พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์
พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ (อาหรับ:فؤاد الأول) (26 มีนาคม ค.ศ. 1868-28 เมษายน ค.ศ. 1936) สุลต่านและกษัตริย์อียิปต์และซูดาน, องค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์ พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งอียิปต์และซูดานเมื่อ ค.ศ. 1917 โดยครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาของพระองค์ คือ สุลต่านฮุสเซน คามิล โดยพระองค์ตั้งตนเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของอียิปต์ หลังจากพ้นจากการปกครองของสหราชอาณาจักร เมื่อ ค.ศ. 1922
พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ | |
---|---|
อะฮ์มัด เฟาอัด พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ | |
สุลต่านและกษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน องค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์[1] | |
ครองราชย์ | 9 ตุลาคม ค.ศ. 1917 - 28 เมษายน ค.ศ. 1936 |
รัชสมัย | 19 พรรษา |
รัชกาลก่อนหน้า | สุลต่านฮุซัยน์ คามิน |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ |
ประสูติ | 26 มีนาคม พ.ศ. 2411 พระราชวังกีซา กรุงไคโร รัฐเคดีฟอียิปต์ |
สวรรคต | 28 เมษายน พ.ศ. 2479 (68 ปี) พระราชวังกุบบา กรุงไคโร ราชอาณาจักรอียิปต์ |
พระมเหสี | เจ้าหญิงชูวาการ์ อิบราฮิม (ค.ศ. 1895-1898) สมเด็จพระราชินีนาซลีแห่งอียิปต์ (ค.ศ. 1919-1936) |
พระราชบุตร | เจ้าชายอิสมาอิลแห่งอียิปต์ เจ้าหญิงเฟากียะห์แห่งอียิปต์ พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ เจ้าหญิงไฟซาแห่งอียิปต์ เจ้าหญิงไฟกาแห่งอียิปต์ เจ้าหญิงฟัตฮียะห์แห่งอียิปต์ |
พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ | |
ราชวงศ์ | มูฮัมหมัดอาลี |
พระราชบิดา | เคดีฟอิสมาอิล พาชา |
พระราชมารดา | ฟาเรียล คาดีน |
พระราชประวัติ
แก้พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ เสด็จราชสมภพเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1868 ณ พระราชวังกีซา กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 7 ในเคดีฟอิสมาอิล พาชากับฟาเรียล คาดิน โดยพระองค์สืบเชื้อสายจากมูฮัมหมัดอาลี พาชา และมีเชื้อสายแอลเบเนีย เมื่อพระองค์ประสูติอียิปต์ยังไม่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤๅก็เข้ามามีอิทธิพลต่ออียิปต์จนสุลต่านอิสมาอิล พาชา พระบิดาของพระองค์ ได้ส่งพระองค์เข้าไปศึกษายังประเทศอิตาลี ก่อนศึกษาวิชาทหารที่ตูริน พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์เป็นสุลต่านแห่งอียิปต์และซูดานเมื่อ ค.ศ. 1917
ในปี ค.ศ. 1882 ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุเพียง 14 พรรษา อียิปต์ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง แต่พระราชบิดาของพระองค์นิยมตะวันตก และสร้างความแตกแยกในประเทศ ข้าราชการและขุนนางแบ่งกันเป็นฝักฝ่าย ซึ่งส่วนใหญล้วนนิยมต่อต้านตะวันตกทั้งสิ้นต่อมาพระบิดาของพระองค์จึงดำเนินนโยบายเพื่อสานผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย[2]
ก่อนที่พระองค์จะได้รับการสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งอียิปต์ พระได้มีส่วนในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยไคโร ต่อมาพระองค์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยไคโร ในปี ค.ศ. 1903-1913 โดยนายฮุสเซน รุสดี พาชา รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้นได้รับช่วงต่อจากพระองค์ แต่พระองค์ไม่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการช่วยเหลือพระราชวงศ์แอลเบเนีย ซึ่งได้รับอิสระจากจักรวรรดิออตโตมันก่อนกำหนด[3] นอกจากนี้พระองค์ยังดำรงตำแหน่งนายกสภาภูมิศาสตร์อียิปต์ ในปี ค.ศ. 1915-1918[4]
เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พระเชษฐาของพระองค์คือสุลต่านฮุสเซน คามิลจึงขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยเมื่อพระเชษฐาครองราชย์ได้ระยะเวลาหนึ่งจึงสิ้นพระชนม์ ตำแหน่งสุลต่านจึงตกมาเป็นของพระองค์ ใน ค.ศ. 1917 โดยหลังจากนั้นไม่นาน สงครามโลกครั้งที่สองจึงได้อุบัติขึ้น ระหว่างสงครามนั้นเอง สุลต่านฟุอาดได้แสดงตัวเป็นฝ่ายอังกฤษอย่างเปิดเผย สร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มที่ต่อต้านอังกฤษมาก และหลังจากสงครามจบลง คนกลุ่มนี้จึงก่อความไม่สงบขึ้น สุลต่านฟุอาดจึงพยายามประนีประนีจนเหตุการณ์สงบลง ด้วยความดีความชอบนี้เอง อังกฤษจึงมอบเอกราชให้แก่อียิปต์โดยพระองค์ได้รับการสถาปนาให้เป็น พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ กษัตริย์พระองค์แรกของอียิปต์ หลังจากพ้นจากการปกครองของสหราชอาณาจักร[2] เมื่อ ค.ศ. 1922
อภิเษกสมรส
แก้การอภิเษกสมรสครั้งแรก
แก้พระองค์อภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิงชูวาการ์ อิบราฮิม พระธิดาของจอมพลเจ้าชายอิบราฮิม ฟาห์มี อาห์หมัด พาชา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1895 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896 ด้วยชีวิตสมรสของพระองค์ทั้งสองไม่ราบรื่น สุดท้ายทั้งสองพระองค์จึงหย่าจากกัน ใน ค.ศ. 1898 โดยมีพระโอรส-ธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
- เจ้าชายอิสมาอีล (ค.ศ. 1896) สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเป็นทารก
- เจ้าหญิงเฟากียะห์(ค.ศ. 1897-1974) เคยเป็นแม่ยายของกลอเรีย จินเนสส์ (Gloria Guinness)
การอภิเษกสมรสครั้งที่สอง
แก้พระองค์ได้อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับนางสาวนาซลี ซาบรี[2] ธิดาของมูฮัมหมัด ชารีฟ พาชา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศ กับภรรยาคือเตาฟิกา คานุม ชารีฟ โดยพระมเหสีองค์ใหม่นี้สืบเชื้อสายจากสุไลมาน พาชา ทหารของนโปเลียนที่หันมานับถือศาสนาอิสลาม แต่พระราชินีองค์ใหม่นี้สร้างความยุ่งยากแก่พระองค์ เนื่องจากทรงต้องการออกไปนอกพระราชวัง แม้พระเจ้าฟุอาดจะห้ามก็ตาม โดยหลังจากการสวรรคตของพระสวามี พระนางนาซลีได้นำฉลองพระองค์ของพระเจ้าฟุอาดขายในตลาดท้องถิ่น เพื่อเป็นการแก้แค้นเอาคืนพระองค์ อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์มีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ โดยเป็นพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
- พระเจ้าฟารูก (ค.ศ. 1920-1965)
- เจ้าหยญิงเฟาซียะห์ (ค.ศ. 1921-2013) อดีตพระราชินีแห่งอิหร่าน
- เจ้าหญิงไฟซา (ค.ศ. 1923-1994)
- เจ้าหญิงไฟกา (ค.ศ. 1926-|1983)
- เจ้าหญิงฟัตฮียะห์ (ค.ศ. 1930-1976)
สวรรคต
แก้หลังจากที่พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ ครองราชย์มากว่า 19 ปี พระองค์จึงทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1936 ณ พระราชวังกุบบา กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ สิริรวมพระชนมายุได้ 68 พรรษา โดยฝังพระศพไว้ที่ที่บรรจุพระศพเคดิวาล ในมัสยิดอัลริไฟในกรุงไคโร
อ้างอิง
แก้- ↑ Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1980). "The Royal House of Egypt". Burke's Royal Families of the World. Vol. Volume II: Africa & the Middle East. London: Burke's Peerage. p. 36. ISBN 9780850110296. OCLC 18496936. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
{{cite book}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 มานพ ถนอมศรี. ราชา-ราชินีที่โลกไม่ลืม.กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 134-136
- ↑ Reid, Donald Malcolm (2002). Cairo University and the Making of Modern Egypt. Volume 23 of Cambridge Middle East Library. Cambridge University Press. pp. 61–62. ISBN 9780521894333. OCLC 49549849. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
- ↑ "The Presidents of the Society". Egyptian Geographic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
ก่อนหน้า | พระเจ้าฟุอาดที่ 1 แห่งอียิปต์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุลต่านฮุสเซน คามิน | สุลต่านแห่งอียิปต์ (9 ตุลาคม ค.ศ. 1917- 15 มีนาคม ค.ศ. 1922) |
เปลี่ยนตำแหน่ง | ||
ตั้งตำแหน่งใหม่ | กษัตริย์แห่งอียิปต์ (15 มีนาคม พ.ศ. 1922- 28 เมษายน ค.ศ. 1936) |
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ |