พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์

พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ (อาหรับ:فاروق الأول Fārūq al-Awwal) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920-18 มีนาคม ค.ศ. 1965) กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน และองค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์ แห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ พระราชบิดา ส่วนพระขนิษฐาของพระองค์ เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี เป็นราชินีแห่งอิหร่าน

พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์
พระมหากษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน
องค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์[1]
ครองราชย์28 เมษายน ค.ศ. 1936 – 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 (16 ปี 89 วัน)
ก่อนหน้าพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์
ถัดไปพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์
พระราชสมภพ11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920
พระราชวังอับดีน ไคโร รัฐสุลต่านอียิปต์
สวรรคต18 มีนาคม ค.ศ. 1965 (45 พรรษา)
โรงพยาบาลซานคามิลโล โรม อิตาลี[2]
พระบรมราชินีซาฟีนาซ ซุลฟิการ์
(ค.ศ. 1938 – 1948)
นาร์รีมาน ซาเดก
(ค.ศ. 1951 – 1954)
พระราชบุตรเจ้าหญิงเฟริยาล
เจ้าหญิงเฟาซียะห์
เจ้าหญิงฟาดียะห์
พระเจ้าฟูอัดที่ 2
ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี
พระราชบิดาพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์
พระราชมารดานาซลี ซาบรี
ลายพระอภิไธย

ก่อนเกิดการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952 ได้ทำการถอดพระองค์ออกจากราชสมบัติ แล้วยกพระราชโอรสของพระองค์เป็นกษัตริย์องค์ต่อมาพระนามว่า พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ แต่ปกครองได้เพียงปีเดียวรัฐบาลก็ได้ทำการล้มล้างราชวงศ์ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ

พระราชประวัติ แก้

 
เจ้าชายฟารุกในฉลองพระองค์ชุดลูกเสือ

พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ ประสูติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และสมเด็จพระราชินีนาซลีแห่งอียิปต์ โดยพระองค์นั้นมีศักดิ์เป็นลื่อของมูฮัมหมัด อาลี ปาชา วาลิแห่งอียิปต์และซูดาน ต้นพระราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ซึ่งมีเชื้อสายแอลเบเนีย ส่วนโดยส่วนพระเจ้าฟารูกเอง พระองค์มีเชื้อสายอียิปต์ และฝรั่งเศสจากพระราชมารดา โดยก่อนที่พระราชบิดาจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยวูลวิช สหราชอาณาจักร เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา และต่อมาเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 17 พรรษา จึงมีพิธีสวมมงกุฎขึ้น[3] พระราชบิดาของพระองค์ได้เสด็จสวรรคต โดยในพระราชพิธีสวมมงกุฎของพระองค์ พระองค์ได้มีพระราชดำรัสแก่ประชาชนด้วย พระองค์สามารถรับสั่งเป็นภาษาอาหรับ ภาษาตุรกี ภาษาอิตาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย ภาษาเยอรมัน และภาษาสเปน

พระองค์มีวิถีชีวิตที่น่าลุ่มหลงฟุ่มเฟือยฟู่ฟ่า พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในดินแดนที่ยิ่งใหญ่ พระราชวัง 12 แห่ง รถยนต์พระที่นั่งกว่า 100 คัน และพระองค์ยังโปรดเสด็จประพาสดินแดนยุโรปอย่างเกษมสำราญอยู่บ่อย ๆ จึงสร้างความไม่พอใจในหมู่ไพร่ฟ้าประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก

เมื่อพระเจ้าฟารูกขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ปลุกใจแก่ประชาชนชาวอียิปต์ได้เนื่องจากพระองค์มีเชื้อสายอียิปต์จากพระมารดา แม้พระราชวงศ์จะมาจากเชื้อสายแอลเบเนีย แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ของพระองค์นั้นถือว่าวิกฤต เนื่องจากพระองค์ยังไม่มีความพร้อมในการปกครอง และเห็นได้ว่าพระองค์ได้มีความเห็นไม่ลงรอยกับผู้อื่นทั้งหมดในขณะขึ้นครองราชบัลลังก์

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แก้

ในระหว่างช่วงทุกข์ยากของสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ถูกเพ่งเล็งในเรื่องของการใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย พระองค์ได้พิพากษาคดีที่พระราชวังในเมืองอเล็กซานเดรียของพระองค์ถูกเผา ในขณะที่พลเมืองกำลังอยู่อย่างสิ้นหวัง เนื่องจากอิตาลีและเยอรมันได้ทิ้งระเบิดทำลาย แต่พระเจ้าฟารูกคิดว่าเป็นการกระทำของคนกลุ่มอื่น ในขณะนั้นอังกฤษได้เริ่มกลับมายึดครองดินแดนอียิปต์อีกครั้ง ชาวอียิปต์จำนวนมากพร้อมด้วยพระเจ้าฟารูก ซึ่งได้พยายามโน้มน้าวเยอรมันและอิตาลีให้ทำการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามชาวอังกฤษที่พำนักในอียิปต์ก็วางตัวเป็นกลาง จนกระทั่งสิ้นสุดยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 พระเจ้าฟารูกเป็นผู้ที่มีความเห็นใจเข้าข้างฝ่ายอักษะ ได้กล่าวต้นรับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคนาซี ทั้งที่อยากจะมาบุกรุกอียิปต์ แต่พระเจ้าฟารูกได้เปิดเผยตัวเป็นฝ่ายอักษะภายใต้การกดดันอย่างหนักของอังกฤษเป็นเวลานาน ใน ค.ศ. 1945 หลังจากการต่อสู้ในทะเลทรายได้สิ้นสุดลง

การล้มล้างราชบัลลังก์ แก้

 
พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์

ในช่วงสงครามปาเลสไตน์ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างยิวและอาหรับ อียิปต์ได้เข้าร่วมสงครามในนามของชาติสันนิบาตอาหรับ จึงสร้งความไม่พอใจแก่อังกฤษ ทางอังกฤษจึงได้ให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านพระเจ้าฟารูกในการล้มล้างพระราชบัลลังก์ ในช่วงนี้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงในเหล่าข้าราชการ บางพวกใช้อำนาจหน้าที่ของตนสร้างความร่ำรวยแก่ตนเอง ขณะที่เหล่าราษฎรอยู่อย่างยากลำบาก แต่ราชสำนักและเหล่าข้าราชการกลับใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย

พระเจ้าฟารูกได้รับการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเรื่องของการปกครองที่ไม่ได้ผล ประกอบกับการเข้ามาปกครองอีกครั้งของอังกฤษ รวมไปถึงการเสียดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่อิสราเอลถึงร้อยละ 78 ในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ทำให้เหล่าพสกนิกรต่างไม่พอใจในการปกครองของพระเจ้าฟารูก ท้ายที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 กลุ่มขวนการ Free Officers Movement ภายใต้การนำของมูฮัมเหม็ด นาจีบ และกาเมล อับเดล นัสซอร์ ได้กระทำการรัฐประหารใน ค.ศ. 1952 โดยบังคับให้พระองค์สละราชสมบัติ และเสด็จลี้ภัยไปยังประเทศโมนาโก และประเทศอิตาลี ทันทีทันใดหลังจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าฟารูก ก็ได้มีการยกเจ้าชายอาเหม็ด ฟูอัด พระราชโอรสของพระเจ้าฟารูกที่ยังเป็นทารกอยู่เสด็จขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ แต่เมื่อครองราชย์ได้ 324 วัน ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ จึงเป็นอันสิ้นสุดการปกครองภายใต้ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี

ชีวิตหลังการสละราชสมบัติและการสวรรคต แก้

หลังจากเสด็จลี้ภัยจากประเทศอียิปต์แล้ว พระองค์ได้เข้าไปพำนักในประเทศโมนาโก โดยพระองค์ได้ถูกถอดสัญชาติอียิปต์โดยสหพันธ์สาธารณรัฐอาหรับ[4] แต่ภายหลังพระองค์ได้รับพระราชทานสัญชาติโมนาโกจากเจ้าชายเรนิเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก ซึ่งเป็นพระสหาย[5] และภายหลังได้เข้ามาพำนักในกรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยพระองค์ได้รับเป็นพลเมืองของโมนาโก พระองค์มีปัญหาเกี่ยวกับการเสวยอาหาร จนทำให้มีพระวรกายใหญ่ และมีพระน้ำหนักเกือบ 300 ปอนด์ (136 กิโลกรัม) ในที่สุดพระองค์ก็เสด็จสวรรคตในภัตตาคารอาหารฝรั่งเศสแห่งหนึ่งในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1965 ขณะที่พระองค์กำลังเสวยพระกระยาหารมื้อใหญ่[6] โดยที่พระองค์ได้ทรุดพระองค์ และสวรรคต แม้ว่าหน่วยข่าวกรองบางส่วนของอียิปต์คิดว่าเป็นการวางยาพิษลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากไม่มีการตรวจชันสูตรพระศพ รวมไปถึงมื้อกระยาหารเหล่านั้นด้วย[7] โดยงานพระศพของพระองค์นั้นตามเดิมต้องจัดที่มัสยิดอัลริฟะอี (Al-Rifa'i Mosque) กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ แต่การขอร้องถูกปฏิเสธโดยทางการอียิปต์ ซึ่งนำโดยนายกาเมล อับเดล นัสซอร์ พระศพของพระเจ้าฟารูกจึงถูกฝังในประเทศอิตาลีเอง เจ้าชายไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย (พระยศในขณะนั้น) จึงได้โปรดให้ทำการฝังพระเจ้าฟารูกในประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อประธานาธิบดีนัสซอร์เห็นเช่นนั้น จึงได้ให้นำพระศพมาฝังยังประเทศอียิปต์ ณ มัสยิดอัลริฟะอี

อภิเษกสมรส แก้

 
พระเจ้าฟารูกที่ 1, พระราชินีฟารีดา และเจ้าหญิงฟาริยัล ในปี ค.ศ. 1940

พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ โดยครั้งแรกพระองค์ได้มีความสัมพันธ์กับ บาร์บารา สเกลตัน นักเขียนชาวอังกฤษ ท่ามกลางเสียงคัดค้าน ทั้งสองจึงไม่ได้แต่งงานกัน พระเจ้าฟารูกจึงได้ทำการอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง ดังต่อไปนี้

ผู้ที่อ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพระเจ้าฟารูก แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[2] แก้

 
พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์

พระราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. Whiteman, Marjorie Millace; Hackworth, Green Haywood (1963). Digest of International Law (snippet view). Vol. 2. United States Department of State. p. 64. OCLC 79506166. สืบค้นเมื่อ 2010-02-26. The Egyptian Parliament amended the Constitution by Law 176 of October 16, 1951, to provide that the title of the King should be "King of Egypt and the Sudan" instead of "King of Egypt, Sovereign of Nubia, Sudan, Kordofan, and Darfur".
  2. 2.0 2.1 Egypt14
  3. Rizk, Yunan Labib (28 July – 3 August 2005). "Crowning moment". Al-Ahram Weekly (753). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ 2010-02-25.
  4. Halsey, William Darrach; Friedman, Emanuel (1983). "Faruk I". Collier's Encyclopedia with Bibliography and Index. Vol. 9. New York: Macmillan Educational Co. p. 574. OCLC 9355858. สืบค้นเมื่อ 2010-02-25.
  5. "Monaco Makes Farouk Citizen". Deseret News. 351 (107): A3. May 5, 1959. สืบค้นเมื่อ 2010-02-25.
  6. "Time: "Egypt: A Tale of Two Autocrats", Mar. 26, 1965". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-14. สืบค้นเมื่อ 2010-01-09.
  7. Farouk of Egypt เก็บถาวร 2009-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 2010.02.26.
  8. "Website of Irma Capece Minutolo Farouk". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
  9. "Thrice-married man?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2010-01-09.
  10. Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1980). "The French Ancestry of King Farouk of Egypt". Burke's Royal Families of the World. Vol. Volume II: Africa & the Middle East. London: Burke's Peerage. p. 287. ISBN 9780850110296. OCLC 18496936. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์ ถัดไป
พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์    
กษัตริย์แห่งอียิปต์
(28 เมษายน ค.ศ. 193619 ตุลาคม ค.ศ. 1951)
  เปลี่ยนตำแหน่ง
สนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ ค.ศ. 1936
เริ่มตำแหน่งใหม่
สนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ ค.ศ. 1936
   
กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน
(19 ตุลาคม ค.ศ. 195126 กรกฎาคม ค.ศ. 1952)
  พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์