ผู้ใช้:Ggkonkaen/ทดลองเขียน

ประวัติศาสตร์ แก้

เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมานับพันปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี โดยบริเวณโคกพระเมืองกันทรวิชัย พบหลักฐานเช่น พระพุทธมิ่งเมือง พระพุทธรูปยืนมงคล และกรุพระพิมพ์ดินเผา ส่วนบริเวณอำเภอนาดูนเมืองนครจำปาศรี พบทั้งกรุพระพิมพ์ดินเผาและพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนี้แล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม

จังหวัดมหาสารคามนอกจากจะมีฉายาเป็น"ดินแดนแห่งสะดืออีสาน"หรืออยู่จุดกึ่งกลางของภาคอีสานแล้ว(จุดกึ่งกลางของภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่ บึงกุย หมู่ 13 ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย)[1]นอกจากนี้ยังมีฉายาที่โดดเด่นและเป็นที่น่าจดจำอีกว่า "ตักสิลานคร" หรือแปลตามตัวคือนครแห่งการศึกษา หรือเมืองแห่งการศึกษาของภาคอีสาน มีสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพและระดับสูงสุดอยู่หลายแห่งและมีมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องทั่วทั้งภาคอีสาน ล้วนต่างนิยมเข้ามาศึกษาเล่าเรียนกันเป็นจำนวนมาก เป็นจังหวัดดาวรุ่ง ที่ใช้ความโดดเด่นหรือจุดแข็งทางด้านการศึกษามาใช้ในการพัฒนาจังหวัดให้สามารถพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างก้าวกระโดดและมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต[2]

สมัยอาณาจักรสุโขทัย-อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา แก้

ประมาณปี พ.ศ. 1800 ในสมัย กรุงสุโขทัย ชนชาวไท-ลาว บางส่วนมีการอพยพมาจาก อาณาจักรอ้ายลาวหรืออาณาจักรน่านเจ้า ต่อมา มีบางส่วนอพยพลงมาทางใต้ มาอาศัยอยู่บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล เรียกตัวเองว่า ชาวลาวล้านช้าง ช่วงแรกยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอม มาจนกระทั่งถึง สมัยพ่อรามคำแหงมหาราช แห่งสุโขทัย ได้ขายอิทธิพลเข้าครอบครอง ถึงบริเวณล้านช้าง (เวียงจันทนท์ และ หลวงพระบาง) รวมถึงบริเวณภาคอีสาน (ประเทศไทย)ตอนเหนือบางส่วน ยกเว้นบริเวณส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกฉียงเหนือ (อีสานตอนกลางและตอนล่าง) ของไทย ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงตกเป็นของขอม (เขมร) อยู่ต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่ง มีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา[3][4]

ประมาณปี พ.ศ. 1893 ของพระเจ้าอู่ทอง อำนาจของกรุงสุโขทัยจึงเริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ หัวเมืองขึ้นและประเทศราชต่างพากันแข็งข้อและแข็งเมืองออก เป็นเอกเทศ ซึ่งต่อมา ขุนหลวงพะงั่ว หรือพระบรมราชาที่ 1 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ทรงยกทัพไปตีสุโขทัย และสามารถยึดไว้ในอำนาจได้ ประมาณปี พ.ศ. 1921 กรุงสุโขทัยจึงเสื่อมอำนาจอย่างบริบูรณ์มาตั้งแต่บัดนั้น[5]

กำเนิดชนชาติลาวล้านช้าง ก่อตั้งอาณาจักรและความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรโบราณ แก้

ขุนบรม ปฐมกษัตริย์ แห่งอาณาจักรแถน หรืออาณาจักรอ้ายลาว(ใหม่) แห่งดินแดนนาน้อยอ้อยหนู (เดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นยุคก่อนจะกำเนิดอาณาจักรสุโขทัยของไทย ได้ส่งพระราชโอรสองค์ใหญ่ พระนามว่า “ขุนลอ” มาครองเมือง ”ซวา” หรือ เมือง”เซ่า” ขับไล่ชาวข่า,ลัวะ,ขมุ ที่เคยครอบครองถิ่นและเมืองนี้มาก่อนให้ออกไปจากเมือง และ ให้นามเมืองใหม่ว่า เมือง ”เชียงดงเชียงทอง” (ต่อมา มีการ เปลี่ยนชื่อมาเป็น “หลวงพระบาง” ในภายหลัง) ต่อมามีกษัตริย์ซึ่งสืบมาจากขุนลอ ครองเมืองถึง 22 พระองค์ จนกระทั่งพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชได้ตั้งตัวเป็นมหากษัตริย์(เชื้อสายขุนลอ) แห่งเมืองเชียงทอง ในปี พ.ศ. 1869 ต่อมาพระเจ้าฟ้างุ้ม ทรงพัฒนาเมืองเชียงทอง ให้กลายมาเป็นอาณาจักรล้านช้างที่ยิ่งใหญ่ เเละเป็นอาณาจักร์อิสระมานับแต่บัดนั้[6][7][8]

แรกเริ่มล้านช้างมีความสัมพันธ์อันดีกับจักรวรรดิขอม โดย พระเจ้าฟ้างุ้มมีพระมเหสีเอกเป็นธิดากษัตริย์ขอม แต่ต่อมาภายหลังอาณาจักรล้านช้างได้เกี่ยวดองกันทางเครือญาติและหันมาเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรอยุธยา (แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ของขุนหลวงพะงั่ว) เพื่อต่อต้านอำนาจของขอม จนอยุธยาสามารถปราบขอมจนสิ้นซาก ในสมัยเจ้าสามพระยา จักรวรรดิขอมที่ยิ่งใหญ๋จึงล่มสลายมาตั้งแต่บัดนั้น โดยอาณาจักรอยุธยาได้ครอบครองศูนย์กลางของขอมอย่างเมืองพระนคร ส่วนอาณาจักรล้านช้างได้ขยายอาณาเขตลงมาครอบครองดินแดนบางส่วนของขอมเดิม ประชิดเขตแดนที่บริเวณเมืองพิมายของอยุธยา (ก่อนหน้านั้น เมืองพิมายขึ้นกับขอม) ความสัมพันธ์ระหว่างล้านช้างและอยุธยาจึงเป็นความสัมพันธ์ที่ดีนับตั้งแต่นั้นมา[9][10][11]

จนกระทั่งสมัยพระเจ้าโพธิสาลราช พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง[12] ได้เกี่ยวดองและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรล้านนา แห่งราชวงศ์มังราย โดยการเสกสมรสกับเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่ และได้ส่งกองกำลังทัพล้านช้างเข้าไปช่วยเชียงใหม่รบกับพม่า (ไทใหญ่) และอยุธยาอยู่หลายครั้ง และชนะทุกครั้ง ภายหลังขุนนางเชียงใหม่เสนอให้พระโพธิสาลราชไปเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ แต่พระโพธิสาลราชทรงปฏิเสธ แต่ทรงเสนอให้พระราชโอรสของท่านซึ่งกำเนิดแต่ธิดากษัตริย์เมืองเชียงใหม่ไปครองเมืองเชียงใหม่แทนนามว่า “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช[13][14][15][16]

ต่อมาในปีพ.ศ. 2093 พระเจ้าโพธิสารทรงสวรรคต พระราชโอรสองค์รองอันเกิดแต่พระเหสีองค์รองต่างแก่งแย่งกันขึ้นเป็นกษัตรย์ อาณาจักรล้านช้าง ณ.ขนะนั้นจึงเกิดความวุ่นวายแบ่งกันเป็นฝักเป็นฝ่าย เหล่าขุนนางจึงอัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชให้กลับไปครองหลวงพระบาง (ล้านช้าง) เพื่อระงับเหตุความวุ่นวายที่เกิดขึ้น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงฝากให้สมเด็จย่า (จิรปภามหาเทวี) รักษาการเมืองเชียงใหม่แทนพระองค์ พร้อมทั้งยังได้อัญเชิญพระแก้วมรกตย้ายไปที่เมืองหลวงพระบางด้วย ต่อมาจึงได้ยกทัพ เข้ายึดอำนาจและบีบพระอนุชาทั้ง 2 ให้ยอมยกราชสมบัติให้แก่ตน จนได้ครองอาณาจักรล้านช้าง[16] ส่วนทางเมืองเชียงใหม่ หลังจากพระเจ้าไชยเชษฐา ไม่ยอมกลับไปครองเมืองเชียงใหม่ต่อซักที ขุนนางจึงอัญเชิญพระเจ้าเมกุติ เจ้าเมืองนาย[17] (เชื้อสายไทยใหญ่ และยังเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังราย) ให้ไปเป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่แทน[18] ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองมหาราช พระมหากษัตริย์อาณาจักรพม่า เเห่งราชวงศ์ตองอู แผ่อำนาจมายังหัวเมืองไทใหญ่ แล้วจึงผ่านเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเมกุติ สู้ไม่ได้ จึงยอมอ่อนน้อมและยอมส่งบรรณาการทุกปีแก่พม่า[13] เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาทรงทราบข่าว จึงนำกองทัพจะเข้าบุกยึดเมืองเชียงใหม่จากพระเมกุติ ซึ่งขณะนั้นบุเรงนองได้ยกทัพออกไปจากเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว พระเมกุติเมื่อทราบว่าทัพล้านช้างพยายามจะบุกจึงส่งพระราชสาส์นไปยังบุเรงนองให้ส่งกองกำลังกลับมาช่วยตนขับไล่ทัพล้านช้าง บุเรงนองจึงยกทัพกลับไปยังเมืองเชียงใหม่ และส่งกองทัพขับไล่ทัพของพระเจ้าไชยเชษฐาให้กลับไปยังเขตล้านช้าง พระเจ้าไชยเชษฐาเมื่อทราบว่าเชียงใหม่ขึ้นกับบุเรงนองเรียบร้อยแล้ว จึงเลิกทัพหนีกลับไปยังเมืองหลวงพระบาง[19] ต่อมา พระไชยเชษฐาธิราชได้เป็นพันธมิตรกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยกันต่อต้านพระเจ้าบุเรงนองซึ่งกำลังขยายอิทธิพลมาทางดินแดนแถบนี้ ในปี พ.ศ. 2103[20]

หลังจากนั้นพระเจ้าไชยเชษฐาทรงย้ายราชธานีจากเมืองหลวงพระบางไปเมืองเวียงจันทน์อย่างเป็นทางการ ในปี 2106 (สมัยพระเจ้าโพธิสาลราชเคยย้ายลงมาชั่วคราว เพื่อทำศึกกับเมืองพวน) นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัดพระแก้วและพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ขึ้น ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ส่งกองทัพไปช่วยอยุธยาอยู่หลายครั้งหลายหน แต่เนื่องจากกองทัพพม่ามีกำลังพลที่มากมหาศาลและแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก ส่งผลให้อาณาจักรอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2112 ต่อมาบุเรงนองมีความเคียดแค้นต่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งได้ยกทัพลาวเข้าช่วยกองทัพกรุงศรีอยุธยาต่อต้านกองทัพพม่าของตนอยู่หลายครั้ง จึงยกทัพพยายามตีเมืองเวียงจันทน์ ศึกครั้งแรก บุกเข้าเมืองเวียงจันทน์ได้แต่ไม่ได้ตัวของพระเจ้าไชยเชษฐา เนื่องจากท่านไม่ได้อยู่ในเมือง ไปทำธุระทางตอนใต้ของอาณาจักร์ แต่พม่าสามารถจับเชื้อพระวงศ์ได้เป็นจำนวนมาก เช่น เจ้าอุปราชวรวังโส (พระอนุชา) นางคำไบ (พระขนิษฐา) พระหน่อแก้ว (พระราชบุตร) พระราชธิดาทั้ง 3 พระองค์ (สุก เสริม ใส) พระมเหสี เป็นต้น จึงนำตัวส่งลงไปยังกรุงหงสาวดี ศึกครั้งนี้จึงยังไม่อาจพิชิตพระเจ้ากรุงล้านช้างและอาณาจักร์ล้านช้างได้ ต่อมาศึกครั้งที่ 2 บุเรงนองได้นำกองทัพพยายามบุกเวียงจันทน์อีกครั้ง (บุเรงนองบัญชาการนำทัพเอง) แต่ครั้งนี้พระเจ้าไชยเชษฐาทรงพำนักอยู่ที่กรุงเวียงจันทน์เมื่อทรงทราบข่าวว่าทัพพม่ากำลังจะมาบุก พระเจ้าไชยเชษฐาจึงทำการอพยพพลเมืองออกจากเมืองให้หมดและให้ไปหลบซ่อนตัวในสถานที่ที่ปลอดภัย และวางแผนกลยุทธ์แบบกองโจรหรือป่าล้อมเมือง โดยการล่อให้ทัพพม่าเข้าไปในเมือง แล้วจึงให้ทัพลาวเข้าโจมตีแบบกองโจร จนในที่สุดเสบียงอาหารของทางฝั่งพม่าเริ่มร่อยหรอลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทหารพม่าเริ่มไม่มีแรงและกำลังใจที่จะทำศึกต่อไป ทัพพม่าบุเรงนองจึงทำการถอยทัพออกจากเวียงจันทน์และอาณาเขตล้านช้างในที่สุด ถือว่าครั้งนี้เป็นชัยชนะของทางฝั่งล้านช้างที่นำโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่เหนือกว่าทางฝั่งทัพพม่าที่นำโดยบุเรงนองอย่างชัดเจน และต่อมาศึกครั้งที่ 3 ทัพพม่ายังไม่ยอมรามือที่จะบุกยึดล้านช้าง จึงส่งกองทัพมาบุกเวียงจันทน์อีกครั้ง แต่ครั้งนี้พระเจ้าไชยเชษฐาได้หายสาบสูญไปที่เมืองโองการ (คาดว่าน่าจะอยู่ใน แขวงอัตปือ สปป.ลาวในปัจจุบัน) พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยจึงสำเร็จราชการแทนและแต่งทัพออกสู้กับกองทัพพม่า แต่กองทัพที่ไร้การนำของพระเจ้าไชยเชษฐาก็ถูกทัพพม่าที่มีจำนวนมหาศาลตีจนแตกและสามารถเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้อย่างง่ายดาย ล้านช้างจึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาตั้งแต่บัดนั้น ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2118

ต่อมาในระหว่างล้านช้างตกเป็นเมืองประเทศราชของพม่า พม่าก็ได้ส่งเชื้อพระวงศ์ล้านช้างที่ถูกจับตัวไปเป็นองค์ประกันให้กลับไปครองอาณาจักรล้านช้างอยู่เป็นเนืองๆ ต่อมาสิ้นยุคบุเรงนองเข้าสู่ยุคนันทบุเรง อำนาจและอิทธิพลของพม่าก็เสื่อมถอยลง อันเนื่องมาจาก มีการทำสงครามกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งพยายามปลดเอกราชออกจากพม่า ประมาณ ปี พ.ศ. 2133 – พ.ศ. 2148 เป็นผลให้ล้านช้างปลอดภัยจากอิทธิพลของพม่าในช่วงเวลาขณะนั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2134 นันทบุเรง จึงส่งพระหน่อแก้วกุมาร พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชกลับไปเป็นกษัตริย์ล้านช้าง เมื่อกลับล้านช้างได้ไม่นานพระหน่อแก้วกุมารจึงทรงได้ประกาศอิสรภาพออกจากพม่า เป็นเอกราชไม่ขึ้นตรงกับพม่าอีกต่อไป หลังจากนี้อาณาจักรล้านช้างจึงเป็นเอกราชและสงบร่มเย็น ปลอดภัยจากการรุกรานของข้าศึกศัตรูยาวนานมาตลอดกว่าร้อยปี

การล่มสลายของอาณาจักรล้านช้าง เเละ การอพยพของกลุ่มเจ้านายล้านช้างลงไปตั้งเมืองต่างๆภายในภาคอีสาน (ขึ้นต่ออาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์และกรุงศรีอยุธยา) แก้

เมื่อประมาณพุทธศักราช 2231 หลังการสวรรคตของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง อันมีกรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ตรงกับ สมัยของสมเด็จพระเพทราชา แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เกิดการแย่งชิงอำนาจกันขึ้นภายในอาณาจักร เนื่องจากพระองค์ทรงประหารชีวิตรัชทายาท และไม่มีผู้สืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ฝ่ายทายาทและขุนนางต่างแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพื่อแย่งกันเป็นใหญ่ จนในที่สุดอาณาจักรล้านช้างที่ยิ่งใหญ่จึงถึงคราวล่มสลาย โดยแตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อย ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิราช พระองค์ทรงมีพระราชโอรส พระองค์หนึ่งนามว่า “เจ้าองค์หล่อ” อันเกิดเเต่พระนางสุมังคละ พระมเหสี ขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 3 พรรษา อีกทั้งพระนางสุมังคละ กำลังทรงตั้งพระครรภ์ ขณะนั้นมีขุนนางเสนาบดี นามว่า พระยาเมืองแสน ผู้มีอำนาจบาดใหญ่ สนับสนุนให้เจ้าองค์หล่อได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดของตน โดยให้ตัวเองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน เเละใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบ ภายหลังเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบใหญ่ขึ้น พระยาเมืองเเสนไม่ยอมคืนอำนาจให้ อีกทั้งยังขับเจ้าองค์หล่อออกจากราชบัลลังก์โดยมิให้ใครรู้ ต่อมาคิดที่จะบีบบังคับให้พระนางสุมังคละมาเป็นภรรยาของตน เเต่พระนางไม่ยอม พระนางจึงพาเจ้าองค์หล่อ อพยพหนีไปพึ่งเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ก (พระสังฆราช เเห่งเวียงจันทน์) ซึ่งเป็นที่นับถือของเหล่าบรรดาลูกศิษย์เเละเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก จึงมีบรรดาเชื้อพระวงศ์มาขอเป็นลูกศิษย์ของท่านมากมาย ซึ่งในนั้นมีเจ้าเเก้วมงคลเเละเจ้าจันทรสุริยวงศ์ เชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์ล้านช้าง พระญาติผู้ใหญ่ของเจ้าองค์หล่อ เป็นศิษย์เอกอยู่ด้วย ต่อมาเจ้าราชครูหลวงคิดว่าถ้าหากให้พระนางมาอาศัยอยู่ด้วยก็เกรงผู้อื่นจะครหานินทา อันเนื่องจากความไม่เหมาะสมเเละสถานที่อาศัยอยู่โจ่งเเจ้งเกินไปเเละไม่ค่อยปลอดภัยจึงส่งไปไว้ที่ตำบลภูชะง้อหอคำ ต่อมาพระนางสุมังคละทรงได้ประสูติพระโอรสอีกองค์หนึ่ง โดยตั้งพระนามว่า “เจ้าหน่อกษัตริย์” ณ.ที่นั้น[21]

ต่อมาฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าราชครูหลวงมีผู้ติดตามเเละมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก คิดเกรงกลัวไปเองว่าท่านจะนำศิษย์ซ่องสุมที่จะแย่งชิงอำนาจไปจากตน จึงคิดที่จะกำจัดทิ้ง แต่ทางเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็กรู้ตัวเสียก่อน จึงนำลูกศิษย์ลูกหาเเละผู้ศรัทธากว่า 3,000 ชีวิต ลี้ภัยหนีลงใต้ ระหว่างทางก็มีผู้คนมาสมัครขอเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อเดินไปถึงเขตเเดนเมืองบันทายเพชร์ ซึ่งเป็นดินแดนของอาณาจักรเขมรอุดง เมื่อข่าวไปถึงหูกษัตริย์เขมร กษัตริย์เขมรจึงมีการสั่งให้กลุ่มเจ้าราชครูหลวงจ่ายค่าทำเนียม ครัวละ 2 ตำลึง จึงจะสามารถไปตั้งถิ่นฐานที่นั้นได้ เจ้าราชครูหลวงจึงเห็นว่า เป็นการเดือดร้อนเเก่ผู้ติดตาม อีกทั้งยังเป็นการขูดเลือดขูดเนื้อมากจนเกินไป ท่านจึงสั่งอพยพขึ้นไปทางเหนือ จนถึงบริเวณเมืองเก่าทางตอนใต้ของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดจนถึงขั้นเคยเป็นศูนย์กลางของเขมรโบราณในช่วงยุคเจนละมาก่อน นามว่า “เมืองเศรษฐปุระ[22] จนผ่านมาหลายยุคหลายสมัย จนมีนามเมืองว่า “เมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี” ในการเดินทางอพยพลี้ภัยลงมายังดินเเดนลาวใต้จนถึงถิ่นเมืองเก่าเเห่งนี้นี้เอง เจ้าราชครูหลวงโพนเสม็กมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยศิษย์เอก อย่าง เจ้าแก้วมงคล เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด เป็น รองแม่กอง คอยควบคุมดูแลบริวารเเละไพร่พลของท่านมาตลอดทาง[21][23]

ภายหลังการมาถึงของกลุ่มเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ก นางเเพง นางเภา คู่เเม่ลูก ผู้ครองเมืองอยู่ขณะนั้น ก็มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าราชครูหลวง จึงพากันอาราธนาเจ้าราชครูหลวงให้มาปกครองเมืองเเทนพวกตนโดยให้ท่านได้ใช้หลักธรรมค้ำจุนเหล่าชาวเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบโตขึ้นได้ไปพำนักที่เเดนญวน ภายหลังได้กองกำลังสนับสนุนกลับไปยึดเมืองเวียงจันทน์คืน ได้เป็นผลสำเร็จ ประมาณปี พ.ศ. 2245 เเล้วทรงจับพระยาเมืองแสนสำเร็จโทษ เจ้าองค์หล่อจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้างสืบต่อมา[24]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2252 เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นที่นครกาละจำบากนาคบุรีศรี เจ้าราชครูหลวงพยายามจัดการปัญหาด้วยวิธีละมุนละม่อมโดยใช้หลักการทางศาสนาเเต่กลับไม่เป็นผล ท่านจึงส่งจารย์จันทร์ให้ไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก ให้ลงมาปกครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี อภิเสกขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ เจ้าราชครูหลวงถวายพระนามท่านว่า “พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และได้เปลี่ยนนามเมือง ว่า “นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี” เเละให้ชื่ออาณาจักร์คือ “อาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์” เป็นเอกเทศต่างหากจากเวียงจันทน์ มีกษัตริย์เอกราช ปกครองด้วยระบอบการปกครองเช่นกับอาณาจักร์ล้านช้างโบราณทุกประการ (ระบบอาญาสี่) หลังจากท่านได้เป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็สามารถปราบปรามปัญหาความวุ่นวายลงได้อย่างง่ายดาย โดยการช่วยของเจ้าจารย์แก้ว (เจ้าเเก้วมงคล) เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามปัญหาความวุ่นวายภายในอาณาจักร์จนเป็นผลสำเร็จ[21]

ภายหลังอาณาจักร์สงบสุขเรียบร้อยเเล้ว เพื่อสร้างความมั่นคงเเละความเข้มเเข็งของอาณาจักร์ พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จึงขยายอำนาจโดยการส่งเหล่าบรรดาขุนนางเเละพระญาติไปสร้างเมืองขึ้นใหม่เเละให้ปกครองเมืองนั้นๆ โดย ให้จารย์หวดไปสร้างเมืองโขง ให้เจ้าจันทร์สุริยวงศ์ (นับว่าเป็นน้องเจ้าจารย์แก้ว และเป็นบรรพบุรุษของสายเจ้าเมืองมุกดาหาร) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง ส่วนเจ้าจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคลให้ไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด)[21][23][25][26] ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเเหล่งทรัพยากรเกลือสินเธาว์ที่สำคัญของโลก 1 ใน 5 เเห่ง เเละใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งเเต่ยุคสมัยโบราณ (เป็นเเหล่งทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงชาวอาณาจักร์เจนละหรือเศรษฐปุระ จนพัฒนาก่อเกิดเป็นจักรวรรดิขอมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งของภูมิภาคเอเชียอาคเณย์)[27][28] โดยให้จารย์แก้วเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเสมอกษัตริย์ประเทศราช มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดราชการบริหารบ้านเมืองตามแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการ[29][30]และมีการตรากฎหมายหรืออาณาจักร์หลักคำไว้ใช้ในการปกครองบ้านเมืองของตนเอง[31][32][33][34] (พระนามของเจ้าเเก้วมงคลภายหลังมีการได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมือง คือ “รัตนวงษา”) และแต่งตั้งให้เจ้ามืดคำดลเป็นเจ้าอุปราช

ต่อมา เจ้าแก้วมงคลผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิได้ถึงเเก่พิราลัยลง ในปีพ.ศ.2268 มีพระโอรสรวม 3 ท่าน คือ

1) เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (หลานเจ้านครน่าน) เกิดแต่พระชายาท่านแรกซึ่งเป็นเจ้าหญิงนครน่าน เมื่อครั้ง พระเจ้าวิชัยหรือศรีวิชัย กษัตริย์ล้านช้าง พระองค์ที่ 30 ได้ส่งพระราชโอรส ก็คือ เจ้าแก้วมงคล ไปเกี่ยวดองกับกษัตริย์นครน่าน เพื่อกระชับอำนาจระหว่างทั้ง 2 นครรัฐ ต่อมาเจ้าองค์หล่อหน่อคำได้ไปปกครองนครน่าน และได้เปลี่ยนพระนามเมื่อครั้งได้ครองเมืองน่าน ภายหลังเกิดภัยการเมืองถูกพระยาเมืองแสนยึดอำนาจพระเจ้าวิชัยพร้อมด้วยเจ้าแก้วมงคลและเจ้าจันทร์สุริยวงศ์ จึงลี้ภัยไปพึ่งเจ้าราชครูหลวงโพนสเม็กและออกผนวช พร้อมทั้งพากันเปลี่ยนพระนามเพื่อหลีกเลี่ยงฝ่ายพระยาเมืองแสนจากการถูกปองร้ายหรือถูกตามลอบปลงพระชนม์ ซึ่งเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ มีการระบุใน "พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ)" หรือพระยาขัติยวงศา เอกาธิกสตานันท์ ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็จ เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดซึ่งสืบเชื้อสายมาเเต่เจ้าจารย์เเก้ว โดยเเต่เดิม ท่านได้เขียนมอบถึงหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ข้าหลวงธรรมการ มณฑลอิสาน อุบลฯ พิมพ์ครั้งแรกในงานปลงศพนางศรีสุภา (โต เอี่ยมศิริ) มารดาของหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ณ เชิงบรมบรรพต วัดสระเกศ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ได้กล่าวถึง สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ไว้ว่า ".........ครั้นต่อมา เจ้าองค์หล่อหน่อคำ ซึ่งเป็นบุตรจารแก้ว หลานเจ้าเมืองน่าน พาไพร่พลมาสืบหาบิดา ซึ่งรู้ข่าวว่าบิดามาเป็นเจ้าเมือง อยู่ริมสระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ครั้นมาถึงเขตต์เมืองทุ่ง ตั้งค่ายอยู่ระหว่างปากเสียวน้อย ซึ่งเรียกว่าวังหม่านจนบัดนี้นั้น เจ้าองค์หล่อจับได้เพี้ยบุตรตะพานบ้านโนนสูง กวนหมื่นหน้าบ้านเบน ซึ่งยกทัพออกมาต่อสู้กันนอกเมือง เมื่อได้ตัวแม่ทัพสองคนนี้แล้ว จึงซักไล่ไต่ถามหาสระสี่แจง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก แม่ทัพทั้งสองได้แจ้งความให้เจ้าองค์หล่อหน่อคำทราบตลอดแต่ต้นจนถึงปลาย เจ้าอค์หล่อหน่อคำจึงได้ทราบว่าเป็นเมืองบิดาของตน แล้วปล่อยให้แม่ทัพสองคนเข้าไปบอกแก่ท้าวมืดน้องชายให้ทราบทุกประการโดยแน่นอนแล้ว ท้าวมืดรู้ว่าพี่ชายแห่งตน จึงได้แต่งให้แสนท้าวออกไปอัญเชิญเจ้าองค์หล่อหน่อคำให้เข้ามายังเมืองทุ่ง แล้วจัดการรับรองให้เป็นเกียรติยศอันดี แล้วท้าวมืดพร้อมกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ จัดการปลงศพจารแก้วผู้เป็นบิดาตามประเพณีผู้ครองบ้านเมืองมาแต่ก่อน เสร็จแล้วเจ้าองค์หล่อหน่อคำก็ลาท้าวมืดน้องชายกลับคืนไปเมืองน่านตามเดิม........." จึงสรุปได้ดังนี้จากประโยคที่ว่า “สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก” เป็นการกล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นเมืองท่งตามกุศโลบายวิธีทางภาษาของชาวลาว-อีสาน[35][36][37]

2) เจ้ามืดดำดล หรือ ท้าวมืด เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์[21]

3) เจ้าสุทนต์มณี หรือท้าวทนต์ เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์[21]

หลังจากการพิราลัยของเจ้าแก้วมงคล เจ้ามืดดำดลจึงได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแทนพระบิดา ส่วนเจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าอุปราช ปกครองเมืองท่ง ต่อมา เจ้ามืดดำดลผู้พี่ถึงแก่พิราลัยลง เจ้าสุทนต์มณีผู้น้อง จึงได้เป็นเจ้าเมืองท่งสืบต่อแทน[21]

ต่อมาในปีพ.ศ 2308 เจ้าเซียง พระโอรสองค์โตของเจ้ามืด เป็นเจ้าอุปราช และให้เจ้าสูนพระโอรสองค์รองของเจ้ามืด เป็นราชวงศ์ ซึ่งทั้งคู่ล้วนเป็นหลานชายของเจ้าทนต์ ทั้งคู่ต่างมีความอิจฉาเจ้าอาว์ที่ได้เป็นเจ้าเมืองและร่วมมือกันนำเอาทองคำแท่งไปขอสวามิภักดิ์ต่อ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์อยุธยาพระองค์สุดท้าย เพื่อขอกองทัพจากอยุธยาให้ไปช่วยยึดเมืองท่งจากเจ้าอาว์ของพวกตน พระเจ้าเอกทัศ จึงโปรดเกล้าส่ง พระยาพรหม พระยากรมท่า ออกไปรวบรวมกำลังพลจากหัวเมืองขึ้นใกล้บริเวณ (เมืองท่ง) ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อรวบรวมกำลังพลได้แล้วจึงเข้าไปสมทบกับกองทัพของเจ้าเซียงและเจ้าสูน เพื่อที่จะยึดเมืองจากเจ้าทนต์ ทางฝ่ายเจ้าทนต์เจ้าเมืองท่ง ขณะนั้น เมื่อทราบข่าวว่าหลานร่วมมือกับกองทัพอยุธยาจะเข้ามาตีเมืองท่ง เจ้าทนต์เมื่อเห็นว่ากำลังของพวกตนไม่น่าจะพอสู้ได้ อีกทั้งเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร กษัตริย์ล้านช้างจำปาศักดิ์ ทรงพระประชวร (อ่อนเเอ) ไม่สามารถส่งกองกำลังมาช่วยเจ้าทนต์ได้ เจ้าทนต์จึงได้พาไพร่พลของตนอพยพหลบหนีออกจากเมือง ไปซ่อนตัวที่บ้านดงเมืองจอก (ในพื้นที่ของอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นเป็นเขตแดนของเมืองท่ง ต่อมาฝ่ายเจ้าเซียงและทัพอยุธยาสามารถบุกเข้ายึดเมืองท่งได้อย่างง่ายดาย (เจ้าเมืองหนีไปแล้ว) ภายหลังจึงมีใบบอกตั้งให้เจ้าเซียงเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ท่านที่ 4 และเจ้าสูนเป็นเจ้าอุปราช ครองเมืองท่งสืบต่อมา เมืองท่งศรีภูมิจึงกลายมาเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และส่งบรรณาการแก่อยุธยา และตัดขาดจากอาอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์มานับแต่บัดนั้น[21][30] เมื่อเรียบร้อยแล้ว พระยาพรหม พระยากรมท่า จึงตั้งสำนักที่ทุ่งสนามโนนกระเบาซึ่งอยู่ในท้องที่เมืองท่ง เพื่อคอยสังเกตการณ์เจ้าเซียงและเจ้าทนต์ 2 อาว์หลาน ต่อมา ทัพพม่าราชวงศ์คองบอง สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตก อาณาจักรอยุธยาจึงเสียกรุง ในปี พ.ศ. 2310

ยุครัฐอิสระ และภายใต้อาณาจักรกรุงธนบุรี แก้

หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ในปีพ.ศ. 2310 ส่งผลให้เมืองท่งศรีภูมิ จึงกลายเป็น รัฐอิสระ อย่างน้อย 7 เดือน[38] เนื่องจากพม่ารุกรานเข้ามาไม่ถึงถิ่นเมืองท่ง พม่ารุกรานเพียงแต่ทางฝั่งเมืองหลวง อย่างกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น และเนื่องจากการล่มสลายของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมืองขึ้นที่สำคัญต่างๆซึ่งเคยขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ต่างล้วนแยกตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน จึงเกิดเป็นก๊กต่างๆหรือชุมนุมขึ้น ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมพระยาตาก (เป็นก๊กที่แข็งแกร่งที่สุด) ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช[39] ซึ่งก๊กต่างๆเหล่านี้ (ยกเว้นชุมนุมพระยาตาก) ต่างพยายามแข็งเมืองต่อกลุ่มอำนาจใหม่ที่แข็งแกร่งของพระยาตาก ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่พยายามจะรวบรวมชาติขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวอีกครั้ง ณ.เวลานี้เมืองท่งศรีภูมิ จึงเปรียบเหมือนเป็นอีกรัฐหรืออีกประเทศหนึ่งที่มีอิสรภาพอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ขึ้นตรงกับรัฐอื่นรัฐใด เจ้าเซียงจึงเป็นเจ้าผู้ครองรัฐอิสระซึ่งมีอำนาจในการบริหารจัดการและปกครองบ้านเมือง-ประชาชนของตนเองได้อย่างเต็มที่ และมีการตรากฎหมายไว้ใช้ในรัฐของตน ซึ่งเรียกว่า "อาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมิ" ซึ่งถูกตราขึ้นมาครั้งแรกโดยเจ้าสุทนต์มณี เจ้าเมืองท่งคนที่ 3 ในปีพ.ศ. 2307 โดยดัดแปลงมาจาก คัมภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวง กฎหมายล้านช้างโบราณ ซึ่งถูกตราขึ้นโดยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง จึงบอกได้ว่าตั้งแต่สร้างเมืองท่งศรีภูมิในปีพ.ศ. 2256 ในยุคเจ้าจารย์แก้ว จนถึงปีพ.ศ. 2307 มีการใช้กฎหมายล้านช้างโบราณอย่างคำภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวงในการปกครองบ้านเมือง และจึงมีการตราเป็นรูปแบบของตัวเองอย่างเป็นทางการหลังจากปีพ.ศ. 2307 เป็นต้นมา ซึ่งอาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมินี้เองยังเป็นต้นแบบของ หลักคำเมืองร้อยเอ็ด หรือ กฎหมายของเมืองร้อยเอ็ดในเวลาต่อมา โดยหลักคำเมืองสุวรรณภูมิมีการใช้งานและมีความสำคัญมาโดยตลอดจนถึงยุคร.5 เมื่อยุบเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองจึงมีการเลิกใช้อาณาจักร์หลักคำและหันมาใช้กฎหมายจากส่วนกลางแทน[31][32][33][34]

ในระหว่างปี พ.ศ. 2310-2311 รัฐท่งศรีภูมิในขณะนั้นมีฐานะเทียบเท่ารัฐเอกราชอื่นๆทุกประการ[38] และต่อมาเมืองท่งได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับก๊กพิมาย เพื่อหาพันธมิตรและกำลังสนับสนุนมาคานอำนาจและป้องกันปัญหาเมื่อหากถูกรุกรานจากข้าศึกหรือศัตรูเก่า โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าอาว์หรือกลุ่มเจ้าสุทนต์มณีที่ยังคงฝักใฝ่และจงรักภักดีกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งนครจำปาสักซึ่งยังคงที่จะซ่องสุมกำลังและรอคอยโอกาศเพื่อที่จะทวง (ยึด) เมืองคืน นอกจากนี้ก็อาจยังมีกลุ่มจากทางอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์โดยตรงและอาณาจักร์ล้านเวียงจันทน์ของพระเจ้าสิริบุญสารที่ควรระแวดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งแต่เดิมก็มีปัญหากันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ซึ่งอาจจะสบโอกาสแว้งมารุกรานและบีบบังคับให้เมืองท่งกลับไปขึ้นต่ออำนาจอาณาจักร์ของตน ในเวลาเมื่อใดไม่ทราบก็เป็นได้ (ซึ่งในเวลาต่อมา ประมาณประมาณปีพ.ศ. 2314 ทางกรุงเวียงจันทน์ได้ร่วมมือกับกองทัพพม่าคองบองจากเชียงใหม่ ทำลายเมืองหนองบัวลำภู และสังหารพระตาซึ่งเป็นเสนาบดีเก่าของเวียงจันทน์และมีปัญหาความบาดหมางกันมาก่อนตายคาสนามรบ) ถือว่าเป็นความฉลาดหลักแหลมของเจ้าผู้ครองเมืองอย่างเจ้าเซียงในการป้องกันและบริหารจัดการบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้ในเวลาตลอดเกือบกว่า 1 ปี เมืองท่งศรีภูมิรอดพ้นจากภัยข้าศึกศัตรูรอบข้างที่อาจจะเข้ามารุกราน

จนกระทั่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สามารถกู้กรุงสำเร็จ และทำลายก๊กพิมายหรือชุมนุมพิมายและเมืองพิมาย จับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ซึ่งเป็นเจ้าชายอยุธยา เชื้อกษัตริย์อยุธยา ได้ พระยาตากจึงเกลี้ยกล่อมให้กรมหมื่นเทพพิพิธสวามิภักดิ์แก่ตน แต่กรมหมื่นเทพพิพิธไม่ยอมสวามิภักดิ์จึงถูกพระยาตากสำเร็จโทษ (ประหารชีวิต)[40] ต่อมาไม่นานพระยาตากสามารถรวบรวมก๊กต่างๆที่กระจัดกระจายให้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นผลสำเร็จ และสถาปนาอาณาจักร์ขึ้นใหม่นามว่า "อาณาจักร์กรุงธนบุรี" และสถาปนาตนเองเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และในปีเดียวกันนั้น หลังจากเมืองท่งศรีภูมิ เป็น อิสระ ได้ไม่นาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้สถาปนาอาณาจักรธนบุรี เสร็จสิ้นแล้ว จึงรับสั่งให้เมืองประเทศราชทุกเมือง ที่เคยสวามิภักดิ์ ต่อ อาณาจักรอยุธยา ให้อยู่ภายใต้อำนาจดังเดิม เจ้าเซียง หรือ เจ้าเซียง จึงได้สวามิภักดิ์ขอเป็นเจ้าเมืองประเทศราช ดังเดิม ต่อมา พระยาพรหม พระยากรมท่า ได้ปรึกษากับเจ้าเซียงเจ้าเมืองท่ง ได้ความว่า ที่ตั้งของเมืองท่งศรีภูมิเดิม มีน้ำกัดเซาะ และมีปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี อันเนื่องมาจากที่ตั้งเมืองใกล้ลำน้ำเสียวมากเกินไป จึงเป็นการดีถ้าหากมีการย้ายที่ตั้งเมืองไปยังดงเท้าสาร (ที่ตั้งที่ทำการอำเภอสุวรรณภูมิ ในปัจจุบัน) เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นดินเนินสูง ปลอดภัยจากภัยพิบัติน้ำท่วม จึงมีใบบอกขอโปรดเกล้าให้ย้ายที่ตั้งเมืองใหม่ พระเจ้าตากจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตามดังนั้น และได้พระราชทานนามเมืองใหม่ ว่า “เมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราช” พร้อมทั้งสถาปนาพระยศ ให้แก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ อย่าง เจ้าเซียง เป็นที่ "พระรัตนวงษา" และให้ใช้พระนามดังกล่าวแก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิทุกท่านที่ได้สืบต่อเป็นเจ้าเมืองสืบต่อไป (ซึ่งพระยศนี้หมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคล ผู้เป็นปฐมราชวงศ์เจ้าผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิ พระองค์แรก)

ส่วนทางฝั่งเจ้าสุทนต์มณีซึ่งยังคงมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ล้านช้างจำปาสักอยู่เนืองๆ นับตั้งแต่หลังพ่ายแพ้สงครามและเสียเมืองท่งให้แก่หลานของตนจึงยังคงกบดานอยู่แถวบริเวณบ้านดงเมืองจอก (บริเวณ ตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามมารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) ซึ่งยังอยู่ในอาณาเขตของเมืองท่งศรีภูมิ ผ่านเลยจากยุคอยุธยาตอนปลาย ยุครัฐอิสระ จนถึงยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2308 - พ.ศ. 2318 รวมระยะเวลากว่า 10 ปี

สร้างเมืองร้อยเอ็ด (สมัยกรุงธนบุรี) แก้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2318 ต่อมาไม่นาน พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้า ส่งพระยาพรหม พระยากรมท่า ขึ้นมาที่ตั้งสำนัก (ทุ่งสนามโนนกระเบา) อีกครั้ง เพื่อให้มาว่ากล่าวประนีประนอมให้อาว์ (เจ้าทนต์) หลาน (เจ้าเซียงและเจ้าสูน) คืนดีต่อกันและกัน จนเป็นผลสำเร็จ อีกทั้ง พระยาพรหม พระยากรมท่าเล็งเห็นว่าเจ้าสุทนต์มณี เป็นผู้มีความสามารถ มีผู้จงรักภักดีและมีไพร่พลในสังกัดเป็นจำนวนมาก และคาดว่าน่าจะเป็นกำลังสำคัญต่อกรุงธนบุรีได้ในอนาคต จึงมีใบบอกโปรดเกล้าตั้ง บ้านกุ่มฮ้างซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณและรกร้างไป อย่าง “เมืองสาเกตุนครสิบเอ็ดผักตู” ขึ้นเป็นเมืองใหม่ ให้นามว่า เมือง “ร้อยเอ็ด” ส่วนชาวท้องถิ่นมักเรียกว่า “ฮ้อยเอ็ด” ตามแบบภาษาไท-ลาว โดยแยกเอาดินแดนทิศเหนือจากเมืองสุวรรณภูมิทั้งหมด แล้วยกฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นต่อกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าให้เจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าเมือง มีพระยศว่า “พระขัติยะวงศา” อันหมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาแต่พระมหากษัตริย์ (เจ้าแก้วมงคลพระบิดาสืบมาแต่กษัตริย์ล้านช้าง) ซึ่งเมืองร้อยเอ็ด ณ.ขณะนี้ จึงมีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เทียบเท่ากับเมืองท่งศรีภูมิหรือเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราช เมืองแม่มาแต่เดิม นับแต่บัดนั้น ค่อมาเจ้าทนต์ได้มีการสร้างวัดวาอาราม ปกครองและปรับปรุงบ้านเมืองให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข โดยเจ้าสุทนต์มณีได้มีการตรากฎหมายขึ้นมาใหม่ ใช้ในการปกครองเมืองร้อยเอ็ดโดยเฉพาะ เรียกว่า “หลักคำเมืองร้อยเอ็ด” อันดัดแปลงและได้รับอิทธิพลมาจาก อาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมิ (กฎหมายเมืองท่ง) และ คัมภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวง (กฎหมายล้านช้างโบราณ)

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แก้

เจ้าทนต์ หลังจากปกครองเมืองร้อยเอ็ดเกือบ 10 ปี จึงเเก่ชราภาพ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าเมืองอีกต่อไปได้ จึงลาออกจากราชการ ในปีพ.ศ. 2326 รัชการที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าทนต์ เป็นที่ “พระนิคมจางวาง” และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสีลัง บุตรชายของเจ้าทนต์ เป็นที่ “พระขัติยวงศา” เจ้าเมืองร้อยเอ็ด คนที่ 2 แต่งตั้งให้ท้าวภูเป็นเจ้าอุปราช และท้าวอ่อนเป็นราชวงศ์ ต่อมาท้าวสีลัง มีความชอบจากการช่วยราชการสงคราม จึงโปรดเกล้า ให้เลื่อนพระยศเป็นที่ “พระยาขัติยะวงศาพิสุทธาธิบดี”

ต่อมาทางฝั่งเมืองสุวรรณภูมิ ในปี พ.ศ. 2330 หลังจากเจ้าสูนได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ คนที่ 5 เจ้าสูนจึงส่งท้าวเพ บุตรชายของเจ้าเซียง และแบ่งไพร่พล ให้ จำนวน 600 คน ไปตั้งเมืองบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานโบราณ อย่าง เมืองหนองหานน้อยและชุมชนเก่า(ชุมชนเก่าบ้านเชียง) แยกออกไปตั้งเมืองใหม่ ให้ชื่อเมืองว่า “เมืองหนองหาน” (อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) โดยขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เพื่อป้องกันไม่ให้หลานของตนคิดที่จะแย่งชิงตำแหน่งเจ้าเมือง[41] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2335 เจ้าสูนถูกทิดโคตรลอบฟันจนถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าเมืองจึงว่าง

ต่อมาท้าวอ่อนผู้เป็นบุตรของเจ้าทนต์ได้รับโปรดเกล้าให้ไปเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ แทนที่เจ้าสูนเจ้าเมืองเดิมที่พึ่งถูกทิตโคตรลอบสังหารจนถึงแก่พิราลัยจึงส่งผลให้ขั้วการเมืองสุวรรณภูมิถูกเปลี่ยนจากฝ่ายเจ้าเซียงเปลี่ยนเป็นฝ่ายเจ้าสุทนต์มณี อันเป็นผลให้ ลูกหลานเจ้าเซียง เจ้าเมืองท่งศรีภูมิ ท่านที่ 4 ไม่พอใจ และรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อครอบรัวของตน (เกรงว่าทางฝ่ายเจ้าสุทนต์จะกลับมาแก้แค้น) จึงต่างพร้อมใจพากันไม่สมัครทำราชการขึ้นต่อท้าวอ่อน ในสมัยนี้จึงมีการแยกกันไปสร้างเมืองที่สำคัญขึ้นใหม่หลายแห่ง เช่น เมืองชลบทวิบูลย์ (อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น) ในปีพ.ศ. 2335 เมืองขอนแก่น (จังหวัดขอนแก่น) ในปีพ.ศ. 2340 เมืองพุทไธสง (อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์) ในปีพ.ศ. 2342 เป็นต้น[37][42][43][41]

ต่อมาหลังจากเสร็จศึกปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2371 ต่อมาในปี พ.ศ. 2372 รัชการที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ให้ท้าวภู บุตรชายของเจ้าทนต์และยังเป็นน้องชายของท้าวสีลังและท้าวอ่อนไปเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ สืบต่อมา เนื่องด้วยความดีความชอบจากการช่วยราชการสงครามครั้งไปช่วยรบในคราวศึกปราบเจ้าอนุวงศ์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย และสร้างเมืองมหาสารคามแยกออกจากเมืองร้อยเอ็ด (รัชกาลที่4) แก้

หลังจากที่พระยาขัติยะวงศา(สีลัง) ถึงแก่พิราลัย เจ้าอุปราชสิงห์ พร้อมด้วยราชวงศ์อิน กรมการเมืองร้อยเอ็ด บุตรชายท้าวสีลัง ได้นำใบบอกไปขอศิลาหน้าเพลิง ที่กรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิสัยสรเดช (ท้าวตาดี) เจ้าเมืองโพนพิสัยคนแรก (ปัจจุบันคือ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) ซึ่งถูกเรียกลงไปยังกรุงเทพ ให้ไปเป็นผู้รักษาราชการเมืองร้อยเอ็ดแทนพระบิดาของตน (ท้าวตาดี เป็นบุตรชายคนโตของท้าวสีลัง) ต่อมาหลังจากจัดการพระราชทานเพลิงศพท้าวสีลัง พระบิดาของพวกตน เรียบร้อยแล้ว เจ้าอุปราชสิงห์ได้มีการจัดให้มีการเล่นโปขึ้น ที่หอนั่งในจวนเจ้าเมือง อุปราชสิงห์จึงชักชวนให้พระพิสัยฯ (พี่ชาย) ให้ไปร่วมเล่นด้วย พระยาพิสัยฯจึงตอบตกลง ระหว่างที่กำลังเล่นกันอยู่นั้นก็มีคนร้ายลอบแทงพระยาพิสัยฯ โดนที่สีข้างด้านซ้ายจนถึงแก่ความตาย ซึ่งในขณะเดียวกัน ท้าวภู หรือพระรัตนวงษา(ภู) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ น้องชายของท้าวสีลัง ก็ขึ้นมาปลงพระศพของผู้เป็นพี่ชายด้วย ท้าวภูจึงพร้อมกับกรมการเมืองได้พยายามทำการสืบหาเสาะหวตัวคนร้าย จึงได้ความว่า มีชายเชื้อสายจีนคนหนึ่งนามว่า “จั๊น” หรือมีฉายาว่า ”เจ๊กจั๊น” ซึ่งเคยเป็นคู่อริกับท้าวสีลังมาก่อนหน้านั้น เป็นคนร้ายที่ลอบแทงท้าวสีลังจนถึงแก่ความตาย อีกทั้งท้าวภู มีความสงสัยในเจ้าอุปราชสิงห์หลานชายของตน เนื่องจากเป็นผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์และเป็นผู้จัดงานในการเล่นโปจนเป็นที่มาของเหตุโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นนี้ และท้าวภูยังคิดว่าการที่ท้าวตาดีซึ่งได้เป็นเจ้าเมืองโพนพิสัยอยู่แล้วกลับได้รักษาการเมืองร้อยเอ็ด แทนที่จะเป็นอุปราชสิงห์ อาจเป็นเหตุให้เจ้าอุปราชสิงห์มีความอิจฉาและอาจวางแผนที่จะสังหารพี่ชายของตน จึงจับตัวท้าวสิงห์พร้อมกับเจ๊กจั๊นส่งลงไปยังกรุงเทพฯ ระหว่างการเดินทางใกล้ที่จะถึงเมืองนครราชสีมานั้น ท้าวสิงห์ได้กินยาพิษจนถึงแก่ความตายก่อน ซึ่งยังไม่ได้มีการไต่สวนพิพากษาคดีให้ชัดแจ้งแต่ประการใด คดีจึงเป็นอันระงับและเป็นที่กังขาต่อลูกหลานของท่านตลอดมา

ต่อมาท้าวกวดบุตรชายของท้าวสิงห์ ซึ่งมีอายุ 11 ขวบ ในขณะที่บิดาของตนกำลังถูกส่งไปยังกรุงเทพฯ (ไปไม่ถึงกรุงเทพฯ) ผู้เป็นมารดาและญาติที่ใกล้ชิดหวาดระแวงและเกรงกลัวว่าท้าวกวดจะได้รับอันตรายตามบิดาของตนไปด้วย จึงส่งตัวท่านให้ไปอยู่ที่เมืองสุวรรณภูมิ ต่อมาพระญาติเกรงว่าถ้าหากท้าวกวดยังอยู่ใกล้กับถิ่นฐานของตนมากเกินไปอาจจะเกิดภัยอันตรายขึ้นได้ง่าย (อาจมีคนที่ใกล้ชิดคิดปองร้าย) ท้าวกวดจึงถูกส่งตัวไปยังเขตแขวงเมืองยโสธรโดยพระญาติมิได้มีการฝากฝังไว้กับใครเลย ท้าวกวดจึงกลายเป็นคนพเนจร เดินทางอย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพัง อาศัยนอน กิน อยู่ตามถนนหนทาง และศาลาวัด(วัดใกล้เมืองยโสธร) ขอเศษข้าวเศษอาหารจากญาติโยมที่เอานำไปถวายวัด ไปวันๆ มีความทุกข์ทรมาณ จากลูกผู้ดี ชนชั้นเจ้านาย มีอันจะกิน ต้องตกระกำลำบาก เช่นนี้ นานถึง 6 เดือนกว่า จึงจะโชคดี และได้พบกับสมภารทองสุก (ชาวยโสธร) ขณะที่ ท้าวกวดกำลังนอนหลับบนศาลา สมภารทองสุกจึงปลุกและถามสารทุกข์สุขดิบกับท้าวกวดว่าเหตุใดจึงมานอนบนศาลาเช่นนี้ ท้าวกวดจึงเล่าความจริงให้แก่สมภารทองสุกให้ได้ทราบ สมภารทองสุกจึงเกิดความสงสาร จึงได้ทำการบรรพชาให้ท้าวกวดเป็นสามเณร เล่าเรียนภาษาบาลีและภาษาไทย ศึกษาพระธรรมวินัย จนรู้ลึกและแตกฉาน ต่อมาได้อุปสมบทต่อได้ประมาณ 2 พรรษา ก็ได้ลาสิกขา ออกไปทำราชการขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี ได้รับการดูแลอย่างดีจากกรมการเมืองอุบลฯ จนมีความดีความชอบจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ “ท้าวมหาชัย”

จนต่อมา ท้าวกวดได้รับจดหมายจากพระขัติยะวงศา (จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เรียกตัวให้กลับไปทำงานรับราชการที่เมืองร้อยเอ็ดท้าวกวดจึงได้กลับไปรับราชการที่เมืองร้อยเอ็ดและอยู่กับพระญาติของตน เมื่อราวประมาณปี พ.ศ. 2399 และในปีพ.ศ. 2402 รัชการที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ข้าหลวงกองสักออกไปสักเลขทางหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ กรมการเมืองร้อยเอ็ดได้นำตัวเลขไปสัก ปรากฎว่ามีจำนวนมากถึง 13,000 คนเศษ ท้าวจันทร์ เจ้าเมืองร้อยเอ็ดจึงคิดว่า พลเมืองของเมืองร้อยเอ็ดมีจำนวนมากอีกทั้งท้าวกวดมีความชอบในราชการมากมาย ทั้งซื่อสัตย์ มีสติปัญญาที่ดี สมควรได้เเยกออกไปตั้งเมืองใหม่ เป็นเจ้าเมือง ท้าวจันทร์จึงถกกันกับกรมการเมืองร้อยเอ็ด ผลปรากฎว่า ต่างเห็นดีเห็นชอบให้เเยกออกไปตั้งเมืองใหม่ ท้าวจันทร์เจ้าเมืองร้อยเอ็ดจึงเห็นชอบ ให้ท้าวกวดเเยกออกไปตั้งเมืองใหม่ขึ้น ซึ่งท้าวมหาชัยหรือกวดนี้เอง เป็นต้นตระกูล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

ภายหลังจากการเห็นดีเห็นชอบ ต่อมาท้าวกวดตัดสินใจเสนอที่ตั้งเมืองในสองบริเวณ คือ บ้านลาดเเละกุดยางใหญ่ ขึ้นเป็นเมืองมหาสารคาม โดยคำว่า ”กุด” ภาษาลาวอีสานโบราณเเปลว่า “เเหล่งน้ำ” ดังนััน กุดยางใหญ่ จึงเเปลว่า เเหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยต้นยางขนาดใหญ่ ส่วนบ้านลาดนั้นเป็นบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึงเนื่องจากเป็นเนินดินสูง ต่อมา รัชกาลที่ 4 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก “บ้านลาดกุดยางใหญ่” หรือที่เเผลงมาเป็น “บ้านลาดกุดนางใย” เป็น เมืองมหาสาลคาม (ภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น “มหาสารคาม”) เเปลงจากชื่อภาษาไท-ลาว เป็น ภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งเเปลตามตัวได้ดังนี้ มหา เเปลว่า “ใหญ่” สาล เเปลว่า ต้นยาง เเละ คาม เเปลว่า “กุฏิ” หรือที่อยู่อาศัย เเต่ส่วนกลางน่าจะเข้าใจผิด เข้าใจไปเองว่า กุด เเปลว่า “กุฏิ” เเต่เเท้ที่จริง กุด เเปลว่า “เเหล่งน้ำ” ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นที่ พระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคามท่านเเรก โดยตั้งให้ ท้าวบัวทอง (พานทอง) เป็นอรรคฮาช ท้าวไชยวงศา (ฮึง) ซึ่งเป็นบุตรท้าวสีลัง เป็นอรรควงศ์ ท้าวเถื่อน ซึ่งเป็นบุตรท้าวจันทร์ เป็นอรรคบุตร ยกเมืองมหาสารคาม เป็นเมืองขึ้นของเมืองร้อยเอ็ด ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408

ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 ให้เเยกเมืองมหาสารคามออกจากเมืองร้อยเอ็ดเเละยกฐานะเมืองมหาสารคามขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนตำเเหน่งยศ ของอรรคฮาช อรรควงศ์ เเละ อรรคบุตรให้เลื่อนขึ้นเป็นอุปฮาช(อุปราช) ราชวงศ์ ราชบุตร ตามลำดับ

ศึกปราบฮ่อที่เมืองหนองคาย เเละการยกฐานะเมืองมหาสารคามเป็นเมืองประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย แก้

ต่อมา พ.ศ. 2418 พวกฮ่อได้ยกทัพมาตีหัวเมืองขึ้นเเละประเทศราชของไทย ยึดเมืองหลวงพระบางเเละเมืองพวนได้จึงรุกต่อมาจะยึดบริเวณที่เคยเป็นเมืองเวียงจันทน์ (เดิม) เเต่ร้างไป ซึ่งเป็นเขตเเดนของเมืองหนองคายในขณะนั้นเเละจะยึดเมืองหนองคายอย่างต่อเนื่อง รัชการที่ 5 ทรงโปรดเกล้าให้ พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ขึ้นไปปราบโจรฮ่อที่เมืองหนองคาย พระยามหาอำมาเขา (ชื่น) ได้สั่งให้พระเจริญราชเดช (กวด) เป็นเเม่ทัพหน้า เเละให้ราชบุตรเสือ เมืองร้อยเอ็ดเป็นนายกองผู้ช่วยพระเจริญราชเดช (กวด) เกณฑ์กำลังเมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม ยกไปสมทบกับทัพเมืองอุบลราชธานีและเมืองกาฬสินธุ์ ทัพไทยได้ยกไปตีจนฮ่อแตกพ่าย ซึ่งระหว่างการทำศึก ราชบุตร (เสือ) ถูกฮ่อยิงโดนมือขวาจนเลือดไหล ไพร่พลจึงช่วยกันพยุงพากลับเมือง ส่วนทางฝั่งพระเจริญราชเดช (กวด) ได้ถูกฮ่อยิงที่แขนซ้ายเเละต้นขาซ้าย อาการสาหัส ไพร่พลจึงพากันช่วยพยุงจะพากลับ แต่พระเจริญราชเดช (กวด) ไม่ยอมกลับ อ้างว่า “กลับไปก็อายเขา เมื่อถึงที่ตายก็ขอให้ตายในที่รบ” จึงสั่งให้ไพร่พลพาขึ้นหลังม้าเเละออกไปรบต่อ

ต่อมากองทัพไทยได้ชัยชนะ ตีพวกฮ่อจนแตกหนีไป ทัพไทยจับพวกฮ่อเป็นเชลยได้จำนวนมากพร้อมอาวุธมากมาย หลังจากเสร็จศึกปราบฮ่อเรียบร้อยเเล้ว. พระยามหาอำมาตย์(ชื่น) ข้าหลวงใหญ่ภาคอีสานกลับไปจัดราชการอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ดต่อ ส่วนพระเจริญราชเดช (กวด) ซึ่งถูกยิงจนอาการสาหัส มีอาการป่วยได้กลับมาพักรักษาตัวที่เมืองมหาสารคาม

ด้วยคุณงามความดีของท่าน รัชการที่ 5 จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเลื่อนฐานะของท้าวกวด ให้เทียบเท่าเจ้าเมืองประเทศราช ยกฐานะเมืองมหาสารคามเป็นเมืองประเทศราช พระราชทานนามบรรดาศักดิ์ ให้แก่ พระเจริญราชเดช (มหาชัยกวด) เป็นที่ พระเจริญราชเดชวรเชษฐมหาขัติยพงศ์สุรชาติ ประเทศราชธำรงค์รักษ์ ศักดิ์กิติยศเกรียงไกร ศรีพิชัยเทพวราฤทธิ์พิษณุพงศ์ปรีชา สิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาล ถือได้ว่าท่านได้รับพระราชทินนามที่สมศักดิ์ศรีของเจ้าเมืองประเทศราชที่ได้กระทำคุณงามความดีให้แก่แผ่นดินไทย และต่อมา เป็นผลมาจากความบอบช้ำสาหัสจากสงคราม ท่านจึงได้ถึงแก่พิราลัยลง ในปีพ.ศ. 2421 สิริมายุรวม 43 ปี พระเจริญูราชเดช หรือท้าวมหาชัย (กวด) มีอีกพระนามว่า "อาชญาพ่อหลวงมหาชัย" อันเนื่องมาจากท่านเป็นที่เคารพนับถือของลูกหลานชาวมหาสารคาม จากคุณงามความดีที่ท่านได้ทำไว้เเก่ชาติบ้านเมือง ปกป้องบ้านเมืองด้วยชีวิต อย่างกล้าหาญเเละไม่กลัวตาย

หลังศึกปราบฮ่อ แก้

ต่อมา เจ้าอุปราชฮึง เล็งเห็นว่า ท้าวสุพรรณ บุตรพระเจริญราชเดชสมควรที่จะขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่อไป จึงร่วมกันปรึกษากับกรมการเมือง จึงเป็นที่เเน่ชัดว่าควรให้ท้าวสุพรรณลงไปกรุงเทพฯ เพื่อขอพระราชทานเป็นเจ้าเมือง เเต่ปรากฎว่าระหว่างการเดินทางลงกรุงเทพท้าวสุพรรณได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนในระหว่างทาง ตำแหน่งเจ้าเมืองมหาสารคามจึงได้ว่างเว้นไปถึง 2 ปี โดยมีผู้รักษาการคือเจ้าอุปราช(ฮึง)

พ.ศ. 2422 ขุนหลวงสุวรรณพันธนากร (คำภา) เเละขุนสุนทรภักดี ผู้ที่หลอกตัวเองว่าเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์เที่ยวอ้างไปทั่ว โดยอ้างว่าตนขึ้นมาช่วยชำระคดีเเก่ราษฎร เจ้าอุปราช (ฮึง) ไม่เชื่อจึงจับตัวทั้งคู่ ส่งตัวลงไปยังกรุงเทพฯ ในปีเดียวกัน ผลปรากฎว่าเป็นพวกหลอกลวงต้มตุ๋นจริง จากความดีความชอบ รัชการที่ 5 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าอุปราช (ฮึง) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองมหาสารคาม เป็นที่ “พระเจริญราชเดช” (ฮึง) และในปีเดียวกันได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ขึ้นเป็นเมืองชั้นตรีขึ้นกับเมืองชั้นเอกอย่างเมืองสุวรรณภูมิ เเรกเริ่มตั้งเมืองเลยเขตเเดนมายังเขตเมืองมหาสารคาม ภายหลังถูกเจ้าเมืองมหาสารคามท้วงติง จึงถอยกลับไปตั้งเมืองในเขตเเดนเมืองสุวรรณภูมิเเทน เนื่องด้วยสาเหตุดังกล่าว เพื่อความได้เปรียบในการรับรองเขตเเดน

ปี พ.ศ. 2425 เจ้าเมืองมหาสารคาม มีใบบอกขอโปรดเกล้า ยกบ้านนาเลาขึ้นเป็นเมือง “วาปีปทุม” เเต่ไม่ได้ไปตั้งเมืองที่บ้านนาเลา ตามที่ร้องขอไว้ แต่กลับไปตั้งที่บ้านหนองแสงเเทน (เเย่งเขตเเดนของเมืองสุวรรณภูมิ) และต่อมาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านวังทาหอขวาง (บึงกุย) ขึ้นเป็นเมือง “โกสุมพิสัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 เจ้าอุปราชเมืองสุวรรณภูมิ (รักษาการ) มีใบบอกกล่าวโทษต่อ เมืองมหาสารคาม เมืองศรีสะเกษ เมืองสุรินทร์ ว่าแย่งเอาเขตของตนไปตั้งเป็นเมือง กล่าวคือ เมืองมหาสารคาม ขอเอาบ้านนาเลาตั้งเป็นเมืองวาปีปทุมขึ้นเมืองมหาสารคาม (ซึ่งไม่ได้ตั้งตามที่ขอไว้ เเต่ไปตั้งเมืองล้ำเข้าไปในเขตเมืองสุวรรณภูมิจริง) เมืองศรีสะเกษ ขอเอาบ้านโนนหินกองตั้งเป็นเมืองราษีไศลขึ้นเมืองศรีสะเกษ เเละเมืองสุรินทร์ ขอเอาบ้านทัพค่ายตั้งเป็นเมืองชุมพลบุรีขึ้นเมืองสุรินทร์ จึงได้โปรดเกล้า ให้ข้าหลวงนครจำปาศักดิ์ ข้าหลวงอุบลราชธานี ให้ทำการไต่สวนว่ากล่าวในเรื่องนี้ ผลการสอบสวนปรากฎว่าได้คำสัตย์จริงดังที่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิได้กล่าวโทษไว้ แต่เมืองเหล่านี้ได้ตั้งมานานหลายปีแล้ว อีกทั้งยังมีชุมชนตั้งเป็นหลักเป็นเเหล่งอย่างเข้มเเข็ง จึงรื้อถอนได้ยาก จึงทรงโปรดเกล้า ให้เมืองวาปีปทุม เมืองราษีไศล เมืองชุมพลบุรี เป็นเมืองขึ้นของเมืองมหาสารคาม เมืองศรีสะเกษ เมืองสุรินทร์ ตามลำดับตามเดิม โดยมิให้โยกย้ายหรือรื้อถอนเเต่ประการใด

การลดทอนอำนาจของเจ้าเมืองประเทศราชเเละเมืองขึ้นในดินเเดนภาคอีสานให้มาอยู่ในการกำกับดูเเลของข้าหลวงต่างพระองค์ เเละการเปลี่ยนเเปลงการปกครอง แก้

ต่อมาในปีพ.ศ. 2433 โปรดเกล้า ส่งข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ ไปกำกับราชการ(หัวเมืองตะวันออก) เเบ่งออกเเป็น 4 ส่วน คือ 1.หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ 2.หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง 3.หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก 4.หัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเมืองมหาสารคามขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยข้าหลวงถูกส่งมาจากส่วนกลางให้มาช่วยกำกับดูเเลเจ้าเมือง (การจะกระทำการอันใดจะต้องผ่านความเห็นชอบของข้าหลวงกำกับเมืองด้วย จึงจะพึงปฏิบัติได้) ถือว่าเป็นการลดทอนอำนาจของเจ้าเมืองพื้นถิ่นลงไปอย่างมาก กล่าวคือ เมืองประเทศราชหรือฐานะของความเป็นเมืองประเทศราชของเมืองต่างๆภายในภาคอีสานต่างถูกยุบเเละยกเลิกอย่างเป็นทางการเเละขึ้นกับส่วนกลางโดยตรงตั้งเเต่ครั้งที่ส่วนกลางส่งข้าหลวงมากำกับดูเเลเจ้าเมืองนั้นเอง (ตั้งเเต่ ปี พ.ศ. 2433 เป็นต้นมา) ส่วนข้าหลวงกำกับเมืองก็ขึ้นตรงกับข้าหลวงใหญ่เเต่ละฝ่าย เเละข้าหลวงใหญ่ขึ้นตรงกับส่วนกลางอีกที ซึ่ง เมืองมหาสารคาม ร้อยเอ็ด และเมืองกาฬสินธุ์ ขึ้นอยู่ในความปกครองของข้าหลวงเมืองอุบลฯ(ในกรณีเมืองชั้นเอกจะขึ้นกับทั้งข้าหลวงที่ถูกส่งไปกำกับเเละขึ้นกับกรุงเทพควบคู่กัน ในส่วนเมืองชั้นตรีโทจัตวาจะขึ้นกับเมืองชั้นเอกอีกทีหนึ่ง เเละเมืองชั้นเอกไม่ได้ขึ้นตรงต่อกันเเละกันเเม้ว่าเมืองชั้นเอกเมืองใดจะเป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการข้าหลวงก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เมืองกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นเมืองชั้นเอกขึ้นกับข้าหลวงเมืองอุบลโดยข้าหลวงท่านหนึ่งสามารถกำกับเเละมีเจ้าเมืองชั้นเอกขึ้นตรงได้หลายเมือง เเต่เมืองกาฬสินธุ์ไม่ได้ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานีเเต่ขึ้นกับกรุงเทพฯ (เพราะเมืองอุบลราชธานีก็คือเมืองชั้นเอกที่ต้องขึ้นกับข้าหลวงกำกับเเละขึ้นกับกรุงเทพฯด้วยเช่นกัน) เเละเมืองกุดสิมนารายณ์ซึ่งเป็นเมืองชั้นตรีก็ขึ้นกับเมืองกาฬสินธ์อีกที เป็นต้น ดังนั้น ตำเเหน่งข้าหลวงกำกับชื่อเมืองนั้นๆ,ข้าหลวงใหญ่,ข้าหลวงประจำบริเวณหรือมณฑลนั้นๆที่มีชื่อต่อท้ายด้วยชื่อเมืองนั้นๆ จึงเป็นเพียงเเค่การใช้พื้นที่หรือเขตเเดนของเมืองนั้นๆบางส่วนไปตั้งกองบัญชาการข้าหลวง (ศูนย์กลาง) ขึ้นเเละเมืองหรือเจ้าเมืองที่กองบัญชาการข้าหลวงนั้นๆได้ไปตั้งก็ต้องขึ้นกับกองข้าหลวงนั้นๆที่ได้ไปตั้งในพื้นที่เมืองของตนด้วยเฉกเช่นเดียวกัน)

ต่อมา ส่วนกลางส่งให้นายรองชิต (เลื่อง ณ นคร ) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองร้อยเอ็ดเเละเมืองมหาสารคาม ซึ่งตั้งที่ทำการข้าหลวงอยู่ที่เมืองมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2435 (เป็นครั้งเเรก)

พ.ศ. 2437 มีการโอนเมืองชุมพลบุรีจากเเขวงเมืองสุรินทร์ให้มาขึ้นตรงต่อเมืองมหาสารคามชั่วคราว ต่อมาประมาณ 6 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2443 มีการยุบเมืองชุมพลบุรีเป็นอำเภอชุมพลบุรีแล้วจึงโอนย้ายกลับไปขึ้นกับเมืองสุรินทร์เหมือนเดิม) ในปีเดียวกันนั้น มีการแบ่งหัวเมืองในมณฑลอีสานออกเป็นบริเวณ 5 บริเวณ(ซึ่งเมืองในสังกัดบริเวณไม่จำเป็นจะต้องขึ้นตรงหรือกลายเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองที่ถูกตั้งเป็นศูนย์กลางบริเวณเสมอไป) โดยเเบ่งออกเป็นได้ดังนี้ คือ 1) บริเวณอุบล 2) บริเวณจำปาศักดิ์ 3) บริเวณร้อยเอ็ด 4) บริเวณบริเวณขุขันธ์ 5) บริเวณสุรินทร์ โดยที่บริเวณร้อยเอ็ดมีเมืองที่สังกัดต่อข้าหลวงประจำบริเวณ ทั้งหมด คือ 5 หัวเมือง คือ 1) เมืองร้อยเอ็ด 2) เมืองมหาสารคาม 3) เมืองกาฬสินธุ์ (ถูกยุบลงเป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด ภายหลังเมื่อมีการตั้งมณฑลร้อยเอ็ดขึ้น จึงถูกยกฐานะเป็นจังหวัดอุทัยกาฬสินธุ์ เเล้วต่อมาถูกยุบเป็นอำเภอหลุบขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม อีกครั้งใน ปี 2474 ในยุคข้าวยากหมากเเพง แล้ว กลับตั้งเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้นใหม่ เมื่อปี 2490) 4) เมืองสุวรรณภูมิ (ภายหลังถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด) 5) เมืองกมลาไสย (ภายหลังถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์)

ในปี พ.ศ. 2440 ได้มีการให้ยุบตำเเหน่งเจ้าเมือง เป็น ผู้ว่าราชการเมือง ลดบทบาทเจ้าเมืองลงให้มาขึ้นกับส่วนกลางอย่างเต็มที่

พ.ศ. 2443 อุปฮาด (เถื่อน รักษิกจันทร์) ได้รักษาการเมืองมหาสารคาม เป็นผู้ว่าราชการเมือง หรือ เจ้าเมืองคนที่ 3

พ.ศ. 2444 เมืองมหาสารคาม มีอำเภอภายใต้การปกครอง ทั้งหมด 4 อำเภอ ได้เเก่ อำเภออุทัยสารคาม อำเภอประจิมสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย เเละอำเภอวาปีปทุม

พ.ศ. 2446 มีการยุบตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองทิ้ง เเละในปีเดียวกัน พระพิทักษ์นรากร(อุ่น) ได้เป็นผู้ว่าราชการเมือง ต่อมาภายหลัง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ 4 มีทินนามว่า "พระเจริญราชเดช(อุ่น)"

พ.ศ. 2451 ส่วนกลางเปลี่ยน บริเวณ เป็น เมือง กล่าวคือ ให้บางบริเวณที่เป็นที่ตั้งศูนย์กลางบริเวณ (เมืองใหญ่ที่สุดในบริเวณ) ให้เปลี่ยนเป็นเมือง (เทียบเท่าจังหวัด) เเละให้เมืองบริวาร (เมืองรองในบริเวณ) ลดฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองที่เป็นที่ตั้งศูนย์กลางบริเวณ เเละในปีเดียวกัน ภายหลังมีการยุบเมืองสุวรรณภูมิให้กลายเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อจังหวัดร้อยเอ็ด จึงมีการโอนอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของเมืองสุวรรณภูมิ ให้โอนไปขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด

ในปี พ.ศ. 2456 มีการเปลี่ยน ที่ว่าการเมือง เป็น ศาลากลางจังหวัด และเปลี่ยนคุ้มของเจ้าเมือง เป็น จวนผู้ว่าราชการเมือง

พ.ศ. 2454 ย้ายอำเภอประจิมสารคาม ไปทางทิศตะวันตก เเละเปลี่ยนนาม เป็น อำเภอท่าขอนยาง และเปลี่ยนนามอำเภออุทัยสารคาม เป็น อำเภอเมืองมหาสารคาม

พ.ศ. 2459 มีการยกเลิกตำแหน่งปลัดมณฑลประจำจังหวัด เเละในปีเดียวกัน มีการเปลี่ยนชื่อผู้ว่าราชการเมือง เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด

พ.ศ. 2456 รัชการที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมณฑลใหม่ขึ้นเป็น ”มณฑลร้อยเอ็ด” ตั้งที่ทำการมณฑลที่เมืองร้อยเอ็ด ซึ่งมณฑลร้อยเอ็ดประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม เเละจังหวัดกาฬสินธุ์ ในปีนี้ได้มีการจัดตั้งศาลยุติธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกของจังหวัดมหาสารคาม มีการโอนอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยจากจังหวัดร้อยเอ็ดให้มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เเละโอนอำเภอกันทรวิชัย (อำเภอโคกพระ) จากจังหวัดกาฬสินธุ์ให้มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม ในปีเดียวกันนี้ จังหวัดมหาสารคามจึงมีอำเภอภายใต้การปกครองรวมทั้งหมด 6 อำเภอ ได้เเก่ 1) อำเภอเมืองมหาสารคาม 2) อำเภอโกสุมพิสัย 3) อำเภอเมืองวาปีปทุม 4) พยัคฆภูมิพิสัย 5) อำเภอท่าขอนยาง (อำเภอบรบือ) 6) อำเภอกันทรวิชัย (อำเภอโคกพระ)

ในปี พ.ศ. 2457 ได้มีการสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ ก่อสร้างเสร็จในปี 2467

ต่อมา พ.ศ. 2468 โปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ดเป็นจังหวัด โอนจังหวัดทั้งหมดที่เคยขึ้นตรงต่อมณฑลร้อยเอ็ด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ไปขึ้นอยู่กับมณฑลนครราชสีมา

พ.ศ. 2474 ในยุคข้าวยากหมากเเพง ส่งผลให้ต้องมีการลดค่าใช้จ่ายเเละงบประมาณลง จึงได้มีการยุบจังหวัดกาฬสินธุ์ (หรืออุทัยกาฬสินธุ์) ลงเป็นอำเภอ ให้มารวมกับจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งอำเภอเมืองอุทัยกาฬสินธ์จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ”อำเภอหลุบ” ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เเละโอนอำเภอที่เคยขึ้นต่อจังหวัดกาฬสินธุ์มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคามทั้งหมด รวมอำเภอที่ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคามได้ทั้งหมดเป็น 11 อำเภอ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งเเรกที่อาณาเขตของจังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา (รวมพื้นทั้งจังหวัดมหาสารคามเเละจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน)

การเปลี่ยนเเปลงการปกครองหลัง การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 แก้

ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนเเปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยคณะราษฎร์ ซึ่งนำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช และพระยาฤทธิอาคเณ

ในวันที่ 10 ธันวาคาม พ.ศ. 2475 รัชการที่ 7 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ชาวสยาม ในปีเดียวกัน จังหวัดมหาสารคามได้จัดตั้ง “สาขาสมาคมคณะ ราษฎร์” ประจําจังหวัดมหาสารคาม ขึ้นเป็นครั้งเเรก

ในปี พ.ศ. 2476 เดือนกันยายน จังหวัดมหาสารคาม มีการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้เเทนตำบล เป็นครั้งเเรก เเละ ในปีเดียวกัน เดือน พฤศจิกายน จังหวัดมหาสารคาม มีการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร เป็นครั้งเเรก โดยให้ผู้แทนตําบลทั่วทั้งจังหวัดเป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง เเละต่อมา ได้เปลี่ยน ”ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็น “ข้าหลวงประจําจังหวัด” ภายหลังได้เปลี่ยนกลับมาใช้คําว่า” ผู้ว่าราชการจังหวัด” อีกครั้ง

ต่อมาใน พ.ศ. 2496 ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม สร้างเสร็จสิ้น เเละใช้งานเรื่อยมาจนจวบปัจจุบัน โดยจังหวัดมหาสารคาม ในปีเดียวกันนี้ มีเขตการปกครอง ทั้งหมด 10 เเห่ง โดย เเบ่งเป็น อำเภอ 9 เเห่ง เเละกิ่งอำเภอ 1 เเห่ง ได้เเก่ 1.อําเภอเมืองมหาสารคาม 2.อําเภอบรบือ 3.อําเภอกันทรวิชัย 4.อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย 5.อําเภอนาดูน 6.อําเภอวาปีปทุม 7.อําเภอนาเชือก 8.อําเภอเชียงยืน 9.อําเภอโกสุมพิสัย 10.กิ่งอําเภอแกดํา (ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอเเกดำ)[44]

  1. "สะดืออีสาน". www.m-culture.go.th.
  2. esan108.com (2015-10-10). "ทำไมจังหวัดมหาสารคาม ถึงได้ชื่อว่า "ตักสิลานคร"". อีสานร้อยแปด.
  3. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/24/Southeast_Asian_history_-_13th_century_%28Thai_language%29.png
  4. "สมัยกรุงสุโขทัย". dwhistorythai. 2011-11-08.
  5. พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกพร้อม มิตรภักดี (พระยานรินทร์ราชเสนี). พ.ศ. 2486.
  6. Wyatt, David K., Thailand: A Short History, New Haven (Yale University Press), 2003. ISBN 0-300-08475-7
  7. ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์, " "วีรชน" ลาว: กรณีศึกษาผ่านงานเขียนประเภทชีวประวัติช่วง ค.ศ. 1986-2010", มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2554): 132-133.
  8. ยศ สันตสมบัติ และคณะ, นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพ และสิทธิชุมชน, (เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, 2547), หน้า 278.
  9. ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์. “บทบาทของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ในประวัติศาสตร์อยุธยา.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 32, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557): 11-31.
  10. http://mcmac.udru.ac.th/mcmac_files/vol1_2_4.pdf
  11. กรมศิลปากร. (2545). นิทานเรื่องขุนบรมราชา พงศาวดารเมือง ลานช้าง. ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 9. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
  12. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 76
  13. 13.0 13.1 ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 178-179
  14. พงศาวดารโยนก, หน้า 377
  15. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545. 368 หน้า.
  16. 16.0 16.1 มหาบุนมี เทบสีเมือง. ความเป็นมาของชนชาติลาว เล่ม 2 อาณาจักรลาวล้านช้างตอนต้น. แปลโดย ไผท ภูธา. กทม. สุขภาพใจ. 2554 หน้า 248 – 256
  17. พม่ารบไทย, หน้า 289
  18. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 91
  19. สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:มติชน, 2554.
  20. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 21.7 "จำปานคร: ประวัติความเป็นมา". จำปานคร.
  22. “มรดกโลกที่วัดพู” ฟื้นฝอยหามรดกยุคอาณานิคมของอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส. มูลนิธิ-ประไพร วิริยพันธุ์. 2016-2-1
  23. 23.0 23.1 สิลา วีระวงส์. พงศาวดารลาว. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการ, 2500.
  24. "ยาคูขี้หอม พระครูโพนสะเม็ก หรือเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก สปป.ลาว". ๑๐๘ พระเกจิ. 2020-10-29.
  25. คัมภีร์ใบลานเรื่อง พงสาวดารเมือง (บั้งจุ้มหรือตำนานเมือง) ฉบับวัดโพนกอก บ้านปากกะยุง เมืองทุละคม นครเวียงจัน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อักษรธรรมลาว มี ๓๕ หน้าลาน
  26. "หอพุทธศิลป์ มจร.วิทยาเขตขอนแก่น :::". www.mcukk.com.
  27. https://www.facebook.com/Sriphoum/posts/1551242851919445
  28. "ภูมิบ้านภูมิเมือง : เมืองร้อยเอ็ด ภูมิแห่งชัยชนะของพระเจ้าจิตรเสน". https://www.naewna.com. 2014-09-07. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  29. "เจ้าแก้วมงคล", วิกิพีเดีย, 2021-12-28, สืบค้นเมื่อ 2022-02-05
  30. 30.0 30.1 Unknown, เขียนโดย. "ประวัติอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด".
  31. 31.0 31.1 รัตนธรรม, อัญชลี; นิลวรรณาภา, ราชันย์ (2021-12-23). "การนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสาน". วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (7): 3083–3095. ISSN 2539-6765.
  32. 32.0 32.1 "โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน มมส". www.facebook.com.
  33. 33.0 33.1 ชวนากร จันนาเวช. (2560). กดหมายโบราณจากเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอกสารวิชาการลำดับที่ 26 กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
  34. 34.0 34.1 https://web.facebook.com/Sriphoum/photos/a.722488601461545/1344327505944315/
  35. https://web.facebook.com/swp.pr/posts/614168832070117/?_rdc=1&_rdr
  36. "แจ่ง - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  37. 37.0 37.1 ขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ), พระยา, พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ): พิมพ์ในงานปลงศพ นางศรีสุภา (โต เอี่ยมศิริ) ณเชิงบรมบรรพต วัดสระเกศ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2472, จัดพิมพ์โดยจรูญชวนะพัฒน์, พระ, (พระนคร: ศรีหงส์, 2472)
  38. 38.0 38.1 "อำเภอสุวรรณภูมิ", วิกิพีเดีย, 2021-12-26, สืบค้นเมื่อ 2022-02-05
  39. Ltd, BECi Corporation. "5 ชุมนุมใหญ่ "ไทยแบ่งไทย" ยุคกรุงแตก". www.ch3thailand.com.
  40. พระจรัสชวนะพันธ์ เจ้ากรมราชบัณฑิต. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน). กรุงเทพฯ : กรมตำรา กระทรวงธรรมการ. ๒๔๗๒
  41. 41.0 41.1 https://web.facebook.com/Sriphoum/posts/1176559959387738?_rdc=1&_rdr
  42. https://web.facebook.com/722488218128250/posts/1180913005619100/?_rdc=1&_rdr
  43. https://district.cdd.go.th/chonnabot/about-us/100011-2/
  44. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : โรงพิมพ์ปรีดาการพิมพ์, 2542