หอพระแก้ว
หอพระแก้ว (ลาว: ຫໍພຣະແກ້ວ) เคยเป็นวัดในเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตั้งอยู่ริมถนนเชษฐาธิราช ทางตะวันตกเฉียงใต้ของวัดสีสะเกด สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2108 เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) แต่สร้างใหม่หลายครั้ง ปัจจุบันข้างในเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะทางศาสนาและร้านค้าขนาดเล็ก[1]
หอพระแก้ว | |
---|---|
หอพระแก้ว | |
ชื่อสามัญ | หอพระแก้ว |
ที่ตั้ง | นครหลวงเวียงจันทน์ |
ประเภท | โบราณสถานคู่ประเทศลาว |
ความพิเศษ | - สถานที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต |
จุดสนใจ | ชมวิหารหลวงเก่าที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต และพิพิธภัณฑ์ภายในหอพระแก้ว |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้หอพระแก้วสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2108–2109 ตามพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชหลังย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมายังเวียงจันทน์[2] วัดนี้สร้างในเขตพระราชฐาน เพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกตที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชอัญเชิญจากนครเชียงใหม่ เมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา มายังหลวงพระบาง เนื่องจากวัดนี้เป็นสถานที่ส่วนพระองค์ จึงไม่มีพระสงฆ์จำวัด[1] พระแก้วมรกตประดิษฐานที่วัดนี้เป็นเวลากว่า 200 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามที่นำโดยเจ้าพระยาจักรี (ผู้ก่อตั้งราชวงศ์จักรีแห่งประเทศไทย) ตีแตก กองทัพสยามอัญเชิญพระแก้วมรกตไปกรุงธนบุรีและวัดถูกทำลาย ปัจจุบัน พระพุทธรูปนี้ประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร และถือเป็นสิ่งปกป้องคุ้มครองประเทศไทย
เจ้าอนุวงศ์ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2359 พร้อมให้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหม่ขึ้นแทนที่พระแก้วมรกตที่ถูกนำไป[3] อย่างไรก็ตาม วัดนี้ถูกทำลายอีกครั้งใน พ.ศ. 2371 เมื่อเจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏต่อสยามเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช และเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามทำลาย ชาวฝรั่งเศสสร้างวัดนี้อีกครั้งใน พ.ศ. 2479–2485 ซึ่งเป็นช่วงที่ลาวตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีแบบตามวัดเก่า แต่วัดใหม่มีอุโบสถแบบกรุงเทพฯ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19[2] ในคริสต์ทศวรรษ 1970 วัดนี้ได้รับการเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์[1] แล้วบูรณะอีกครั้งใน พ.ศ. 2536[4]
ภาพ
แก้-
ประตูไปยังพระอุโบสถ
-
พระสงฆ์ที่หอพระแก้ว
-
พระพุทธรูปปางนั่ง
-
บันไดทางเข้า
-
ข้างหน้า
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Hor Pha Keo Museum เก็บถาวร 2015-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
17°57′41″N 102°36′42″E / 17.96139°N 102.61167°E
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Vientiane Municipality". Official Website of Lao Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2013. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.
- ↑ 2.0 2.1 Andrew Burke, Justine Vaisutis (2007). Laos. Lonely Planet. p. 95. ISBN 978-1741045680.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Marc Askew; Colin Long; William Logan (2006). Vientiane: Transformations of a Lao landscape. Taylor & Francis Ebooks. ISBN 9781134323647.
- ↑ "Ho Phra Keo". Old Stones.