไทรโยคน้อย
สถานีปลายทาง
น้ำตก
Nam Tok
กิโลเมตรที่ 211.16
บ้านพุพง
Ban Pu Pong
−2.99 กม.
น้ำตกไทรโยคน้อย
Nam Tok Sai Yok Noi
+0.60 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟน้ำตก ตั้งอยู่ระหว่างสถานีบ้านพุพง หรือป้ายหยุดรถไฟบ้านพุพง กับสถานีรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย หรือที่หยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย

สถานีรถไฟน้ำตกมีจำนวนย่านทางรถไฟ 4 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 1 ทาง ทางตัน 2 ทาง (อยู่บนเนินเขาบริเวณย่านสถานี) รางติดชานชาลา 1 ทาง

ประวัติ

แก้

สถานีรถไฟน้ำตก เดิมชื่อ สถานีท่าเสา สร้างในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เปิดใช้งานเดินรถครั้งแรกวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ในช่วงที่ 3 ของการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายน้ำตก (หนองปลาดุก-น้ำตก)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 การก่อสร้างรถไฟสายไทยพม่า (ทางรถไฟสายมรณะ)

แก้

ในสมัยนั้นสถานีรถไฟน้ำตกยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นหนึ่งในสถานีรถไฟในอนาคตของการฟื้นฟูทางรถไฟสายหนองปลาดุก - น้ำตก ในยุคหลังต่อมา โดยช่วงนั้นทางประเทศไทยยอมให้จักรวรรดิญี่ปุ่นโดยปริยาย เพื่อขอสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า เพื่อขนส่งยุทโธปกร เสบียงและอาวุธ เพื่อให้กองทัพแนวหน้าของญี่ปุ่นที่ทำสงครามอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตรประเทศอังกฤษที่ชายแดนประเทศพม่า-อินเดียโดยรัฐบาลญี่ปุ่นยืมเงินจากรัฐบาลไทยจำนวน 4 ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรที่เกณฑ์จากสิงคโปร์และกรรมกรชาวเอเชีย ที่กองทัพญี่ปุ่นนำมาเพื่อมาสร้างใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า

การแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ของจักรวรรดิญี่ปุ่น

แก้

หลังการพ้ายแพ้สงครามทางฝ่ายสัมพันธมิตรของอังกฤษได้ยึดและรื้อทางรถไฟสายนี้ออก โดยทางรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้จากอังกฤษ และทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทางดังกล่าว เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก ส่วนเส้นทางที่เหลือจากสถานีน้ำตกไทรโยคน้อย - สถานีรถไฟด่านพระเจดีย์สามองค์ ยากต่อการฟื้นฟูจากภูมิประเทศ และบางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์

การฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก-สถานีรถไฟน้ำตก และการก่อสร้างสถานีรถไฟน้ำตก

แก้

การฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงหนองปลาดุก-น้ำตกใหม่ก่อให้เกิดสถานีรถไฟที่มากขึ้น สำหรับการคมนาคมของคนในท้องถิ่นซึงต่างจากสมัยสงคามโลกครั้งที่ 2 โดยการฟื้นฟูช่วงแรกจากสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก - สถานีรถไฟกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร ได้แล้วเสร็จเปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ช่วงที่ 2 สถานีรถไฟกาญจนบุรี - สถานีรถไฟวังโพ ระยะทาง 61 กิโลเมตร โดยในช่วงนี้มีสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำแควใหญ่ สะพานเลียบแม่น้ำแควน้อย และภูเขาถ้ำกระแซ ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นฟู โดยแล้วเสร็จและเปิดการเดินรถเมื่อเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495 และช่วงที่ 3 ส่วนที่เหลืออีก 16 กิโลเมตร จากสถานีรถไฟวังโพ - สถานีรถไฟน้ำตก (สถานีรถไฟท่าเสา เดิม) นั้นได้สร้างพร้อมกับทางรถไฟช่วงที่ 2 แต่เนื่องจากการปรับปรุงสะพานเหล็กตอนถ้ำชะนีและฟื้นฟูทางบริเวณผ่านหน้าผาอย่างยากลำบาก จึงได้ล่าช้ากว่ากำหนด แล้วเสร็จจึงได้เปิดการเดินรถอย่างเป็นทางการตลอดสายเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการสร้างป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อยเพื่อเป็นการโปรโมท์การท่องเที่ยวอีกด่วย ซึ่งปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงคราม แล้วยังเป็นเส้นทางรถไฟสำหรับท่องเที่ยวระดับต้นๆอีกด้วยเมื่อมีการพูดถึง[1]

การเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟน้ำตก

แก้

จากการกล่าวข้างต้นว่าสถานีรถไฟน้ำตกนั้นถูกสร้างขึ้นในช่วงการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงหนองปลาดุก-น้ำตก ซึ่งไม่ใช่สถานีรถไฟไฟเดิมจากสงครามโลกครั้งที่2 โดยปกติแล้วการตั้งชื่อสถานีรถไฟนั้นจะตั้งจากชื่อของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยในช่วงแรกสถานีรถไฟน้ำตก ได้ใช้ชื่อว่าสถานีรถไฟท่าเสา แต่ยังไม่มีการเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งเมื่อ 8 เมษายน พ.ศ. 2496 ตามคำสั่งที่ก.113/3050 ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสถานีรถไฟน้ำตกและเปิดเดินรถเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 สาเหตุเนื่องจากชื่อสถานีรถไฟท่าเสาเดิมคล้องกับสถานีรถไฟท่าเสา (ที่หยุดรถไฟท่าเสา ในปัจจุบัน) ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ในเส้นทางสายเหนือ และเพื่อให้คล้องกับสถานที่ไกล้เคียงของสถานีรถไฟน้ำตก คือน้ำตกเขาพัง ที่ห่างจากสถานีประมาณ 1 กิโลเมตร จึงใช้ชื่อว่าน้ำตกที่ใช้จนถึงปัจจุบัน[2]

ตารางเดินรถสถานีรถไฟน้ำตก

แก้
ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2564

เที่ยวไป

แก้

มีจำนวน 5 ขบวน หยุดสถานี 5 ขบวน

ขบวนรถ ต้นทาง น้ำตก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท485 ชุมทางหนองปลาดุก 06.08 ปลายทาง น้ำตก 08.20
น909 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.30 11.25 น้ำตกไทรไยคน้อย 11.30 เฉพาะวันหยุดราชการ
ธ257 ธนบุรี 07.45 ปลายทาง น้ำตก 12.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

แก้

มีจำนวน 4 ขบวน หยุดสถานี 4 ขบวน

ขบวนรถ ต้นทาง น้ำตก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ260 น้ำตก 05.20 ต้นทาง ธนบุรี 09.50
ธ258 น้ำตก 12.55 ต้นทาง ธนบุรี 17.40
น910 น้ำตกไทรไยคน้อย 14.25 14.20 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.25 เฉพาะวันหยุดราชการ
ท486 น้ำตก 15.30 ต้นทาง ชุมทางหนองปลาดุก 17.33
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

แก้
  1. ตำนานแห่งรถไฟไทย สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563
  2. รีวิวรถนำเที่ยว : แลน้ำตกไทรโยค บนเส้นทางสายมรณะสืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

14°13′57″N 99°04′00″E / 14.232534°N 99.0666794°E / 14.232534; 99.0666794