พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์
กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน
องค์อธิปัตย์แห่งนูเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์
รัชสมัย26 กรกฎาคม 2495 – 18 มิถุนายน 2496 (324 วัน)
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
รัชกาลถัดไปสิ้นสุดระบอบกษัตริย์
ประสูติ16 มกราคม พ.ศ. 2495 (71 ปี)
พระราชวังอับดีน กรุงไคโร ราชอาณาจักรอียิปต์
พระมเหสีโดมินิก ฟรองซ์ ปิการ์ (2519–2542)
พระราชบุตรเจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด
เจ้าหญิงเฟาซียะห์-ลาติฟา แห่งอียิปต์
เจ้าชายฟากห์รุดดินแห่งอียิปต์
ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี
พระราชบิดาพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
พระราชมารดานาร์รีมาน ซาเดก
พระมหากษัตริย์แห่งอียิปต์
– ตำแหน่งในนาม –
พระราชวงศ์แห่งอียิปต์
พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ (อาหรับ: الملك فؤاد الثاني; พระราชสมภพ 16 มกราคม พ.ศ. 2495) เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน และองค์อธิปัตย์แห่งนูเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์ แห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลีองค์สุดท้าย โดยได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ขณะที่พระองค์มีพระชันษาเพียง 7 เดือน เนื่องจากพระราชบิดา คือ พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ ทรงประกาศสละราชสมบัติ

พระราชประวัติ แก้

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2495 ณ พระราชวังอับดีน กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ และอดีตสมเด็จพระราชินีนาร์รีมานแห่งอียิปต์ พระองค์มีพระนามาภิไธยเดิม เจ้าชายอะห์มัด ฟุอาด (أحمد فؤاد‎) พระองค์มีพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาคือ เจ้าหญิงเฟริยาลแห่งอียิปต์, เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ และเจ้าหญิงฟาดียะแห่งอียิปต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีพระอนุชาต่างบิดาคือ นายอะกรัม อดัม อาเหม็ด นาจีบ[1]

ขึ้นครองราชย์ แก้

หลังเกิดความยุ่งยากเกี่ยวกับการปกครองของอียิปต์ เนื่องจากประชาชนเริ่มไม่พอใจในการปกครองของพระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ เนื่องจากในช่วงนั้นมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงในเหล่าข้าราชการ บางพวกใช้อำนาจหน้าที่ของตนสร้างความร่ำรวยแก่ตนเอง ขณะที่เหล่าราษฎรอยู่อย่างลำบากยากจน แต่ราชสำนักและเหล่าข้าราชการกลับใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย สร้างความไม่พอใจแก่เหล่าพสกนิกรทั้งหลาย จนวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 กลุ่มขบวนการ Free Officers Movement ภายใต้การนำของมุฮัมมัด นะญีบ และญะมาล อับดุนนาศิร ได้กระทำการรัฐประหารใน พ.ศ. 2495 โดยบังคับให้พระองค์สละราชสมบัติ โดยทันทีทันใดหลังจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าฟารูก ก็ได้มีการยกเจ้าชายอะห์มัด ฟุอาด พระราชโอรสของพระเจ้าฟารูกที่ยังเป็นทารกอยู่เสด็จขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็น พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์

แต่เนื่องจากพระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ยังทรงพระเยาว์มาก ในรัชสมัยของพระองค์จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ เจ้าชายมูฮัมหมัด อับดุล โมนีม (Prince Muhammad Abdul Moneim) ซึ่งเป็นพระสวามีของเจ้าหญิงเนสลิชาห์แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

โดยพระเจ้าฟารูกทรงคิดว่าหากพระองค์สละราชสมบัติแล้ว อาจจะทำให้กลุ่มนักปฏิวัติและผู้ต่อต้านระบอบราชาธิปไตยภายในประเทศยุติการเคลื่อนไหวและนำความสงบสุขกลับเข้ามาในอียิปต์อีกครั้ง และยังทรงเชื่อว่ายุวกษัตริย์พระองค์น้อยองค์นี้จะสามารถยุติความรุนแรงภายในอียิปต์และซูดานได้ แต่โชคไม่ดีที่สิ่งที่พระเจ้าฟารูกต้องการนั้นไม่เป็นอย่างที่พระองค์หวังไว้เลย

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ได้ถูกปลดจากการเป็นยุวกษัตริย์หลังจากที่พระองค์ทรงครองราชย์ได้ 324 วัน และภายหลังจากการลงจากราชบัลลังก์ ประเทศอียิปต์จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐ และพระองค์ได้เสด็จลี้ภัยไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และใช้ชีวิตอยู่ที่นั้น

อภิเษกสมรส แก้

พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ เมื่อเจริญวัยแล้ว พระองค์ได้เริ่มต้นความสัมพันธ์กับนางสาวโดมินิก ฟรองซ์ ปิการ์ (สกุลเดิม โลบ) ธิดาของนายโรเบร์ โลบ และนางปอล มาเดอแลน ปิการ์ โดยได้รู้จักกันครั้งแรกใน พ.ศ. 2519 ครั้งแรกที่พระราชวังโมนาโก โดยต่อมาภายหลังทั้งสองพระองค์ได้อภิเษกสมรสกันเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2519 ที่กรุงปารีส แม้ว่าพระองค์จะอภิเษกสมรสภายหลังจากที่พระเจ้าฟุอาดที่ 2 พระสวามีลงจากราชบัลลังก์แล้ว แต่พระองค์ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ โดยได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนพระนามเป็น ฟาดิลา

แต่ภายหลังหลังจากการครองคู่กันมาเป็นเวลานานพระราชินีฟาดิลา และพระเจ้าฟุอาดที่ 2 ได้หย่าจากกันใน พ.ศ. 2539 โดยใน พ.ศ. 2542 พระราชินีฟาดิลาได้ดำรงอิสริยยศเป็น เจ้าฟ้าหญิงฟาดิลาแห่งอียิปต์[2] แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ได้แก่[3]

พระเกียรติยศ แก้

พระอิสริยยศ แก้

  • ฮิสรอยัลไฮนิส เจ้าชายอะห์มัด ฟุอาด เจ้าชายแห่งซาอิด (16 มกราคม – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)[4]
  • ฮิสมาเจสตี พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496)[5]
  • ฮิสรอยัลไฮนิส เจ้าชายอะห์มัด ฟุอาด ฟารูก (18 มิถุนายน พ.ศ. 2496 – ปัจจุบัน)[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Queen Narriman". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-14. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
  2. Time เก็บถาวร 2010-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Monday, Oct. 17, 1977
  3. EGYPT
  4. Elbendary, Amina (7 – 13 February 2002). "Happy birthday, Your Majesty". Al-Ahram Weekly (572). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 2010-10-10. Prince of the Sa'id (Upper Egypt) — Ahmed Fouad's title, the same his father held before assuming the throne... {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. Hofstadter, Dan (1973). Egypt & Nasser. Vol. 1. New York: Facts on File. p. 47. ISBN 9780871962034. After Farouk's abdication, the cabinet of Aly Maher said in a proclamation: "The Council of Ministers proclaims his majesty Ahmed Fuad II as king of Egypt and the Sudan...
  6. Lagnado, Lucette (18 September 2010). "The Lonely King Without a Throne". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2010-10-10. He has a passport from Monaco that identifies him as His Royal Highness Prince Ahmed Fouad Farouk.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า พระเจ้าฟุอาดที่ 2 แห่งอียิปต์ ถัดไป
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์    
กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน
(26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
  สิ้นสุดระบอบกษัตริย์
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์
กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน
   
ประมุขแห่งอียิปต์
(26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
  โมฮัมเหม็ด นาจีบ
ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์
เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เตาฟิก    
ตำแหน่งรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง
(16 มกราคม – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)
  เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เตาฟิก
เจ้าชายฟารูก เจ้าชายแห่งซาอิด
ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟารูก
   
เจ้าชายแห่งซาอิด
(16 มกราคม – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495)
  เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด
ผู้ดำรงตำแหน่งองค์ปัจจุบัน
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์    
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์อียิปต์และซูดาน
(26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496)
  เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี เจ้าชายแห่งซาอิด
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ลำดับที่ 1