รายชื่อสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อรวมสวนสาธารณะในเมืองหลวงของประเทศไทย

สวนสาธารณะหลักในกรุงเทพมหานคร จากข้อมูลของสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรของกรุงเทพฯ คำนวณเมื่อปี 2558 อยู่ที่ 5.97 ตารางเมตร/คน[1] โดยสวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร (รวมถึงแห่งแรกของไทย) คือ สวนลุมพินี เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2468[2]

รายชื่อสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร

แก้
ลำดับที่ ชื่อสวน ตำแหน่งที่ตั้ง เนื้อที่ (ไร่) หมายเหตุ
1 สวนหลวง ร.9 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ 500.00 เป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ อยู่ในแขวงหนองบอน เขตประเวศ ทางตะวันออกของกรุงเทพมหานคร จัดสร้างเพื่อสร้างเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530
2 สวนวชิรเบญจทัศ ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร 375.00 เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ มีเนื้อที่กว่า 375 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ติดกับสวนสาธารณะอีก 2 สวน คือ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนจตุจักร อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
3 สวนลุมพินี แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน 360.00 สวนลุมพินี หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า สวนลุม เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 ล้อมรอบด้วยถนนวิทยุ ถนนราชดำริ และซอยสารสิน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ในที่ดินเนื้อที่ 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสำหรับสร้าง "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" เพื่อจัดแสดงสินค้าไทยเป็นครั้งแรก และจัดให้เป็น "สวนสาธารณะ" สำหรับประชาชน พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า "สวนลุมพินี" ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาล แต่พระองค์เสด็จสวรรคตก่อนจึงไม่แล้วเสร็จ
4 สวนเสรีไทย ถนนเสรีไทย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม 350.00
5 สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร 196.00 เป็นสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนกำแพงเพชร 2 อยู่ติดกับสวนจตุจักรและสวนวชิรเบญจทัศ สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถครบ 5 รอบ ซึ่งตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 โครงการนี้ริเริ่มโดยคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2534 เปิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2539 มีพื้นที่ระยะแรก 140 ไร่ (0.22 ตร.กม.) โครงการระยะที่สองจะเพิ่มพื้นที่อีก 60 ไร่ในอนาคต
6 สวนจตุจักร ถนนกำแพงเพชร 1 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร 155.00 เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกจรดถนนพหลโยธิน ทิศเหนือจรดถนนวิภาวดีรังสิต ทิศตะวันตกและทิศใต้จรดถนนกำแพงเพชร 3 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของสวนแห่งนี้ว่า "สวนจตุจักร" (ซึ่งเป็นชื่อภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า "สี่รอบ") สวนจตุจักรเปิดทำการในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523
7 สวนเบญจกิติ ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย 130.00 เป็นสวนสาธารณะเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวาระพระชนมายุครบ 60 พรรษาเมื่อปี พ.ศ. 2535 ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ข้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษกช่วงระหว่างถนนพระรามที่ 4 กับ ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ชื่อสวนเบญจกิติได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547
8 สวนวารีภิรมย์ ถนนประชาร่วมใจ แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา 121.00 มีพื้นที่ 121 ไร่ 3 งาน 38 ตารางวา เดิมเรียกว่า บึงมะขามเทศและบึงสะแกงามสามเดือน ใช้พื้นที่เป็นแก้มลิงรับน้ำของกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก ต่อมากรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดทำเส้นทางจักรยาน ทางเดิน-วิ่ง ระยะทาง 4.2 กิโลเมตร เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557[3]
9 สวนนวมินทร์ภิรมย์ (บึงลำพังพวย) แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม 76.00 เป็นสวนสาธารณะในการกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 เป็นสวนสาธารณะขนาดกลาง บนเนื้อที่กว่า76ไร่ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2549 โดยพื้นที่แห่งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากการเคหะแห่งชาติ ทางกรุงเทพมหานคร จึงปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร

ภายในใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทั่วไป มีลานสำหรับออกกำลังกาย มีสนามเด็กเล่น และอื่นๆ มีศาลาเป็นซุ้มไม้เลื้อยและศาลานั่งริมน้ำ น้ำพุกลางบึงน้ำ สนามเด็กเล่น ลานอเนกประสงค์ เวทีกลางแจ้ง สถานีออกกำลังกาย ทางออกกำลังกาย สะพานข้ามบึงน้ำ ห้องสุขาสาธารณะ

โดยสวนสาธารณะแห่งนี้ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามว่าสวนนวมินทร์ภิรมย์

10 สวนธนบุรีรมย์ ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ 63.00
11 สวน 60 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ถนนเคหะร่มเกล้า แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง 61.00
12 สวนกีฬารามอินทรา ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน 59.00
13 สวนทวีวนารมย์ แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา 54.00
14 สวนพระนคร (สวนลาดกระบัง) ถนนลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง 50.00
15 สวนวนธรรม (สวนธรรม 70 พรรษา มหาราชินี) แขวงหนองบอน เขตประเวศ 43.00
16 สวนปทุมวนานุรักษ์ ถนนราชดำริ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน 37.00 เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ประมาณ 37 ไร่ ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจัดสร้างโดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
17 สวนหนองจอก ถนนเลียบวารี แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก 35.00 เป็นสวนสาธารณะอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้การควบคุมของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 35 ไร่ 2งาน เป็นสวนชุมชน เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2530
18 สวนวัชราภิรมย์ ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน 34.00
19 อุทยานเบญจสิริ ถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 22–24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย 29.00 เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนขนาดเล็กในกรุงเทพมหานครสร้างบนที่ดินเดิมเนื้อที่ 29 ไร่ของกรมอุตุนิยมวิทยาริมถนนสุขุมวิทที่ย้ายออกไปอยู่ที่ถนนสุขุมวิท เขตบางนา โดยด้านข้างของสวนสาธารณะแห่งนี้ติดกับโรงแรมอิมพีเรียลควีนส์พาร์ค ห้างสรรพสินค้าเอ็มโพเรี่ยม กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษาในปีพ.ศ. 2535 ได้รับการออกแบบภูมิทัศน์โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ
20 สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา เชิงสะพานพระราม 9 ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม 29.00 เป็นสวนสาธารณะอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้การควบคุมของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 29 ไร่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542
21 สวนรมณีนาถ ถนนศิริพงษ์ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร 29.00
22 สวนสราญรมย์ ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร 23.00
23 สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย 21.00 ตั้งอยู่ที่ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย เป็นสวนสาธารณะที่ทางกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมธนารักษ์ ดำเนินการก่อสร้างสวนสาธารณะแห่งนี้ขึ้น บนเนื้อที่กว่า21ไร่ ริมถนนบางขุนนนท์ โดยภายในประกอบด้วยสนามเด็กเล่น ศาลาพักผ่อนริมน้ำ เรือนทรงไทย และอื่นๆ และยังมีศูนย์สำหรับเรียนรู้พฤกษศาสตร์ตามแนวพระราชดำริอีกด้วย
24 สวนบึงน้ำลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว 21.00
25 สวน 50 พรรษา มหาจักรีสิรินธร ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ 20.00
26 สวนสันติภาพ ถนนราชวิถี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี 20.00 เป็นสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณถนนราชวิถีกับถนนรางน้ำ เขตราชเทวี ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ป้ายชื่อสวนเป็นลายมือของท่านพุทธทาสภิกขุ โดยเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540

โดยที่ชื่อสวนนั้น หมายถึง สันติภาพจากสงคราม โดยทำการเปิดให้บริการวันแรกคือวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2541 อันตรงกับวันครบรอบการที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง

27 สวนหลวงพระราม 8 เชิงสะพานพระราม 8 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด 20.00 สวนหลวงพระราม 8 มีขนาดพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ ความยาว 500 เมตร อยู่บริเวณใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งทิศตะวันตก จัดเป็นที่ ๆ ที่มีบรรยากาศและทิวทัศน์งดงาม สามารถมองเห็นสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้หลายแห่ง เช่น ป้อมพระสุเมรุ, วังบางขุนพรหม, ยอดอาคารโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งอยู่ฝั่งพระนคร และสะพานพระปิ่นเกล้า ได้อย่างชัดเจน รวมถึงยังประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
28 สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา ถนนสาทร แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร 17.00
29 สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน ถนนเวฬุวนาราม แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง 15.00 แต่เดิมคือ สวนป่าสีกัน ต่อมาทางเขตดอนเมืองได้รับนโยบายจากกระทรวงมหาดไทยให้ปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้เพื่อเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจในเขตดอนเมือง ภายในประกอบด้วย ลานสำหรับออกกำลังกาย ศาลาพักผ่อน

โดยสวนสาธารณะแห่งนี้ได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ว่า สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน อันหมากถึง สวนที่ให้ความร่มรื่นใจประจำทุ่งสีกัน

30 สวนพรรณภิรมย์ เขตห้วยขวาง 14.00
31 สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย ถนนทหาร แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต 10.00 เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พุศ. 2542 ซึ่งสร้างขึ้นบนองค์การทอผ้า ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้เลิกกิจการไป ทางกรุงเทพมหานครจึงได้ปรับปรุงพื้นที่ในปี พ.ศ. 2546 และจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2548 มีเนื้อที่ 10 ไร่ ภายในประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์เด็กเกียกกาย ลานออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น ซึ่งภายในประดับประดาไปด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์
32 สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร 8.00 เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง สร้างบนพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เศษ บริเวณโดยรอบป้อมพระสุเมรุ ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่วงปลายถนนพระอาทิตย์ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงปากคลองบางลำพู สวนแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยภายในบริเวณสวนมีพระที่นั่งสันติชัยปราการ ที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติมาประดับไว้ พร้อมกับท่ารับเสด็จขึ้นลงเรือพระที่นั่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่จัดพระราชประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา
33 สวนนาคราภิรมย์ (สวนกรมการค้าภายใน) ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร 3.00
34 สวนจรัญภิรมย์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด 3.00
35 สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 25 แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย 3.00 เป็นสวนสาธารณะแห่งที่ 28 ของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่ 16 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 25 เขตบางกอกน้อย เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็กซึ่งพื้นที่ของสวนสาธารณะได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ได้รับมอบที่ดินจากนายอุ๋ย จันทร์เสริม ที่น้อมเกล้าฯ ถวาย โดยภายในสวนประดับประดาไปด้วยพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ มีสนามเด็กเล่น มีลานออกกำลังกาย และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกอาชีพมูลนิธิชัยพัฒนา และยังเป็นที่ตั้งของเรือนไทยอนุรักษ์ซึ่งเป็นเรือนไม้ทรงพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้อนุรักษ์เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเครื่องมือช่างไม้ไทย

โดยสวนสาธารณะแห่งนี้ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสวนสาธารณะแห่งนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

36 สวนยอดแขม แขวงหนองแขม เขตหนองแขม 3.00
36 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ เขตบางรัก 0.70 เป็นสวนหย่อมขนาดเล็ก สร้างลงบนพื้นที่ว่างซึ่งได้รับการบริจาคในเขตชุมชนใกล้ซอยวัดหัวลำโพงซึ่งเป็นของหม่อมหลวงธิษัณ ศรีธวัช เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในสวนนี้มีทางวิ่งออกกำลังกาย ศาลา เวทีกลางแจ้ง อุปกรณ์ออกกำลังการ และปลูกพืชสวนครัว เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564[4][5]
37 สวนมณฑลภิรมย์ เขตตลิ่งชัน 0.50 [6]
38 สวนป่าเบญจกิติ เขตคลองเตย 320.00
39 อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต 279.00

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://203.155.220.118/userfiles/files/2558.pdf
  2. "สวนลุมพินี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-03.
  3. สำนักงานเขตคลองสามวา สวนวารีภิรมย์
  4. "กทม.ผุดสวนใหม่ วัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ เปิดบริการ 05.00 – 20.00 น." มติชนออนไลน์. 22 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "กทม. ร่วมกับ We! Park และ สสส. เปิดตัว "สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์"". กรุงเทพธุรกิจ. 24 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. http://203.155.220.118/green-parks-admin/index.php?m=green_parks&op=detaildata&NUID=10426