ราชวงศ์จักรี
การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งาน ดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี |
ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ถัดจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ซึ่งปกครองราชอาณาจักรที่สืบทอดกรุงศรีอยุธยามาจนเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ขุนนางซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหนายก (จักรี) ในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ยึดอำนาจการปกครองและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน และปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน (ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325[2] แล้วย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงธนบุรีมายังกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ซึ่งเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน[3]
พระราชอิสริยยศ | พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[1] (พ.ศ. 2325–2399) พระเจ้ากรุงสยาม (พ.ศ. 2399–2492) พระมหากษัตริย์ไทย (พ.ศ. 2492–ปัจจุบัน) |
---|---|
ปกครอง | ราชอาณาจักรไทย |
เชื้อชาติ | ไทย จีน มอญ ภายหลังเพิ่มเปอร์เซีย |
สาขา | 84 ราชสกุล 42 บวรราชสกุล |
จำนวนพระมหากษัตริย์ | 10 พระองค์ |
ประมุขพระองค์แรก | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบัน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ช่วงระยะเวลา | พ.ศ. 2325–ปัจจุบัน |
สถาปนา | 6 เมษายน พ.ศ. 2325 |
เอกสารหลายฉบับ ทั้งของไทยและของต่างชาติ อ้างถึงความวุ่นวายทางการเมืองในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า เป็นผลมาจากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระจริยวัตรผิดแผกไป จนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งอยู่ขณะนำทัพไปเขมร ต้องเดินทางกลับมาระงับเหตุ แล้วปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ก่อนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทน อันเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์จักรี[4] จากนั้น ราชวงศ์จักรีได้ปราบปรามเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระราชอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ "เอาบุตรชายน้อย ๆ ของเจ้าตากสิน...ใส่เรือไปล่มน้ำเสียให้สิ้น" โดยทรงอ้างถึงคำโบราณว่า "ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก"[5] และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงประหารหม่อมเหม็น พระราชโอรสของพระเจ้าตากสิน เมื่อ พ.ศ. 2352 ในเหตุการณ์ที่อ้างว่า มีนกกาคาบหนังสือแจ้งเหตุกบฏมาทิ้งที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[6][7]
ในด้านเชื้อสายของราชวงศ์จักรีนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) มีพระราชหัตถเลขาว่า ต้นตระกูลของราชวงศ์จักรีมิใช่ไทยแท้ แต่เป็นมอญผสมจีนที่สืบทอดกันมาจนถึงสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก[8] และมีผู้เสนอทฤษฎีว่า ราชวงศ์จักรีอาจสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอาจทำให้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติย้อนไปถึงราชวงศ์พระร่วงที่สืบสายกันในกรุงสุโขทัย[9]
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นทรงราชย์นั้น ถือกันว่า เป็นวันสถาปนาราชวงศ์จักรี[10] เรียกกันว่า วันจักรี[11] และมีการกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2468 เป็นอย่างน้อย[12]
ราชวงศ์จักรีใช้สัญลักษณ์เป็นรูปตรีศูลในวงจักรสุทรรศน์ ซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์ เทวดาในศาสนาฮินดู[13] ด้วยเหตุผลว่า คำว่า "จักร" และ ตรี" สอดคล้องกับชื่อ "จักรี" ของราชวงศ์[9]
พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบราชสมบัติภายในราชสกุลมหิดล ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[14] กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเชษฐาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระอนุชาคือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน และภายหลังได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร) พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน
รายพระนามพระบรมวงศานุวงศ์
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา (พระราชธิดาพระองค์ใหญ่)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (พระราชธิดาพระองค์เล็ก)
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ (พระราชโอรสพระองค์เล็ก)
- สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พระบรมราชชนนี)
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระโสทรเชษฐภคินี)[15]
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระโสทรกนิษฐภคินี)
- สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (พระโสทรกนิษฐภคินี)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ (พระราชภาคิไนย)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (พระราชภาคิไนย)
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (อดีตพระวรชายา; พระภคินีฝ่ายพระชนนี)
รายพระนามพระอนุวงศ์
พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา)
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา)
- หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา)
- หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา)
- หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล (พระญาติชั้นพระภาดา)
- หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล (พระญาติชั้นพระภคินี)
พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร (พระญาติชั้นพระอัยยิกา)
- หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร (พระญาติชั้นพระอัยกา)
- หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ (พระญาติชั้นพระปิตุจฉา)
เครือญาติและผู้เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์
- เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี (พระสนมเอก)
- สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (อดีตหม่อม)
- ท่านชายจุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ และริยา กอฟห์ (พระราชโอรสองค์ใหญ่และภรรยา)
- ท่านชายวัชเรศร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สอง)
- ท่านชายจักรีวัชร วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สาม)
- ท่านชายวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ (พระราชโอรสองค์ที่สี่)
- ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (อดีตพระวรชายา)
พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- คุณปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน (อดีตพระเชษฐภรรดา)
- ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน และคุณเดวิด วีลเลอร์ (พระภาคิไนยและสามี)
- แม็กซิมัส จุลรัตน์ วีลเลอร์ (พระญาติชั้นพระนัดดา)
- ลีโอนาร์โด ภัททพงศ์ วีลเลอร์ (พระญาติชั้นพระนัดดา)
- อเล็กซานดรา ภัททสุดา วีลเลอร์ (พระญาติชั้นพระนัดดา)
- ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน (พระภาคิไนย)
- ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน และคุณเดวิด วีลเลอร์ (พระภาคิไนยและสามี)
- นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน (อดีตพระกนิษฐภรรดา)
พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
- ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และสินธู ศรสงคราม (พระภคินีฝ่ายพระชนกและสามี)
- จิทัศและเจสสิกา ศรสงคราม (พระญาติชั้นพระภาคิไนยและภรรยา)
พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ (พระมาตุจฉา)
- ท่านหญิงอินทุรัตนา บริพัตร (พระญาติชั้นพระปิตุจฉา)
- ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (พระมาตุลานี)
- หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (พระภคินีฝ่ายพระชนนี)
- ท่านหญิงภานุมา ยุคล (พระญาติชั้นพระภคินี)
- ท่านหญิงศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ (พระญาติชั้นพระภคินี)
- ท่านหญิงภุมรีภิรมย์ เชลล์ (พระญาติชั้นพระภคินี)
- ท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์ (พระญาติชั้นพระภคินี)
- คุณหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย (พระญาติชั้นพระปิตุจฉา)
พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ท่านหญิงพันธุ์วโรภาส เศวตรุนทร์ (พระญาติชั้นพระปิตุจฉา)
รายพระนาม
พระมหากษัตริย์ไทย
ลำดับ | พระบรมฉายาลักษณ์และพระปรมาภิไธย | ครองราชย์ | ระยะเวลา |
---|---|---|---|
รัชกาลที่ 1 | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | 6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352 | 27 ปี 154 วัน |
รัชกาลที่ 2 | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 | 14 ปี 317 วัน |
รัชกาลที่ 3 | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394 | 26 ปี 255 วัน |
รัชกาลที่ 4 | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 | 17 ปี 182 วัน |
รัชกาลที่ 5 | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 | 42 ปี 22 วัน |
รัชกาลที่ 6 | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 | 15 ปี 34 วัน |
รัชกาลที่ 7 | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 (สละราชสมบัติ) |
9 ปี 96 วัน |
รัชกาลที่ 8 | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร | 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 11 ปี 99 วัน |
รัชกาลที่ 9 | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | 70 ปี 126 วัน |
รัชกาลที่ 10 | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน | 7 ปี 365 วัน |
สมเด็จพระบรมราชินี
ลำดับ | พระฉายาลักษณ์และพระนามาภิไธย | ราชาภิเษกสมรส | ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
รัชกาลที่ 1 | สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี | ราว พ.ศ. 2303 | 6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352 (พระราชสวามีสวรรคต) |
รัชกาลที่ 2 | สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี | ราว พ.ศ. 2344 | 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 (พระราชสวามีสวรรคต) |
รัชกาลที่ 4 | สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | 1 เมษายน พ.ศ. 2394 | ราว พ.ศ. 2396 - 9 กันยายน พ.ศ. 2404 (สวรรคต) |
รัชกาลที่ 5 | สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) |
พ.ศ. 2421 | พ.ศ. 2440 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 (พระราชสวามีสวรรคต) |
รัชกาลที่ 6 | สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี (พระวรราชชายา) |
พ.ศ. 2464 | พ.ศ. 2465 - 15 กันยายน พ.ศ. 2468 (ลดพระอิสริยยศเป็นพระวรราชชายา)[16] |
รัชกาลที่ 7 | สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี | สิงหาคม พ.ศ. 2461 | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 (พระราชสวามีสละราชสมบัติ) |
รัชกาลที่ 9 | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) |
28 เมษายน พ.ศ. 2493 | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (พระราชสวามีสวรรคต) |
รัชกาลที่ 10 | สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
รัชสมัย | พระฉายาลักษณ์และพระนามาภิไธย | ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
รัชกาลที่ 1 | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท | พ.ศ. 2325 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346 (สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ) |
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร | พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352 (สืบราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2) | |
รัชกาลที่ 2 | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | พ.ศ. 2352 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 (สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ) |
รัชกาลที่ 3 | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ | พ.ศ. 2367 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 (สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ) |
รัชกาลที่ 4 | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 - 7 มกราคม พ.ศ. 2408 (สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ) |
รัชกาลที่ 5 | กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ | พ.ศ. 2411 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 (ทิวงคตก่อนได้สืบราชสมบัติ) |
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
รัชสมัย | พระฉายาลักษณ์และพระนามาภิไธย | ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
รัชกาลที่ 1 | สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ | พ.ศ. 2328 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2349 (ทิวงคตก่อนได้สืบราชสมบัติ) |
สยามมกุฎราชกุมาร
รัชสมัย | พระฉายาลักษณ์และพระนามาภิไธย | ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
รัชกาลที่ 5 | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร | 14 มกราคม พ.ศ. 2429 - 4 มกราคม พ.ศ. 2437 (สวรรคตก่อนได้สืบราชสมบัติ) |
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร | 20 มกราคม พ.ศ. 2437 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 (สืบราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6) | |
รัชกาลที่ 9 | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (สืบราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10) |
แผนผัง
การเงิน
ในปี 2560 สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ราชวงศ์จักรีเป็นราชวงศ์ที่ร่ำรวยลำดับต้น ๆ ของโลก โดยมีทรัพย์สินที่ประเมินไว้ระหว่าง 30,000–60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักข่าวรอยเตอส์ประเมินว่าเฉพาะหุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถืออยู่ในธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รวมกันมีมูลค่า 3.06 แสนล้านบาท[17]
อ้างอิง
- ↑ มุกหอม วงษ์เทศ (2560-07-06). ""สยาม" ถูกใช้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 4". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
ไทยที่เรียกประเทศสยามว่า ‘กรุงศรีอยุธยา’ และเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า ‘พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา’ มาจนตลอดรัชกาลที่ 3 เพิ่งมาเรียกชื่อ ‘สยาม’ ในทางราชการตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ปฐมพงษ์ สุขเล็ก (2559-10-06). "รัชกาลที่ 1 ทรงรออะไรถึง 2 ปี ถึงขุดหีบศพพระเจ้าตากฯ มาเผา?". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (2559-04-21). "21 เมษายน 'วันสถาปนากรุงเทพมหานคร'". วอยซ์ทีวี. กรุงเทพฯ: วอยซ์ทีวี. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ปรามินทร์ เครือทอง (2563-04-06). "คำให้การ วันประหาร "พระเจ้าตาก" ฉากสุดท้ายกรุงธนบุรี". ศิลปวัฒนธรรม. Bangkok: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ปรามินทร์ เครือทอง (2563-10-15). "วังหน้า "พระยาเสือ" เมื่อต้องโค่นพระเจ้าตาก". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ โรม บุนนาค (2563-04-13). ""เจ้าฟ้าเหม็น" โอรสพระเจ้าตากสิน หลานรักพระเจ้าตา ร.๑! เปลี่ยนชื่อหลายครั้งพ้องกับคนถูกประหารทุกชื่อ!". ผู้จัดการออนไลน์. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ "เจ้าฟ้าเหม็น" โอรสพระเจ้าตาก!". คมชัดลึก. กรุงเทพฯ: คมชัดลึก. 2561-09-13. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต ต้นราชวงศ์จักรี "เจ้า" หรือ "สามัญชน"?". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. 2563-05-29. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 9.0 9.1 Matichon Academy (ม.ป.ป.). "บรรพบุรุษ 'ราชวงศ์จักรี' มาจาก 'โกษาปาน' และ 'สมเด็จพระนเรศ'". Matichon Academy. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ จำเป็น เรืองหิรัญ (2563-09-30). "วันจักรี". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง. พัทลุง: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "วันจักรี 6 เมษายน ประวัติวันจักรี วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์". สนุก. กรุงเทพฯ: เทนเซนต์ (ประเทศไทย). ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศกำหนดวันหยุดราชการนักขัตฤกษ์ประจำปี ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2468" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ก): 336–337. 2468-02-08. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ณัฏฐภัทร จันทวิช (ม.ป.ป.). "เกร็ดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". กรุงเทพธุรกิจ. กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 2564-01-02.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕ เก็บถาวร 2009-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖, ตอน ๐ ก, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์, เล่ม 89, ตอน 112 ก ฉบับพิเศษ, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ว่าด้วยการที่จะออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 42, ตอน 0 ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2468, หน้า 159
- ↑ โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ฉบับใหม่
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
ก่อนหน้า | ราชวงศ์จักรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์ธนบุรี (ปกครองกรุงธนบุรี) |
ราชวงศ์ที่ปกครองประเทศไทย (พ.ศ. 2325–ปัจจุบัน) |
— |