ประเทศอียิปต์
สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ جمهورية مصر العربية
| |||||
---|---|---|---|---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ไคโร 30°2′N 31°13′E / 30.033°N 31.217°E | ||||
ภาษาราชการ | อาหรับ | ||||
ภาษาประจำชาติ | ภาษาอาหรับอียิปต์[a] | ||||
ศาสนา | ดูศาสนาในประเทศอียิปต์ | ||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐ | ||||
อับดุลฟัตตาห์ อัสซีซี | |||||
มุศเฏาะฟา มัดบูลี | |||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา | ||||
ก่อตั้ง | |||||
ป. 3150 ปีก่อน ค.ศ. | |||||
• ก่อตั้งราชวงศ์มุฮัมมัด อะลี | 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1805[3] | ||||
28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 | |||||
23 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 | |||||
• ประกาศเป็นสาธารณรัฐ | 18 มิถุนายน ค.ศ. 1953 | ||||
18 มกราคม ค.ศ. 2014 | |||||
พื้นที่ | |||||
• รวม | 1,010,408[4][5] ตารางกิโลเมตร (390,121 ตารางไมล์) (อันดับที่ 29) | ||||
0.632 | |||||
ประชากร | |||||
• 1 มกราคม ค.ศ. 2021 ประมาณ | 101,478,581 [6][7] (อันดับที่ 14) | ||||
• สำมะโนประชากร 2017 | 94,798,827 [8][9] | ||||
100 ต่อตารางกิโลเมตร (259.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 83) | |||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) | ||||
• รวม | 1.391 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 20) | ||||
• ต่อหัว | 14,023 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 92) | ||||
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) | ||||
• รวม | 362 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 34) | ||||
• ต่อหัว | 3,561 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 114) | ||||
จีนี (ค.ศ. 2017) | 31.5[11] ปานกลาง · อันดับที่ 46 | ||||
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.707[12] สูง · อันดับที่ 116 | ||||
สกุลเงิน | ปอนด์อียิปต์ (E£) (EGP) | ||||
เขตเวลา | UTC+2[c] (เวลามาตรฐานอียิปต์) | ||||
ขับรถด้าน | ขวา | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +20 | ||||
โดเมนบนสุด | |||||
|
อียิปต์ (อังกฤษ: Egypt; อาหรับ: مصر) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (อังกฤษ: Arab Republic of Egypt; อาหรับ: جمهورية مصر العربية) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด
ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,010,408 ตารางกิโลเมตร[14] ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง
ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในพื้นที่ของทะเลทรายสะฮารา ซึ่งมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง
ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงสิ่งก่อสร้างโบราณที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ
ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) [นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์] ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองทีบส์
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้ง อียิปต์ตั้งอยู่บนมุมสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา และบริเวณเหนือข้ามคลองสุเอซไปในคาบสมุทรไซนาย
- ภาคเหนือมีอาณาเขตติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดอิสราเอล
- ภาคตะวันออก ติดทะเลแดง
- ภาคใต้ ติดซูดาน
- และติดลิเบียทางภาคตะวันตก
อียิปต์เป็นประเทศที่มีแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับเอเชีย ผ่านตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ หลังจากได้มีการขุดและเปิดใช้คลองสุเอซ เมื่อปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) เส้นทางผ่านคลองสุเอซของอียิปต์ได้กลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
ประวัติศาสตร์
แก้ก่อนประวัติศาสตร์
แก้ประเทศอียิปต์เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี
ศตวรรษที่ 19-20
แก้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช ได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักรอียิปต์ ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน
การเมืองการปกครอง
แก้บริหาร
แก้อียิปต์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข การเลือกตั้งประธานาธิบดีกระทำโดยการลงประชามติ และจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ปัจจุบันนาย Mohamed Hosni Mubarak เป็นประธานาธิบดี ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 4 โดยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 สมัชชาประชาชน (People’s Assembly) ของอียิปต์ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 454 คน ได้ลงคะแนนเสียง (445 เสียง) สนับสนุนให้ประธานาธิบดี Hosni Mubarak ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2524 ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปอีกเป็นสมัยที่ 4 (ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2542 ภายหลังที่ได้รับเลือกตั้ง ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Ahmad Nazif ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 2004 อียิปต์มีพรรคการเมือง 13 พรรคที่สำคัญ ได้แก่ National Democratic Party (NDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมีประธานาธิบดีมูบารัคเป็นประธานพรรค Labour Party, New Wafq Party, Liberal Party (Ahrar), Tabammu (Progressive Unionist Party) และ Democratic Nasserite Party พรรค NDP ของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2521 ในสมัยประธานาธิบดีซาดัต และได้รับเลือกตั้งเข้าบริหารประเทศตลอดมา จนกระทั่งต้องพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554
นิติบัญญัติ
แก้รัฐสภาอียิปต์มี 2 สภา คือ - สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 454 คน มาจากการเลือกตั้ง 444 คน และประธานาธิบดีแต่งตั้ง 10 คน มีวาระ 5 ปี ประธานรัฐสภา คือ Dr. Ahmed Fathi Sorour - สภาที่ปรึกษา (Shura Council) มีสมาชิก 285 คน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลสาขาอาชีพต่าง ๆ จำนวน 2 ใน 3 (190 คน) อีก 95 คน ประชาชนเป็นผู้เลือก มีวาระ 3 ปี
นโยบายต่างประเทศ
แก้ช่วงปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) สมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ อียิปต์เน้นความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มประเทศอาหรับ และพยายามเข้าไปมีบทบาทสำคัญในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งในช่วงนี้ อียิปต์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากสหภาพโซเวียต และเข้ายึดคลองสุเอซเป็นของรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เพื่อหารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากคลองสุเอซเป็นทุนสร้างเขื่อนอัสวาน
ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) อียิปต์ส่งทหารไปยึดเมือง ชาร์ม เอล-เชห์ค บริเวณตอนใต้ของแหลมไซนาย หลังจากได้เจรจาให้กองทหารนานาชาติถอนออกไปจากไซนายแล้ว พร้อมกับได้ทำการปิดช่องแคบไทราน เพื่อมิให้อิสราเอลเดินเรือผ่าน การปฏิบัติการเช่นนี้ส่งผลให้เกิดสงครามหกวัน กับอิสราเอล ฝ่ายอิสราเอลได้รับชัยชนะ อียิปต์และพันธมิตรอาหรับได้สูญเสียดินแดน ได้แก่ ฉนวนกาซาและแหลมไซนายให้แก่อิสราเอล นับตั้งแต่ประธานาธิบดีอัลวาร์ ซาดัตเข้าดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ความสัมพันธ์บางประเทศในอาหรับ อาทิ ลิเบีย และซีเรีย เย็นชาลง อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ให้ช่วยไกล่เกลี่ยในการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล
เมื่อเกิดสงคราม 18 วันจากกรณีอียิปต์ส่งทหารข้ามคลองสุเอซไปยึดครองดินแดนที่สูญเสียคืนการสู้รบได้ยุติลงโดยสหรัฐฯ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยได้ตกลงให้มีเขตปลอดทหารระหว่างเขตแดนของอียิปต์และอิสราเอล ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้น ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหภาพโซเวียตถดถอยลง ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) อียิปต์ได้ยกเลิกสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต และให้ที่ปรึกษาด้านการทหารของโซเวียตออกจากประเทศ ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อียิปต์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบันปีละประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประธานาธิบดีซาดัตได้เดินทางไปเยือนอิสราเอล เมื่อปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) เพื่อเจรจาสันติภาพ และอียิปต์ได้มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่แคมป์เดวิดเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีผลให้อียิปต์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล อิสราเอลยินยอมคืนดินแดนไซนายทั้งหมด (ยกเว้นทาบา) ให้แก่อียิปต์เมื่อปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) แต่ผลจากการลงนามดังกล่าวทำให้ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ และอียิปต์ถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับเมื่อประธานาธิบดีมูบารัคเข้าบริหารประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ได้พยายามดำเนินนโยบายที่จะนำอียิปต์กลับสู่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับกลุ่มประเทศอาหรับ ด้วยการดำเนินการในด้านต่าง ๆ อาทิ สนับสนุนขบวนการปาเลสไตน์ สนับสนุนอิรักในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน สนับสนุนคูเวตในกรณีอิรักเข้ายึดครองคูเวต หลังจากนั้น ประเทศอาหรับต่าง ๆ ได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตตามปกติกับอียิปต์ ในขณะเดียวกัน อียิปต์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในการแสวงหาลู่ทางแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง ประธานาธิบดีมูบารัค ดำเนินบทบาทสำคัญในการประสานระหว่างกลุ่มอาหรับและ เป็นตัวเชื่อมในการเจรจากับอิสราเอลในปัญหาตะวันออกกลาง และพยายามแสดงบทบาทนำในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกา
ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย
แก้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอียิปต์ ดำเนินมาอย่างราบรื่นและก้าวหน้ามาตามลำดับ โดยหลังจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-อียิปต์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2546 และครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2549 ไทยและอียิปต์ได้ขยายความร่วมมือระหว่างกัน อาทิ ความร่วมมือด้านข่าวกรอง การผลักดันให้แต่ละฝ่ายเป็นประตูทางธุรกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อียิปต์ ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายจะเพิ่มมูลค่ารวมด้านการค้าเป็น 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2551 เพิ่มพูนความร่วมมือกันในด้านพลังงาน วิชาการ และการศึกษา อาทิ ความร่วมมือด้านการป้องกันโรคไข้หวัดนก การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิมของมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร และ การแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับรัฐบาล ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ การเสด็จฯ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 17-23 มีนาคม พ.ศ. 2550 และการเชิญผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์เยือนไทย ระหว่างวันที่ 23-27 มิถุนายน 2550 นับเป็นความก้าวหน้าในความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ
- ด้านการทูต
ประเทศไทยและสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์สถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2497 นับเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาหรับที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกัน ต่างสนับสนุนกันในเวทีระหว่างประเทศ และในความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่น ในเวที Asia Middle East Dialogue (AMED) เป็นต้น
- ด้านเศรษฐกิจ
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 การบินไทยเที่ยวบินที่ 8830 ทำการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมายังท่าอากาศยานนานาชาติไคโร[15]
การค้าไทย - อียิปต์ในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่ารวม 949 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 911 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 873 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ
สินค้าเข้าจากอียิปต์ที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ด้ายและเส้นใย สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เป็นต้น
- ด้านการศึกษา
อียิปต์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามซึ่งเป็นที่นิยม ของนักศึกษาไทยมุสลิม ปัจจุบันไทยมีโครงการร่วมมือด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัรของอียิปต์ โดยมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ได้สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส และการส่งครูมาร่วมทำการสอน นอกจากนั้น ปัจจุบันมีนักศึกษาไทยซึ่งกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ประมาณ 2,500 คน โดยในแต่ละปีมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมุสลิมประมาณปีละ 60-80 ทุน และทุนจากรัฐบาลอียิปต์ (กระทรวงอุดมศึกษา) ซึ่งให้แก่นักเรียนไทยทั่วไป ปีละ 2 ทุน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร ยังได้ส่งครูมาสอนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามหลายแห่งในไทยมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2557 ไทยได้บริจาคเงินให้กับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของนักเรียนไทยด้วย ขณะเดียวกัน ไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่อียิปต์ในหลายสาขา อาทิ การจัดอบรมหลักสูตรด้านการท่องเที่ยว หลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริหารธุรกิจการส่งออก หลักสูตรด้านการบริหารจัดการลุ่มน้ำและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น
- การเยือน
- ฝ่ายไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2533 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2536 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนอียิปต์เป็นการส่วนพระองค์
วันที่ 17 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2550 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2530 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อปี พ.ศ. 2542 นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี เดินทางเยือนอียิปต์เพื่อเข้าร่วมประชุมศาสนาอิสลาม
เมื่อวันที่ 29 - 30 มกราคม พ.ศ. 2546 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ และเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อียิปต์ ครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 23 - 25 กันยายน พ.ศ. 2546 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลพร้อมด้วยผู้แทนจากภาครัฐ และเอกชนเดินทางเยือนอียิปต์
เมื่อวันที่ 20 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2547 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปร่วมประชุมความร่วมมือนานาชาติใน การกำจัดโรคเท้าช้าง ครั้งที่ 3 (Third Meeting of the Global Alliance for Elimination of Lymphatic Filariasis) ที่กรุงไคโร
เมื่อวันที่ 4 - 9 มกราคม 2548 นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำคณะเดินทางไปเจรจาเรื่องความร่วมมือด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2548 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย นำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยเดินทางไปขยายความสัมพันธ์และแสวงหาโอกาสในการ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า อุตสาหกรรม ความร่วมมือทางวิชาการ และการลงทุนกับอียิปต์
เมื่อวันที่ 28 - 30 มกราคม พ.ศ. 2549 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ และเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อียิปต์ ครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 17 - 18 เมษายน พ.ศ. 2550 นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอียิปต์อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 11 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะผู้แทนจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ของไทย ได้เดินทางเยือนอียิปต์ เพื่อหารือเรื่องแนวทางและวิธีการในการให้การช่วยเหลือและสนับสนุนนักเรียนไทยในอียิปต์ - ฝ่ายอียิปต์ เมื่อปี พ.ศ. 2539 นาย อามืร์ มุสซา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอียิปต์เยือนไทย
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม พ.ศ. 2547 ชีค อาเหม็ด อัล-ทายีบ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร เยือนไทย ในฐานะแขกของรัฐบาล
เมื่อวันที่ 13 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2547 นาย อิสซัท ซาอัด, ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายกิจการเอเชียของอียิปต์เดินทางเยือนไทย ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 23 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรีในทางการเมือง เยือนไทย ในฐานะแขกของรัฐบาล[16]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ประเทศอียิปต์แบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 27 เขตผู้ว่าการ (governorate) ได้แก่
|
|
เศรษฐกิจ
แก้สถานการณ์สำคัญ
แก้รัฐบาลอียิปต์ปัจจุบันต้องเผชิญภาระที่หนักหน่วงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีหนี้สินอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อียิปต์ประสบปัญหาด้านระบบราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีขนาด ใหญ่และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างสูง รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก Paris Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น
ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของอียิปต์กระเตื้องดีขึ้นสามารถ แก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณลดลงมาก ลดปัญหาเงินเฟ้อลงได้ในระดับหนึ่งรายได้หลักของอียิปต์จากน้ำมันซึ่งผลิตได้วันละ 950,000 บาร์เรลและส่งออกขายครึ่งหนึ่ง ในแต่ละปีมีรายได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการท่องเที่ยว ประมาณปีละ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าผ่านคลองสุเอซปีละประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากแรงงานอียิปต์ในต่างประเทศ ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในตะวันออกกลางในซาอุดีอาระเบียประมาณ 1 ล้านคน ในลิเบียประมาณ 1.5 ล้านคน ส่งเงินเข้าอียิปต์ประมาณปีละ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ภายหลังการก่อวินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้อียิปต์ต้องสูญเสียรายได้ ประมาณ 1.5 – 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลอียิปต์ คาดว่า รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ ร้อยละ 20 และการส่งออก ร้อยละ 10
ด้านการค้าระหว่างไทยกับอียิปต์
แก้มูลค่าการค้าไทย – อียิปต์อยู่ในระดับปานกลาง ในปี 2544 มูลค่าการค้ารวม 151.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 103.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 7.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 96.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี พ.ศ. 2545 ตั้งแต่เดือน มกราคม – กันยายน มูลค่าการค้าไทย-อียิปต์รวม 96.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 88.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ-ไทยได้เปรียบดุลการค้า 80.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปอียิปต์ ที่สำคัญได้แก่ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ใบยาสูบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป อียิปต์ระบุให้เป็นสินค้าห้ามเข้า แต่ก็มีการลักลอบนำเข้าโดยจะทำในลักษณะการค้านอก รูปแบบ)
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอียิปต์ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก หนังดิบและหนังฟอก เครื่องตกแต่งบ้านเรือน ดินสอ ปากกา หมึกพิมพ์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับการพิมพ์ สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ในปัจจุบันอียิปต์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น และมีการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเข้าไปประกอบอุตสาหกรรมและลงทุนสาขาต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทที่ไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียิปต์ในอนาคต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอียิปต์ได้เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market of Eastern and Southern Africa – COMESA) ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) โดยมีจุดมุ่งหมายขยายตลาดสินค้าอียิปต์เข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา ฝ่ายไทยจึงอาจพิจารณาสนับสนุนให้นักลงทุนไปลงทุน/ร่วมลงทุนในอียิปต์เพื่อการ ส่งออกไปยังตลาดร่วมแอฟริกาในอนาคต หรือมุ่งใช้อียิปต์เป็นประตูสู่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา เมื่อเดือน มิ.ย. 44 อียิปต์ได้ลงนามร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) ในความตกลง Euro-Mediterranean Association Agreement ซึ่งจะมีผลตต่อความสัมพันธ์กับอียูในด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ การเงิน สังคม วัฒนธรรมและการกงสุล
ประชากร
แก้เชื้อชาติ
แก้มีจำนวนประชากร 78 ล้านคน (ปี 2549) อยู่ในเขตเมืองร้อนและ 45 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณ 2 ฝั้งและที่ราบลุ่มแม่น้ำไนท์ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ แฮมิติก แซมิติก 99.8% เบดูอินและนูเบียน 0.2% อัตราเพิ่มของประชากร ประมาณปีละ 1.9% อายุเฉลี่ย 65 ปี ความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 75.68 คน/ตร.กม กรุงไคไรและปริมฑล มีประชากรประมาณ 16 ล้านคน จะมีความหนาแน่นมากที่สุดเฉลี่ย 34.000-35.000 คน/ตร.กม. รองลงมาคือเมืองอเล็กซานเดรีย มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ความหนาแน่นเฉลี่ย 13.000-9.000 คน/ตร.กม
ศาสนา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าและมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศอียิปต์) แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ 94% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ อีก 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก
เมืองใหญ่สุด 20
แก้
วัฒนธรรม
แก้อาหาร
แก้การกินอาหารของคนในตะวันออกกลางจะมีความแตกต่างมากกับคนในเอเชียเราและอาหารหลักของทุกชนชั้นของคนอียิปต์ นั้น คือ ขนมปัง หัวหอม พวกผักต่าง ๆ แล้วก็ปลาแห้ง นอกจากนี้ คนอียิปต์จะมีน้ำเชื่อมซึ่งทำจากผลไม้ อาทิเช่นพวก องุ่น เพื่อให้ได้รสหวานและจะกินกับขนปังซึ่งจะใช้ขนมปังจิ้มกับน้ำเชื่อม และนอกจากนั้นยังมีการใช้ในน้ำผึ้ง เกลือ กระเทียม หัวหอม ในการปรุงรสให้อร่อยด้วย และนอกจากขนมปังแล้วเขาจะกินโยเกิตย์พร้อม ๆ กับเมนูอาหารหลักอีกด้วย ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์นี้ก็มี สัตว์ที่นิยมรับประทานก็คือพวก เนื้อแกะ แพะ และเนื้อวัว
อาหารประเภทกะบาบ (Kabab) ก็เป็นเนื้อ หรือ แพะ ย่างโดยมีเหล็กแหลม เสียบชิ้นเนื้อโดยหมุนชิ้นเนื้อให้ไฟเลียไปทั่ว ๆ กินกับผักทั้งผักสดเช่น แตงกวา มะเขือเทศ ต้นหอม กับผักดองเช่น แตงกวา มะเขือเปาะ หัวหอม แครอท
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Goldschmidt, Arthur (1988). Modern Egypt: The Formation of a Nation-State. Boulder, CO: Westview Press. p. 5. ISBN 978-0-86531-182-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2020. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
Among the peoples of the ancient Near East, only the Egyptians have stayed where they were and remained what they were, although they have changed their language once and their religion twice. In a sense, they constitute the world's oldest nation. For most of their history, Egypt has been a state, but only in recent years has it been truly a nation-state, with a government claiming the allegiance of its subjects on the basis of a common identity.
- ↑ "Background Note: Egypt". United States Department of State Bureau of Near Eastern Affairs. 10 November 2010. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ Pierre Crabitès (1935). Ibrahim of Egypt. Routledge. p. 1. ISBN 978-0-415-81121-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2013. สืบค้นเมื่อ 10 February 2013.
... on July 9, 1805, Constantinople conferred upon Muhammad Ali the pashalik of Cairo ...
- ↑ "Density By Governorate 1/7/2020 - Area km2 (Theme: Population - pg.14)". Capmas.gov.eg. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
- ↑ "Total area km2, pg.15" (PDF). Capmas.Gov – Arab Republic of Egypt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 March 2015. สืบค้นเมื่อ 8 May 2015.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Population Estimates By Sex & Governorate 1/1/2021 (Theme: Population - pg.4)". Capmas.gov.eg. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
- ↑ "Population of Egypt Now (PopulationClock)". www.capmas.gov.eg. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
- ↑ "Distribution Egyptians Population By Governorate - Census 2017 (Theme: Census - pg.15)". Capmas.gov.eg. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
- ↑ "الجهاز المركزي للتعبئة العامة والإحصاء" (PDF). www.capmas.gov.eg. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2017. สืบค้นเมื่อ 13 October 2017.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 December 2019.
- ↑ "GINI index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2021. สืบค้นเมื่อ 21 September 2021.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Constitutional Declaration: A New Stage in the History of the Great Egyptian People". Egypt State Information Service. 30 March 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2011. สืบค้นเมื่อ 15 April 2011.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อarea
- ↑ การบินไทยเที่ยวบินพิเศษ
- ↑ http://www.thaiembassy.org/cairo/th/relation/42381-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B9%8C.html
- ประเทศอียิปต์ เก็บถาวร 2005-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้รัฐบาล
- Egypt Information Portal (Arabic, English)
- Egypt Information and Decision Support Center (Arabic, English)
- Egypt State Information Services (Arabic, English, French)
- Egyptian Tourist Authority เก็บถาวร 2012-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ทั่วไป
- Country Profile from the BBC News
- Egypt. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Egypt profile from Africa.com
- ประเทศอียิปต์ แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- Egypt news เก็บถาวร 2018-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แม่แบบ:ArabDecision
- ประเทศอียิปต์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Egypt
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศอียิปต์ ที่โอเพินสตรีตแมป
- Egypt Maps – Perry–Castañeda Library Map Collection, University of Texas at Austin
การค้า
อื่น ๆ
- History of Egypt, Chaldea, Syria, Babylonia, and Assyria in the Light of Recent Discovery by Leonard William King, at Project Gutenberg.
- Egyptian History (urdu) เก็บถาวร 2018-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- By Nile and Tigris – a narrative of journeys in Egypt and Mesopotamia on behalf of the British museum between 1886 and 1913, by Sir E. A. Wallis Budge, 1920 (DjVu and layered PDF formats)
- Napoleon on the Nile: Soldiers, Artists, and the Rediscovery of Egypt.