สุทรรศนจักร (สันสกฤต: सुदर्शन चक्र, แปล: "จักรแห่งการเห็นที่เป็นมงคลยิ่ง", IAST: Sudarśana Chakra) เป็นจักรมงคล 108 ซี่ ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ และ พระกฤษณะ ในเอกสารของฮินดู สุทรรศนจักรมักปรากฏบนหัตถ์ขวาของพระวิษณุ ในขณะที่หัตถ์ที่เหลือ ทรงปัญจชันยะ (สังข์), เกาโมทกี (คทา) และปัทมะ (ดอกบัว)[1]

สุทรรศนจักรในหัตถ์ของพระวิษณุ เทวรูปจากศตวรรษที่ 13

ในฤคเวทเขียนถึงจักรว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระวิษณุ และเป็นสัญลักษณ์แทนกงล้อของเวลา[2] เช่นเดียวกับในอิติหาสะกับปุราณะ ส่วนในมหาภารตะ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุ ใช้จักรเป็นอาวุธ

รูปมนุษย์ (anthropomorphic form) ของสุทรรศนจักรมีมาตั้งแต่อินเดียยุคกลาง ในฐานะผู้ติดตามผู้ซื่อสัตย์ของเพทเจ้าบางองค์ โดยเฉพาะพระวิษณุ[3] จักรบุรุษ (Chakra-Purusha) สองแขนนี้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีแบบหลายแขน เรียกว่า จักรเปรุมัล (Chakraperumal) ซึ่งพบมาตั้งแต่ยุคกลางเข้าใจกันว่าเป็นภาพแทนพลังการทำลายล้าง ของจักรวาล หรือเมื่อจักรแห่งกาลเวลานี้รวมกับอาวุธไฟแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แทนการทำลายล้างจักรวาลเช่นกัน[3][4]

ศัพทมูล

แก้

ที่มาของคำว่า สุทรรศน ประกอบขึ้นมาจาก สุ(सु) แปลว่า "ดี, เป็นมงคล" และ ทรรศน (दर्शन) ตรงกับคำว่า "ทัศน์" ส่วน "จักร" มีความหมายถึงกงล้อ อาจหมายถึงแทนล้อของราชรถ หรือเป็นเชิงเปรียบเปรยถึงกงล้อของกาลเวลา[5][6] และกงล้อของสังสารวัฏ

อ้างอิง

แก้
  1. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 80.
  2. Agarwala, Vasudeva Sharana (1965). Indian Art: A history of Indian art from the earliest times up to the third century A.D, Volume 1 of Indian Art. Prithivi Prakashan. p. 101.
  3. 3.0 3.1 von Stietencron, Heinrich; Flamm, Peter (1992). Epic and Purāṇic bibliography: A-R. Otto Harrassowitz Verlag. ISBN 3447030283.
  4. Wayne Edison Begley. (1973). Viṣṇu's flaming wheel: the iconography of the Sudarśana-cakra, pp. 18, 48, 65–66, 76–77. Volume 27 of Monographs on archaeology and fine arts. New York University Press
  5. Monier Monier-Williams (1871). A Sanskrit-English Dictionary, p. 310.
  6. Monier-Williams, Leumann E, Cappeller C, บ.ก. (2002). "Chakra". A Sanskrit-English Dictionary: Etymologically and Philologically Arranged with Special Reference to Cognate Indo-European Languages, p. 380. Motilal Banarsidass Publications. ISBN 9788120831056.