แขวงท่าแร้ง

แขวงในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ท่าแร้ง เป็นแขวงหนึ่งของเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 กำหนดให้ที่ดินส่วนใหญ่ในแขวงนี้เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย บางส่วนเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ[3]

แขวงท่าแร้ง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Tha Raeng
ถนนเทพรักษ์บริเวณตัดกับถนนสุขาภิบาล 5
ถนนเทพรักษ์บริเวณตัดกับถนนสุขาภิบาล 5
แผนที่เขตบางเขน เน้นแขวงท่าแร้ง
แผนที่เขตบางเขน เน้นแขวงท่าแร้ง
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตบางเขน
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด23.717 ตร.กม. (9.157 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด98,708 คน
 • ความหนาแน่น4,161.91 คน/ตร.กม. (10,779.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10220, 10230
รหัสภูมิศาสตร์100508
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เดิมแขวงท่าแร้งเป็นมีฐานะเป็น ตำบลท่าแร้ง ขึ้นกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[4] และใน พ.ศ. 2515 นครหลวงกรุงเทพธนบุรีได้รับการจัดตั้งเป็นกรุงเทพมหานคร[5] ซึ่งมีการเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองด้วย ตำบลท่าแร้งจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงท่าแร้ง และอยู่ในเขตการปกครองของเขตบางเขน

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้ปรับเปลี่ยนแนวเขตการปกครองระหว่างเขตบางเขนกับเขตลาดพร้าว โดยตัดท้องที่แขวงจรเข้บัวของเขตลาดพร้าว เฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศเหนือของคลองสามขา คลองโคกคราม และคลองตาเร่งมาขึ้นกับเขตบางเขน[6] และกรุงเทพมหานครได้ผนวกแขวงจรเข้บัวส่วนดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแขวงท่าแร้งไปพร้อมกันเพื่อความชัดเจนด้านการปกครอง[7]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

แขวงท่าแร้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตบางเขน มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

การคมนาคม แก้

ทางสายหลักในพื้นที่แขวงท่าแร้ง ได้แก่

ทางสายรองและทางลัดในพื้นที่ ได้แก่

อ้างอิง แก้

  1. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
  2. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. 2566. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2567.
  3. "กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (41 ก): 1–81. 16 พฤษภาคม 2556.
  4. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2020-09-23.
  5. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 6–19. 18 พฤศจิกายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2020-09-23.
  7. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 4–7. 24 ธันวาคม 2540.